Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
โรคเพดานโหว่ (Cleft palate) - Coggle Diagram
โรคเพดานโหว่ (Cleft palate)
ปัจจัย
ปัจจัยภายใน
กรรมพันธุ์
การถ่ายทอดทางพันธุกรรมหรือโครโมโซมที่ผิดปกติ
ปัจจัยภายนอก
การเจ็บป่วยของมารดาขณะตั้งครรภ์
มารดาสูบบุหรี่จัด
ในช่วง 3 เดือนแรกของการตั้งครรภ์
ภาวะขาดสารอาหารของมารดาในระหว่างตั้งครรภ์
มารดาได้รับยา และ/หรือสารบางชนิดต่อเนื่อง เช่น ยากันชักเช่น ฟีไนโตอิน (Phenytoin), ไดแลนติน (Dilantin) ยาคอร์ติโคสเตียรอยด์ (Corticosteroid) สารพิษ สารเคมี การสูบบุหรี่ การดื่มแอลกอฮอล์ หรือ การขาดกรดโฟลิคในระหว่างตั้งครรภ์
อ้างอิง
เบญจมาศ พระธานี. (ม.ป.ป.).
ปากแหว่งเพดานโหว่. งานการพยาบาลผู้ป่วยนอก แผนกโสต คอ นาสิก ราลิงซ์.
ศูนย์การแพทย์สมเด็จพระทพรัตนราชสุดา สยามบรมราชกุมารี.
http://med.swu.ac.th/msmc/opd_ent/index.php/news-menu/236-2018-06-20-02-42-52
Bumrungrad International Hospital. (ม.ป.ป.).
โรคปากแหว่งเพดานโหว่.
https://www.bumrungrad.com/th/conditions/cleft-lip-cleft-palate
อาการ
:
Link Title
Link Title
อ้างอิง
Bumrungrad International Hospital. (ม.ป.ป.).
โรคปากแหว่งเพดานโหว่.
https://www.bumrungrad.com/th/conditions/cleft-lip-cleft-palate
เบญจมาศ พระธานี. (ม.ป.ป.).
ปากแหว่งเพดานโหว่. งานการพยาบาลผู้ป่วยนอก แผนกโสต คอ นาสิก ราลิงซ์.
ศูนย์การแพทย์สมเด็จพระทพรัตนราชสุดา สยามบรมราชกุมารี.
http://med.swu.ac.th/msmc/opd_ent/index.php/news-menu/236-2018-06-20-02-42-52
อาจมีความผิดปกติอื่นๆร่วมด้วย เช่น การทำงานของกล้ามเนื้อที่เปิดปิดทางระบายหูชั้นกลางผิดปกติ มีน้ำคั่งในหูชั้นกลางส่งผลให้การได้ยินลดลง มีโครงสร้างของกระดูกใบหน้าส่วนกลางผิดปกติ มีการสบกันของฟันผิดปกติ ทำให้มีปัญหาการพูด พูดไม่ชัด เสียงขึ้นจมูก
การที่มีช่องเปิดระหว่างเพดานปากและฐานจมูก เกิดจากการที่ขากรรไกรบนของทารกไม่สามารถปิดได้สนิทในระหว่างตั้งครรภ์ ทำให้เกิดช่องว่าง อาการเพดานโหว่จะมีความรุนแรงกว่าอาการปากแหว่ง
การวินิจฉัย
ตรวจดูเพดานโหว่ ดูในช่องปากเวลาเด็กร้อง
วิธีการตรวจทางการแพทย์ตั้งแต่ในช่วงตั้งครรภ์
การตรวจด้วยวิธี ultrasound : การตรวจด้วยคลื่นเสียงความถี่สูง ช่วยประเมินภาวะความผิดปกติ ของทารกรวมถึงภาวะการเจริญเติบโตของทารกในครรภ์ได้
การตรวจด้วยวิธี chorionic villus sampling (CVS) : การดูดเอาตัวอย่างบางส่วนของรกมา ตรวจหาความผิดปกติของโครโมโซม ทำในช่วงอายุครรภ์ประมาณ 10 ถึง 12 สัปดาห์
การตรวจด้วยวิธี amniocentesis : ดูดเอาน้ำคร่ำประมาณ 15 ถึง 20 ซีซี สามารถวินิจฉัย ภาวะความผิดปกติทางโครโมโซมได้ โดยทั่วไปจะทำในช่วงอายุครรภ์ประมาณ 14 ถึง 20 สัปดาห์
การตรวจด้วยวิธีTriple screen test หรือquadruple screen test : วิธีการตรวจโดยการเจาะเลือดมารดาเพื่อ ดูค่าสารชีวเคมีในเลือดโดยทั่วไปวิธีนี้ทำในช่วงอายุครรภ์ประมาณ 15 ถึง 22 สัปดาห์ หากผลtest ผิดปกติ เช่นภาวะ HCG สูงในผู้ป่วยที่มีครรภ์แฝด ผู้ป่วยดาวน์ซินโดรม (Down syndrome) หากพบค่าสูงผิดปกติ จำเป็นต้องตรวจด้วยวิธีอื่นเพิ่มเติมต่อไป
การตรวจด้วยวิธี Noninvasive prenatal testing (NIPT) เช่น Nifty test, Panorama test : วิธีการตรวจนี้สามารถตรวจคัดกรองความผิดปกติของโรคโครโมโซมได้เช่น ดาวน์ซินโดรม โดยการเจาะเลือดมารดาเพื่อตรวจดูDNA ของลูกที่อยู่ในเลือดแม่ โดยทั่วไปจะทำ การเจาะเลือดแม่ที่อายุครรภ์ 9 สัปดาห์ขึ้นไป ( Panorama test) หรือประมาณ 12 -16 สัปดาห์(Nifty test) ดังนั้น หากพบความผิดปกติจึงต้องตรวจเพิ่มเติมด้วยการเจาะตรวจน้ำคร่ำ
อ้างอิง
นันท์ธิดา ภัทราประยูร. (ม.ป.ป.).ภาวะความผิดปกติแต่กำเนิด. สถาบันสุขภาพเด็กแห่งชาติมหาราชินี.
http://www.thaipediatrics.org/Media/media-20161221150039.pdf
การพยาบาลเด็ก เพดานโหว่(Cleft lip)
ระยะก่อนผ่าตัด
ปัญหาที่ 1 :
อาจได้รับอาหารไม่เพียงพอหรือสำลักนมได้ง่าย เนื่องจากการดูดกลืนได้ดี
การประเมิน
น้ำหนักเพิ่มขึ้นเหมาะสมกับวัย
ไม่มีอาการสำลักขณะได้รับนม
กิจกรรมการพยาบาล
1.การดูแลทางด้านอารมณ์
ให้บิดามารดาได้เห็นบุตร
เพื่อป้องกันการกล่าวโทษซึ่งกัน และกันป้องกัน
ความรู้สึกผิด แนะนำแนวทางการรักษาและเวลาที่เหมาะสม
2.การให้นม
เนื่องจากทั้งเด็กปากแหว่งและเพดานโหว่จะมีปัญหาเรื่องการให้อาหาร จึงต้องหาวิธีให้นมที่เหมาะสม
โดยอาจจะแนะนำวิธีให้นมดังนี้คือ
ใช้ช้อนป้อนหรือใช้หลอดแก้วหยดนมให้ (medicine dropper) หรือใช้ขวดนมธรรมดาหัวนิ่มๆ ให้หัวนมอยู่ในกระพุ้งแก้มและหลังลิ้นให้ครั้งละน้อยๆ แต่บ่อยครั้ง
3.การรักษาความสะอาดในช่องปากหลังให้นม หรืออาหารทุกครั้ง
ต้องถอดเพดานเทียมออกมาทำความสะอาดด้วยน้ำสะอาด
จนหมดคราบนมหรืออาหาร แล้วนำกลับไปใส่ให้เด็กใหม่ โดยจะมีการเปลี่ยนเพดานเทียมทุก 3-6 เดือน หรือทุก 1 เดือน
4.พูดกับเด็กด้วยเสียงธรรมดา
ไม่เลียนเสียงเด็ก เนื่องจากเด็กอาจพูดไม่ชัด พูดให้มาก เพื่อให้เด็กฝึกออกเสียงตาม
จะช่วยให้เด็กพัฒนาด้านการพูดได้ดีขึ้น โดยในช่วงแรกควรหัดฟัง เด็กพูดให้เข้าใจ โดยยังไม่ต้องแก้ไขการพูดของเด็กที่ไม่ชัดเจน
ปัญหาที่ 2 :
อาจเกิดการติดเชื้อบริเวณริมฝีปากหรือเพดานที่เป็นรอยโรค จากการปนเปื้อน กับอาหารน้ำเมือกและน้ำลาย
การประเมิน
ริมฝีปากชุ่มชื้น ไม่แห้งหรือแตก
กิจกรรมการพยาบาล
1. ทำความสะอาดบริเวณรอยโรค
ด้วยการใช้ไม้พันสำลีหรือผ้าสะอาดชุบน้ำ เช็ดทำความ สะอาดให้ทุกครั้งหลังให้นมหรืออาหาร
2. ใช้กลีเซอรีนทาบริเวณริมฝีปากให้ชุ่มชื้น
โดยเฉพาะรายที่มีริมฝีปากแห้ง เพื่อป้องกัน ริมฝีปากแห้งและแตก ซึ่งจะทำให้ติดเชื้อได้ง่าย
ปัญหาที่ 3:
บิดามารดาวิตกกังวลเกี่ยวกับการผ่าตัดและผลการรักษา เนื่องจากขาดความรู้
การประเมิน
1.บิดามารดาได้รับทราบข้อมูลเกี่ยวกับโรค วิธีการรักษาและผลของการรักษา
สีหน้าคลายความวิตกกังวล
กิจกรรมการพยาบาล
1. เปิดโอกาสให้บิดามารดาซักถามถึงข้อสงสัยต่างๆ
2.ให้ข้อมูลเรื่องโรค วิธีการรักษาและผลของการรักษา
โดยอาจใช้อุปกรณ์หรือรูปภาพ ประกอบเพื่อความเข้าใจที่ถูกต้อง
3.ควรอธิบายและให้ข้อมูลที่ชัดเจนและดูแลด้านจิตใจบิดา มารดาอย่างใกล้ชิ
ด เนื่องจากเด็กกลุ่มนี้มีการรักษาหลายอย่างร่วมกัน และบางครั้งต้องผ่าตัดหลายครั้ง จึงควรเตรียมบิดามารดาให้เข้าใจในเรื่องนี้
ระยะหลังผ่าตัด
ปัญหาที่ 1:
อาจเกิดภาวะหายใจลำบาก ภายใน 48 ชั่วโมงแรกหลังผ่าตัด
การประเมิน
สัญญาณชีพปกติ เหมาะสมกับวัย ไม่มีอาการหายใจลำบาก
กิจกรรมการพยาบาล
1. จัดให้ทารกนอนตะแคง หรือคว่ำ
เพื่อให้เสมหะ น้ำลาย หรือเลือด ไหลออกได้สะดวกขึ้น
2. ใช้ลูกสูบยางแดงดูดเสมหะที่บริเวณมุมปากอย่างนุ่มนวล และดูดเฉพาะเมื่อจำเป็น
ระวังไม่ให้กระทบกระเทือนบริเวณแผลผ่าตัด
3. สังเกตและบันทึกลักษณะการหายใจ การบวมของลิ้น ปาก รูจมูก
เพื่อนำไปสู่การแก้ไข ที่เหมาะสม และติดตามอาการเปลี่ยนแปลงอย่างใกล้ชิด
ปัญหาที่ 2 :
แผลผ่าตัดมีโอกาสกระทบกระเทือน แยกและติดเชื้อหลังผ่าตัด
กิจกรรมการพยาบาล
1. ใส่เผือกดามแบบ elbow restroint ทั้งสองข้าง
เพื่อป้องกันเด็กใช้มือดึงหรือแกะเกาแผล โดยคลายออกทุก
4 ชั่วโมง และการผูกรัดจะต้องไม่แน่นเกินไป ถ้ามีเหล็กโค้ง (ligan bar) ดูแลให้ติดกับริมฝีปาก อย่างน้อย 2 สัปดาห์
2. ตอบสนองความต้องการของเด็ก
เพื่อให้เด็กสงบและผ่อนคลาย อนุญาตให้มารดาเฝ้า และให้การดูแลเด็ก เพื่อตอบสนองความต้องการพื้นฐานของเด็ก เด็กจะได้ไม่ร้อง
3. ให้อาหารเหลวใสทางปากได้เมื่อเด็กฟื้นจากยาสลบ
ตามด้วยนมผสม มักให้ต่อเนื่อง ไปอีกประมาณ 1 เดือน หรือตามแนวทางการรักษาของแพทย์ผู้ผ่าตัด โดยยังไม่ให้อาหารอื่น การให้นมอาจใช้หลอดหยด กระบอกฉีด ดื่มจากถ้วย หรือรับประทานจากช้อน แต่ห้ามให้เด็ก ดูดนมเอง
4.ให้น้ำหลังให้นม
เพื่อช่วยล้างคราบนมที่ติดบริเวณผ่าตัด
5. ดูแลความสะอาดแผลด้วยน้ำเกลือ0.9 % Nss และทาด้วย kemicetine eye ointment 1%
6. ให้คำแนะนำบิดามารดาให้ดูแล เด็กอย่างต่อเนื่อง
เมื่อแพทย์อนุญาตให้เด็กกลับบ้านได้ก่อนตัดไหม เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดปัญหา
7. แนะนำการดูแลต่อที่บ้านเกี่ยวกับอาหารที่เหมาะสม
ห้ามให้อาหารแข็งจนกว่าแพทย์ จะอนุญาต การดูแลความสะอาดของช่องปากและการมาตรวจตามนัด
การประเมิน
แผลผ่าตัดไม่มีรอยแยก
แผลผ่าตัดแห้ง ไม่มีลักษณะการติดเชื้อ
อ้างอิง
พรทิพย์ ศิริบูรณ์พิพัฒนา. 2561.
การพยาบาลเด็ก 3.
(พิมพ์ครั้งที่ 4 ). บริษัท ธนาเพรส จำกัด.
ภาวะแทรกซ้อน
ปัญหาในการรับประทานอาหาร &การดูดนมแม่
เด็กที่มีอาการเพดานโหว่ไม่สามารถดูดนมแม่ได้ตามปกติ เนื่องจากมีรูโหว่ที่เพดานปาก
เด็กที่มีอาการปากแหว่งไม่สามารถดูดนมแม่ได้ เพราะไม่สามารถปิดปากได้สนิท อาจทำให้อาหารและของเหลวขึ้นจมูก
ปัจจุบันมีการออกแบบจุกนมหรือเพดานเทียมสำเร็จรูปสำหรับเด็กที่เป็นปากแหว่งเพดานโหว่ทำให้สามารถดูดนมหรือรับประทานอาหารได้เหมือนเด็กปกติ จนกว่าจะถึงเวลาเข้ารับการผ่าตัด
การติดเชื้อที่หูและปัญหาการได้ยิน
เด็กที่เป็นโรคปากแหว่งเพดานโหว่จะมีความเสี่ยงในการติดเชื้อที่หูชั้นกลางหรือหูน้ำหนวก
ถ้าไม่ได้รับการรักษาอาจส่งผลต่อการได้ยิน หรือสูญเสียการได้ยินได้
แพทย์ทำการผ่าตัดใส่ท่อที่บริเวณแก้วหูเพื่อระบายของเหลว อาจจำเป็นต้องใช้เครื่องช่วยฟัง
เด็กที่เป็นโรคปากแหว่งเพดานโหว่ควรเข้ารับการตรวจการได้ยินเป็นประจำทุกปี
ปัญหาทางการพูด
ปากและเพดานเป็นส่วนสำคัญในการออกเสียงที่ถูกต้องและชัดเจน ทำให้เด็กเพดานโหว่พูดไม่ชัด มีเสียงขึ้นจมูกได้ และฟังยาก
การผ่าตัดสามารถช่วยแก้ไขให้ปัญหานี้ได้ แต่บางรายอาจต้องเข้ารับการรักษาต่อด้วยวิธีอรรถบำบัด เพื่อพัฒนาการพูดและการออกเสียง
ปัญหาทางทันตกรรม
เด็กที่เป็นโรคปากแหว่งเพดานโหว่มีแนวโน้มที่ทำจะทำให้ฟันผุ ฟันขึ้นผิดตำแหน่ง ฟันซ้อน เรียงตัวไม่สวย
ควรสร้างเสริมสุขอนามัยที่ดีในช่องปาก
หมั่นเข้ารับการตรวจหรือรักษาโดยทันตแพทย์เป็นประจำ หรืออาจต้องมีการจัดฟันร่วมด้วย
อ้างอิง
จียิน วรวิทธิ์เวท. (2563, 25 ตุลาคม).
โรคปากแหว่งเพดานโหว่.
Medparkhospital.
https://www.medparkhospital.com/content/cleft-lip-and-cleft-palate
สุภาพร ชินชัย,ปิยะวัฒน์ ตรีวิทยา, เพื่อนใจ รัตตากร, นันทิการ์ สันสุวรรณ, กฤษณ์ ขวัญเงิน และสุธิดา เหล็กมูล. (2560).
ปัญหาการรับประทานอาหารและการรักษาในเด็กที่มีภาวะปากแหว่งเพดานโหว่.
Journal of Associated Medical Sciences, 50(3), 533-536
การป้องกัน
การรับประทานยาระหว่างตั้งครรภ์ควรปรึกษาแพทย์ พยาบาล หรือเภสัชกร ทุกครั้ง
การออกกำลังกายพอควร นอนหลับพักผ่อนให้เพียงพอ
การลดความเครียด
รับประทานอาหารมีประโยชน์ 5 หมู่
มารดาควรได้รับวิตามิน บี 6 วิตามินบี 12 ธาตุสังกะสี และกรดโฟลิค ก่อนการปฏิสนธิในครรภ์หรือก่อนตั้งครรภ์ประมาณ 2 เดือน จนกระทั่ง 3 เดือน หลังการตั้งครรภ์
มารดาตั้งครรภ์ควรงดสูบบุหรี่ ดื่มแอลกอฮอล์
อ้างอิง
เบญจมาศ พระธานี. (ม.ป.ป.).
ปากแหว่งเพดานโหว่. งานการพยาบาลผู้ป่วยนอก แผนกโสต คอ นาสิก ราลิงซ์.
ศูนย์การแพทย์สมเด็จพระทพรัตนราชสุดา สยามบรมราชกุมารี.
http://med.swu.ac.th/msmc/opd_ent/index.php/news-menu/236-2018-06-20-02-42-52
แนวทางการแก้ไขความพิการในแต่ละช่วงอายุ
การผ่าตัดปิดรอยโหวในภายหลัง เมื่อเด็กอายุ ประมาณ 1-1 1/2 ปี
ผ่าตัดเร็วเกินไปจะเป็นอันตรายต่อรากฟัน
ถ้าทำช้าเกินไปจะทำให้พูดไม่ชัด
ในกรณีที่ต้องรอทำผ่าตัดเป็นเวลานานๆ มักจะใช้เพดานเทียม (Obturator) ปิดรอยโหว่ไว้ก่อน
ช่วงอายุแรกเกิด - 3 เดือน
ทันตแพทย์ จะแนะนำให้แก้ปัญหาการดูดและกลืน โดยพิมพ์ปากเด็ก เพื่อทำเพดานเทียม (Obturator) ซึ่งจะต้องเปลี่ยนใหม่ทุกๆ 1 เดือน
ช่วงอายุ 3-5 เดือน
แพทย์ทำการผ่าตัดเย็บรอยแยกบริเวณริมฝีปาก โดยศัลยแพทย์ช่องปาก
ควรนำเด็กมาตรวจทุกๆ 2 เดือน เพื่อติดตามผลการรักษา รวมถึงเพื่อตรวจสุขภาพช่องปาก
ช่วงอายุ 12-18 เดือน
ศัลยแพทย์ช่องปากจะทำการเย็บรอยแยกบริเวณเพดานปากเพื่อให้เด็กมีสภาพที่ดีขึ้น
เมื่อฟันเริ่มขึ้น ทันตแพทย์เด็กจะให้คำแนะนำในการแปรงฟัน การรับประทานอาหารที่มีประโยชน์ การป้องกันฟันผุ
ผู้ปกครองควรพาเด็ก มาตรวจสุขภาพช่องปากทุก 4-6 เดือน และหมั่นแปรงฟันให้ลูกน้อย
ช่วงอายุ 2-5 ปี
ช่วงเด็กเริ่มพูดได้จะถูกส่งไปปรึกษากับนักฝึกพูด (Speech Therapist) เพื่อแก้ไขความผิดปกติของการออกเสียงที่เกิดจากปากแหว่งเพดานโหว่
ช่วงอายุ 7-9 ปี
ทันตแพทย์จัดฟัน จะเริ่มใส่เครื่องมือบริเวณเพดานเพื่อจะขยายกระดูกเพดานปากที่ล้มเข้ามาหากันแก้ปัญหาฟันซ้อนเก
ช่วงอายุ 9-12 ปี
ศัลยแพทย์ช่องปากจะทำการผ่าตัดเพื่อปลูกกระดูกบริเวณรอยแยกกระดูกเบ้าฟัน โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อให้ฟันที่อยู่ข้างใต้ขึ้นมาได้ และเป็นการปิดรูทะลุระหว่างช่องปากและจมูก
ช่วงอายุ 12-17 ปี
ทันตแพทย์จัดฟันจะทำการแก้ไขการสบฟันที่ผิดปกติที่มีอยู่ เช่น ฟันหน้าบนคร่อมฟันหน้าล่าง
การผ่าตัดกระดูกขากรรไกร รวมไปถึงการผ่าตัดแก้ไขความผิดปกติของจมูกและริมฝีปากที่หลงเหลือจากการผ่าตัดในอดีต
ผู้ปกครองควรพาเด็กมาตรวจเพื่อติดตามผลการรักษาอย่างน้อยปีละ 1 ครั้ง
อ้างอิง
ลัดดาวัลย์ สุนันท์ลิกานนท์, วรนุช เชษฐภักดีจิต. (2560). แนวทางการรักษาผุ้ป่วยปากแหว่งเพดานโหว่โดยทีมสหวิชาชีพ. วารสารโรงพยาบาลธรรมศาสตร์เฉลิมพระเกียรติ, 2(2), 25-27.
https://www.hospital.tu.ac.th/TUH_Journal/doc/article22/2.pdf
การดูแลเรื่องอาหาร
เด็กที่มีภาวะเพดานอาจมีปัญหาในการป้อนนม ป้อนน้ำ
เนื่องจากเด็กจะดูดได้ไม่ดีนัก
คำแนะนำ
กรณีเด็กดูดนมแม่
จัดท่าเด็กในลักษณะเอนเล็กน้อยจนเกือบจะเป็นลักษณะนั่งตรง
คอยจัดให้ริมฝีปากเด็กแนบกับเต้านมแม่เพื่อให้ปิดรอยแหว่งที่ริมฝีปากมิด เด็กจะดูดนมได้ดีขึ้น
กรณีเด็กดูดนมจากขวด
ใช้หัวนมยางชนิดนิ่ม เจาะรูที่หัวนมยางให้รูใหญ่ขึ้น และมีจำนวนเพิ่มขึ้นอีก 3-4 รู
กรณีป้อนนมเด็ก โดยใช้ช้อน หรือกระบอกฉีดยา หรือหลอดสำหรับหยอดยา
ให้เด็กนอนตัวเอน
อ้างอิง
ประโยชน์ พุทธิรักษ์กุล. (ม.ป.ป.). การดูแลรักษาเด็กปากแหว่งเพดานโหว่. Healthcarethai.com.
https://www.healthcarethai.com/ปากแหว่งเพดานโหว่/