Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
การวัดและประเมินผลการเรียนรู้ - Coggle Diagram
การวัดและประเมินผลการเรียนรู้
บทที่ 1 แนวคิดหลักการและแนวปฏิบัติในการวัดและประเมินผลการเรียนรู้ของผู้เรียน
ความหมายของการวัดผล การทดสอบและการประเมินผล
การวัดผลทางการศึกษา หมายถึงกระบวนการในการหาปริมาณความสามารถเกี่ยวกับพฤติกรรมที่เกิดจากการจัดการเรียนการสอนของครูผู้สอนโดยใช้เครื่องมือที่เหมาะสมในการวัดพฤติกรรมทางการศึกษา
การทดสอบ หมายถึงเป็นเทคนิคที่ใช้การวัดผลทางการศึกษาประเภทหนึ่งโดยเครื่องมือที่ใช้ในการวัดผลคือแบบทดสอบ
การประเมินผลหมายถึงการตัดสินคุณค่าของสิ่งที่ได้ทำการวัดอย่างมีเหตุผลโดยเทียบกับเกณฑ์หรือมาตรฐานที่กำหนดเอาไว้
องค์ประกอบของการวัดและประเมินผล
2.1 องค์ประกอบของการวัด ประกอบด้วย 3 องค์ประกอบ
ปัญหาหรือสิ่งที่จะวัด
เครื่องมือหรือเทคนิคที่จะใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล
ข้อมูลที่ได้จากการวัด
2.2องค์ประกอบของการประเมิน ประกอบด้วย 3 องค์ประกอบ
ข้อมูล(ที่ได้จากการวัด)
เกณฑ์
การตัดสินคุณค่าหรือการตัดสินใจ
3.ความสัมพันธ์ระหว่างการวัดและประเมินผลกับกระบวนการเรียนการสอน
จุดประสงค์การเรียนรู้
การวัดผลและประเมินผล
กิจกรรมการเรียนการสอน
4.จุดมุ่งหมายของการวัดผลการศึกษา
4.1 ค้นหาและพัฒนาสมรรถภาพของผู้เรียนเป็นการวัดและการประเมินผลการศึกษา เพื่อพิจารณาว่านักเรียนเข้ายังไม่เข้าใจหรือไม่บรรลุตามวัตถุประสงค์ในข้อใด เเละนำมาปรับปรุงกิจกรรมการเรียนการสอน เพื่อพัฒนาให้ผู้เรียนบรรลุตามจุดประสงค์ของการเรียนรู้ และมีความเจริญงอกงามตามศักยภาพของผู้เรียน
4.2 วินิจฉัย (Diagnosis) เพื่อค้นหาจุดบกพร่องของนักเรียนที่มีปัญหาว่ายังไม่เกิดการเรียนรู้ในจุดใด เพื่อหาทางช่วยเหลือนักเรียนและสอนซ่อมเสริมนักเรียนได้
4.3 จัดอันดับหรือตำแหน่ง (Placement) เพื่อจัดอันดับความสามารถของผู้เรียนในกลุ่มเดียวกันว่าใครเก่งใครอ่อน ผ่าน-ไม่ผ่าน
4.4 เปรียบเทียบหรือทำให้ทราบพัฒนาการของผู้เรียน (Assessment) เพื่อการเปรียบเทียบเพื่อให้ทราบความสามารถของตัวนักเรียนเอง(ไม่เปรียบเทียบกับคนอื่น) ว่ามีความเจริญงอกงามเพียงใด เช่น การทดสอบก่อนเรียน ทดสอบหลังเรียน
4.5 พยากรณ์ (Prediction) เพื่อนำผลไปคาดคะเนหรือทำนายอนาคตของผู้เรียนเช่นแบบสอบถามความถนัด แบบทดสอบวัดเชาว์ปัญญา
4.6 ประเมิน (Evaluation) เพื่อตัดสินใจสรุปคุณภาพของการจัดการศึกษา ว่าควรปรับปรุงหลักสูตรใหม่หรือไม่
ธรรมชาติของวัดผลการศึกษา
5.1 การวัดผลการศึกษาเป็นการวัดที่ไม่สมบูรณ์ (Incomplete) เป็นการวัดผลการศึกษาไม่สามารถวัดได้ละเอียดครบถ้วนตามที่ต้องการเพราะเป็นการวัดในสิ่งที่เป็นนามธรรมไม่สามารถทราบปริมาณหรือขอบเขตที่แน่นอนได้
5.2 การวัดผลการศึกษาเป็นการวัดทางอ้อม (Indirect) เป็นการวัดผลทางการศึกษาไม่สามารถวัดได้โดยตรงเนื่องจากข้อจำกัดในด้านของเครื่องมือที่ใช้ในการวัด กล่าวคือไม่มีเครื่องมือใดที่จะสามารถวัดความรู้ที่ฝังอยู่ในตัวของบุคคลได้จริง
5.3 การวัดผลการศึกษามีความคลาดเคลื่อน (Error) เมื่อการวัดผลการศึกษาไม่สามารถวัดได้โดยตรงดังนั้นโอกาสที่จะเกิดความคลาดเคลื่อนในการวัดจึงมีเพราะพฤติกรรมของมนุษย์มีความซับซ้อน ไม่สามารถจับต้องได้ อาจจะเกิดจากตัวผู้ถูกวัดเองหรือเกิดจากปัจจัยภายนอก
5.4 การวัดผลการศึกษาเป็นการวัดในเชิงสัมพันธ์(Relation) โดยต้องมีการนำเอาผลที่ได้จากการวัดผลการศึกษาไปเปรียบเทียบกับเกณฑ์จึงสามารถแปลความหมายได้
5.5 การวัดผลการศึกษาเป็นการวัดที่ไม่มีศูนย์แท้หรือศูนย์สมบูรณ์ คะแนนหรือผลที่ได้จากการวัดเท่ากับ 0 ไม่ได้แปลว่าผู้เรียนไม่มีความรู้แต่ผู้เรียนอาจจะมีความรู้แต่ข้อสอบไม่ได้ถามในสิ่งที่ผู้เรียนมีความรู้
มาตราการวัด
6.1 มาตรานามบัญญัติ(Nominal scale) เป็นระดับการวัดที่ต่ำที่สุด เป็นระดับที่ใช้จำแนกความแตกต่างของสิ่งที่ต้องการวัดออกเป็นกลุ่ม ๆ โดยใช้ตัวเลข
6.2 มาตราเรียงอันดับ(Ordinal Scale) เป็นระดับที่สูงกว่านามบัญญัติเป็นการกำหนดตัวเลขเพื่อชี้ถึงลำดับตัวเลขในมาตราการวัดนี้ เป็นตัวเลขที่บอกความหมายในลักษณะมาก-น้อย สูง-ต่ำ เก่ง- อ่อน กว่ากัน
6.3 มาตราอันตรภาค(Interval Scale) เป็นระดับที่สูงกว่า 2 มาตราที่กล่าวมามีคุณสมบัติเพิ่มขึ้นอีก 2 ประการ คือมี ศูนย์สมมุติ (ศูนย์มีความหมายไม่แท้) และมีหน่วยของการวัดที่เท่ากันสามารถบ่งบอกถึงปริมาณความแตกต่างได้
6.4 มาตราอัตราส่วน(Ratio Scale) เป็นระดับที่สูงที่สุด เนื่องจากมีศูนย์แท้การวัดในระดับนี้ส่วนใหญ่จะเป็นการวัดทางวิทยาศาสตร์ ส่วนการวัดทางการศึกษาไม่จัดอยู่ในระดับนี้
ขอบข่ายในการวัดและประเมินผลการเรียนรู้ของผู้เรียน
7.1 หลักการในการวัดผลการศึกษา ประกอบด้วย
กำหนดจุดประสงค์ของการวัดและประเมินผลให้ชัดเจน
เลือกใช้วิธีการวัดให้เหมาะสมหรือเครื่องมือที่มีคุณภาพ
เลือกใช้วิธีการวัดหรือเครื่องมือที่หลากหลาย
เลือกตัวแทนของสิ่งที่จะวัดให้เหมาะสม
ใช้ผลจากการวัดให้คุ้มค่าซึ่งไม่ได้มุ่งให้ครูตัดสินใจว่านักเรียนเก่ง-อ่อน แต่จุดประสงค์สำคัญคือค้นหาและพัฒนาผู้เรียน
มีความยุติธรรม
ดำเนินการสอบที่มีคุณภาพ
7.2 กระบวนการวัดและประเมินผลทางการศึกษา
กำหนดวัตถุประสงค์
กำหนดจุดประสงค์เชิงพฤติกรรม
สร้างเครื่องมือวัดผลการเรียนรู้
ทดสอบและเก็บรวบรวมข้อมูล
จัดกระทำกับข้อมูล
ตัดสินผลการเรียนรู้
การกำหนดวัตถุประสงค์ในการประเมินและสิ่งที่จะประเมิน
8.1 ประเภทของการประเมินผล
จำแนกตามวัตถุประสงค์ของการประเมิน
(1.1) การประเมินผลก่อนเรียน (Pre-evaluation) ประเมินเพื่อตรวจสอบความรู้พื้นฐานและทักษะของผู้เรียนว่ามีความรู้เพียงพอที่จะเรียนต่อในรายวิชาใหม่หรือเนื้อหาใหม่ได้หรือไม่ หากพบว่ามีความรู้พื้นฐานไม่เพียงพอครูจะต้องจัดให้มีการสอนปรับพื้นฐานจนผู้เรียนมีความรู้เพียงพอ
(1.2) การประเมินผลระหว่างเรียน หรือการประเมินความก้าวหน้า (Formative evaluation) ประเมินเพื่อตรวจสอบว่าผู้เรียนบรรลุตามวัตถุประสงค์ของการเรียนที่กำหนดไว้หรือไม่เพียงใดหากพบว่ามีข้อบกพร่องก็หาแนวทางปรับปรุงแก้ไขในข้อบกพร่องนั้น
(1.3) การประเมินสรุป (Summative evaluation) ประเมินเพื่อการตัดสินผลการเรียนรู้และเพื่อตรวจสอบว่าผู้เรียนมีความรู้ทั้งสิ้นเท่าไร โดยครูจำเป็นต้องประเมินให้ครอบคลุมทุกจุดประสงค์
จำแนกตามระบบการวัดผล
(2.1) การประเมินแบบอิงกลุ่ม (norm-referenced evaluation) เป็นการตัดสินคุณลักษณะหรือพฤติกรรมโดยเปรียบเทียบกับผู้เรียนที่อยู่ในกลุ่มเดียวกัน เพื่อจำแนกหรือจัดลำดับบุคคลในกลุ่มนั้น ๆ
(2.2) การประเมินแบบอิงเกณฑ์ (criterion-referenced evaluation) เป็นการตัดสินคุณลักษณะหรือพฤติกรรมโดยเปรียบเทียบกับเกณฑ์ที่กำหนดไว้เพื่อบ่งชี้สถานภาพของผู้เรียนแต่ละคนเมื่อเปรียบเทียบกับเกณฑ์
8.2 การกำหนดสิ่งที่จะประเมิน เป็นการกำหนดเป้าหมายของการจัดการศึกษาที่ชัดเจนโดยเฉพาะอย่างยิ่งกำหนดพฤติกรรมทางการศึกษาที่ต้องการให้เกิดขึ้นแก่ผู้เรียนอย่างชัดเจน ซึ่งเป็นคุณลักษณะที่พึงประสงค์ที่จะเกิดขึ้นกับผู้เรียนตามกระบวนการเรียนการสอนอันประกอบไปด้วยความรู้ ความสามารถ ทักษะ และลักษณะนิสัยต่าง ๆ
การประโยชน์ของการประเมินผลการศึกษา
ครูได้ข้อมูลพฤติกรรมของผู้เรียนเบื้องต้นก่อนจัดกิจกรรมการเรียนการสอน
ช่วยให้ครูกำหนดหรือปรับจุดมุ่งหมายของการสอนให้ชัดเจนยิ่งขึ้น
ประเมินประสิทธิภาพการสอนของครูผู้สอนเอง
ผู้เรียนทราบถึงระดับความสามารถของตนเองมีแรงจูงใจในการเรียนมากขึ้น
เป็นประโยชน์ต่อผู้บริหารสถานศึกษาในการบริหารจัดการโรงเรียน
บทที่ 2 พฤติกรรมทางการศึกษา
1 การจำแนกพฤติกรรมทางการศึกษา
1.1 พฤติกรรมด้านพุทธิพิสัย Cognitive Domain เป็นกลุ่มพฤติกรรมที่เกิดจากการใช้สมองหรือสติปัญญา
1.1.1 ความรู้ หมายถึง ความสามารถในการระลึกถึงเรื่องราวต่างๆออกมาได้อย่างถูกต้องแม่นยำ ความรู้ จำแนกเป็น 3 ประเภท
ความรู้เฉพาะเจาะจง
ความรู้เกี่ยวกับวิธีดำเนินการเฉพาะอย่าง
ความรู้รวบยอดและนามธรรมในแต่ละเนื้อเรื่อง
1.1.2 ความเข้าใจ เป็นสมรรถภาพทางสมองของบุคคลในการจัดระเบียบความคิดและแสดงออกมาโดยสามารถนำเสนอความรู้ความคิดที่ชัดเจนกว่าของเดิมสามารถจำแนกได้ 3 ประเภท
การแปลความ
การตีความ
การขยายความ
1.1.3 การนำไปใช้ เป็นความสามารถในการประยุกต์หลักการเทคนิคแนวคิดหรือทฤษฎีต่างๆเพื่อแก้ปัญหาในสถานการณ์ที่แปลกใหม่
1.1.4 การวิเคราะห์ ความสามารถในการแยกแยะรายละเอียดของเนื้อหา การวิเคราะห์จึงมีเป้าหมายที่จะค้นหาความจริงที่แฝงอยู่ จำแนกเป็น 3 ชนิด
การวิเคราะห์ส่วนประกอบ
การวิเคราะห์ความสัมพันธ์
การวิเคราะห์หลักการ
1.1.5 การสังเคราะห์ ความสามารถในการผสมผสานส่วนย่อยเข้าเป็นเรื่องราวเดียวกันซึ่งจะเกี่ยวข้องกับกระบวนการทำงาน การจัดเรียบเรียง และผสมผสานให้เกิดสิ่งใหม่ขึ้นต้องดัดแปลงปรับปรุงของเก่าให้ดีขึ้นเพื่อหาส่วนดีไปถ่ายทอด จำแนกเป็น 3 ระดับ
การสังเคราะห์ข้อความ
การสังเคราะห์แผนงาน
การสังเคราะห์ความสัมพันธ์
1.1.6 การประเมินค่า การตัดสินเกี่ยวกับคุณค่าของสิ่งหนึ่งสิ่งใดทั้งนี้อาจเป็นการตัดสินโดยยึดถือตามปริมาณหรือคุณภาพแต่จะต้องมีเกณฑ์ที่เหมาะสมเพื่อใช้เป็นมาตรฐานในการตัดสิน จำแนกเป็น 2 ระดับ
1.การตัดสินโดยอาศัยข้อเท็จจริงภายในเหตุการณ์ เป็นความสามารถในการตัดสินเหตุการณ์หนึ่งโดยใช้เนื้อหาสาระภายในเหตุการณ์นั้นเป็นเกณฑ์ตัดสิน หรือความถูกต้องเหมาะสมของข้อมูลและประสิทธิภาพของวิธีการและการปฏิบัติในเรื่องนั้น ๆ
2.การตัดสินโดยใช้เกณฑ์ภายนอก เป็นความสามารถในการตัดสินเหตุการณ์หนึ่งโดยนำไปเทียบกับเกณฑ์ภายนอกที่เลือกมา และจะต้องเป็นที่ยอมรับในสังคมแล้ว
1.2 พฤติกรรมด้านจิตพิสัย เป็นกลุ่มพฤติกรรมที่เกิดจากความรู้สึกนึกคิดหรือความรู้ทางจิตใจ โดยจะต้องใช้เวลานานในการวัดและใช้เวลาต่อเนื่องกันพอสมควรเพราะต้องผ่านกระบวนการไปตามลำดับซึ่งจำแนกเป็นลำดับขั้นของการเกิดพฤติกรรมได้ 5 ขั้น
1 ขั้นรับรู้ เริ่มจากการที่บุคคลรับรู้สิ่งเร้าหรือปรากฏการณ์ต่างๆที่กระทบประสาทสัมผัสต่างๆจนเกิดความรู้สึกสนใจในสิ่งนั้น
2 ขั้นตอบสนอง บุคคลจะมีพฤติกรรมตอบสนองต่อสิ่งเร้าในลักษณะที่เต็มใจหรือไม่เต็มใจ ยินดีพอใจหรือไม่ยินดีพอใจ บางครั้งเราสามารถสังเกตกริยาอาการหรือการกระทำได้
3 ขั้นเห็นคุณค่าหรือสร้างค่านิยม เกิดความรู้สึกในคุณค่าของสิ่งนั้นซึ่งมักจะต้องยึดถือกฎเกณฑ์ของกลุ่มหรือสังคมมาใช้ในการตัดสินใจให้คุณค่าและกลายเป็นสิ่งที่มีอิทธิพลต่อการควบคุมทิศทางของพฤติกรรมซึ่งเรียกว่าค่านิยม
4 ขั้นจัดระบบค่านิยม โดยการจัดลำดับความสำคัญของค่านิยมและสัมพันธ์เชื่อมโยงค่านิยมที่เกี่ยวข้องกันกลายเป็นคติหรือแนวทางการประพฤติปฏิบัติ
5 ขั้นสร้างลักษณะนิสัยจากค่านิยม จะมีการพัฒนาบุคลิกภาพหรือลักษณะนิสัยของบุคคลให้เป็นรูปแบบที่ชัดเจนซึ่งอาจจะอยู่ในระดับที่ปรับลักษณะนิสัยให้สอดคล้องกับความคาดหวังของสังคมเพราะเป็นสิ่งที่ช่วยให้คนเป็นคนดีและเป็นที่ยอมรับของผู้อื่น
1.3 พฤติกรรมด้านทักษะพิสัย เป็นกลุ่มพฤติกรรมที่เกิดจากการใช้กล้ามเนื้อและประสาทสัมพันธ์หรือพฤติกรรมจากการได้ลงมือปฏิบัติจริง โดยมีขั้นตอนของการเกิดพฤติกรรมไปตามลำดับจำแนกไว้ 7 ขั้น
1 การรับรู้ เป็นจุดเริ่มต้นของการเกิดพฤติกรรมด้านการรับสัมผัสสิ่งเร้าผ่านทางประสาทสัมผัสต่างๆ เช่น หู ตา จมูก ลิ้น ผิวกาย
2 การเตรียมความพร้อม คือ การเตรียมความพร้อมคือการเตรียมตัวกลับ การเตรียมความพร้อมคือการเตรียมตัวกระทำหรือปรับตัวให้อยู่ในสภาพพร้อม การเตรียมความพร้อมคือการเตรียมตัวกระทำหรือปรับตัวให้อยู่ในสภาพพร้อมที่กระทำซึ่ง ด้านคือ ด้านคือด้านด้านร่างกายและด้านอารมณ์และความรู้สึก
3 การตอบสนองตามแนวชี้แนะ เป็นการเริ่มพัฒนาทักษะโดยการแสดงพฤติกรรมเลียนแบบตามผู้แนะนำครั้งนี้จะเป็นการลองผิดลองถูก
4 การปฏิบัติได้ด้วยตนเอง คือการที่บุคคลสามารถปฏิบัติงานได้ด้วยความเชื่อมั่นในตนเองมีผลสัมฤทธิ์ที่น่าพอใจ
5 การตอบสนองที่ซับซ้อน เป็นขั้นที่สามารถกระทำหรือปฏิบัติงานที่ซับซ้อนได้ แม้จะต้องใช้ทักษะขั้นสูงก็สามารถทำได้อย่างชำนาญ
6 การดัดแปลง เมื่อบุคคลคนต้องแก้ปัญหาบ่อยๆก็จะพัฒนาวิธีการเดิมให้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้นเพื่อลดขั้นตอน ลดเวลา หรือเพิ่มคุณภาพของผลงาน
7 การริเริ่ม เป็นขั้นสูงสุดของการพัฒนาทักษะซึ่งบุคคลสามารถสร้างสรรค์ผลงานใหม่ด้วยวิธีการใหม่ที่ตนคิดขึ้นมาโดยใช้สติปัญญาร่วมกับประสบการณ์ ด้านทักษะ
2 คุณภาพผู้เรียนตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน
2.1 วิสัยทัศน์ มุ่งพัฒนาผู้เรียนทุกคนให้เป็นมนุษย์ที่มีความสมดุลทางด้านร่างกาย ความรู้ คุณธรรม มีจิตสำนึก ในความเป็นพลเมืองไทยและพลโลกโดยมุ่งเน้นผู้เรียนเป็นสำคัญบนพื้นฐานความเชื่อว่าทุกคนสามารถเรียนรู้และพัฒนาตนเองได้เต็มศักยภาพ
2.2 จุดหมาย
มีคุณธรรม จริยธรรมและค่านิยมที่พึงประสงค์เห็นคุณค่าของตนเองมีวินัยและปฏิบัติตนตามหลักธรรมของพระพุทธศาสนาและยึดหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง
มีความรู้อันเป็นสากลและมีความสามารถในการสื่อสาร การแก้ปัญหา การใช้เทคโนโลยี และมีทักษะชีวิต
มีสุขภาพกายและสุขภาพจิตที่ดี มีสุขนิสัยและรักการออกกำลังกาย
มีความรักชาติ มีจิตสำนึกในความเป็นพลเมืองไทยและพลโลก
มีจิตสำนึกในการอนุรักษ์วัฒนธรรมและภูมิปัญญาไทย และพัฒนาสิ่งแวดล้อมมุ่งทำ
2.3 สมรรถนะที่สำคัญของผู้เรียน
ความสามารถในการสื่อสาร
ความสามารถในการคิด
ความสามารถในการแก้ปัญหา
ความสามารถในการใช้ทักษะชีวิต
ความสามารถในการใช้เทคโนโลยี
2.4 คุณลักษณะอันพึงประสงค์ของผู้เรียน
1.รักชาติ ศาสน์ กษัตริย์
2.ซื่อสัตย์สุจริต
3.มีวินัย
4.ใฝ่เรียนรู้
5.อยู่อย่างพอเพียง
7.รักความเป็นไทย
6.มุ่งมั่นในการทํางาน
8.มีจิตสาธารณะ
2.5 มาตรฐานการเรียนรู้และตัวชี้วัด 8 กลุ่มสาระการเรียนรู้
1.ภาษาไทย
2.คณิตศาสตร์
3.วิทยาศาสตร์
4.สังคมศึกษาศาสนาและวัฒนธรรม
5.สุขศึกษาและพลศึกษา
6.ศิลปะ
7.การงานอาชีพและเทคโนโลยี
8.ภาษาต่างประเทศ
มาตรฐานการเรียนรู้ที่กำหนดไว้ในแต่ละกลุ่มสาระการเรียนรู้เป็นเป้าหมายสำคัญของการพัฒนาคุณภาพผู้เรียนซึ่งจะระบุสิ่งที่ผู้เรียนพึงรู้และปฏิบัติได้อย่างมีคุณธรรม จริยธรรมและค่านิยมอันพึงประสงค์ที่จะต้องให้เกิดแก่ผู้เรียนเมื่อจบการศึกษาขั้นพื้นฐาน
2.6 กิจกรรมพัฒนาผู้เรียน เป็นกิจกรรมสำหรับส่งเสริมผู้เรียนประกอบด้วย
-กิจกรรมแนะแนว
-กิจกรรมนักเรียน
-กิจกรรมเพื่อสังคมและสาธารณประโยชน์
บทที่ 3 การประเมินตามสภาพจริง
การจัดการเรียนการสอนแบบเดิม
กระบวนทัศน์ของการจัดการเรียนการสอนแบบเดิมผู้สอนเป็นศูนย์กลางกลาง (Teacher Center)จึงเป็นการถ่ายทอดความรู้จากผู้สอนไปสู่ผู้เรียน ผ่านกระบวนการสอนที่มุ่งเน้นเนื้อหาวิชาเป็นหลัก ผู้เรียนมีหน้าที่ รับฟังและจดจำในสิ่งที่บอกเท่านั้น การจัดการเรียนการสอนในลักษณะดังกล่าวมุ่งเน้นการสั่งสมองค์ความรู้ ในเชิงความจำและการทดสอบความจำในเนื้อหาที่กำหนดเป็นหลัก จนลืมที่จะพัฒนาศักยภาพและทักษะ ในด้านอื่น ๆ ของผู้เรียน
การจัดการเรียนการสอนแบบใหม่
กระบวนทัศน์ของการจัดการเรียนการสอนแบบใหม่ผู้เรียนเป็นศูนย์กลางกลาง (Student Center)เป็นการให้ผู้เรียนได้ค้นพบความรู้เองภายใต้สถานการณ์ที่ ผู้สอนออกแบบไว้และเน้นผู้เรียนเป็นสำคัญหรือเป็นศูนย์กลาง ซึ่งเป็นวิธีการที่นักการศึกษายอมรับกันว่า มีประสิทธิภาพสูงในการให้การศึกษาและพัฒนาผู้เรียน และมีคุณลักษณะที่สำคัญ 2 ประการ
(1) เป็นการจัดการเรียนการสอนที่เน้นกระบวนการคิด กระบวนการเรียนรู้ผู้เรียนและกลุ่มผู้เรียน มากกว่า เนื้อหาวิชาและผู้สอน
(2) เปิดโอกาสให้ผู้เรียนได้ลงมือปฏิบัติจริง (Learning by Doing) เพื่อกระตุ้นส่งเสริมให้ผู้เรียนได้ค้นพบ ความรู้ด้วยตนเองอย่างเต็มศักยภาพมากที่สุด เพื่อให้ผู้เรียนสามารถพึ่งตนเองและมีบทบาทในการรับผิดชอบต่อ การเรียนรู้ของตนเองมากขึ้น
ตัวบ่งชี้ลักษณะการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง
ตัวบ่งชี้การเรียนรู้ของผู้เรียน
(1)ผู้เรียนมีประสบการณ์ตรงสัมพันธ์กับสิ่งแวดล้อมและธรรมชาติ
(2) ผู้เรียนฝึกปฏิบัติจนค้นพบความถนัดและวิธีการของ ตนเอง
(3) ผู้เรียนทำกิจกรรมแลกเปลี่ยนเรียนรู้จากกลุ่ม
(4) ผู้เรียนฝึกคิดอย่างหลากหลาย และสร้างสรรค์
(5 )ผู้เรียนสร้างจิตนาการ ตลอดจนแสดงออกอย่าง ชัดเจนมีเหตุผล
(6) ผู้เรียนได้รับการเสริมแรงให้ค้นหาคำตอบ แก้ปัญหา ด้วยตนเองและร่วมด้วยช่วยกัน
(7) ผู้เรียนได้ฝึกฝน รวบรวมข้อมูลและสร้างสรรค์ความรู้ ด้วยตนเอง
(8) ผู้เรียนเลือกทำกิจกรรมตามความสามารถ ความ ถนัดและความสนใจของตนเองอย่างมีความสุข
(9) ผู้เรียนฝึกให้ตนเองมีวินัยและรับผิดชอบในการ ทำงาน
(10) ผู้เรียนฝึกประเมิน ปรับปรุงตนเองและยอมรับผู้อื่น ตลอดจนใฝ่หาความรู้อย่างต่อเนื่อง
ตัวบ่งชี้การเรียนรู้ของครู
ผู้สอนเตรียมการสอนทั้งเนื้อหาและวิธีการ
ผู้สอนจัดสิ่งแวดล้อมและบรรยากาศที่ปลุกเร้า จูงใจและ เสริมแรงให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้
ผู้สอนเอาใจใส่ผู้เรียนเป็นรายบุคคล และแสดงความ เมตตาต่อผู้เรียนอย่างทั่วถึง
ผู้สอนจัดกิจกรรมและสถานการณ์ให้ผู้เรียนได้แสดงออก และคิดสร้างสรรค์
ผู้สอนส่งเสริมให้ผู้เรียนฝึกคิด ฝึกทำและฝึกปรับปรุงตนเอง
ผู้สอนส่งเสริมกิจกรรมแลกเปลี่ยนเรียนรู้จากกลุ่มพร้อม ทั้งสังเกตส่วนดีและปรับปรุงส่วนด้อยของผู้เรียน
ผู้สอนใช้สื่อการสอนที่ฝึกการคิด การแก้ปัญหาและการ ค้นพบความรู้
ผู้สอนใช้แหล่งความรู้ที่หลากหลายและเชื่อมโยง ประสบการณ์กับชีวิตจริง
ผู้สอนฝึกฝนกิริยามารยาทและวินัยตามวิธีวัฒนธรรมไทย
ผู้สอนสังเกตและประเมินพัฒนาการเรียนรู้ของผู้เรียน อย่างต่อเนื่อง
กิจกรรมการเรียนการสอน
เป็นปัจจัยสำคัญของการจัดการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง ซึ่งผู้สอนควรเลือกนำมาใช้ให้เหมาะสมกับเนื้อหาและกลุ่มของผู้เรียน เพื่อมุ่งพัฒนาผู้เรียนให้ครบ ทั้ง 3 ด้าน คือ พุทธิพิสัย (Cognitive Domain) จิตพิสัย (Affective Domain) และทักษะพิสัย (Paychomotor Domain)
การวัดและประเมินผลการเรียนรู้ตามสภาพจริง
5.1 ความหมายของการประเมินตามสภาพจริง (Authentic Assessment) หมายถึง การประเมินการเรียนรู้ของผู้เรียนจากพฤติกรรม กระบวนการทำงานและผลงาน ในบริบทของการเรียนการสอนตามบริบท สังคม และชุมชนของผู้เรียน และเป็นเครื่องมือวัดสมรรถนะของผู้เรียนที่ได้เรียนรู้ซึ่งแสดงออกโดยการกระทำหรือการแลกเปลี่ยนเรียนรู้กับบุคคลอื่น
5.2 คุณลักษณะของการประเมินตามสภาพจริง
(1) งานที่ปฏิบัติเป็นงานที่มีความหมาย คือ สอดคล้องกับชีวิตประจำวัน
(2) เป็นการประเมินรอบด้านด้วยวิธีการที่หลากหลาย
(3) ผลผลิตมีคุณภาพ งานทุกงานมีเกณฑ์มาตรฐานที่ร่วมกันตั้งไว้
(4) ใช้ความคิดระดับสูง
(5) มีปฏิสัมพันธ์ทางบวก
(6) มีการกำหนดจำนวนงานขอบเขตและมาตรฐานอย่างชัดเจนและสอดคล้องกับจุดมุ่งหมายของการเรียนรู้
(7) สะท้อนลักษณะเฉพาะตัวของผู้เรียน
(8) เป็นการประเมินอย่างต่อเนื่อง
(9) เป็นการบูรณาการซึ่งองค์ความรู้
5.3 ประโยชน์ของการประเมินผลตามสภาพจริง
(1) ใช้งานที่มีลักษณะปลายเปิดและสะท้อนกิจกรรมการเรียนการสอนที่แท้จริง
(2) เน้นการใช้ทักษะ ความรู้ความเข้าใจระดับสูงที่สามารถประยุกต์ใช้ข้ามวิชาได้
(3) เน้นที่สาระสำคัญของลักษณะที่บ่งบอกถึงพัฒนาการทางการเรียนรู้มากกว่าเพียงแต่การดู ปริมาณของความบกพร่อง
(4) เป็นปฏิบัติการที่เด่นชัดและแสดงให้เห็นกระบวนการแก้ปัญหาที่มีความสลับซับซ้อนและ ยุ่งยากได้เป็นอย่างดี
(5) ส่งเสริมให้มีการใช้วิธีการประเมินผลที่หลากหลายและบันทึกผลการเรียนรู้ในภาพกว้างที่ ได้มาจากสถานการณ์ต่าง ๆ กัน
(6) สามารถใช้ได้กับทั้งรายบุคคลและรายกลุ่ม
(7) ให้ความสำคัญและสนใจในความคิดและความสามารถของปัจเจกบุคคลมากกว่า นำมาเปรียบเทียบระหว่างกัน
(8) สนองตอบความแตกต่างระหว่างบุคคลและประเภทของผู้เรียนที่แตกต่างกันได้เป็นอย่างดี
(9) ส่งเสริมให้เกิดความร่วมมือกันในระหว่างกระบวนการเรียนการสอน และกระบวนการวัด และการประเมินผลระหว่างผู้เรียน ผู้สอนและผู้ปกครอง
(10) ผู้เรียนและผู้สอน ล้วนมีบทบาทสำคัญในการประเมินผล
(11) ไม่เน้นว่าผลการศึกษาจะต้องเป็นไปตามเกณฑ์สมมุติฐานที่ตั้งไว้ก่อนหน้าที่จะมีการเรียน การสอน
(12) สามารถนำมาใช้เป็นวิธีการประเมินในระยะยาวได้
(13) ให้ความสำคัญกับความก้าวหน้าที่ต้องการให้เกิดขึ้นมากกว่าการบันทึกจุดอ่อนของผู้เรียน
5.4 เครื่องมือในการประเมินตามสภาพจริง
การสังเกตประกอบด้วย
แบบสำรวจรายการ
ระเบียนพฤติกรรม
แบบมาตราส่วนประมาณค่า
การสัมภาษณ์ ได้แก่
แบบบันทึกการสัมภาษณ์
การสอบถาม ได้แก่
แบบสอบถาม
การทดสอบ ประกอบด้วย
แบบเขียนตอบ
แบบทดสอบปฏิบัติจริง
แฟ้มสะสมผลงาน
บทที่ 6 แนวทางการวัดและประเมินสำหรับนักศึกษาที่มีความต้องการจำเป็นพิเศษทางการศึกษา
ฟื้นฟูสมรรถภาพคนพิการทางด้านการแพทย์การจัดการศึกษา อาชีพและบุคคลทั่วไปในสังคมซึ่งปรัชญาการเรียนร่วมประกอบด้วยพื้นฐาน 3 ประการ
ทุกคนย่อมมีสิทธิ์เท่าเทียมกันในโอกาสทางการศึกษา
ย่อมมีสิทธิ์เท่าเทียมกันในการอยู่ร่วมกันในสังคม
หลักในการจัดการศึกษาประกอบด้วยความยุติธรรมในสังคม
ความหมายของเด็กที่มีความต้องการพิเศษ
1.1 เด็กที่มีปัญหาและความต้องการจำเป็นพิเศษ ซึ่งมากกว่าเด็กปกติทั่วไปแบ่งได้ออกเป็น 3 กลุ่ม
กลุ่มเด็กที่มีความบกพร่องทางการศึกษาทั้ง 9 ประเภท
เด็กที่มีความบกพร่องทางการเห็น
เด็กที่มีความบกพร่องทางการได้ยิน
เด็กที่มีความบกพร่องทางสติปัญญา
เด็กที่มีความบกพร่องทางร่างกายหรือสุขภาพ
เด็กที่มีความบกพร่องทางการพูดและภาษา
เด็กที่มีความบกพร่องทางพฤติกรรมหรืออารมณ์
เด็กที่มีความบกพร่องทางการเรียนรู้
เด็กออทิสติก
เด็กพิการซ้ำซ้อน
1.2. กลุ่มเด็กที่มีความสามารถพิเศษ หรือที่รู้จักกันในนาม "เด็กปัญญาเลิศเด็กอัจฉริยะ"
1.3. กลุ่มเด็กด้อยโอกาส
ความสำคัญของการวัดและประเมินผลการเรียนรู้สำหรับนักเรียนที่มีความต้องการจำเป็นพิเศษ
พระราชบัญญัติ การศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 ได้กำหนดแนวทางการจัดการศึกษาเกี่ยวกับคนพิการได้ว่า **การจัดการศึกษาต้องจัดให้บุคคลมีสิทธิและโอกาส เสมอกันในการรับการศึกษาขั้นพื้นฐานไม่น้อยกว่า 12 ปีที่รัฐ ต้องจัดให้อย่างทั่วถึงและมีคุณภาพโดยไม่เก็บค่าใช้จ่าย
2.1 กระทรวงศึกษาได้ประกาศเรื่องกำหนดประเภทและหลักเกณฑ์ของคนพิการทางการศึกษาพ.ศ 2552 ไว้ 9 ประเภทได้แก่
เด็กที่มีความบกพร่องทางการเห็น
เด็กที่มีความบกพร่องทางการได้ยิน
เด็กที่มีความบกพร่องทางสติปัญญา
เด็กที่มีความบกพร่องทางร่างกายหรือสุขภาพ
เด็กที่มีความบกพร่องทางการพูดและภาษา
เด็กที่มีความบกพร่องทางพฤติกรรมหรืออารมณ์
เด็กที่มีความบกพร่องทางการเรียนรู้
เด็กออทิสติก
เด็กพิการซ้ำซ้อน
2.2 การวัดและประเมินผลการเรียนรู้สำหรับเด็กที่มีความต้องการพิเศษทางการศึกษาต้องดำเนินการให้สอดคล้องกับแนวปฏิบัติในการวัดและประเมินผลการเรียนรู้ตามหลักสูตรแกนกลาง การศึกษาขั้นพื้นฐานพุทธศักราช 2551 ซึ่งกำหนดให้ผู้สอนจะต้องประเมินนักเรียนใน 4 องค์ประกอบได้แก่
การประเมินการเรียนรู้ตามกลุ่มสาระการเรียนรู้ (K P)
การประเมินคุณลักษณะอันพึงประสงค์ (A)
การประเมินการอ่าน คิดวิเคราะห์และเขียน
การประเมินกิจกรรมพัฒนาผู้เรียน
2.3 แนวทางการปฏิรูปการศึกษาในหมวด 4 มาตรา 26 ให้สถานศึกษาจัดการประเมินนักเรียนโดยพิจารณาจากพัฒนาการของนักเรียน ความประพฤติการสังเกตพฤติกรรมการเรียนการร่วมกิจกรรม และการทดสอบควบคู่ไปในกระบวนการเรียนการสอน โดยมีกฎหมายประกาศออกตามความในพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่2) พ.ศ. 2545 ดังนี้
2.3.1. พระราชบัญญัติการจัดการศึกษาสำหรับคนพิการ พ. ศ. 2551 ที่กำหนดให้มีการวางระเบียบข้อกำหนดประกาศคำสั่งแนวปฏิบัติเกี่ยวกับการจัดการศึกษาสำหรับคนพิเศษ
2.3.1.1 เด็กปกติ - หลักสูตรแกนกลาง
2.3.2. ประกาศกระทรวงศึกษาธิการเรื่องหลักเกณฑ์และวิธีการปรับใช้หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 สำหรับกลุ่มเป้าหมายเฉพาะ
2.3.1.2 เด็กพิเศษ – ปรับหลักสูตร
จุดมุ่งหมายของการวัดและประเมินผลการเรียนรู้สำหรับนักเรียนที่มีความต้องการจำเป็นพิเศษ
3.1 การวัดและประเมินผลการเรียนรู้สำหรับนักเรียนที่มีความต้องการจำเป็นพิเศษทางการศึกษาจะต้องดำเนินการควบคู่กับการจัดกระบวนการเรียนการสอน เพื่อนำผลการประเมินมาพัฒนานักเรียนให้บรรลุถึงความรู้ความสามารถเป้าหมายที่กำหนดไว้การวัดและประเมินผลการเรียนรู้สำหรับเด็กที่มีความต้องจำเป็นพิเศษทางการศึกษามีจุดมุ่งหมายดังนี้
เพื่อประเมินความรู้ความสามารถพื้นฐานและความต้องการจำเป็นพิเศษเพื่อวางแผนการจัดการเรียนรู้
เพื่อประเมินพัฒนาการและผลการเรียนรู้ของนักเรียนระหว่างการจัดกิจกรรมการเรียนรู้อย่างต่อเนื่อง
เพื่อตัดสินการเรียนเมื่อจบหน่วยการเรียนรู้หรือจบรายวิชามาตรฐานและตัวชี้วัดในหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐานพุทธศักราช 2551
3.2 แผนการจัดการศึกษาเฉพาะบุคคล (Individualized Education Program : IEP)
3.2.1เป้าหมายคือ ทำให้จบใน 12 ปี ให้ได้และสามารถมีอาชีพได้
3.3 การประเมินพฤติกรรมการเรียนรู้ของนักเรียนที่มีความต้องการจำเป็นพิเศษจะแบ่งออกเป็น 2 ลักษณะคือ
3.3.1 การประเมินพัฒนาการและผลการเรียนรู้ของนักเรียน
3.3.2 การประเมินเพื่อตัดสินหรือการประเมินผลรวม (Summative Evaluation)
หลักการวัดและประเมินผลการเรียนรู้สำหรับนักเรียนที่มีความต้องการจำเป็นพิเศษ
เพื่อให้สถานศึกษามีการดำเนินการวัดและประเมินผลการเรียนรู้สำหรับเด็กที่มีความต้องการจำเป็นพิเศษทางการศึกษา เป็นไปอย่างมีคุณภาพ
4.1 การเรียนรู้ที่สอดคล้องตามหลักสูตร :
4.1.1. สถานศึกษาเป็นผู้รับผิดชอบการวัดและประเมินผลการเรียนรู้ของนักเรียนที่มีความต้องการจำเป็นพิเศษทางการศึกษา โดยเปิดโอกาสให้ผู้ที่เกี่ยวข้องมีส่วนร่วม
4.1.2 การวัดแและประเมินผลการเรียนรู้สำหรับนักเรียนที่มีความต้องการจำเป็นพิเศษทางการศึกษา มีจุดมุ่งหมายเพื่อประเมินระดับความสามารถและความต้องการจำเป็นพิเศษ และตัดสินผลการเรียน
4.1.3 คนอยู่บนพื้นฐานที่สอดคล้องและตอบสนองกับความจำเป็นพิเศษทางการศึกษาของนักเรียนโดยใช้แผนการจัดการศึกษาเฉพาะบุคคล IEP เป็นเครื่องมือในการดำเนินการ
4.1.4 ต้องดำเนินการด้วยวิธีที่หลากหลาย เหมาะสมกับสภาพปัญหาความต้องการจำเป็นพิเสษทางการศึกษา และศักยภาพของนักเรียน
4.1.4.1 การช่วยเหลือและอำนวยความสะดวกด้านการนำเสนอ
4.1.4.2 การช่วยเหลืออำนวยความสะดวกด้านการตอบสนอง
4.1.4.3 การช่วยเหลือและอำนวยความสะดวกด้านการจัดสภาพแวดล้อม
4.1.4.4 การช่วยเหลือและอำนวยความสะดวกด้านการจัดเวลาและตาราง
4.1.5. การประเมินนักเรียนพิจารณาจากพัฒนาการของนักเรียน
4.1.6 เปิดโอกาสให้นักเรียนและผู้มีส่วนเกี่ยวข้องตรวจสอบผลการประเมินผลการเรียนรู้
4.1.7 ให้มีผลการเทียบโอนผลการเรียนระหว่างสถานศึกษาในรูปแบบการศึกษาต่าง ๆ
4.1.8 ให้สถานศึกษาจัดทำเอกสารหลักฐานการศึกษา เพื่อเป็นหลักฐานการประเมินผลการเรียนรู้รายงานผลการเรียนแสดงวิธีการศึกษาได้รับรองผลการเรียนของนักเรียน
แนวทางการวัดและประเมินผลการเรียนรู้สำหรับนักเรียน ที่มีความต้องการจำเป็นพิเศษ
5.1 การวัดและประเมินผลการเรียนรู้สำหรับนักเรียนที่มีความต้องการจำเป็นพิเศษทางการศึกษา ควรอยู่บนพื้นฐานที่สอดคล้องและตอบสนองกับความต้องการจำเป็นพิเศษทางการศึกษาของนักเรียน มีองค์ประกอบดังนี้
การประเมินคุณลักษณะอันพึงประสงค์
การวัดและประเมินผลการเรียนรู้ตามกลุ่มสาระการเรียนรู้
การประเมินการอ่าน คิดวิเคราะห์และเขียน
การประเมินกิจกรรมพัฒนาผู้เรียน
5.2 แนวปฏิบัติการวัดและประเมินผลการเรียนรู้สำหรับนักเรียนที่มีความต้องการจำเป็นพิเศษในโรงเรียน ร่วมแบ่งออกเป็น 3 ลักษณะคือ
5.2.1. กรณีนักเรียนพิการหรือบกพร่องที่มีความรู้ความสามารถช่างเทียมหรือใกล้เคียงกับนักเรียนทั่วไปที่เรียนร่วม
5.2.1.1 ให้วัดและประเมินผลการเรียนรู้ตามมาตรฐานการเรียนรู้ตัวชี้วัดและเกณฑ์ต่างๆในกลุ่มสาระการเรียนรู้/รายวิชาเช่นเดียวกับนักเรียนทั่วไป
5.2.1.2 อาจมีการปรับวิธีการ/เวลาในการวัดและประเมินให้ยืดหยุ่นตามความต้องการจำเป็นพิเศษของนักเรียนแต่ละคน
5.2.1.3 จะได้มีสิ่งอำนวยความสะดวกและวิธีการสื่อสารให้นักเรียนสามารถเข้าถึงเนื้อหาสาระในแบบทดสอบตามความเหมาะสมของแต่ละบุคคล
5.3 กรณีนักเรียนที่มีความต้องการจำเป็นพิเศษทางการศึกษา
ใช้เกณฑ์วัดและประเมินเช่นเดียวกันกับเด็กปกติ
เป็นการพิจารณาเฉพาะบุคคลไม่เปรียบเทียบกับนักเรียนทั่วไป
ในกลุ่มสาระการเรียนรู้รายวิชาที่ต้องปรับเปลี่ยนเนื้อตัวชี้วัดที่ใช้จะต้องมีการจัดการเรียนการสอนที่สอดคล้องกันในชั้นเรียน
หลักวิธีการในการวัดและประเมินให้เหมาะสมกับความต้องการของแต่ละบุคคล
ปรับเครื่องมือวัดและประเมินผล
กำหนดเกณฑ์การให้คะแนนใหม่ให้เหมาะสมกับศักยภาพของนักเรียนและสอดคล้องกับวัตถุประสงค์
ปรับระยะเวลาหรือกำหนดการในการสอนให้เหมาะสม
รับสถานที่สอบเพื่อนักเรียนจะไม่ไปทำความรบกวนให้ผู้อื่นหากจำเป็นต้องให้การช่วยเหลือ
การนำเสนอข้อสอบต้องมีผู้อ่านหรือเครื่องอ่านข้อสอบให้ฟัง
วัดและประเมินผลความก้าวหน้าและระบุไว้ในช่องการวัดประเมินผลของแผนจัดการศึกษา
เกณฑ์การวัดและประเมินผลการเรียนรู้สำหรับนักเรียน
6.1 การรายงานผลการเรียน
6.1.1 การรายงานผลการเรียนเป็นการสื่อสารให้ผู้ปกครองและนักเรียนทราบความก้าวหน้าในการเรียนรู้ของนักเรียน เอกสารรายงานให้ผู้ปกครองทราบเป็นระยะอย่างน้อยภาคเรียนละ 1 ครั้ง
6.2 เกณฑ์การจบการศึกษา
6.1.2 มีความแตกต่างจากนักเรียนเพื่อไปและยังมีความยืดหยุ่นมากกว่านักเรียนทั่วไปแต่ยังคงมีเงินเก็บ
6.3 การสอนซ่อมเสริม
6.4 การเลื่อนชั้น
6.4.1 นักเรียนมีผลการประเมินการอ่านคิดวิเคราะห์และเขียนคุณลักษณะอันพึงประสงค์และกิจกรรมพัฒนาผู้เรียนผ่านตามเกณฑ์ที่สถานศึกษากำหนดไว้
6.4.2 นักเรียนมีเวลาเรียนตลอดปีการศึกษาไม่น้อยกว่าร้อยละ 80 ของเวลาเรียนทั้งหมด
6.4.3 นักเรียนมีผลการประเมินผ่านมาตรฐานการเรียนรู้และตัวชี้วัด ตามหลักเกณฑ์ที่สถานศึกษากำหนดหมายในแต่ละรายวิชา และผ่านเกณฑ์การวัดและประเมินผลตามจุดประสงค์ที่กำหนดไว้ในแผนจัดการศึกษาเฉพาะบุคคล IEP
6.5 การเรียนซ้ำ
6.5.1 นักเรียนที่ไม่ผ่านรายวิชาจำนวนมากและมีแนวโน้มว่าจะเป็นปัญหาต่อการเรียนในระดับสูงสถานศึกษา อาจแต่งตั้งคณะกรรมการที่เกี่ยวข้องพิจารณาให้นักเรียนซ้ำชั้นได้
6.5.2.1 เรียนไม่ถึงร้อยละ 80
6.5.2.2 ผลการประเมินไม่ถึงเกณฑ์
6.7 การให้ระดับผลการเรียน
6.8 การตัดสินผลการเรียน
6.8.1 นักเรียนต้องได้รับการตัดสินผลการการเรียนทุกรายวิชา
6.8.2 ต้องมีเวลาเรียนไม่น้อยกว่าร้อยละ 80 ของเวลาเรียนทั้งหมด
6.8.3 นักเรียนต้องได้รับการประเมินทุกตัวชีวัด
6.9 ผู้เรียนต้องได้รับการประเมินและมีผลการประเมินผ่านตามเกณฑ์ที่สถานศึกษากำหนด
6.9.1 เวลาเรียน
6.9.2 คุณภาพนักเรียน
6.9.3 มิติการประเมิน
แนวปฏิบัติในการวัดและประเมินผลการเรียนรู้สำหรับนักเรียนที่มีความต้องการจำเป็นพิเศษแต่ละประเภท
7.1การวัดและประเมินการเรียนรู้สำหรับนักเรียนที่มีความต้องการจำเป็นพิเศษทางการศึกษาควรอยู่บนพื้นฐาน ที่สอดคล้องและตอบสนองกับความต้องการจำเป็นพิเศษทางการศึกษาของนักเรียน
7.1.1 การประเมินระดับความรู้ความสามารถพื้นฐานและความต้องการจำเป็นที่สุด
7.1.2 การวิเคราะห์มาตรฐานการเรียนรู้และตัวชี้วัด
7.1.3 ปรับปรุงพัฒนาแผนการจัดการศึกษาเฉพาะบุคคล IEP
7.1.4 การจัดทำแผนการจัดการศึกษาเฉพาะบุคคล IEP
7.1.5 การกำหนดเกณฑ์และแนวทางการวัดและประเมินผลตามแผนการจัดการศึกษาเฉพาะบุคคล IEP
7.1.6 การจัดกิจกรรมการเรียนการสอนและประเมินผล
7.1.7 การประเมินทบทวนและปรับปรุงแผนการจัดการศึกษาเฉพาะบุคคล IEP
7.1.8 การรายงานการจัดการศึกษาตามแผนจัดการศึกษาเฉพาะบุคคล IEP
สรุป ครูผู้สอนควรให้โอกาสกับผู้เรียนทุกคนอย่างเท่าเทียมกันในการจัดการเรียนรู้ เพื่อให้ผู้เรียนบรรลุตามวัตถุประสงค์การเรียนรู้หรือการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมการเรียนรู้โดยเฉพาะอย่างยิ่ง "ผู้เรียนที่มีความต้องการพิเศษทางการศึกษา" ซึ่งจำเป็นต้องอาศัยการวัดและประเมินรายบุคคลเพื่อนำไปจัดทำเป็นแผนการจัดการศึกษาเฉพาะบุคคล IEP ซึ่งจะทำให้ผู้เรียนมีความต้องการจำเป็นพิเศษทางการศึกษาสามารถเรียนรู้และพัฒนาศักยภาพของตนเองและสามารถดูแลตัวเองได้ในอนาคต
บทที่ 5 เครื่องมือที่ใช้วัดผลในศตวรรษที่21
พฤติกรรมและลักษณะการแสดงออก
ในการจัดการเรียนการสอนครูจะต้องรู้ว่า สอนให้เกิดพฤติกรรมอะไร
ต้องรู้ว่าจะวัดพฤติกรรมนั้นอย่างไรโดยเฉพาะพฤติกรรมของผู้เรียนที่ปรากฏในเชิงพฤติกรรม
ลักษณะของการแสดงออกของพฤติกรรมด้านต่างๆเพื่อแนวทางในการนำไปเขียนจุดประสงค์
แนวคิดของการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21
คุณลักษณะที่เด็กทุกคนมีและใช้ได้อย่างเหมาะสมเพื่อผลักดันให้ผลการปฏิบัติงานบรรลุเป้าหมาย
สมรรถนะที่สำคัญ 5 ด้านได้แก่
ความสามารถในการสื่อสาร
ความสามารถในการคิด
ความสามารถในการแก้ปัญหา
ความสามารถในการใช้ทักษะชีวิต
ความสามารถในการใช้เทคโนโลยี
-วัตถุประสงค์การเรียนรู้ที่ก่อให้เกิดองค์ความรู้ทักษะความเชี่ยวชาญ
-หลักสูตรและการสอนในศตวรรษที่ 21 การพัฒนาทางวิชาการในศตวรรษที่ 21 และสภาพแวดล้อมทางการเรียนรู้
-การประเมินทักษะการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 มีความสำคัญอย่างยิ่งต่อการเรียนรู้ทั้งผู้สอนและผู้เรียนโดยตรง
-การประเมินทักษะการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 จะทำให้ทราบว่าผู้เรียนเกิดทักษะในศตวรรษที่ 21 หรือไม่
-หากผู้เรียนยังไม่เกิดทักษะก็น่าจะนำผลการประเมินมาปรับปรุงกระบวนการจัดการเรียนรู้เพื่อให้เกิดทักษะ
กรอบแนวคิดทักษะการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21
ความรู้ความเข้าใจเนื้อหาหลักด้านวิชาการ
นักเรียนสามารถคิดอย่างมีวิจารณญาณ
นักเรียนสื่อสารได้อย่างมีประสิทธิภาพ
โดยอาศัยการบูรณาการของพื้นฐานความรู้ภายใต้บริบทการสอนความรู้วิชาหลัก
โดยอาศัยการบูรณาการของพื้นฐานความรู้ภายใต้บริบทการสอนความรู้วิชาหลัก
กรอบแนวคิดทักษะการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21
ทักษะชีวิตและการทำงาน
ความยืดหยุ่นและการปรับตัว
การริเริ่มและชี้นำตัวเอง
ทักษะสังคมและสังคมข้ามวัฒนธรรม
การเป็นผู้สร้างหรือผู้ผลิต และรู้รับผิด
ภาวะผู้นำและความรับผิดชอบ
ทักษะการเรียนรู้และนวัตกรรม
ความคิดสร้างสรรค์และนวัตกรรม
การคิดเชิงวิพากษ์และการแก้ไขปัญหา
การสื่อสารและการมีส่วนร่วม
ทักษะด้านสารสนเทศ สื่อ และเทคโนโลยี
ความรู้พื้นฐานด้านสารสนเทศ
2.ความรู้พื้นฐานด้านสื่อ
3.ความรู้พื้นฐานด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ(ICT)
วิชาแกน
ภาษา
ศิลปะ
คณิตศาสาตร์
เศรษฐศาสตร์
วิทยาศาสตร์
ภูมิศาสตร์
ประวิตศาสตร์
การเมืองการปกครองและหน้าที่พลเมือง
จิตสำนึกต่อโลก
ความรู้พื้นฐานด้านการเงิน เศรษฐกิจ ธุรกิจ การเป็นผู้ประกอบการ
ความรู้พื้นฐานด้านพลเมือง
ความรู้พื้นฐานด้านสุขภาพ
ความรู้พื้นฐานด้านสิ่งแวดล้อมและนวัตกรรม
แนวคิดสำคัญในศตวรรษที่ 21
มาตรฐานและการประเมิน
หลักสูตรและการสอน
การพัฒนาทางวิชาชีพ
สภาพแวดล้อมการเรียนรู้
ทักษะเพื่อการดำรงชีวิตในศตวรรษที่21
3R
Reading (อ่านออก)
(W)Riting (เขียนได้)
(A)Rithemetics (คิดเลขเป็น)
7C
Critical Thinking and Problem Solving ทักษะการคิดอย่างมีวิจารณญาณ และทักษะการแก้ปัญหา
Creativity and Innovation (ทักษะด้านการสร้างสรรค์ และนวัตกรรม)
Cross-cultural Understanding (ทักษะด้านความเข้าใจความต่างวัฒนธรรม ต่างกระบวนทัศน์
Collaboration, Teamwork and Leadership (ทักษะด้านความร่วมมือ การทำงานเป็นทีม และภาวะผู้นำ
Communications, Information, and Media Literacy (ทักษะด้านการสื่อสารสนเทศ และรู้เท่าทันสื่อ
Computing and ICT Literacy (ทักษะด้านคอมพิวเตอร์ และเทคโนโลยีสารสนเทศ และการสื่อสาร
Career and Learning Skills (ทักษะอาชีพ และทักษะการเรียนรู้)
จะวัดทักษะการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 อย่างไร
การวัดด้านความรู้ความสามารถ (Cognitive Domain)
การวัดตามประเภททักษะการปฏิบัติ (Psychomotor Domain)
การวัดตามประเภทเจตคติและบุคลิกภาพต่อการทำงาน (Affective Domain)
แนวทางการวัดและประเมินทักษะการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21
ประการแรกคือ การวัดและประเมินผลเพื่อพัฒนาผู้เรียน
ประการที่สองคือ การวัดและประเมินผลเพื่อตัดสินผลการเรียน
แนวทางการวัดและประเมินผลการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21
การวัดและประเมินผลเพื่อพัฒนาผู้เรียน
-โดยเก็บรวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับผลการเรียนและการเรียนรู้ของผู้เรียน ในระหว่างการเรียนการสอนอย่างต่อเนื่อง
บันทึกวิเคราะห์แปลความหมายข้อมูล นำมาใช้ในการส่งเสริม หรือปรับปรุงแก้ไขการเรียนของผู้เรียน
-การประเมินระหว่างการเรียนการสอนเพื่อพัฒนาการเรียนรู้เช่นนี้เป็นการวัดและประเมินผลย่อย
-เป็นการประเมินเพื่อให้รู้จุดเด่นจุดที่ต้องปรับปรุง
เป็นข้อมูลย้อนกลับแก่ผู้เรียนสำหรับการปรับปรุงพัฒนา
-เน้นลักษณะการประเมินเพื่อการเรียนรู้มากกว่าการประเมินเพื่อสรุปผลการเรียนรู้
แนวทางการวัดและประเมินทักษะการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21
การวัดและประเมินผลเพื่อตัดสินผลการเรียน
-เกิดสมดุลเชิงคุณภาพที่สอดคล้องพัฒนาดีขึ้นไปทิศทางเดียวกันทั้ง
-เน้นการนำประโยชน์ของผลสะท้อนจากการปฏิบัติของผู้เรียนมาปรับปรุงแก้ไข
-ใช้เทคโนโลยีเพื่อยกระดับการทดสอบวัดและประเมินผลเพื่อให้เกิดประสิทธิภาพมากที่สุด
-สร้างและพัฒนาระบบแฟ้มสะสมงาน portfolio ของผู้เรียนให้เป็นมาตรฐานและมีคุณภาพ
การวัดและประเมินผลการเรียนรู้ในชั้นเรียนหมายถึงกระบวนการเก็บรวบรวมข้อมูลวิเคราะห์ตีความ บันทึกข้อมูลได้จากการวัดและประเมินทางที่เป็นทางการและไม่เป็นทางการ โดยดังกล่าวเกิดขึ้นตลอดระยะเวลาของการจัดการเรียนการสอน
วิธีการวัดและประเมินทักษะในศตวรรษที่ 21
การประเมินด้วยการสื่อสารส่วนบุคคล
การประเมินจากการปฏิบัติ (Performance assessment)
การประเมินผลตามสภาพจริง (Authentic Assessment)
การประเมินด้วยครั้งสะสมผลงาน (Portfolio Assessment)
การวัดผลแบบดั้งเดิม/การวัดผลตามสภาพจริง
การวัดแบบดั้งเดิม
พฤติกรรมทางการศึกษาที่ต้องการวัด
-ครูจะวัด K เกี่ยวกับการหาพื้นที่สี่เหลี่ยม
เครื่องมือที่ใช้วัด
-ครูก็เขียนข้อสอบการหาพื้นที่
พฤติกรรมที่นักเรียนแสดงออกมา
-ผู้นำสายตรวจหาพื้นที่คำนวณและครูก็ตรวจให้คะแนน
การวัดตามสภาพจริง
พฤติกรรมทางการศึกษาที่ต้องการวัด
ครูจะวัด K เกี่ยวกับการหาพื้นที่สี่เหลี่ยม
เครื่องมือที่ใช้วัด
-ครูให้นักเรียนห่อกล่องของขวัญชนิดต่างๆโดยเงื่อนไขคือใช้กระดาษน้อยที่สุด
พฤติกรรมที่นักเรียนแสดงออกมา
-ผู้เรียนหาวิธีการที่จะใช้
ขั้นตอนในการดำเนินการวัดผลจากสภาพจริง
กำหนดจุดประสงค์การเรียนรู้
กำหนดกิจกรรมการเรียนการสอนและออกแบบเครื่องมือวัดและประเมินผล
เก็บรวบรวมข้อมูลและใช้ผลการวัดและประเมินเพื่อใช้ในการพัฒนาการเรียน
การวัดผลโดยใช้แฟ้มสะสมงาน portfolio
การรวบรวมงานจะต้องครอบคลุมถึงการที่นักเรียนมีส่วนร่วมในการเลือกเนื้อหา เกณฑ์การคัดเลือกและเกณฑ์การตัดสินให้ระดับรวมทั้งเป็นหลักฐานที่สะท้อนการประเมินตนเองของนักเรียนด้วย
ลักษณะของแฟ้มสะสมงาน
การสะสมงานที่สำคัญ
เน้นผลงานเป็นสำคัญ
บ่งชี้จุดแข็งของนักเรียนมากกว่าจุดบกพร่อง
เอื้อต่อการสื่อสารผลสัมฤทธิ์ของนักเรียนต่อบุคคล
เน้นนักเรียนเป็นศูนย์กลาง
ลักษณะของแฟ้มสะสมงาน
Electronic portfolios
Working portfolios
Final portfolios
ลักษณะของแฟ้มสะสมงาน
ส่วนนำ
ส่วนบรรจุหลักฐาน
ส่วนประเมินผล
บทที่ 4 เครื่องมือที่ใช้ในการวัดผล
2 การแสดงออกและเนื้อหาของพฤติกรรมด้านจิตพิสัย
พฤติกรรม
1.0 ขั้นรับรู้
1.2 การเต็มใจที่จะรับรู้
1.1 การทำความรู้จัก
1.3 การเลือกรับสิ่งเร้าที่ต้องการ
2.0 ขั้นตอบสนอง
2.1 การยินยอมที่จะตอบสนอง
2.2 ความเต็มใจที่จะตอบสนอง
3.0 การเกิดค่านิยม
3.1 การยอมรับในคุณค่า
3.2 การชื่อชอบในคุณค่า
3.3 การสร้างคุณค่า
4.0 ขั้นจัดระบบคุณค่า
4.1 การสร้างความคิดรวบยอดของคุณค่า
4.2 การจัดค่านิยมให้เป็นระบบ
5.0 การสร้างลักษณะนิสัย
5.1 การสร้างลักษณะนิสัยชั่วคราว
5.2 การสร้างลักษณะนิสัยถาวร
การแสดงออก
1.0 ขั้นรับรู้
1.1 จําแนก แยก ถาม
1.2 เลือก สะสม ยอมรับ เชื่อมต่อ
1.3 เลือก ติดตาม บ่งให้เชื่อ ตอบ ยึดถือ ฟัง ควบคุม
2.0 ขั้นตอบสนอง
2.1 ยอมตาม ชมเชย ทําตาม ยอมรับ
2.2 อาสา อภิปราย ปฏิบัติ แสดง
อ่าน รายงาน ใช้
2.3 แสดงอาการยินดี ใช้เวลาว่างในเรื่อง พูด เขียน อ่าน ช่วย
3.0 การเกิดค่านิยม
3.1 ทําให้สมบูรณ์ บรรยาย นําเสนอ ให้ข้อเสนอ
3.2 ช่วยเหลือ สนับสนุน อธิบาย บรรยาย สรรเสริญ
3.3 โต้แย้ง ปฏิเสธ ต่อต้าน สนับสนุน แนะนํา อภิปราย ป้องกัน ย้ำ
4.0 ขั้นจัดระบบคุณค่า
4.1 เปรียบเทียบ สรุป ขยาย ประสาน ทําให้สมบูรณ์ อธิบาย อภิปราย
4.2 จัดเรียบเรียงสลับ ประสาน จัดกลุ่ม บ่งความสัมพันธ์ สังเคราะห์ จัดระบบ สร้างขึ้น
5.0 การสร้างลักษณะนิสัย
5.1 ปรับปรุง เปลี่ยนแปลง ทําให้สําเร็จ ปฏิบัติ ใช้ ตรวจสอบ ประพฤติ ปฏิบัติ
แสดงใช้
5.2 ปรับตน แสดงออก เสนอแก้ปัญหา อธิบาย ขยาย แก้ไข ต้านทาน
เนื้อหา
1.0 ขั้นรับรู้
1.1 เสียง ภาพ เหตุการณ์ เรื่องราว แบบแผน
1.2 ตัวอย่าง ตัวแบบ รูปร่าง ขนาด จังหวะ
1.3 ทางเลือก คําตอบ
2.0 ขั้นตอบสนอง
2.1 คําแนะนํา วิธีการ กฎ ข้อบังคับ นโยบาย คําชี้แจง
2.2 เรื่องราว สิ่งที่กําหนดให้ อ่านปัญหา สิ่งที่ค้นคว้า การทดลอง การจัดแสดงความคิดเห็น
2.3 ข้อเขียน งาน สุนทรพจน์ บทความ การแสดง
3.0 การเกิดค่านิยม
3.1 ทัศนะ ประเด็นโต้แย้ง โครงการ หลักการ ความเชื่อ คําอธิปราย วัตถุสิ่งของ เหตุการณ์ ปรากฏการณ์ใดๆ กิจกรรม
3.2 ทัศนะ ประเด็นโต้แย้ง โครงการ หลักการ ความเชื่อ แนวคิดบุคคล วัตถุสิ่งของ เหตุการณ์และปรากฏการณ์
3.3 สิ่งที่แตกต่างจากคุณค่าที่ยึด ความเห็น
ความเชื่อ แนวคิด เหตุผล เหตุการณ์ เรื่องราวที่แย้งกับคุณค่าที่ยึด ผลงาน
4.0 ขั้นจัดระบบคุณค่า
4.1 ความเชื่อ เป้าหมาย หลักการร่วม กฎเกณฑ์แนวคิด
4.2 ความเชื่อต่าง ๆ เป้าหมาย หลักการ แนวคิด ระบบ วิธีการ ข้อจํากัด
5.0 การสร้างลักษณะนิสัย
5.1 พฤติกรรม แผนงาน วิธีการ
5.2 ความมีมนุษยธรรม จริยธรรม วุฒิภาวะ ข้อขัดแย้ง ความรุนแรง ฟุ่มเฟือย
การแสดงออกและเนื้อหาของพฤติกรรมด้านพุทธิพิสัย
พฤติกรรม
1.00 ความรู้-ความจำ
1.10 ความรู้ในเรื่องเฉพาะ
1.11 ศัพท์และนิยาม
1.12 กฎและความจริง
1.20 ความรู้ในวิธีการดำเนินการ
1.21 รู้ระเบียบ แบบแผน
1.22 รู้ลำดับขั้นและแนวโน้ม
1.23 รู้การจัดประเภท
1.24 รู้เกณฑ์
1.25 รู้วิธีการ
1.30 ความรู้รวบยอดในเรื่อง
1.31 รู้หลักวิชาและการขยายหลักวิชา
1.32 รู้ทฤษฎีและโครงสร้าง
2.00 ความเข้าใจ
2.10 แปลความ
2.20 ตีความ
2.30 ขยายความ
3.00 การนำไปใช้
4.00 การวิเคราะห์
4.10 วิเคราะห์ความสำคัญ
4.20 วิเคราะห์ความสัมพันธ์
4.30 วิเคราะห์หลักการ
5.00 การสังเคราะห์
5.10 ข้อความ
5.20 แผนงาน
5.30 ความสัมพันธ์
6.00 ประเมินค่า
6.10 ใช้เกณฑ์ภายใน
6.20ใช้เกณฑ์ภายนอก
การแสดงออก
1.11 บอก บ่งชี้ บรรยาย เลือก
1.12 บอก บ่งชี้ บรรยาย
1.21 บอก บ่งชี้ บรรยาย เลือก
1.22 บอก บรรยาย บ่งชี้
1.23 บอก บ่งชี้ บรรยาย
1.24 บอก บ่งชี้ เลือก
1.25 บรรยาย บอก บ่งชี้
1.31 บอก บ่งชี้ บรรยาย
1.32 บอก บ่งชี้ บรรยาย
2.10 แปล เปลี่ยนรูป ใช้ยกตัวอย่างเปรียบเทียบ
2.20 ตีความหมาย บอก จัดลำดับ สรุป ย่อ อธิบาย
2.30 กะประมาณ พยากรณ์ อ้างสรุป ขยาย จำแนก ลงสรุป
3.00 บอก ใช้ คำนวณ เลือก สร้าง แก้ปัญหา ผลิต คาดคะเน
4.10 บ่ง จำแนก สกัด ค้นหา เเยกแยะ เลือก
4.20 บ่ง จำแนก ค้นหา คล้ายคลึง
4.30 บอก ค้นหา แยกแยะ สกัด
5.10 เขียน บอก สร้าง แก้ไข รวบรวม ขยาย ริเริ่ม
5.20 ผลิต วางโครงการ เสนอ สร้าง ออกแบบ
5.30 ผลิต สร้างขึ้น พัฒนา ผสมผสาน ขยาย อนุมาน อ้างถึง เสริมแต่ง พิสูจน์
6.10 ตัดสิน ประเมิน โต้แย้ง บ่งความสอดคล้อง เปรียบเทียบ บ่งเกณฑ์
6.20 ตัดสิน ชี้ขาด โต้แย้ง พิจารณา ประเมิน
เนื้อหา
1.10
1.11 ศัพท์ คำศัพท์เฉพาะ ความหมาย นิยาม คำแปล ตัวอย่าง
1.12 ชื่อ วัน เวลา ตัวอย่าง ขนาด สิทธิ หน้าที่
1.20
1.21 รูปแบบฟอร์ม ระเบียบแผน กฎเกณฑ์ เครื่องมือ แบบ สัญลักษณ์
1.22 ลำดับขั้น แนวโน้ม การพัฒนา สาเหตุ ความสัมพันธ์ อิทธิพล
1.23 ชนิด ประเภท พวก แบบ แขนง ชุด สาขา ลักษณะ
1.24 เกณฑ์ คุณสมบัติเฉพาะ
1.25 ตัวตัดสิน วิธีการ เทคนิค กระบวนการ
1.30
1.31 หลักการ ข้อสรุปทั่วไป คุณสมบัติร่วม
1.32 ทฤษฎี รากฐาน ความสัมพันธ์ภายในโครงการองค์ประกอบ
2.00
2.10 คำ ข้อความ ภาพ สัญลักษณ์ ข้อมูล แผนที่ การทดลอง สุภาษิต คำพังเพย
2.20 เรื่องราว ความสำคัญ จุดสำคัญของเรื่อง ข้อสรุป ทฤษฎี
2.30 ผลที่ตามมา ข้อสรุป องค์ประกอบ ผล ความน่าจะเป็น ฯลฯ
3.00 หลักการ กฎเกณฑ์ ข้อสรุป วิธีการ ทฤษฎี กระบวนการ สถานการณ์ เหตุผล ฯลฯ
4.00
4.10 ชนิด สิ่งสำคัญ ต้นตอ สาเหตุ สมมติฐาน เลศนัย
4.20 ขัดแย้ง ระดับความสัมพันธ์ ชนิดความสัมพันธ์
4.30 โครงสร้าง หลักการ ทัศนะ เค้าโครง การเรียงลำดับ
5.00
5.10 โครงสร้าง การกระทำ แผนแบบ สื่อสารต่างๆ
5.20 แผนงาน จุดประสงค์ รายละเอียด วิธีการปฏิบัติ แนวทางการแก้ปัญหา
5.30ความคิดรวบยอด
6.00
6.10 ความถูกต้อง ความผิดพลาด ความเชื่อถือได้ ความเหมาะสม คุณค่า ความสมเหตุสมผล
6.20 ความถูกต้อง ความผิดพลาด ทางเลือก ประโยชน์ ทฤษฎี ประสิทธิภาพ
เครื่องมือในการวัดพฤติกรรมทางการศึกษา
ตรวจสอบรายการ(check list)
ใช้ในการวัดพฤติกรรมด้าน จิตพิสัย(A) และ ด้านทักษะพิสัย(P)
ส่วนใหญ่จะใช้คำถามว่า ใช่/ไม่ใช่ มี/ไม่มี ไม่สามารถบอกความถี่ได้
ข้อดี ข้อเสีย
ข้อดี ง่ายต่อการใช้งาน
ข้อเสีย พฤติกรรมหรือคุณลักษณะของผู้เรียนที่จะวัดต้องชัดเจน ไม่เช่นนั้นจะทำให้สื่อความหมายไม่ตรงกัน
มาตราส่วนประมาณค่า(rating scale)
มีความซับซ้อนกว่าแบบตรวจสอบรายการ จึงสามารถ''วัดความถี่ได้''
สามารถวัดพฤติกรรมด้าน จิตพิสัย(A) และ ด้านทักษะพิสัย(P)
แบ่งออกเป็นลักษณะดังนี้
มาตราส่วนประมาณค่าแบบบรรยาย
ใช้ข้อความเพื่อใช้พิจารณาเลือกระดับของพฤติกรรมที่ผู้เรียนหรือผู้ถูกวัดมี
มาตราส่วน เช่น มาก ปานกลาง น้อย น้อยที่สุด
มาตราส่วนประมาณค่าแบบตัวเลข
ใช้ตัวเลขบรรยายพฤติกรรมเพื่อให้ผู้วัดพิจารณาเลือกระดับของพฤติกรรมที่ผู้เรียนหรือผู้ถูกวัดมี
มาตราส่วนเช่น
5=ตั้งใจเรียนมากที่สุด
4= ตั้งใจเรียนมาก
3=ตั้งใจเรียนปานกลาง
2=ตั้งใจเรียนน้อย
1=ตั้งใจเรียนน้อยที่สุด
มาตาส่วนประมาณค่าแบบใช้สัญลักษณ์หรือภาพประกอบ
ใช้ภาพประกอบหรือสัญลักษณ์เพื่อบรรยายพฤติกรรม เพื่อให้พิจารณาระดับของพฤติกรรมที่ผู้เรียนหรือผู้ถูกวัดมี
การจัดอันดับ
จะให้ผู้ถูกวัดพยายามจัดเรียงความสำคัญตามสถานการณ์ที่กำหนดให้ หรือจัดเรียงพฤติกรรมสนใจให้ถูกต้อง ส่วนใหญ่ใช้ในการวัดพฤติกรรมทั้งสามด้าน
ข้อดี ข้อเสีย
ข้อดี ครูผู้สอนจะได้รับพฤติกรรมของผู้เรียนว่ามีมากน้อยเพียงใด สามารถนำมาเปรียบเทียบกับเกณฑ์ที่กำหนดไว้ได้ และสามารถนำพฤติกรรมเหล่านั้นไปปรับปรุงผู้เรียนต่อไป
ข้อเสีย คำถามต้องชัดเจน
แบบวัดเชิงสถานการณ์
สามารถวัดพฤติกรรมทั้งสามด้าน คือ พุทธิพิสัย ทักษะพิสัย จิตพิสัย
เป็นการจำลองสถานการณืต่าง ๆ ไม่เหมาะกับเด็กเล็ก เพราะอาจมีข้อความหรือเหตุการณ์ที่สะเทือนใจ
ตัวอย่าง ถ้ามีคนพิการมาขอทานท่าน ท่านจะทำอย่างไร
เดินผ่านไปเฉย ๆ เพราะ ...................
บอกให้ไปข้างหน้าก่อน เพราะ................
ให้เป็นบางครั้ง เพราะ..........
ให้ทุกครั้งเพราะ.............
แนะนำให้ไปประกอบอาชีพเพราะ...........
ข้อดี ข้อเสีย
ข้อดี ครูสามารถวัดพฤติกรรมระดับสูงได้ทั้ง พุทธิพิสัย ทักษะพิสัย จิตพิสัย คำถามที่เร้าใจทำให้สร้างความยุติธรรมต่อผู้ตอบ
ข้อเสีย ทำได้ยาก กำหนดเกณฑ์ให้คะแนนยาก
การสังเกต
การพิจารณาสิ่งต่างๆ ที่เกิดขึ้นเพื่อค้นหาความจริงบางอย่างบางประการโดยอาศัยประสาทสัมผัสของผู้สังเกตโดยตรง
ลักษณะการสังเกต
การสังเกตโดยผู้สังเกตเข้าไปร่วมในเหตุการณ์หรือกิจกรรม(participant observation)
การสังเกตโดยผู้สังเกตไม่ได้ไปเข้าร่วมในเหตุการณ์หรือกิจกรรม( Non-participant observation) แบ่งเป็น
2.1 การสังเกตแบบไม่มีโครงสร้าง(Unstructured observation)
2.2 การสังเกตแบบมีโครงสร้าง(structured observation)
การสุ่มเพื่อเวลาหรือเหตุการณ์ เพื่อให้ได้ตัวแทนข้อมูลที่จะนำไปสู่การสรุปผล
การสุ่มเวลา
2.การสุ่มเหตุการณ์
3.สุ่มคุณลักษณะ
การสัมภาษณ์ (interview)
การสนทนาหรือพูดโต้ตอบกันอย่างมีจุดมุ่งหมาย เพื่อค้นหาความรู้ ความจริง ตามวัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้ล่วงหน้า ประกอบด้วย 2 บุคคลคือ ผู้สัมภาษณ์ และผู้ถูกสัมภาษณ์
สามารถวัดพฤติกรรมได้ทั้งสามด้าน คือ พุทธิพิสัย ทักษะพิสัย จิตพิสัย
แบ่งออกเป็น
การสัมภาณ์แบบไม่มีโครงสร้าง คือการสัมภาษณ์แบบไม่ใช้แบบสัมภาษณ์ ไม่ใช้คำถามเดียวกันทุกคน
การสัมภาษณ์แบบมีโครงสร้าง หมายถึง การสัมภาษณ์ ที่ใช้แบบคำถามที่ตั้งไว้แล้ว และถามคำถามเดียวกันทุกคน
แบบสอบถาม(Questionnaires)
เป็นเครื่องมือที่นิยมใช้กันมาก เพราะสามารถเก็บข้อมูลได้ทีละมาก ๆ ถามได้ทั้งอดีตและปัจจุบัน
นิยมใช้วัดพฤติกรรมด้านจิตพิสัย
ในแบบสอบถามประกอบด้วย
คำชี้แจงของแบบสอบถาม
2.สถานภาพทั่วไปของผู้ตอบแบบสอบถาม
พฤติกรรมที่ต้องวัด
รูปแบบของแบบสอบถาม
แบบสอบถามปลายเปิด
แบบสอบถามปลายปิด
แบบตรวจสอบรายการ
แบบมาตราส่วนประเมินค่า
แบบจัดอันดับ
การวัดผลภาคปฏิบัติ
เป็นการวัดผลงานนักเรียนที่ให้นักเรียนลงมือปฏิบัติสามารถวัดได้ถึงกระบวนการและผลงาน
นิยมใช้วัดทักษะด้านทักษะพิสัย
แบ่งออกด้านที่ต้องการวัด ได้ 2 ประเภท
1.การวัดกระบวนการ(process)
การวัดผลงาน (product)
แบ่งตามลักษณะของสถานการณ์ แบ่งได้ 2 ประเภท
ใช้สถานการณ์จริง
2.ใช้สถานการณ์จำลอง
แบ่งตามสิ่งเร้า แบ่งได้ 2 ประเภท
1.สิ่งเร้าตามธรรมชาติ
สิ่งเร้าที่จัดขึ้น