Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
หน่วยที่ 3 การประเมินตามสภาพจริง - Coggle Diagram
หน่วยที่ 3 การประเมินตามสภาพจริง
การวัดและประเมินผลการเรียนรู้ตามสภาพจริง
5.1 ความหมายของการประเมินตามสภาพจริง (Authentic Assessment)
จินดารัตน์ โพธิ์นอก (2561: 23)
การประเมินตามสภาพจริง หมายถึง การประเมินการเรียนรู้ของผู้เรียนจากพฤติกรรม กระบวนการทำงานและผลงาน ในบริบทของการเรียนการสอนตามบริบท สังคมและชุมชนของผู้เรียน และเป็นเครื่องมือวัดสมรรถนะของผู้เรียนที่ได้เรียนรู้ซึ่งแสดงออกโดยการกระทำหรือการแลกเปลี่ยนเรียนรู้กับบุคคลอื่น
ชาตรี เกิดธรรม (มปป: 1)
การประเมินจากการปฏิบัติงานหรือกิจกรรมอย่างใด
อย่างหนึ่ง โดยงานหรือกิจกรรมที่มอบหมายให้ผู้ปฏิบัติ
จะเป็นงานหรือสถานการณ์ที่เป็นจริงหรือใกล้เคียงกับชีวิตจริง
กิตติ กิตติศัพท์ (2547: 13)
กล่าวว่า การประเมินผลที่ใช้วิธีการและเกณฑ์ที่หลากหลายในการวัดและประเมินผลการเรียนรู้ความสามารถ และคุณลักษณะต่าง ๆ ของผู้เรียนอย่างเต็มเวลาของกิจกรรมในแต่ละโปรแกรม โดยให้ผู้เรียนได้ทำกิจกรรมหรือสร้างผลงานออกมาเพื่อแสดงตัวอย่างของความรู้และทักษะตนที่มีซึ่งกิจกรรมที่นำมาใช้ในการประเมินนั้น
5.2 คุณลักษณะของการประเมินตามสภาพจริง
Buke, Forarty และ Belgrad (อางถึงใน เฉลิมพล พันทอง, 2542)ยังได้เสนอไว้ว่า การประเมินตามสภาพจริงนั้น ควรมีลักษณะดังต่อไปนี้คือ
มีปฏิสัมพันธ์ทางบวก
มีการกำหนดจำนวนงานขอบเขตและมาตรฐานอย่างชัดเจนและสอดคล้องกับจุดมุ่งหมายของการเรียนรู้
ใช้ความคิดระดับสูง
สะท้อนลักษณะเฉพาะตัวของผู้เรียน โดยผู้เรียนมีโอกาสแสดงความรู้สึกนึกคิด
ผลผลิตมีคุณภาพ
เป็นการประเมินอย่างต่อเนื่อง
เป็นการประเมินรอบด้านด้วยวิธีการที่หลากหลาย
เป็นการบูรณาการซึ่งองค์ความรู้กล่าว
งานที่ปฏิบัติเป็นงานที่มีความหมาย
จินดารัตน์ โพธิ์นอก (2561: 23) กล่าวว่า คุณลักษณะสำคัญของการประเมินตามสภาพจริงได้แก่
การประเมินโดยให้ผู้เรียนสร้างชิ้นงานหรือการประยุกต์ใช้ความรู้หรือทักษะ
การประเมินโดยเน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ
การประเมินจากการปฏิบัติงานในชีวิตประจำวัน
การประเมินจากประจักษ์พยานหลักฐานโดยตรง
การประเมินจากการปฏิบัติงานอย่างใดอย่างหนึ่งของผู้เรียน
ชาตรี เกิดธรรม (มปป: 1) กล่าวว่า ลักษณะสำคัญของการวัดและการประเมินผลจากสภาพจริง คือ
เป็นการประเมินที่เปิดโอกาสให้มีผู้เรียนได้มีส่วนร่วมประเมินผลงานของทั้งตนเองและของเพื่อนร่วมห้อง
ข้อมูลที่ประเมินได้จะต้องสะท้อนให้เห็นถึงกระบวนการจัดการเรียนรู้และการวางแผนการสอน
เป็นการประเมินความสามารถของผู้เรียน
ประเมินความสามารถของผู้เรียนในการถ่ายโอนการเรียนรู้ไปสู่ชีวิตจริงได้
ใช้วิธีการประเมินกระบวนการคิดที่ซับซ้อน
ประเมินด้านต่าง ๆ ด้วยวิธีที่หลากหลายในสถานการณ์ต่าง ๆ อย่างต่อเนื่อง
เปรียบเทียบลักษณะของการวัดและประเมินผลที่ใช้กันมาก่อนหน้านี้กับการประเมินตามสภาพจริง
การวัดและประเมินที่มีใช้อยู่โดยทั่วไป
ผู้เรียนเป็นผู้รับความรู้ที่ไม่มีปฏิกิริยา
ไม่เป็นสภาพจริงของกระบวนการเรียนรู้
ขยายการใช้แบบทดสอบต่อไป
ครูอยู่นอกระบบประเมิน
ใช้ตัวเลข
แคบ
อาศัยการวัดและประเมินจากบุคคลภายนอก
แยกตัวออกจากการสอนหรือวงจรการเรียน
ใช้เกณฑ์ตายตัว เป็นตัวกำหนดความสำเร็จ
หยุดการเรียนการสอนในขณะประเมิน
อาศัยวิธีคิดที่เหมือนกันกับคำตอบที่ถูกต้องเพียงคำตอบเดียว
จุดเน้นอยู่ที่การแยกทักษะต่าง ๆ ออกจากกัน
เน้นที่พฤติกรรมเดี่ยว
การวัดผลอยู่ในขอบเขตของแต่ละวิชา
การวัดและประเมินตามสภาพจริง
ผู้เรียนคือผู้ที่สร้างความรู้ที่โดดเด่น
เป็นส่วนหนึ่งของกระบวนการเรียนรู้โดยปกติ
ใช้วิธีการประเมินหลายชนิด
ครูเป็นส่วนหนึ่งของระบบประเมิน
ใช้ข้อความ
อาศัยการวัดการประเมินผลโดยตนเอง(ผู้เรียน)เป็นสำคัญ
กว้าง
ใช้เกณฑ์ที่ยืดหยุ่นหลากหลาย เป็นตัวกำหนดความสำเร็จ
เป็นเหตุการณ์ต่อเนื่อง โดยเป็น่วนประกอบหนึ่งในการสอนหรือวงจรการเรียนรู้ของผู้เรียน
อาศัยวิธีคิดและคำตอบที่ต่างกันได้
การเรียนการสอนดำเนินไปตามปกติ
จุดเน้นคือ การบูรณาการการเรียนรู้ทุกด้านเข้าด้วยกัน
เน้นการใช้ความคิด ยุทธศาสตร์ในการเรียนรู้ที่ซับซ้อนหลายเชิง
ใช้กระบวนการของสหวิทยาการ
5.3 ประโยชน์ของการประเมินผลตามสภาพจริง
ให้ความส าคัญและสนใจในความคิดและความสามารถของปัจเจกบุคคลมากกว่านำมาเปรียบเทียบระหว่างกัน
สนองตอบความแตกต่างระหว่างบุคคลและประเภทของผู้เรียนที่แตกต่างกันได้เป็นอย่างดี
สามารถใช้ได้กับทั้งรายบุคคลและรายกลุ่ม
ส่งเสริมให้เกิดความร่วมมือกันในระหว่างกระบวนการเรียนการสอน
ส่งเสริมให้มีการใช้วิธีการประเมินผลที่หลากหลายและบันทึกผลการเรียนรู้ในภาพกว้างที่ได้มาจากสถานการณ์ต่าง ๆ กัน
ผู้เรียนและผู้สอน ล้วนมีบทบาทสำคัญในการประเมินผล
เป็นปฏิบัติการที่เด่นชัดและแสดงให้เห็นกระบวนการแก้ปัญหาที่มีความสลับซับซ้อนและยุ่งยากได้เป็นอย่างดี
ไม่เน้นว่าผลการศึกษาจะต้องเป็นไปตามเกณฑ์สมมุติฐานที่ตั้งไว้ก่อนหน้าที่จะมีการเรียนการสอน
เน้นที่สาระสำคัญของลักษณะที่บ่งบอกถึงพัฒนาการทางการเรียนรู้มากกว่าเพียงแต่การดูปริมาณของความบกพร่อง
สามารถนำมาใช้เป็นวิธีการประเมินในระยะยาวได้
เน้นการใช้ทักษะ ความรู้ความเข้าใจระดับสูงที่สามารถประยุกต์ใช้ข้ามวิชาได้
ให้ความส าคัญกับความก้าวหน้าที่ต้องการให้เกิดขึ้นมากกว่าการบันทึกจุดอ่อนของผู้เรียน
ใช้งานที่มีลักษณะปลายเปิดและสะท้อนกิจกรรมการเรียนการสอนที่แท้จริง
เครื่องมือในการประเมินตามสภาพจริง
วิธีการ-เครื่องมือ
การสังเกต
แบบสำรวจรายการ
ระเบียนพฤติกรรม
แบบมาตราส่วนประมาณค่า
การสัมภาษณ์
แบบบันทึกการสัมภาษณ์
การสอบถาม
แบบสอบถาม
การทดสอบ
แบบเขียนตอบ
แบบทดสอบปฏิบัติจริง
แฟ้มสะสมผลงาน (Portfolio)
กิจกรรมที่จะวัด
วัดกิจกรรมที่เป็นลักษณะนิสัยและความรู้สึก
สอบถามเพื่อให้ทราบถึงความรู้สึก ความคิด ความเชื่อ และ
การกระทำด้านต่าง ๆ
วัดพฤติกรรมที่ลงมือปฏิบัติแล้วสังเกตความสามารถและ
ร่องรอยของการปฏิบัติ
ใช้วัดวามต้องการ ความสนใจ ที่แสดงความรู้สึกได้อย่างอิสระ
กิจกรรมที่ผู้เรียนทำเป็นชิ้นงานออกมา อาจเป็นรายงาน แบบบันทึก เทปบันทึกเสียง ฯลฯ และทำการประเมินโดยตัวผู้เรียนเอง ผู้สอนและเพื่อร่วมชั้น
ทดสอบทักษะ ความรู้ความสามารถต่าง ๆ ที่ต้องการทราบ
กิจกรรมที่ไม่อาจสังเกตได้ทุกเวลาและอย่างทั่วถึง รวมทั้งพฤติกรรมบางอย่างที่จะเกิดขึ้นได้ต้องอาศัยเงื่อนไขและสภาพแวดล้อมที่เหมาะสม
การจัดการเรียนการสอนแบบใหม่
คือ การจัดการเรียนการสอนแบบใหม่ผู้เรียนเป็นศูนย์กลางกลาง (Student Center) ท่ามกลางการเปลี่ยนแปลงของข้อมูลข่าวสารอย่างรวดเร็วในกระแสโลกาภิวัตน์
บนฐานของความเจริญทางด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ ซึ่งเป็นวิธีการที่นักการศึกษายอมรับกันว่ามีประสิทธิภาพสูงในการให้การศึกษาและพัฒนาผู้เรียน เนื่องจากการจัดการเรียนการสอน ที่เน้นผู้เรียนเป็นศูนย์กลางนี้ มีคุณลักษณะที่สำคัญ 2 ประการ คือ
เป็นการจัดการเรียนการสอนที่เน้นกระบวนการคิด กระบวนการเรียนรู้ผู้เรียนและกลุ่มผู้เรียน มากกว่าเนื้อหาวิชาและผู้สอน
เปิดโอกาสให้ผู้เรียนได้ลงมือปฏิบัติจริง (Learning by Doing)
ความแตกต่างระหว่างการจัดการเรียนการสอนที่เน้นผู้สอนเป็นศูนย์กลางและเน้นผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง
การจัดการเรียนการสอนที่เน้นผู้สอนเป็นศูนย์กลาง
หน่วยการเรียนรู้
คนเดียว (ต่างคนต่างเรียน)
บทบาทผู้เรียน
ฟัง จำ สอบ เงียบ เฉย
ลักษณะของกระบวนการเรียนการสอน
เน้นการท่องมากกว่าทำเน้นการจำมากกว่าคิด
บทบาทผู้สอน
สอน บรรยาย บอก สั่ง ประเมิน
ผู้เชี่ยวชาญ
กระบวนการที่เกิดขึ้น
กระบวนการสอนของครูผู้สอน
บรรยากาศ
เป็นทางการ เป็นครู เป็นผู้เรียนปิดกั้นความคิดสร้างสรรค์
จุดเน้นของการเรียนการสอน
เนื้อหา (Content)
กระบวนการวัดผล
การวัดผลจะเน้นว่าผู้เรียนจำอะไรได้(ความจำ-ข้อมูล) มากกว่าทำอะไรได้ (ทักษะ)
ใช้ “ข้อสอบ” เป็นเครื่องมือหลัก
ใช้คะแนนเป็นตัวบ่งชี้ความสำเร็จ
ความเชื่อ
ความรู้อยู่ที่ผู้สอน
การเรียนรู้เกิดในห้องเรียน
ผลที่เกิดขึ้น
ผู้เรียนไม่มีทักษณะในการประยุกต์ความรู้สู่การปฏิบัติจริงเท่าที่ควร
การจัดการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง
หน่วยการเรียนรู้
กลุ่ม/เดี่ยว (เรียนแบบร่วมมือ)
บทบาทผู้เรียน
มีส่วนร่วม ปฏิสัมพันธ์ กระตือรือร้น
ลักษณะของกระบวนการเรียนการสอน
เน้นการคิดมากกว่าการจำเน้นการทำมากกว่าการท่อง
บทบาทผู้สอน
ชี้แนะ ร่วมวางแผน ให้คำปรึกษาและประเมินแบบมีส่วนร่วม
ผู้อำนวยความสะดวก (Facilitator)
กระบวนการที่เกิดขึ้น
กระบวนการแสวงหาและเรียนรู้ของผู้เรียน
บรรยากาศ
ไม่เป็นทางการ เป็นกัลยาณมิตรเรียนรู้ร่วมกัน ผ่อนคลาย สนุก กระตุ้นและปลุกเร้าให้เกิดความคิดสร้างสรรค์
จุดเน้นของการเรียนการสอน
กระบวนการเพื่อให้มาซึ่งองค์ความรู้ (Process-how to)
กระบวนการวัดผล
การวัดผลจะเน้นว่าผู้เรียนทำอะไรได้(ทักษะ) มากกว่าจำอะไรได้(ความจำ-ข้อมูล
หลากหลาย ตามสภาพที่ต้องการวัด
ใช้คะแนนร่วมกับคุณภาพ ปริมาณของผลงานที่กำหนดเป็นตัวบ่งชี้ความสำเร็จ
ความเชื่อ
ความรู้กระจายอยู่ทุกที่
การเรียนรู้เกิดได้ทุกที่ ทุกเวลา
ผลที่เกิดขึ้น
ผู้เรียนมีทักษะในการคิดทำแก้ปัญหาและประยุกต์ความรู้สู่การปฏิบัติจริง
กิจกรรมการเรียนการสอน
กิจกรรมการเรียนการสอน นับเป็นปัจจัยสำคัญประการหนึ่งของการจัดการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง ซึ่งผู้สอนควรเลือกนำมาใช้ให้เหมาะสมกับเนื้อหาและกลุ่มของผู้เรียน เพื่อมุ่งพัฒนาผู้เรียนให้ครบทั้ง 3 ด้าน
จิตพิสัย (Affective Domain)
และทักษะพิสัย (PaychomotorDomain)
พุทธิพิสัย (Cognitive Domain)
มีตัวอย่างกิจกรรมการจัดการเรียนการสอนตามสภาพจริง
กลุ่มสืบค้นความรู้
กระบวนการกลุ่มแบบพลวัติการเรียนรู้แบบร่วมมือ
สอบสวน
ความคิดรวบยอด
สืบสวน
การแก้ปัญหา
อภิปรายกลุ่มย่อย
ตามแนวทางอริยสัจ 4
การถาม-ตอบ
ศึกษาค้นคว้าด้วยตนเอง
การทดลอง
ทัศนศึกษานอกสถานที่
โครงงาน
งานวิเคราะห์ภาคสนาม
ชุดการสอนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน (CAI : Computer Aided Instruction)
การนำเสนอโดยวิดีโอ
ศูนย์การเรียนด้วยตนเอง
การเล่าเรื่อง
โปรแกรมสำเร็จรูป
การแก้ไขสถานการณ์
การแก้ปัญหา
บทบาทสมมุติ
กรณีตัวอย่าง
เกมการศึกษา
สถานการณ์จ าลอง
การจัดการเรียนการสอนแบบเดิม
คือ ผู้สอนเป็นศูนย์กลางกลาง (Teacher Center) การจัดการเรียนการสอนเป็นการถ่ายทอดความรู้จากผู้สอนไปสู่ผู้เรียน ผ่านกระบวนการสอนที่มุ่งเน้นเนื้อหาวิชาเป็นหลักผู้เรียนมีหน้าที่รับฟังและจดจำ ในสิ่งที่บอกเท่านั้น ด้วยเหตุนี้ “ข้อสอบ” จึงเป็นเครื่องมือหลักของการวัดผลเพื่อวัดว่าผู้เรียนสามารถจดจำเนื้อหาที่ครูสอนได้มากน้อยเพียงใด โดยมีคะแนนเป็นตัวบ่งชี้ความสำเร็จนอกจากนั้นจะเห็นว่าการใช้“ข้อสอบ” เป็นเครื่องมือในกาวัดผลแต่เพียงอย่างเดียวนั้นยังทำให้เป้าหมายของการศึกษาห่างไกลและผิดเพี้ยนไปจากเป้าหมายที่แท้จริง
ตัวบ่งชี้ลักษณะการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง
ศูนย์พัฒนาคุณภาพการเรียนการสอน สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ ได้ศึกษาทฤษฎีการเรียนรู้ที่สอดคล้องกับแนวทางการปฏิรูปการศึกษาใน 5 แนวทาง
การเรียนรู้เพื่อพัฒนากระบวนการคิด
การเรียนรู้เพื่อพัฒนาสุนทรียภาพ
การเรียนรู้แบบมีส่วนร่วม
ลักษณะนิสัยด้านศิลปะ ดนตรีกีฬา และการฝึกฝนกาย วาจา ใจ
การเรียนรู้อย่างมีความสุข
ตัวบ่งชี้ลักษณะเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง
ตัวบ่งชี้การเรียนรู้ของผู้เรียน
ผู้เรียนสร้างจิตนาการ ตลอดจนแสดงออกอย่างชัดเจนมีเหตุผล
ผู้เรียนได้รับการเสริมแรงให้ค้นหาคำตอบ แก้ปัญหาด้วยตนเองและร่วมด้วยช่วยกัน
ผู้เรียนฝึกคิดอย่างหลากหลาย และสร้างสรรค์
ผู้เรียนได้ฝึกฝน รวบรวมข้อมูลและสร้างสรรค์ความรู้ด้วยตนเอง
ผู้เรียนทำกิจกรรมแลกเปลี่ยนเรียนรู้จากกลุ่ม
ผู้เรียนเลือกทำกิจกรรมตามความสามารถ ความถนัดและความสนใจของตนเองอย่างมีความสุข
ผู้เรียนฝึกปฏิบัติจนค้นพบความถนัดและวิธีการของตนเอง
ผู้เรียนฝึกให้ตนเองมีวินัยและรับผิดชอบในการทำงาน
ผู้เรียนมีประสบการณ์ตรงสัมพันธ์กับสิ่งแวดล้อมและธรรมชาติ
ผู้เรียนฝึกประเมิน ปรับปรุงตนเองและยอมรับผู้อื่นตลอดจนใฝ่หาความรู้อย่างต่อเนื่อง
ตัวบ่งชี้การเรียนรู้ของครู
ผู้สอนส่งเสริมให้ผู้เรียนฝึกคิด ฝึกทำและฝึกปรับปรุงตนเอง
ผู้สอนส่งเสริมกิจกรรมแลกเปลี่ยนเรียนรู้จากกลุ่มพร้อมทั้งสังเกตส่วนดีและปรับปรุงส่วนด้อยของผู้เรียน
ผู้สอนจัดกิจกรรมและสถานการณ์ให้ผู้เรียนได้แสดงออกและคิดสร้างสรรค์
ผู้สอนใช้สื่อการสอนที่ฝึกการคิด การแก้ปัญหาและการค้นพบความรู้
ผู้สอนเอาใจใส่ผู้เรียนเป็นรายบุคคล และแสดงความเมตตาต่อผู้เรียนอย่างทั่วถึง
ผู้สอนใช้แหล่งความรู้ที่หลากหลายและเชื่อมโยงประสบการณ์กับชีวิตจริง
ผู้สอนจัดสิ่งแวดล้อมและบรรยากาศที่ปลุกเร้า จูงใจและเสริมแรงให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้
ผู้สอนฝึกฝนกิริยามารยาทและวินัยตามวิธีวัฒนธรรมไทย
ผู้สอนเตรียมการสอนทั้งเนื้อหาและวิธีการ
ผู้สอนสังเกตและประเมินพัฒนาการเรียนรู้ของผู้เรียน
อย่างต่อเนื่อง