Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
หน่วยที่ 3 การประเมินตามสภาพจริง - Coggle Diagram
หน่วยที่ 3 การประเมินตามสภาพจริง
การจัดการเรียนการสอนเเบบเดิม
กระบวนทัศน์ของการจัดการเรียนการสอนเเบบเดิมผู้สอนเป็นศูนย์กลาง กระบวนการทัศน์เดิมทางการศึกษาเชื่อว่า ความรู้คือสิ่งสั่งสมอยู่ในตัวของผู้สอน ดังนั้น การจัดการเรียนการสอนจึงคือการถ่ายทอดความรู้จากผู้สอนไปสู่ผู่เรียนผ่านกระบวนการสอนที่มุ่งเน้นเนื้อหาวิชาเป็นหลักผู้เรียนมีหน้าที่รับฟังเเละจดจำในสิ่งที่บอกเท่านั้น ด้วยเหตุนี้ ข้อสอบ จึงเป็นเครื่องมือหลักของการวัดผลว่าผู้เรียนสามารถจดจำเนื้อหาได้มากน้อยเพียงใด โดยมีคะเเนนเป็นตัวบ่งชี้ความสำเร็จ การจัดการเรียนการสอนลักษณะนี้จะเป็นการทดสอบความจำเป็นหลัก จนลืมพัฒนาศักยภาพของผู้เรียนด้านอื่น ๆ
การจัดการเรียนการสอนเเบบใหม่
กระบวนทัศน์ของการจัดการเรียนการสอนเเบบใหม่ผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง ท่ามกลางการเปลี่ยนเเปลงของข้อมูลข่าวสารอย่างรวดเร็วในกระเเสโลกยุคโลกาภิวัฒน์บนฐานของความเจริญทางด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ ได้นำพาสังคมโลกให้กลายเป็นสังคมที่ไร้พรมเเดนมีวิทยาการใหม่ ๆ เกิดขึ้นอย่างมากมายเเละองค์ความรู้เปลี่ยนเเปลงตลอดเวลา
การจัดการเรียนการสอนเน้นผู้เรียนเป็นศูนย์กลางมีลักษณะสำคัญ
เป็นการจัดการเรียนการสอนที่เน้นกระบวนการคิด กระบวนการเรียนรู้ผู้เรียนเเละกลุ่มผู้เรียนมากกว่าเนื้อหาวิชาเเละผู้สอน
เปิดโอกาสให้ผู็เรียนได้ลงมือปฏิบัติจริง
ตัวบ่งชี้ลักษณะการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง
ศูนย์พัฒนาคุณภาพการเรียนการสอน สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาเเห่งชาติ ยังได้ศึกษาทฤษฎีการเรียนรู้ที่สอดคล้องกับเเนวปฏิรูปการศึกษาใน 5 เเนวทาง คือ การเรียนรู้อย่างมีความสุข การเรียนรู้เเบบมีส่วนร่วม การเรียนรู้เพื่อพัฒนากระบวนการคิด การเรียนรู้เพื่อพัฒนาสุนทรียภาพเเละลักษณะนิสัยด้านศิลปะการดนตรีกีฬา การฝึกฝนกาย วาจา ใจ
กิจกรรมการเรียนการสอน
กิจกรรมการเรียนการสอนนับเป็นปัจจัยที่สำคัญประการหนึ่งของการจัดการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง ซึ่งผู้สอนควรนำมาเลืกใช้ให้เหมาะสมกับเนื้อหาเเละกลุ่มผู้เรียน เพื่อพัฒนาผู้เรียนให้ครบทั้ง 3 ด้าน
ตัวอย่าง เกมการศึกษา สถานการณ์จำลอง กรณีตัวอย่าง บทบาทสมมติ การเเก้ปัญหาโปรเเกรมสำเร็จรูป โครงงาน การทดลอง กาาถามตอบ ฯลฯ
การวัดเเละประเมินผลการเรียนรู้ตามสภาพจริง
5.1 ความหมายของการประเมินตามสภาพจริง
กิตติ กิตติศัพท์ การประเมินผลที่ใช้วิธีการเเละเกณฑ์ที่หลากหลายในการวัดเเละประเมินผลการเรียนรู้ ความสามารถ เเละคุณลักษณะต่าง ๆ ของผู้เรียนอย่างเต็มเวลาของกิจกรรมในเเต่ละโปรเเกรม
จินดารัตน์ โพธิ์นอก การประเมินการเรียนรู้ของผู้เรียนจากพฤติกรรมกระบวนการทำงานเเละผลงาน
ชาตรี เกิดธรรม การประเมินจากการปฏิบัติงานหรือกิจกรรมอย่างใดอย่างหนึ่ง โดยงานหรือกิจกรรมที่มอบหมายให้ผู้ปฏิบัติ
5.2 คุณลักษณะของการประเมินตามสภาพจริง
ใช้ความคิดระดับสูง คือผลงานที่สร้างต้องผ่านการคิดวิเคราะห์สังเคราะห์ลงมือทำตลอดจนการใช้ทักษะในการเเก้ปัญหาด้วยตนเอง
มีปฏิสัมพันธ์ทางบวก
ผลผลิตมีคุณภาพ งานทุกงานมีเกณฑ์มาตรฐานที่ร่วมกันตั้งไว้โดยครูผู้เรียนเเละอาจมีผู้ปกครองร่วมด้วย
มีการกำหนดจำนวนงานขอบเขตเเละมาตรฐานอย่างชัดเจนเเละสอดคล้องกับจุดมุ่งหมายการเรียนรู้
เป็นการประเมินรอบด้านด้วยวิธีที่หลายหลาย
สะท้อนลักษณะเฉพาะตัวของผู้เรียน
งานที่ปฏิบัติเป็นงานที่มีความหมาย คือ สอดคล้องกับชีวิตประจำวัน
เป็นการประเมินอย่างต่อเนื่อง ประเมินได้ทุกเวลาทุกสถานที่
การบูรณาการซึ่งองค์ความรู้ต้องใช้ทักษะจากรายวิชาต่าง ๆ
5.3 ประโยชน์ของการประเมินผลตามสภาพจริง
สามารถใช้ได้ทั้งรายบุคคลเเละรายกลุ่ม
ให้ความสำคัญเเละสนใจในความคิดปัจเจกบุคคลมากกว่านำมาเปรียบเทียบระหว่างกัน
ส่งเสริมให้มีการใช้วิธีการประเมินผลที่หลากหลายเเละบันทึกผลการเรียนรู้ในภาพกว้าง
สนองตอบความเเตกต่างระหว่างบุคคลเเละประเภทของผู้เรียนที่เเตกต่างกันได้อย่างดี
เป็นปฏิบัติการที่เด่นชัดเเละเเสดงให้เห็นกระบวนการเเก้ปัญหา
ส่งเสริมให้เกิดความร่วมมือระหว่างการเรียนการสอน
เน้นสาระสำคัญของลักษณะที่บ่งบอกถึงพัฒนาการทางการเรียนรู้
ผู้สอนเเละผู้เรียนล้วนมีบทบาทสำคัญในการประเมินผล
เน้นการใช้ทักษะความรู้ความเข้าใจระดับสูงที่สามารถประยุกต์ข้ามวิชาได้
ไม่เน้นว่าผลการศึกษาจะต้องเป็นไปตามเกณฑ์สมมติฐาน
ใช้งานที่มีลักษณะปลายเปิดเเละสะท้อนกิจกรรมการสอนอย่างเเท้จริง
สามารถนำมาใช้เป็นวิธีการประเมินในระยะยาวได้
ให้ความสำคัญกับความก้าวหน้าที่จะเกิดขึ้นมากกว่าการบันทึกจุดอ่อนของผู้เรียน
5.4 เครื่องมือในการประเมินตามสภาพจริง
การสัมภาษณ์
การสอบถาม
การสังเกต
เเบบสำรวจรายการ
ระเบียนพฤติกรรม
การทดสอบ
การเขียนตอบ
เเบบทดสอบปฏิบัติจริง
เเฟ้มสะสมผลงาน