Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
บทที่ 4 เครื่องมือที่ใช้ในวัดผล - Coggle Diagram
บทที่ 4 เครื่องมือที่ใช้ในวัดผล
1.พฤติกรรมและลักษณะการแสดงออก
จะต้องรู้ว่าจะวัดพฤติกรรมนั้นอย่างไรโดยเฉพาะพฤติกรรมของผู้เรียนที่ปรากฏในจุดประสงค์เชิงพฤติกรรม ทั้งนี้ครูจะต้องพยายามใช้เครื่องมือต่าง ๆ ที่มีคุณภาพมาวัดพฤติกรรมของผู้เรียนเพื่อให้เกิดความเข้าใจเกี่ยวกับพฤติกรรมทางการศึกษาให้ชัดเจนก่อนจะเข้าสู่ความรู้เกี่ยวกับเครื่องมือที่ใช้วัดพฤติกรรมทางการศึกษา
2.เครื่องมือในการวัดพฤติกรรมทางการศึกษา
2.1.1 ตรวจสอบรายการ (check list)
เครื่องมือการวัดพฤติกรรมทางการศึกษาด้านนี้ส่วนใหญ่จะใช้ในการวัดพฤติกรรมด้านจิตพิสัยและพฤติกรรมด้านทักษะพิสัยโดยนักวัดผลหรือครูผู้สอนจะต้องสร้างรายการของข้อความเพื่อวัดเจตคติของผู้เรียน
การสร้างแบบตรวจสอบ
(1) กำหนดลักษณะของสิ่งที่ต้องการวัด / ประเมิน
(2) กำหนดพฤติกรรมที่จะวัด / บ่งชี้หรือแสดงคุณลักษณะของสิ่งที่ต้องการตรวจสอบโดยระบุพฤติกรรมที่จะวัดให้ชัดเจนประเด็นกเมีส่วนร่วมในชั้นเรียน
(3) เขียนข้อความเพื่อแสดงพฤติกรรมหรือคุณลักษณะของสิ่งที่จะตรวจสอบโดยถ้าเป็นการสร้างแบบตรวจสอบรายการที่ใช้วัดพฤติกรรมด้านทักษะพิสัยครูจะต้องแยกพฤติกรรมที่ต้องการวัดใน แต่ละขั้นให้ชัดเจน ได้แก่ ขั้นเตรียมขั้นปฏิบัติและผลงานที่ได้จากการปฏิบัติ
(4) ตรวจสอบข้อความว่าชัดเจนหรือไม่ซ้ำซ้อนกับรายการอื่นหรือไม่แล้วพยายามจัดเรียงตามลำดับของการกระทำหรือพฤติกรรม
(5) นำไปทดลองใช้ / ปรับปรุงแก้ไขไหาคุณภาพของเครื่องมือ)
ข้อดี คือ ง่ายต่อการใช้และสามารถนำไปใช้วัตพฤติกรรมทางการศึกษาด้านจิตพิสัยและด้านทักษะพิสัยร่วมกับการสังเกตได้
ข้อเสีย คือ พฤติกรรมหรือคุณลักษณะของผู้เรียนที่จะวัดนั้นต้องชัดเจนมิเช่นนั้นจะทำให้สื่อความหมายไม่ตรงกันและผู้วัดจะต้องได้มีโอกาสคลุกคลีกับผู้เรียนมากพอสมควรจึงจะสามารถให้ข้อมูลได้ตรงกับพฤติกรรมของผู้เรียน
2.1.2 มาตราส่วนประเมินค่า (Rating Scale)
วัดระดับความถี่ ความาก-น้อยของพฤติกรรมผู้เรียนได้ หรือสามารถจัดลำดับของพฤติกรรมของผู้เรียนได้ ผู้สอนจะใช้เครื่องมือนี้วัดพฤติกรรมด้านจิตพิสัยและทักษะพิสัย
(1) มาตราส่วนประมาณค่าแบบบรรยาย
(2) มาตราส่วนประมาณค่าแบบตัวเลข
(3) มาตราส่วนประมาณค่าแบบใช้สัญลักษณ์หรือภาพประกอบ
(4) การจัดอันดับ
การสร้างเครื่องมือมาตราส่วนประมาณค่า
1) กำหนดลักษณะของสิ่งที่ต้องการวัด / ประเมิน
(2) กำหนดพฤติกรรมที่จะวัดบ่งชี้หรือแสดงคุณลักษณะของสิ่งที่ต้องการตรวจสอบ
(3) เลือกรูปแบบของมาตราส่วนประมาณค่า
(4) เขียนข้อความที่แสดงพฤติกรรมหรือคุณลักษณะของสิ่งที่จะวัด
(5) ตรวจสอบข้อความว่าชัดเจนหรือไม่ซ้ำซ้อนกับรายการอื่นหรือไม่แล้วพยายามจัดเรียงตามลำดับของการกระทำหรือพฤติกรรม
(6) นำไปเสนอผู้เชี่ยวชาญให้ตรวจสอบความเที่ยงตรงของข้อคำถามกับจุดประสงค์ในการวัดพฤติกรรม (หาคุณภาพของเครื่องมือ)
(7) นำไปทดลองใช้ / ปรับปรุงแก้ไขไหาคุณภาพของเครื่องมือ)
ข้อดี ของการใช้มาตราส่วนประมาณค่าคือครูผู้สอนจะได้ระดับของพฤติกรรมของผู้เรียนว่ามีมากน้อยเพียงใดและสามารถนำมาเปรียบเทียบกับเกณฑ์ที่กำหนดไว้ได้และนำเอาระดับพฤติกรรมนั้นไปเป็นข้อมูลพื้นฐานในการปรับปรุงผู้เรียนต่อไป
เสียและข้อควรระดับคือคำถามต้องชัดเจน
2.1.3 แบบวัดเชิงสถานการณ์
เป็นการจำลองหรือสร้างสถานการณ์เรื่องราวต่าง ๆ ให้บุคคลแสดงความรู้สึก หรือแสดงพฤติกรรมด้านสติปัญญา ตอบสนองต่อสถานการณ์นั้นอาจให้ตอบสนองว่าตัวเขาเองจะทำอย่างไร
การสร้างเครื่องมือมาตราส่วนประมาณค่า
(1) กำหนดเนื้อหาและพฤติกรรมหรือคุณลักษณะของสิ่งที่ต้องการวัด/ประเมิน
(2) เลือกข้อความ / สถานการณ์ที่มีความยากพอเหมาะกับระดับชั้นของผู้เรียน (ผู้ถูกวัด) โดยเนื้อหานั้นจะต้องไม่มีความลำเอียงไปยังบุคคลกลุ่มใดกลุ่มหนึ่ง
(3) พยายามเขียนคำถามเพื่อถามตามใจความเนื้อหาหรือสถานการณ์นั้นตามพฤติกรรมที่สนใจที่จะวัด
(5) นำไปทดลองใช้ / ปรับปรุงแก้ไขไหาคุณภาพของเครื่องมือ)
ข้อดีของแบบวัดเชิงสถานการณ์คือครูจะสามารถวัดพฤติกรรมของผู้เรียนในระดับสูงได้ทั้งพฤติกรรมในด้านพุทธิพิสัยและจิตพิสัยเร้าใจให้ผู้ตอบติดตามอ่านคำถามสร้างความยุติธรรมให้กับผู้ตอบแต่ละคนเพราะแต่ละคนจะได้รับสถานการณ์เดียวกันหมด
ข้อจำกัด ครู / ผู้สร้างแบบวัดเชิงสถานการณ์จะต้องมีความรู้ความสามารถในการสร้างแบบวัดแล้วนำมาผนวกกับเงื่อนไขที่เป็นไปตามเนื้อหาที่ได้สอนผู้เรียนไปดังนั้นการสร้างแบบวัดเชิงพฤติกรรมนี้จะทำได้ยากและกำหนดเกณฑ์ในการให้คะแนนนั้นยาก
2.1.4 การสังเกต
คือ การพิจารณาปรากฏการณ์ต่าง ๆ ที่เกิดขึ้น เพื่อค้นหาความจริงบางประการโดยอาศัยประสาทสัมผัสของผู้สังเกตโดย
สังเกตแบ่งออกได้ดังนี้
(1) การสังเกตโดยผู้สังเกตเข้าไปร่วมในเหตูการณ์หรือกิจกรรม
(2) การสังเกตโดยผู้สังเกตไม่ได้เข้าไปร่วมในเหตุการณ์หรือกิจกรรม แบ่งได้ 2 ชนิด
2.1 การสังเกตแบบไม่มีโครงสร้าง
2.2 การสังเกตแบบมีโครงสร้าง
หลักทั่วไปในการสังเกต
(1) มีจุดมุ่งหมายการสังเกตที่แน่นอนจะต้องกำหนดขอบเขตของพฤติกรรมที่จะสังเกตให้แน่นอนเลือกพฤติกรรมครั้งละเรื่องและต้องกำหนดพฤติกรรมที่ต้องการให้ชัดเจนที่สุดเท่าที่จะทำได้
(2) สังเกตอย่างพินิจพิเคราะห์คือสังเกตด้วยความระมัดระวังตั้งใจเพื่อให้ได้ข้อมูลที่เชื่อถือได้
(3) ขณะที่ทำการสังเกตต้องพยายามไม่ให้ผู้ถูกสังเกตรู้ตัว
(4) บันทึกผลการแสดงพฤติกรรมของผู้ถูกสังเกตทันทีเพื่อป้องกันการหลงลืม
(5) บันทึกข้อมูลเฉพาะที่สังเกตได้เท่านั้นไม่มีความหมายของพฤติกรรมของผู้ถูกสังเกตไม่ใส่ความรู้สึกส่วนตัวเข้าไปในการสังเกต
(6) ควรสังเกตหลาย ๆ ครั้งครั้งก่อนสรุปผล
2.1.5 การสัมภาษณ์ (interview)
คือ การสนทนาเพื่อค้นหาความรู้ความจริง ตามวัถุประสงค์ที่กำหนดไว้ล่วงหน้า และยังช่วยให้ทราบข้อเท็จจริงของผู้ถูกสัมภาษณ์ในด้านต่าง ๆ
แบ่งได้ 2 แบบคือ
การสัมภาษณ์แบบไม่มีโครงสร้าง
การสัมภาษณ์แบบมีโครงสร้าง
หลักในการสัมภาษณ์
(1) การเตรียมตัวก่อนการสัมภาษณ์โดยผู้สัมภาษณ์จะต้องทำความเข้าใจกับสาระสำคัญของการสัมภาษณ์และคำถามแต่ละข้อว่ามีจุดมุ่งหมายอะไรเพื่อให้การสัมภาษณ์อยู่ในขอบข่ายที่ต้องการ
(2) ในระหว่างการสัมภาษณ์จะต้องสร้างบรรยากาศที่ดีมีความเป็นมิตรสบายใจมีไหวพริบสังเกตผู้ถูกสัมภาษณ์ไม่เร่งรัดคำตอบหรือใช้คำถามชี้นำหลีกเลี่ยงการวิจารณ์หรือสั่งสอนผู้ถูกสัมภาษณ์ควรให้เกิดความผ่อนคลายในการถามคำถามที่มีความสุ่มเสี่ยงหรือลำบากใจในการตอบ
(3) การจดบันทึกคำตอบในระหว่างการสัมภาษณ์ต้องจนทันทีและบันทึกเนื้อหาสาระเท่านั้น
2.1.6 แบบสอบถาม (Questionnaires)
แบบสอบถามเป็นเครื่องวัดชนิดหนึ่งที่นิยมใช้กันมากโดยเฉพาะอย่างยิ่งการเก็บข้อมูลทางสังคมศาสตร์เพราะเป็นวิธีการที่สะดวกและสามารถใช้ได้อย่างกว้างขวางถามได้ทั้งข้อมูลในปัจจุบันอดีตหรืออนาคตแบบสอบถามส่วนใหญ่จะมีลักษณะอยู่ในรูปของคำถามเป็นชุดเพื่อวัดสิ่งที่ต้องการจะวัดและมีคำถามเป็นตัวกระตุ้นเร่งเร้าให้ผู้ถูกวัดตอบคำถามส่วนใหญ่นิยมใช้ในการวัดพฤติกรรมด้านจิตพิสัย
แบบสอบถามจะประกอบไปด้วย 3 ส่วน
(1) คำชี้แจงของแบบสอบถามเป็นส่วนแรกของแบบสอบถามและเป็นคำชี้แจงที่ระบุความหมายและความสำคัญของแบบสอบถามหรือการนำคำตอบที่ได้ไปใช้ประโยชน์เนื้อหาในแต่ละตอนของแบบสอบถามตลอดจนวิธีการในการตอบคำถามในแต่ละส่วนของแบบสอบถาม
(2) สถานภาพทั่วไปของผู้ตอบแบบสอบถามส่วนใหญ่จะมีลักษณะเป็นแบบตรวจสอบรายการ
(3) พฤติกรรมที่ต้องการวัดซึ่งอาจจะแยกเป็นพฤติกรรมย่อยซึ่งในส่วนนี้ของแบบสอบถามอาจจะประกอบไปด้วยแบบตรวจสอบรายการแบบมาตราส่วนประมาณค่าแบบจัดอันดับ
รูปแบบของแบบสอบถาม
(1) แบบสอบถามแบบปลายเปิดเป็นแบบสอบถามที่ไม่กำหนดคำตอบไว้เปิดโอกาสให้ผู้ตอบเขียนคำตอบได้อย่างอิสระใช้ในกรณีที่สร้างแบบสอบถามเพื่อวัดพฤติกรรมด้านเจตคติเป็นส่วนใหญ่การวิเคราะห์ข้อมูลจะใช้การวิเคราะห์เนื้อหาซึ่งอาจจะมีความยุ่งยาก
2) แบบสอบถามปลายปิดแบบสอบถามแบบนี้จะมีตัวเลือกของคำตอบให้กับผู้ตอบแบบสอบถมโดยคาดว่าผู้ตอบจะเลือกคำตอบใดคำตอบหนึ่งหรือหลายคำตอบในตัวเลือกที่กำหนดให้ซึ่งแบบสอบถามประเภทนี้สะดวกในการนำข้อมูลไปวิเคราะห์แบบสอบถามแบบปลายปิดแบ่งเป็น
(2.1) แบบตรวจสอบรายการ
(2.2) แบบมาตราส่วนประมาณค่า
(2.3) แบบจัดอันดับ
หลักในการสร้างแบบสอบถาม
(1) กำหนดจุดมุ่งหมายของแบบสอบถาม
(2) กำหนดประเด็นหลักหรือพฤติกรรมหลักที่จะวัดให้ครบถ้วนคลอบคลุม
(3) กำหนดชนิดของแบบสอบถาม
(4) กำหนดข้อคำถาม
(5) สร้างข้อคำถามตามจุดมุ่งหมาย
(6) ตรวจทานแก้ไขปรับปรุงและนำไปให้ผู้เชี่ยวชาญตรวจสอบสอบ (หาความเที่ยงตรงเชิงโครงสร้างหรือเชิงเนื้อหา)
(7) นำไปทดลองใช้
(8) นำผลจากข้อ 6 และ 7 มาปรับปรุง
2.1.7 การวัดผลภาคปฏิบัติ
เป็นการวัดผลที่นักเรียนลงมือปฏิบัตัซึ่งสามารถวัดด้ทั้งกระบวนการและปลงาน สามารถวัดได้ว่าผู้เรียนมีความสามารถด้านสติปัญญาในระดับใด
ประเภทของการวัดผลงานปฏิบัติ
1.แบ่งตามด้านที่ต้องการวัด แบ่ง 2 ประเภท
1.1 การวัดกระบวน (Process)
1.2 การวัดผลงาน (Product)
แบ่งตามลักษณะของสถานการณ์ แบ่งได้ 2 ประเภท
2.1 ใช้สถานการณ์จริง
2.2 ใช้สถานการณ์จำลอง
3.แบ่งตามสิ่งเร้า แบ่ง 2 ประเภทคือ
3.1 สิ่งเร้าตามธรรมชาติ
3.2 สิ่งเร้าที่จัดขึ้น
หลักการและวิธีการในการในการทดสอบภาคปฏิบัติ
1) วิเคราะห่งานและเขียนรายการโดยแบ่งออกเป็น
(1.1) วิเคราะห์ว่างานที่ต้องการทดสอบการปฏิบัติของผู้เรียนนั้นจะใช้ในการวัดพฤติกรรมเจ้านของผู้เรียนเป็นทักษะหรือความสามารถที่เกี่ยวกับอะไรในกิจกรรมที่จะให้ผู้เรียนปฏิบัติเนื่องจากทักษะที่จะวัดได้นั้นจะมาจากการสังเกตของครูผู้สอนดังนั้นทักษะที่ต้องการวัดจะต้องสังเกตเห็นได้ชัดเจนและเป็นทักษะที่ยากมากกว่าการปฏิบัติงานตามปกติ
(1.2) กำหนดขั้นตอนการปฏิบัติงานของกิจกรรมที่จะวัดส่วนใหญ่จะประกอบด้วยขั้นเตรียมขั้นปฏิบัติและขั้นผลงานหรือเวลาในการปฏิบัติ
(1.3) เขียนข้อรายการระบุรายละเอียดแต่ละขั้นตอนในการปฏิบัติงาน
(1.4) ศึกษาตัวแปรที่ส่งผลให้การปฏิบัติงานนั้นมีคุณภาพแตกต่างกันเช่นจากตัวอย่างที่ยกตัวอย่างเกี่ยวกับการทำกล้วยบวชชีจะต้องมีการเลือกชนิดของกล้วยการแยกหัวกะทิหางกะทิเป็นต้น
(1.5) จัดรูปแบบของเครื่องมือโดยเลือกแบบวัดว่าต้องการแบบวัดใตเป็นแบบตรวจสอบรายการแบบมาตราส่วนประมาณค่า
(2) กำหนดน้ำหนักคะแนนโดยอาจจะให้คะแนนโดยแยกในแต่ละขั้นคือขั้นเตรียมขั้นปฏิบัติและขั้นผลงานหรือเวลาในการปฏิบัติและให้คะแนนในแต่ละรายการ
(3) กำหนดเกณฑ์ในการตัดสินใจ
4) จัดรูปแบบของเครื่องมือโดยนำผลการดำเนินการในข้อ(1)-(3) มาจัดรูปแบบเป็นเครื่องมือทดสอบภาคปฏิบัติ