Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
หน่วยที่ 3 การประเมินตามสภาพจริง - Coggle Diagram
หน่วยที่ 3
การประเมินตามสภาพจริง
การจัดการเรียนการสอนแบบใหม่
ผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง
( Student Center )
การจัดการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง
มีลักษณะที่สำคัญ ดังนี้
เป็นการจัดการเรียนการสอนที่เน้นกระบวนการคิด กระบวนการเรียนรู้
ผู้เรียนและกลุ่มผู้เรียนมากกว่าเนื้อหาวิชาและผู้สอน
เปิดโอกาสให้ผู้เรียนได้ลงมือปฏิบัติจริง
ความเชื่อ
ความรู้กระจายอยู่ทุกที่
จุดเน้นของการเรียนการสอน
การเรียนรู้เกิดได้ทุกที่ ทุกเวลา
กระบวนการที่เกิดขึ้น
กระบวนการแสวงหาและเรียนรู้ของผู้เรียน
ลักษณะของกระบวนการเรียนการสอน
เน้นการคิดมากกกว่าการจำ เน้นการทำมากกว่าท่อง
หน่วยการเรียนรู้
กลุ่ม/เดี่ยว ( เรียนแบบร่วมมือ )
บทบาทผู้เรียน
มีส่วนร่วม ปฏิสัมพันธ์ กระตือรือร้น
บทบาทผู้สอน
อำนวยความสะดวก
ชี้แนะ ร่วมวางแผน ให้คำปรึกษา และประเมินแบบมีส่วนร่วม
บรรยากาศ
ไม่เป็นทางการ
กระบวนการวัดผล
การวัดผลจะเน้นว่าผู้เรียนทำอะไรได้มากกว่าจำอะไรได้
ใช้คะแนนร่วมกับคุณภาพ ปริมาณของผลงานที่กำหนดเป็นตัวบ่งชี้ความสำเร็จ
หลากหลาย ตามสภาพที่ต้องการวัด
ผลที่เกิดขึ้น
ผู้เรียนมีทักษะในการคิด ทำ แก้ปัญหา และประยุกต์ความรู้สู่การปฏิบัติจริง
การจัดการเรียนการสอนแบบเดิม
ผู้สอนเป็นศูนย์กลาง
( Teacher Center )
ถ่ายทอดความรู้จากผู้สอนไปสู่ผู้เรียน
มุ่งเน้นเนื้อหาวิชาเป็นหลัก
ผู้เรียนมีหน้าที่รับฟังและจดจำในสิ่งที่บอกเท่านั้น
ใช้ข้อสอบเป็นเครื่องมือหลักในการวัดผล
จุดเน้นของการเรียนการสอน
เนื้อหา
ความเชื่อ
ความรู้อยู่ที่ผู้สอน
การเรียนรู้เกิดในห้องเรียน
กระบวนการที่เกิดขึ้น
กระบวนการสอนของครูผู้สอน
ลักษณะของกระบวนการเรียนการสอน
เน้นการท่องมากกว่าทำ เน้นการจำมากกว่าคิด
หน่วยการเรียนรู้
คนเดียว ( ต่างคนต่างเรียน )
บทบาทผู้เรียน
ฟัง จำ สอบ เงียบ เฉย
บทบาทผู้สอน
ผู้เชี่ยวชาญ
สอน บรรยาย บอก สั่ง ประเมิน
บรรยากาศ
เป็นทางการ
กระบวนการวัดผล
การวัดผลเน้นว่าผู้เรียนจำอะไรได้มากกว่าทำอะไรได้
ใช้คะแนนเป็นตัวบ่งชี้ความสำเร็จ
ใช้ข้อสอบเป็นเครื่องมือหลัก
ผลที่เกิดขึ้น
ผู้เรียนไม่มีทักษะในการประยุกต์ความรู้สู่การปฏิบัติเท่าที่ควร
ตัวบ่งชี้ลักษณะการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง
ตัวบ่งชี้การเรียนรู้ของผู้เรียน
ผู้เรียนสร้างจิตนาการ ตลอดจนแสดงออกอย่างชัดเจนมีเหตุผล
ผู้เรียนได้รับการเสริมแรงให้ค้นหาคำตอบ แก้ปัญหาด้วยตนเองและร่วมด้วยช่วยกัน
ผู้เรียนฝึกคิดอย่างหลากหลาย และสร้างสรรค์
ผู้เรียนได้ฝึกฝน รวบรวมข้อมูลและสร้างสรรค์ความรู้ด้วยตนเอง
ผู้เรียนทำกิจกรรมแลกเปลี่ยนเรียนรู้จากกลุ่ม
ผู้เรียนเลือกทำกิจกรรมตามความสามารถ
ความถนัดและความสนใจของตนเองอย่างมีความสุข
ผู้เรียนฝึกปฏิบัติจนค้นพบความถนัดและวิธีการของตนเอง
ผู้เรียนฝึกให้ตนเองมีวินัยและรับผิดชอบในการทำงาน
ผู้เรียนมีประสบการณ์ตรงสัมพันธ์กับสิ่งแวดล้อมและธรรมชาติ
ผู้เรียนฝึกประเมิน ปรับปรุงตนเองและยอมรับผู้อื่น ตลอดจนใฝ่หาความรู้อย่างต่อเนื่อง
ตัวบ่งชี้การเรียนรู้ของครู
ผู้สอนเตรียมการสอนทั้งเนื้อหาและวิธีการ
ผู้สอนจัดสิ่งแวดล้อมและบรรยากาศที่ปลุกเร้าจูงใจและเสริมแรงให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้
ผู้สอนเอาใจใส่ผู้เรียนเป็นรายบุคคล และแสดงความเมตตาต่อผู้เรียนอย่างทั่วถึง
ผู้สอนจัดกิจกรรมและสถานการณ์ให้ผู้เรียนได้แสดงออกและคิดสร้างสรรค์
ผู้สอนส่งเสริมให้ผู้เรียนฝึกคิด ฝึกทำและฝึกปรับปรุงตนเอง
ผู้สอนส่งเสริมกิจกรรมแลกเปลี่ยนเรียนรู้จากกลุ่ม
พร้อมทั้งสังเกตส่วนดีและปรับปรุงส่วนด้อยของผู้เรียน
ผู้สอนใช้สื่อการสอนที่ฝึกการคิด การแก้ปัญหาและการค้นพบความรู้
ผู้สอนใช้แหล่งความรู้ที่หลากหลายและเชื่อมโยงประสบการณ์กับชีวิตจริง
ผู้สอนฝึกฝนกิริยามารยาทและวินัยตามวิธีวัฒนธรรมไทย
ผู้สอนสังเกตและประเมินพัฒนาการเรียนรู้ของผู้เรียนอย่างต่อเนื่อง
กิจกรรมการเรียนการสอน
ผู้สอนควรเลือกนำมาใช้ให้เหมาะสมกับเนื้อหาและกลุ่มของผู้เรียน เพื่อมุ่งพัฒนาผู้เรียนให้ครบทั้ง 3 ด้าน คือ
พุทธิพิสัย (Cognitive Domain)
จิตพิสัย (Affective Domain)
และทักษะพิสัย (Psychomotor Domain)
ตัวอย่างกิจกรรมการจัดการเรียนการสอนตามสภาพจริง
กรณีตัวอย่าง
บทบาทสมมุติ
สถานการณ์จำลอง
การแก้ปัญหา
เกมการศึกษา
การแก้ไขสถานการณ์
การวัดและประเมินผลการเรียนรู้ตามสภาพจริง
ความหมายของการประเมินตามสภาพจริง
(Authentic Assessment)
กิตติ กิตติศัพท์ (2547: 13)
การประเมินตามสภาพจริง หมายถึง การประเมินผลที่ใช้วิธีการและเกณฑ์ที่หลากหลายในการวัดและประเมินผลการเรียนรู้ความสามารถ และคุณลักษณะต่าง ๆ ของผู้เรียนอย่างเต็มเวลาของกิจกรรมในแต่ละโปรแกรม
จินดารัตน์ โพธิ์นอก (2561: 23)
การประเมินตามสภาพจริง หมายถึง การประเมินการเรียนรู้ของผู้เรียนจากพฤติกรรม กระบวนการทำงานและผลงาน ในบริบทของการเรียนการสอนตามบริบท สังคมและชุมชนของผู้เรียน และเป็นเครื่องมือวัดสมรรถนะของผู้เรียนที่ได้เรียนรู้ซึ่งแสดงออกโดยการกระทำหรือการแลกเปลี่ยนเรียนรู้กับบุคคลอื่น
ชาตรี เกิดธรรม (มปป: 1)
การประเมินตามสภาพจริง หมายถึง การประเมินจากการปฏิบัติงานหรือกิจกรรมอย่างใดอย่างหนึ่ง โดยงานหรือกิจกรรมที่มอบหมายให้ผู้ปฏิบัติ จะเป็นงานหรือสถานการณ์ที่เป็นจริงหรือใกล้เคียงกับชีวิตจริง จึงเป็นงานที่มีสถานการณ์ซับซ้อนและเป็นองค์รวมมากกว่าการปฏิบัติงานในในกิจกรรมการเรียนทั่วไป
คุณลักษณะของการประเมินตามสภาพจริง
Buke, Forarty และ Belgrad
เป็นการประเมินรอบด้านด้วยวิธีการที่หลากหลาย
งานที่ปฏิบัติเป็นงานที่มีความหมาย คือ สอดคล้องกับชีวิตประจำวัน
ผลผลิตมีคุณภาพ
ใช้ความคิดระดับสูง
มีปฏิสัมพันธ์ทางบวก
มีการกำหนดจำนวนงานขอบเขตและมาตรฐานอย่างชัดเจน
และสอดคล้องกับจุดมุ่งหมายของการเรียนรู้
สะท้อนลักษณะเฉพาะตัวของผู้เรียน
เป็นการประเมินอย่างต่อเนื่อง
เป็นการบูรณาการซึ่งองค์ความรู้
จินดารัตน์ โพธิ์นอก (2561: 23)
การประเมินจากการปฏิบัติงานอย่างใดอย่างหนึ่งของผู้เรียน
การประเมินจากการปฏิบัติงานในชีวิตประจำวัน
การประเมินโดยให้ผู้เรียนสร้างชิ้นงานหรือการประยุกต์ใช้ความรู้หรือทักษะ
การประเมินโดยเน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ
การประเมินจากประจักษ์พยานหลักฐานโดยตรง
ชาตรี เกิดธรรม (มปป: 1)
ใช้วิธีการประเมินกระบวนการคิดที่ซับซ้อน
เป็นการประเมินความสามารถของผู้เรียน
เป็นการประเมินที่เปิดโอกาสให้มีผู้เรียนได้มีส่วนร่วมประเมินผลงาน
ข้อมูลที่ประเมินได้จะต้องสะท้อนให้เห็นถึงกระบวนการจัดการเรียนรู้
และการวางแผนการสอน
ประเมินความสามารถของผู้เรียนในการถ่ายโอนการเรียนรู้ไปสู่ชีวิตจริงได้
ประเมินด้านต่าง ๆ ด้วยวิธีที่หลากหลายในสถานการณ์ต่าง ๆ อย่างต่อเนื่อง
การวัดและประเมินที่มีใช้อยู่โดยทั่วไป
เน้นที่พฤติกรรมเดี่ยว
หยุดการเรียนการสอนในขณะประเมิน
แยกตัวออกจากการสอนหรือวงจรการเรียน
แคบ
ใช้ตัวเลข
ขยายการใช้แบบทดสอบต่อไป
ผู้เรียนเป็นผู้รับความรู้ที่ไม่มีปฏิกิริยา
ไม่เป็นสภาพจริงของกระบวนการเรียนรู้
ครูอยู่นอกระบบประเมิน
อาศัยการวัดและประเมินจากบุคคลภายนอก
ใช้เกณฑ์ตายตัว เป็นตัวกำหนดความสำเร็จ
อาศัยวิธีคิดที่เหมือนกันกับคำตอบที่ถูกต้องเพียงคำตอบเดียว
จุดเน้นอยู่ที่การแยกทักษะต่าง ๆ ออกจากกัน
การวัดผลอยู่ในขอบเขตของแต่ละวิชา
การวัดและประเมินตามสภาพจริง
เน้นการใช้ความคิด ยุทธศาสตร์ในการเรียนรู้ที่ซับซ้อนหลายเชิง
การเรียนการสอนดำเนินไปตามปกติ
เป็นเหตุการณ์ต่อเนื่อง
กว้าง
ใช้ข้อความ
ใช้วิธีการประเมินหลายชนิด
ผู้เรียนคือผู้ที่สร้างความรู้ที่โดดเด่น
เป็นส่วนหนึ่งของกระบวนการเรียนรู้โดยปกติ
ครูเป็นส่วนหนึ่งของระบบประเมิน
อาศัยการวัดการประเมินผลโดยตนเอง ( ผู้เรียน ) เป็นสำคัญ
ใช้เกณฑ์ที่ยืดหยุ่นหลากหลาย เป็นตัวกำหนดความสำเร็จ
อาศัยวิธีคิดและคำตอบที่ต่างกันได้
จุดเน้นคือ การบูรณาการการเรียนรู้ทุกด้านเข้าด้วยกัน
ใช้กระบวนการของสหวิทยาการ
เครื่องมือในการประเมินตามสภาพจริง
การสังเกต
ระเบียนพฤติกรรม
แบบมาตราส่วนประมาณค่า
1 more item...
แบบสำรวจรายการ
1 more item...
การสัมภาษณ์
แบบบันทึกการสัมภาษณ์
สอบถามเพื่อให้ทราบถึงความรู้สึก ความคิด ความเชื่อ และการกระทำด้านต่าง ๆ
การสอบถาม
แบบสอบถาม
ใช้วัดวามต้องการ ความสนใจ ที่แสดงความรู้สึกได้อย่างอิสระ
การทดสอบ
แบบเขียนตอบ
ทดสอบทักษะ ความรู้ความสามารถต่าง ๆ ที่ต้องการทราบ
แบบทดสอบปฏิบัติจริง
1 more item...
แฟ้มสะสมผลงาน (Portfolio)
กิจกรรมที่ผู้เรียนทำเป็นชิ้นงานออกมา อาจเป็นรายงาน
แบบบันทึก เทปบันทึกเสียง ฯลฯ และทำการประเมินโดยตัวผู้เรียนเอง
ผู้สอนและเพื่อร่วมชั้น โดยมีลักษณะที่เน้นให้ผู้เรียนคิดทบทวนและประเมินตนเอง
ประโยชน์ของการประเมินผลตามสภาพจริง
ใช้งานที่มีลักษณะปลายเปิดและสะท้อนกิจกรรมการเรียนการสอนที่แท้จริง
เน้นการใช้ทักษะ ความรู้ความเข้าใจระดับสูงที่สามารถประยุกต์ใช้ข้ามวิชาได้
เน้นที่สาระสำคัญของลักษณะที่บ่งบอกถึงพัฒนาการ
ทางการเรียนรู้มากกว่าเพียงแต่การดูปริมาณของความบกพร่อง
เป็นปฏิบัติการที่เด่นชัดและแสดงให้เห็นกระบวนการ
แก้ปัญหาที่มีความสลับซับซ้อนและยุ่งยากได้เป็นอย่างดี
ส่งเสริมให้มีการใช้วิธีการประเมินผลที่หลากหลาย
และบันทึกผลการเรียนรู้ในภาพกว้างที่ได้มาจากสถานการณ์ต่าง ๆ กัน
สามารถใช้ได้กับทั้งรายบุคคลและรายกลุ่ม
ให้ความสำคัญและสนใจในความคิดและความสามารถ
ของปัจเจกบุคคลมากกว่านำมาเปรียบเทียบระหว่างกัน
สนองตอบความแตกต่างระหว่างบุคคล
และประเภทของผู้เรียนที่แตกต่างกันได้เป็นอย่างดี
ส่งเสริมให้เกิดความร่วมมือกันในระหว่างกระบวนการเรียนการสอน
ผู้เรียนและผู้สอน ล้วนมีบทบาทสำคัญในการประเมินผล
ไม่เน้นว่าผลการศึกษาจะต้องเป็นไปตามเกณฑ์สมมุติฐานที่ตั้งไว้ก่อนหน้าที่จะมีการเรียนการสอน
สามารถนำมาใช้เป็นวิธีการประเมินในระยะยาวได้
ให้ความสำคัญกับความก้าวหน้าที่ต้องการ
ให้เกิดขึ้นมากกว่าการบันทึกจุดอ่อนของผู้เรียน