Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
ขั้นตอนในการยกเลิกระบบไพร่ - Coggle Diagram
ขั้นตอนในการยกเลิกระบบไพร่
รัชกาลที่ 5 ทรงเริ่มต้นขึ้นใน พ.ศ.2413
ตั้งกรมทหารมหาดเล็กรักษาพระองค์ใน พ.ศ.2413
ทรงคัดเลือกเอาบรรดาราชวงศ์และบุตรหลานขุนนางที่ได้ถวายตัว
โดยให้พระยาสุรศักดิ์มนตรี(แสง) เป็นผู้บังคับการคนแรก
ใน พ.ศ.2423
ให้พระยาสุรศักดิ์มนตรี(เจิม) จัดตั้งกรมทหารหน้า
ต่อมาได้พัฒนามาเป็นกรมยุทธนาธิการและกระทรวงกลาโหมตามลำดับ
โดยการรับสมัครบรรดาพวกไพร่ที่นายของตนตายหรือสิ้นพระชนม์มารับราชการเป็นทหารสมัครเป็นจำนวนมาก
ใน พ.ศ.2431
ประกาศใช้
"พระราชบัญญัติทหาร"
สิทธิหน้าที่ของพลทหาร ทั้งทหารบกและทหารเรือ
พลทหารสมัครจะต้องรับราชการไปจนครบ 10 ปี จึงจะครบเกษียณอายุ
แต่ถ้ายังสมัครรับราชการต่อไปทางราชการก็จะเพิ่มเบี้ยหวัดให้จากเงินเดือนตามอัตราเดิมคือเดือนละ 2 บาท
ส่วนเบี้ยหวัดจ่ายปีละครั้งเรียกว่า เงินปี
ส่วนในราชการพิเศษถ้ามีความดีความชอบก็จะได้รับรางวัลเป็นครั้งคราว ไม่มีกำหนด เรียกว่า เงินรางวัล
ใน พ.ศ.2434
ประกาศใช้
"พระราชบัญญัติจัดการกรมยุทธนาธิการ"
โดยยกกรมยุทธนาธิการเดิมขึ้นเป็นกระทรวงยุทธนาธิการ
มีหน้าที่บังคับบัญชาผู้คนที่เกี่ยวกับการทหารบก ทหารเรือ ตามแบบแผนใหม่
ใน พ.ศ.2439
ประกาศกรมพระสุรัสวดีเข้ามาสังกัดกระทรวงกลาโหม ซึ่งได้จัดตั้งขึ้นเมื่อ พ.ศ.2435
ใน พ.ศ.2439 ได้ประกาศให้บรรดาไพร่หลวงที่ไม่มาเข้าเดือนประจำการ ต้องเสียเงินแทนค่าแรงงานปีละ 18 ปี
ส่วนไพร่ส่วยถ้าไม่ได้ส่งของต้องส่งเงินแทนตั้งแต่ 6-12 บาท ตามชนิดของสิ่งของที่ต้องเกณฑ์ส่ง
ใน พ.ศ.2440
บรรดาไพร่หลวงที่ต้องเสียเงินค่าราชการปีละเกิน 6 บาทขึ้นไป
ให้เก็บเงินค่าราชการเพียงปีละ 6 บาทเท่านั้น
ใน พ.ศ.2448
ให้ตราพระราชบัญญัติลักษณะการเกณฑ์ทหารรัตนโกสินทร์ศก 124
กำหนดให้ชายฉกรรจ์ที่มีอายุ 18 ปี รับราชการในกองประจำการมีกำหนด 2 ปี แล้วปลดไปเป็นกองหนุน
ส่วนผู้ที่ได้รับราชการทหารในกองประจำการแล้ว ทรงโปรดเกล้าฯให้ผู้นั้นพ้นจากการเสียเงินค่าราชการใดๆจนตลอดชีวิต
ทุกคนที่เป็นชายยกเว้นคนจีนและคนป่าดอยเท่านั้น จะต้องอยู่ภายใต้พระราชบัญญัตินี้ทั้งสิ้น
ดังนั้นพระราชบัญญัติลักษณะการเกณฑ์ทหารรัตนโกสินทร์ศก 124 ฉบับนี้จึงถือได้ว่าเป็นการยกเลิกระบบไพร่ที่มานานในสังคมไทย