Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
หัวข้อที่2 :pen: ปรัชญาการศึกษา ตะวันตก ตะวันออก - Coggle Diagram
หัวข้อที่2 :pen: ปรัชญาการศึกษา
ตะวันตก ตะวันออก
1.นิยามปรัชญาการศึกษา
ปรัชญาการศึกษา คือ แนวความคิด หลักการ และกฎเกณฑ์ ในการกำหนดแนวทาง ในการจัดการศึกษา
3.ประเภทของปรัชญาการศึกษา
ปรัชญาการศึกษาสารัตถนิยม (Essentialism)
William C. Bagley
ปรัชญาที่ยึดเนื้อหา (Subject Matter) สาระที่เป็นแก่นสำคัญ
ปรัชญาการศึกษานิรันตรนิยม (Perennialism)
St.Thomas Aquinas
ความเชื่อที่ว่าหลักการของความรู้ จะต้องมี ลักษณะจีรังยั่งยืนอย่างแท้จริง คงที่ ไม่เปลี่ยนแปลง
เชื่อว่ามนุษย์มีธรรมชาติเหมือนกันและมีคุณสมบัติที่แตกต่างจากสัตว์ ดังนั้นการศึกษาควรจะเป็นแบบเดียวกันและเน้นการพัฒนาเหตุผล
ปรัชญาการศึกษาพิพัฒนาการนิยม Progressivism
Jean Jacques Rouseeau / John Dewey
ความหมายของปรัชญานี้ก็คือ
“การนำความคิดให้ไปสู่การกระทำ” และเป็นแนวทางแห่งความมีอิสระเสรีที่จะนำไปสู่
การเปลี่ยนแปลง ปรับปรุง วัฒนธรรมและสังคม
ปรัชญาการศึกษาปฏิรูปนิยม (Reconstructionism)
Theodore Brameld
เป็นปรัชญาการศึกษาที่ เน้นการปฏิรูปสังคมขึ้นมาใหม่ เพื่อส่งเสริมให้ผู้เรียนสามารถนำความรู้ ความคิดมาช่วยกันแก้บัญหา
สังคม และสร้างสรรค์สังคมให้ดีกว่าเดิม
ปรัชญาการศึกษาอัตถิภาวนิยม (Existentialism)
Soren Kierkegaard / Karl Jaspers
เป็นปรัชญาการศึกษาที่นำพื้นฐานของปรัชญาแนวมนุษยนิยม มนุษย์จะต้องเข้าใจและรู้จักตนเองและรู้จักผิดชอบตัวเอง
4.ปรัชญาการศึกษาตะวันตก
เพลโต (Plato)
เพลโตมีแนวความาคิดว่า มนุษย์สามารถเรียนรู้ได้ สามารถสั่งสอนอบรม และลามารถเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมของมนุษย์ในล้งคมให้ดีขึ้นได้ลักษณะธรรมชาติของมนุษย์
อริสโตเติล (Aristotle)
การศึกษาเป็นกระบวนการที่จะช่วยฝึกฝนร่างกาย จิตใจ ความคิดและอุปนิสัยของคน เพื่อให้เป็นพลเมืองดี เป็นการเตรียมบุคคลให้รู้จักแสวงหาความสุขด้วยวิธีการที่ถูกต้อง
จอห์น ดิวอี้ (John Dewy)
มนุษย์ต้องเผชิญกับปัญหา จึงต้องฝึกให้มนุษย์แก้ปัญหาเพื่อให้เกิดการเรียนรู้จากการกระทำ ฝึกปฏิบัติ ฝึกคิดฝึกลงมือทำ ฝึกทักษะกระบวนการต่างๆ” Learning by doing.”
รุสโซ (Jean Jacques Rousseau)
การให้การศึกษาเด็กต้องเข้าใจธรรมชาติของเด็กเสียก่อน
5.ปรัชญาการศึกษาตะวันออก
ขงจื๊อ
Study without thought is in vain ; Thought without study
ขงจื๊อเน้นให้ผู้เรียนสร้างความอยากรู้ขึ้นในจิตใจของเขา และสามารถต่อยอดความรู้ได้ด้วยตนเองโดยไม่หวังแต่พึ่งครู
เม่งจื๊อ
เม่งจื๊อเชื่อว่า ความดีทั้งหมดสามารถต่อเติมให้กับมนุษย์ได้ด้วยการศึกษาศิลปะวิทยาการต่าง ๆ การศึกษาสามารถช่วยแก้ไขปัญหาต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นได้
2.ความสำคัญของปรัชญาการศึกษา
ปรัชญากับการศึกษามีความสัมพันธ์กันอย่างมาก ปรัชญาช่วยให้เกิดความชัดเจนทางการศึกษาและทำให้นักศึกษาสามารถดำเนินการทางการศึกษาได้อย่างถูกต้อง
ปรัชญาช่วยพิจารณาและกำหนดเป้าหมายทางการศึกษาได้