Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
แผนการสอนประจำหน่วยที่7 นโยบายกฎหมาย แผนผู้สูงอายุแห่งชาติและจริยธรรมใน…
แผนการสอนประจำหน่วยที่7
นโยบายกฎหมาย แผนผู้สูงอายุแห่งชาติและจริยธรรมในการดูแลผู้สูงอายุ
เส้นทางนโยบาย กฎหมายที่เกี่ยวข้องกับผู้สูงอายุไทย
ภาพลักษณ์ผู้สูงอายุไทยที่พึงปรารถนาในทศวรรษหน้า
มีสุขภาพกายและจิตที่ดี
อยู่ในครอบครัวอย่างมีความสุข และสังคมที่ดีและสิ่งแวดล้อมที่เหมาะสม
พึ่งตนเองได้
มีหลักประกันมั่นคง ได้รับสวัสดิการและบริการที่เหมาะสม
มีความรู้
มาตรการด้านสุขภาพ
เน้นบริการที่เข้าถึงตัวผู้สูงอายุในเชิงรุก การบริการระดับชุมชนและการดูแลต่อเนื่องที่บ้าน (Community base care, Home care)
เส้นทาง (timeline) ของนโยบาย กฎหมาย ที่เกี่ยวข้องกับผู้สูงอายุไทย
พ.ศ. 2525
1) องค์การสหประชาชาติได้จัดประชุมสมัชชาผู้สูง ณ กรุงเวียนนาประเทศออสเตเรีย
จัดตั้งคณะกรรมการผู้สูงอายุแห่งชาติ ขึ้นเป็นครั้งแรก
จัดทำแผนผู้สูงอายุฉบับที่ 1พ.ศ.2525-2544
คระรัฐมนตรีมีมติให้ วันที่ 13 เมษายน ของทุกปีเป็นวัน ผู้สุงอายุแห่งชาติ
2) แผนผู้สูงอายุฉบับที่ 1พ.ศ.2525-2544 ดำเนินงานใน 5 ด้าน 1.ด้านสุขภาพอนามัย 2.ด้านความมั่นคงรายได้การทำงาน 3.ด้านการศึกษาและวัตนธรรม 4.ด้านสวัสดิการสังคม 5.ด้านวิจัยและพัฒนาการ
พ.ศ. 2540
2 มาตรา ดังนี้
มาตราที่ 54 บัญญัติว่า “บุคคล ซึ่งมีอายุเกิน 60 ปีบริบูรณ์ และไม่มีรายได้ เพียงพอแก่การยังชีพมีสิทธิได้รับความช่วยเหลือจากรัฐ ทั้งนี้ตามที่กฎหมายบัญญัติ”
มาตราที่ 80 วรรค 2 “รัฐต้องสงเคราะห์คนชรา ผู้ยากไร้ ผู้พิการ หรือทุพพลภาพ และผู้ด้อยโอกาสให้มีคุณภาพชีวิตที่ดีและพึ่งตนเองได้”
พ.ศ. 2541
มีการรับรอง ปฎิญญามาเก๊า โดยคณะกรรมาธิการเศรษฐกิจและสังคมภูมิภาคเอเชีย และแปซิฟิค-องค์การสหประชาชาติ และจัดทำแผนปฏิบัติการเรื่องผู้สูงอายุในภูมิภาคเอเชียและแปซิฟิค
พ.ศ 2542
เป็นปีสากลว่าด้วยผู้สูงอายุ ประเทศ ไทยจึงได้ออกระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรี ว่าด้วยการส่งเสริมและประสานงาน ผู้สูงอายุแห่งชาติ พ.ศ. 2542 ทำให้เกิด “คณะกรรมการส่งเสริมและ ประสานงานผู้สูงอายุแห่งชาติ” เรียกโดยย่อว่า “กสผ.” ภายใต้สำนักนายกรัฐมนตรีและ
พ.ศ. 2545
ได้มีการจัดทำแผนผู้สูงอายุแห่งชาติ ฉบับที่ 2 (พ.ศ.2545 – 2564) ซึ่งเป็นแผนที่ทุก กระทรวง ทบวง กรม ถือปฏิบัติ ในขณะนี้
พ.ศ. 2546
ได้มีการจัดทำและประกาศใช้ พระราชบัญญัติผู้สูงอายุ พ.ศ. 2546
พ.ศ. 2550
มาตราที่ 53 บัญญัติว่า “บุคคล ซึ่งมีอายุเกินหกสิบปีบริบูรณ์ และไม่มีรายได้เพียงพอ แก่การยังชีพ มีสิทธิได้รับสวัสดิการ
มาตราที่ 80 วรรค 2 “รัฐต้อง คุ้มครองและพัฒนาเด็กและเยาวชน
กฎหมาย นโยบายที่เกี่ยวข้องโดยตรงกับผู้สูงอายุไทย
ปฏิญญาผู้สูงอายุไทย
2542 เป็นวโรกาสที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 9 ทรงเจริญ พระชนมายุครบ 72 พรรษา ประกอบกับองค์การสหประชาชาติได้ประกาศให้เป็นปีสากลว่าด้วยผู้สูงอายุ รัฐบาล องค์กรเอกชน ประชาชน และสถาบัน ต่างๆ ได้ตระหนักถึงศักดิ์ศรีและคุณค่าของผู้สูงอายุ ได้รับการคุ้มครองและพิทักษ์สิทธิ จึงได้กำหนด สาระสำคัญไว้ดังนี้
ข้อที่ 1 ดำรงชีวิตอย่างมีคุณค่าและศักดิ์ศรี พ้นจากการถูกทอดทิ้ง
ข้อที่ 2 ผู้สูงอายุควรอยู่กับครอบครัวโดยได้รับความเคารพรัก ความเข้าใจ ความเอื้ออาทร การดูแลเอาใจใส่
ข้อที่ 3 ผู้สูงอายุควรได้รับโอกาสในการศึกษาเรียนรู้ และพัฒนาศักยภาพของตนเองอย่างต่อเนื่อง
ข้อที่ 4 ผู้สูงอายุควรได้ถ่ายทอดความรู้ประสบการณ์ให้สังคม เหมาะสมกับวัยและตามความสมัครใจ
ข้อที่ 5 ผู้สูงอายุควรได้เรียนรู้ในการดูแลสุขภาพอนามัยของตนเอง
ข้อที่ 6 ผู้สูงอายุส่วนใหญ่พึ่งพาตนเองได้ สามารถช่วยเหลือครอบครัวและชุมชนมีส่วนร่วมในสังคม
ข้อที่ 7 รัฐมีส่วนร่วมขององค์กรภาคเอกชน ประชาชน สถาบันสังคมต้องกำหนดนโยบาย
ข้อที่ 8 ผู้สูงอายุ เพื่อเป็นหลักประกันและการบังคับใช้ในการพิทักษ์สิทธิ คุ้มครองสวัสดิภาพ และจัดสวัสดิการแก่ ผู้สูงอายุ
ข้อที่ 9 สถาบันสังคมต้องรณรงค์ปลูกฝังค่านิยม ให้สังคมตระหนักถึงคุณค่าของผู้สูงอายุตามวัฒนธรรม
พระราชบัญญัติผู้สูงอายุ พ.ศ. 2546
เหตุผลในการตราพระราชบัญญัติ
รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2540 มาตรา 54 ได้บัญญัติเกี่ยวกับสิทธิผู้สูงอายุ ให้มีสิทธิได้รับความช่วยเหลือจากรัฐ เพื่อให้เป็นไปตามที่กฎหมายบัญญัติ และเพื่อให้ได้กฎหมายที่ครอบคลุมทุกด้านสำหรับผู้สูงอายุ
บุคคลผู้มีสิทธิ
กำหนดให้บุคคลซึ่งมีอายุเกินหกสิบปีบริบูรณ์ขึ้นไปและมีสัญชาติไทยถือเป็น ผู้สูงอายุ (มาตรา 3) จะเห็นได้ว่า ผู้สูงอายุตามความหมายา “บุคคลซึ่งมีอายุเกินหกสิบปีบริบูรณ์และไม่มีรายได้เพียงพอแก่การยังชีพ มีสิทธิได้รับความช่วยเหลือ จากรัฐ ทั้งนี้ ตามที่กฎหมายบัญญัติ”
มาตรา 80 รัฐต้องสงเคราะห์คนชรา ในพระราชบัญญัติฉบับนี้เลือกใช้คำ ว่า “ผู้สูงอายุ” โดยไม่ใช้คำว่า “คนชรา” เ
แผนผู้สูงอายุแห่งชาติฉบับที่ 1 พ.ศ. 2525 - 2544
เป็นแผนที่กำหนด “สิทธิ” ของผู้สูงอายุไทยอย่างชัดเจนฉบับแรก ช่วงเวลาดังกล่าวประเทศไทย อยู่ภายใต้แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 5 (พ.ศ.2525-2529) และรัฐธรรมนูญแห่ง ราชอาณาจักรไทย พ.ศ.2521
ประกอบด้วยการดำเนินงานใน 5 ด้าน ได้แก่
1) ด้านสุขภาพอนามัย
2) ด้านความมั่นคงทางรายได้และการทำงาน
3) ด้านการศึกษาและวัฒนธรรม 4) ด้านสวัสดิการสังคม 5) ด้านวิจัยและพัฒนา
“แผนผู้สูงอายุแห่งชาติฉบับที่ 1
มองว่าผู้สูงอายุ เป็นบุคคลที่ได้ทำคุณประโยชน์ต่อสังคมและสมควรได้รับการตอบแทน
แผนผู้สูงอายุแห่งชาติ ฉบับที่ 2 พ.ศ.2545 – พ.ศ.2564
แผนผู้สูงอายุแห่งชาติ ฉบับที่ 2 ถูกร่างขึ้นเพื่อเป็นแนวทางในการดำเนินการเกี่ยวกับผู้สูงอายุต่อ จากแผนผู้สูงอายุแห่งชาติ ฉบับที่ 1 (พ.ศ. 2525 - 2544)มีลักษณะเป็นแผนฯ ที่มีการบูรณาการ มีการ กำหนดมาตรการ ดัชนีและเป้าหมายของมาตรการต่างๆ อย่างชัดเจน มีความสอดคล้องกับรัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2540
วิสัยทัศน์
1) ประชากรผู้สูงอายุที่มีสถานภาพดี สุขภาพ ดีทั้งกายและจิต ครอบครัวอบอุ่นมีสังคมที่ดี มีหลักประกันที่มั่นคง ได้รับสวัสดิการและการบริการที่ เหมาะสม
4) ระบบสวัสดิการและการบริการจะต้องสามารถรองรับผู้สูงอายุให้สามารถดำรงอยู่กับ
5) รัฐจะต้องส่งเสริมและสนับสนุนให้เอกชนเข้ามามีส่วนร่วมในระบบบริการ
3) ครอบครัวและชุมชนเป็นสถาบันหลัก
2) ผู้สูงอายุที่ทุกข์ยากและต้องการการเกื้อกูล
ยุทธศาสตร์
ยุทธศาสตร์ที่ถูกกำหนดขึ้นมีลักษณะบูรณาการและครอบคลุมในทุกมิติ มุ่งหวังให้ ประชากรทุกคนเตรียมการเข้าสู่การเป็นผู้สูงอายุที่มีคุณภาพ ดำารงชีวิตอย่างมีศักดิ์ศรี พึ่งตนเองได้
ยุทธศาสตร์ที่ 1
ยุทธศาสตร์ด้านการเตรียมความพร้อมของประชากรเพื่อวัยสูงอายุที่มีคุณภาพ
ยุทธศาสตร์ที่ 2
ยุทธศาสตร์ด้านการส่งเสริมผู้สูงอายุ
ยุทธศาสตร์ที่ 3
ยุทธศาสตร์ด้านระบบคุ้มครองทางสังคมสำหรับผู้สูงอายุ
ยุทธศาสตร์ที่ 4
ยุทธศาสตร์ด้านการบริหารจัดการเพื่อการพัฒนางานด้านผู้สูงอายุระดับชาติ และการ พัฒนาบุคลากรด้านผู้สูงอายุ โดยมีมาตรการดำเนินการ
ยุทธศาสตร์ที่ 5
ยุทธศาสตร์ด้านการประมวล และพัฒนาองค์ความรู้ด้านผู้สูงอายุ และการติดตาม ประเมินผล การด ำเนินการตามแผนผู้สูงอายุแห่งชาติ โดยมีมาตรการดำเนินการ
แผนผู้สูงอายุแห่งชาติ ฉบับที่ 2 พ.ศ. 2545 - 2564 ฉบับปรับปรุงครั้งที่ 1 พ.ศ.2552
การปรับปรุงแผนผู้สูงอายุแห่งชาติฉบับที่ 2 ครั้งที่ 1 นี้ เกิดขึ้นจากกระแสวิชาการที่เห็นถึง ปัญหาการดำเนินงานและผลการประเมินในช่วง 5 ปีที่ไม่ผ่านเกณฑ์การประเมิน และสถานการณ์
ปรัชญา
ผู้สูงอายุไม่ใช่ผู้ด้อยโอกาสหรือเป็นภาระต่อสังคม แต่สามารถมีส่วนร่วม เป็นพลัง พัฒนาสังคม จึงควรได้รับการส่งเสริมและเกื้อกูลจากครอบครัว ชุมชน และรัฐให้ดำรงชีวิตอยู่อย่างมี คุณค่า มีศักดิ์ศรี
วิสัยทัศน์
ประชากรผู้สูงอายุที่มีสถานภาพดี (สุขภาพ ดีทั้งกาย และจิต ครอบครัวอบอุ่นมีสังคมที่ดี มีหลักประกันที่มั่นคง ได้รับสวัสดิการและการบริการที่เหมาะสมอยู่ อย่างมีคุณค่า มีศักดิ์ศรี พึ่งตนเองได้ มีส่วนร่วม มีโอกาสเข้าถึงข้อมูลและข่าวสารอย่างต่อเนื่อง)
ยุทธศาสตร์
ยุทธศาสตร์ที่ถูกกำหนดขึ้นมีลักษณะบูรณาการและครอบคลุมในทุกมิติ ประกอบด้วย 5 ยุทธศาสตร์ 18 มาตรการหลัก 44 มาตรการย่อย 56 ดัชนีชี้วัด และดัชนีรวมของแผน
ยุทธศาสตร์ที่ 1
การเตรียมความพร้อมของประชากรเพื่อวัยสูงอายุที่มีคุณภาพ
ยุทธศาสตร์ที่ 2
การส่งเสริมและการพัฒนาผู้สูงอายุ
ยุทธศาสตร์ที่ 3
ระบบคุ้มครองทางสังคมสำหรับผู้สูงอายุ
ยุทธศาสตร์ที่ 4
การบริหารจัดการเพื่อการเพิ่มการพัฒนางานด้านผู้สูงอายุอย่างบูรณาการระดับชาติและ การพัฒนาบุคลากรด้านผู้สูงอายุ
ยุทธศาสตร์ที่ 5 การประมวล พัฒนา และเผยแพร่องค์ความรู้ด้านผู้สูงอายุและการติดตามระเมินผล
สิทธิของผู้สูงอายุตามหลักการขององค์การสหประชาชาติ
การมีอิสระภาพในการพึ่งตนเอง
การมีส่วนร่วม
การอุปการะเลี้ยงดู
การบรรลุความต้องการ
ความมีศักดิ์ศรี
กฎหมาย นโยบายอื่นๆ ของประเทศไทยที่เกี่ยวข้องกับการเตรียมความพร้อมของประชากรใน การเข้าสู่วัยสูงอายุอย่างมีคุณภาพ
นโยบาย กฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการสร้างหลักประกันด้านสุขภาพและหลักประกันด้าน
รายได้
ปี พ.ศ. 2471 พระราชบัญญัติข้าราชการพลเรือน พ.ศ. 2471
ฉบับแรก เกิดคำว่า "ข้าราชการพลเรือน" ขึ้นเป็นครั้งแรก หมายถึง ผู้ทำงานรับใช้พระเจ้าแผ่นดิน ผู้ที่ทำงานสนองเบื้องพระบาทฯ มีหน้าที่ดูแลทุกข์บำรุงสุขของประชาชน ข้าราชการ ผู้เข้ารับราชการจะมี สิทธิประโยชน์ ได้แก่ ค่ารักษาพยาบาล การศึกษาบุตร ค่าเช่าบ้าน บำเหน็จ ชำ นาญ การลา เครื่องราชอิสริยาภรณ์ ฯลฯ ส่วนลูกจ้างประจำเป็นกลุ่มบุคคลที่ทำงาน คล้าย กับข้าราชการ แตกต่างกัน เพียงหน้าที่ที่รับผิดชอบ
ปี พ.ศ. 2530 พระราชบัญญัติกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ พ.ศ. 2530
กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ คือ กองทุนที่นายจ้างและลูกจ้างร่วมกันจัดตั้งขึ้น เงินของกองทุนมาจาก เงินที่ลูกจ้างจ่ายส่วนหนึ่งเรียกว่า "เงินสะสม" และนายจ้างจ่ายส่วนหนึ่งเรียกว่า "เงินสมทบ" นั่นคือ นอกจากลูกจ้างจะออมแล้ว นายจ้างยังช่วยลูกจ้างออมอีกแรงหนึ่งด้วย
ปี พ.ศ.2533 พระราชบัญญัติประกันสังคม พ.ศ.2533
เพื่อสร้างหลักประกันและความมั่นคงในการดeรงชีวิตให้แก่ลูกจ้างที่จ่ายเงินสมทบ เข้ากองทุน ในที่นี้เรียกว่า "ผู้ประกันตน"
ปัญหาจริยธรรมที่เกี่ยวข้องกับการพยาบาลผู้สูงอายุ
จริยธรรม
หมายถึง ความประพฤติที่ชอบที่ปรารถนาของผู้พบเห็น
วิชาชีพพยาบาล เป็นวิชาชีพที่ถูกคาดหวังว่าผู้ประกอบวิชาชีพต้องมีคุณธรรม จริยธรรม เนื่องจากต้องเกี่ยวข้องกับผู้ที่อยู่ในความทุกข์ทั้งกาย และใจ
การพยาบาลและองค์ประกอบทางจริยธรรมในการช่วยเหลือผู้สูงอายุ
1) ให้ความเคารพยกย่อง ค านึงถึงคุณค่าของความสูงอายุที่สั่งสมความรู้ความสามารถ และ ประสบการณ์มายาวนาน
2) ยอมรับความสูงอายุว่าเป็นการเปลี่ยนแปลงตามวงจรชีวิตมนุษย์ ยอมรับความแตกต่าง ระหว่างบุคคล
3) ส่งเสริมให้ผู้สูงอายุ คงความสามารถในการทำหน้าที่ของร่างกายและดูแลตนเอง ยอมรับ ความคิดเห็น
4) ปฏิบัติการพยาบาลต่อผู้สูงอายุอย่างเท่าเทียมกับบุคคลในวัยอื่น
5) ปฏิบัติการพยาบาลโดยใช้หลัก เมตตา กรุณา มุทิตา อุเบกขา
6) ศึกษาหาความรู้ และติดตามความก้าวหน้าทางวิชาการ เพื่อให้มีความรู้ในการดูแลและให้ คำแนะนำผู้สูงอายุ
7) รักและศรัทธาในวิชาชีพ
ประเด็นทางจริยธรรมที่เกี่ยวข้องกับผู้สูงอายุ
พินัยกรรม
1) พินัยกรรมแบบเขียนเองทั้งฉบับ
2) พินัยกรรมแบบธรรมดาต้องทำเป็นหนังสือ มีการลงลายมือผู้ทำพินัยกรรมพยาน 2 คน
3) พินัยกรรมแบบเอกสารฝ่ายเมือง ผู้ทำพินัยกรรมต้องไปทำที่อำเภอแจ้งความประสงค์ว่าตน ต้องการทำพินัยกรรม
4) พินัยกรรมแบบเอกสารลับ ผู้ทำพินัยกรรมต้องลงลายมือชื่อในพินัยกรรมบรรจุไว้ในซองและคาบรอยผนึกบนซอง
5) พินัยกรรมแบบวาจา มักทำเมื่อไม่สามารถทำพินัยกรรมแบบอื่นได้ มีพยาน 2 คน และ พยานแจ้งความประสงค์ของผู้ทำพินัยกรรมต่อนายอำเภอ
การพยาบาลผู้ป่วยระยะสุดท้าย (End of life care)
ประเมินความพร้อมในการ รับรู้ความพร้อมที่จะตาย ผู้สูงอายุอาจพร้อมหรือไม่พร้อมที่จะเข้าสู่ระยะสุดท้ายของชีวิต หากยังไม่พร้อมต้องมีเทคนิคในการ สนทนาอย่างรอบคอบในการบอกข้อมูลแก่ผู้ป่วยสูงอายุ ได้รับการดูแลรักษาเพื่อบรรเทาความเจ็บปวดทรมานอย่างเต็มที่ ได้ประกอบ พิธีทางศาสนาตามความเชื่อของตน
เมตตามรณะ (Euthanasia)
Active Euthanasia
คือ การที่แพทย์ฉีดยา ให้ยา หรือกระทำโดยวิธีการอื่นๆ ที่ทำให้ผู้ปุวย ตายโดยตรง มีในเนเธอร์แลนด์ประเทศเดียว
Passive Euthanasia
คือ การที่แพทย์ปล่อยให้ผู้ปุวยที่สิ้นหวังตายโดยไม่ให้การรักษา