Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
หน่วยที่ 4 เครื่องมือที่ใช้ในการวัดผล - Coggle Diagram
หน่วยที่ 4 เครื่องมือที่ใช้ในการวัดผล
พฤติกรรมและลักษณะการแสดงออก
ในการจัดการเรียนการสอนครูจะต้องรู้ว่าจะสอนให้เกิดพฤติกรรมอะไรและที่สำคัญคือจะต้องรู้ว่าจะวัดพฤติกรรมนั้นอย่างไรโดยเฉพาะพฤติกรรมของผู้เรียนที่ปรากฏในจุดประสงค์เชิงพฤติกรรม (พิชิตฤทธิ์จรูญ, 2553: 46) ทั้งนี้ครูจะต้องพยายามใช้เครื่องมือต่างๆที่มีคุณภาพมาวัดพฤติกรรมของผู้เรียนเพื่อให้เกิดความเข้าใจเกี่ยวกับพฤติกรรมทางการศึกษาให้ชัดเจนก่อนจะเข้าสู่ความรู้เกี่ยวกับเครื่องมือที่ใช้วัดพฤติกรรมทางการศึกษา
เครื่องมือในการวัดพฤติกรรมทางการศึกษา
2.1.1 ตรวจสอบรายการ
โดยนักวัดผลหรือครูผู้สอนจะต้องสร้างรายการของข้อความเพื่อวัดเจตคติของผู้เรียนหรือความสามารถด้านทักษะของผู้เรียนส่วนใหญ่คำถามจะเป็นคำว่าว่าใช่ / ไม่ใช่มี / ไม่มีเป็นต้น
การสร้างแบบตรวจสอบรายการ
(1) กำหนดลักษณะของสิ่งที่ต้องการวัด / ประเมิน P, A
(2) กำหนดพฤติกรรมที่จะวัด / บ่งชี้หรือแสดงคุณลักษณะของสิ่งที่ต้องการตรวจสอบโดยระบุพฤติกรรมที่จะวัดให้ชัดเจน
(3) เขียนข้อความเพื่อแสดงพฤติกรรมหรือคุณลักษณะของสิ่งที่จะตรวจสอบโดยถ้าเป็นการสร้างแบบตรวจสอบรายการที่ใช้วัดพฤติกรรมด้านทักษะพิสัยครูจะต้องแยกพฤติกรรมที่ต้องการวัดใน แต่ละขั้นให้ชัดเจน ได้แก่ ขั้นเตรียมขั้นปฏิบัติและผลงานที่ได้จากการปฏิบัติ
(4) ตรวจสอบข้อความว่าชัดเจนหรือไม่ซ้ำซ้อนกับรายการอื่นหรือไม่แล้วพยายามจัดเรียงตามลำดับของการกระทำหรือพฤติกรรม
(5) นำไปทดลองใช้ / ปรับปรุงแก้ไข (หาคุณภาพของเครื่องมือ)
2.1.2 มาตราส่วนประมาณค่า แบ่งออกเป็นหลายลักษณะดังนี้
(1) มาตราส่วนประมาณค่าแบบบรรยายเป็นการใช้ข้อความบรรยายพฤติกรรมเพื่อให้พิจารณาเลือกระดับของพฤติกรรมที่ผู้เรียนหรือผู้ถูกวัดมี
(2) มาตราส่วนประมาณค่าแบบตัวเลขเป็นการใช้ตัวเลขบรรยายพฤติกรรมเพื่อให้ผู้วัดพิจารณาเลือกระดับของพฤติกรรมที่ผู้เรียนหรือผู้ถูกวัดมีซึ่งเครื่องมือการวัดในประเภทนี้จะต้องมีการบรรยายของระดับพฤติกรรมควบคู่ไปกับตัวเลขด้วย
3) มาตราส่วนประมาณค่าแบบใช้สัญลักษณ์หรือภาพประกอบเป็นการใช้ภาพประกอบหรือสัญลักษณ์เพื่อบรรยายพฤติกรรมเพื่อให้พิจารณาเลือกระดับของพฤติกรรมที่ผู้เรียนหรือผู้ถูกวัดมีเ
(4) การจัดอันดับการวัดพฤติกรรมประเภทนี้จะให้ผู้ถูกวัดพยายามจัดเรียงความสำคัญตามสถานการณ์ที่กำหนดให้หรือจัดเรียงพฤติกรรมที่สนใจให้ถูกต้องเครื่องมือประเภทนี้ส่วนใหญ่ใช้ในการวัดพฤติกรรมทางการศึกษาทั้ง 3 ด้าน
2.1.3 แบบวัดเชิงสถานการณ์
เป็นการจำลองหรือสร้างสถานการณ์เรื่องราวต่างๆขึ้นแล้วให้บุคคลแสดงความรู้สึกหรือแสดงพฤติกรรมด้านสติปัญญาที่ตนมีว่าตนเองจะกระทำหรือมีความเห็นอย่างไรต่อสถานการณ์ที่กำหนดขึ้น
การสร้างเครื่องมือมาตราส่วนประมาณค่า
(1) กำหนดเนื้อหาและพฤติกรรมหรือคุณลักษณะของสิ่งที่ต้องการวัดประเมิน (K,P,A)
(2) เลือกข้อความ / สถานการณ์ที่มีความยากพอเหมาะกับระดับชั้นของผู้เรียน (ผู้ถูกวัดโดยเนื้อหานั้นจะต้องไม่มีความลำเอียงไปยังบุคคลกลุ่มใดกลุ่มหนึ่ง
(3) พยายามเขียนคำถามเพื่อถามตามใจความเนื้อหาหรือสถานการณ์นั้นตามพฤติกรรมที่สนใจที่จะวัดโดยการเขียนนั้นจะต้อง
(3.1) สถานการณ์ที่สร้างควรเลือกสถานการณ์ที่มีความเป็นไปได้ที่จะเกิดขึ้นได้จริงๆกับผู้เรียน
(3.2) ปัญหาในสถานการณ์ที่สร้างขึ้นหรือกำหนดขึ้นควรมีความเข้มหรือความรุนแรงในระดับปานกลางไม่สร้างความเครียดให้กับผู้ตอบมากเกินไปเพราะหากสร้าง
3.3) สาระสำคัญที่กำหนดในสถานการณ์จะต้องเพียงพอให้ผู้ตอบสามารถตัดสินใจเลือกแนวปฏิบัติที่เหมาะสมได้ทบทวนสถานการณ์ว่ามีความเหมาะสมเป็นปัจจุบันหรือไม่
(3.4) การเขียนคำถามไม่ควรเขียนคำถามตรงๆ แต่ต้องถามในสถานการณ์เกี่ยวพันอ้างอิงสถานการณ์ที่กำหนดไว้เนื้อหาที่เลือกมากำหนดในสถานการณ์นั้นจะต้องเกี่ยวพันกับความรู้ที่เกี่ยวข้องกับสิ่งที่ครูได้สอนไม่ถามด้วยเรื่องที่เป็นรายละเอียดปลีกย่อยหรือเรื่องไร้สาระ
(3.5) ลักษณะในการเขียนคำถามควรเป็นการถามว่าควร-ไม่ควรทำ-ไม่ทำใช้ได้ใช้ไม่ได้ถูกต้อง-ไม่ถูกต้อง
(5) นำไปทดลองใช้ / ปรับปรุงแก้ไข (หาคุณภาพของเครื่องมือ)
2.1.4 การสังเกต
คือการพิจารณาปรากฏการณ์ต่างๆที่เกิดขึ้นเพื่อค้นหาความจริงบางประการโดยอาศัยประสาทสัมผัสของผู้สังเกตโดยตรงทำให้ได้ข้อมูลปฐมภูมิ (Primary Data) ซึ่งเป็นข้อมูลที่น่าเชื่อถือ การสังเกตแบ่งออกเป็นหลายลักษณะดังนี้
(1) การสังเกตโดยผู้สังเกตเข้าไปร่วมในเหตุการณ์หรือกิจกรรม
(2) การสังเกตโดยผู้สังเกตไม่ได้เข้าไปร่วมในเหตุการณ์หรือกิจกรรม แบ่งออกเป็น 2 ชนิดคือ
(2.1) การสังเกตแบบไม่มีโครงสร้าง
(2.2) การสังเกตแบบมีโครงสร้าง
หลักทั่วไปในการสังเกต
(1) มีจุดมุ่งหมายการสังเกตที่แน่นอนจะต้องกำหนดขอบเขตของพฤติกรรมที่จะสังเกตแน่นอนเลือกพฤติกรรมครั้งละเรื่องและต้องกำหนดพฤติกรรมที่ต้องการให้ชัดเจนที่สุดเท่าที่จะทำได้
(2) สังเกตอย่างพินิจพิเคราะห์คือสังเกตด้วยความระมัดระวังตั้งใจเพื่อให้ได้ข้อมูลที่เชื่อถือได้
(3) ขณะที่ทำการสังเกตต้องพยายามไม่ให้ผู้ถูกสังเกตรู้ตัว
(4) บันทึกผลการแสดงพฤติกรรมของผู้ถูกสังเกตทันทีเพื่อป้องกันการหลงลืม
(5) บันทึกข้อมูลเฉพาะที่สังเกตได้เท่านั้นไม่มีความหมายของพฤติกรรมของผู้ถูกสังเกตไม่ใส่ความรู้สึกส่วนตัวเข้าไปในการสังเกต
(6) ควรสังเกตหลาย ๆ ครั้งก่อนสรุปผล
2.1.5 การสัมภาษณ์
คือการสนทนาหรือการพูดโต้ตอบกันอย่างมีจุดมุ่งหมายเพื่อค้นหาความรู้ความจริงตามวัตถุประสงค์ที่กำหนดไว้ล่วงหน้า รูปแบบของการสัมภาษณ์โดยทั่วไปแบ่งออกเป็น 2 แบบคือ
(1) การสัมภาษณ์แบบไม่มีโครงสร้างหมายถึงการสัมภาษณ์ที่ไม่ใช้แบบสัมภาษณ์คือไม่จำเป็นต้องใช้คำถามที่เหมือนกันหมดกับผู้ถูกสัมภาษณ์ทุกคน แต่ผู้สัมภาษณ์จะต้องใช้เทคนิคและความสามารถเฉพาะตัวเพื่อให้ได้คำตอบจากผู้ถูกสัมภาษณ์ตามจุดมุ่งหมายที่กำหนดไว้
(2) การสัมภาษณ์แบบมีโครงสร้างหมายถึงการสัมภาษณ์ที่ผู้สัมภาษณ์จะใช้แบบสัมภาษณ์ที่สร้างขึ้นไว้แล้วเป็นแบบในการถาม
หลักในการสัมภาษณ์
(1) การเตรียมตัวก่อนการสัมภาษณ์โดยผู้สัมภาษณ์จะต้องทำความเข้าใจกับสาระสำคัญของการสัมภาษณ์และคำถามแต่ละข้อว่ามีจุดมุ่งหมายอะไรเพื่อให้การสัมภาษณ์อยู่ในขอบข่ายที่ต้องการ
(2) ในระหว่างการสัมภาษณ์จะต้องสร้างบรรยากาศที่ดีมีความเป็นมิตรสบายใจมีไหวพริบสังเกตผู้ถูกสัมภาษณ์ไม่เร่งรัดคำตอบหรือใช้คำถามขึ้นำหลีกเลี่ยงการวิจารณ์หรือสั่งสอนผู้ถูกสัมภาษณ์ควรให้เกิดความผ่อนคลายในการถามคำถามที่มีความสุ่มเสี่ยงหรือลำบากใจในการตอบ
(3) การจดบันทึกคำตอบในระหว่างการสัมภาษณ์ต้องจนทันทีและบันทึกเนื้อหาสาระเท่านั้น
2.1.6 แบบสอบถาม
เป็นเครื่องวัดชนิดหนึ่งที่นิยมใช้กันมากโดยเฉพาะอย่างยิ่งการเก็บข้อมูลทางสังคมศาสตร์เพราะเป็นวิธีการที่สะดวกและสามารถใช้ได้อย่างกว้างขวาง ประกอบไปด้วย 3 ส่วนดังนี้
(1) คำชี้แจงของแบบสอบถาม
(3) พฤติกรรมที่ต้องการวัด
2.สถานภาพทั่วไปของผู้ตอบแบบสอบถาม
รูปแบบของแบบสอบถาม
(1) แบบสอบถามแบบปลายเปิด
(2) แบบสอบถามปลายปิด
2.1 แบบตรวจสอบรายการ
2.2 แบบมาตราส่วนประมาณค่า
2.3 แบบจัดอันดับ
หลักการในการสร้างแบบสอบถาม
(1) กำหนดจุดมุ่งหมายของแบบสอบถาม
(2) กำหนดประเด็นหลักหรือพฤติกรรมหลักที่จะวัดให้ครบถ้วนคลอบคลุม
(3) กำหนดชนิดของแบบสอบถาม
(4) กำหนดข้อคำถาม
(5) สร้างข้อคำถามตามจุดมุ่งหมาย
(6) ตรวจทานแก้ไขปรับปรุงและนำไปให้ผู้เชี่ยวชาญตรวจสอบสอบ (หาความเที่ยงตรงเชิงโครงสร้างหรือเชิงเนื้อหา)
(7) นำไปทดลองใช้
(8) นำผลจากข้อ 6 และ 7 มาปรับปรุง
2.1.7 การวัดผลภาคปฏิบัติ
เป็นการวัดผลงานที่ให้นักเรียนลงมือปฏิบัติซึ่งสามารถวัดได้ทั้งกระบวนการและผลงานทั้งในกรณีที่เป็นสภาพจริงหรือในสถานการณ์จำลอง
ประเภทของการวัดผลงานภาคปฏิบัติ
(1) แบ่งตามด้านที่ต้องการวัดแบ่งได้ 2 ประเภทคือ
(1.1) การวัดกระบวนการ (Process) เป็นการวัดเพื่อพิจารณาว่าผู้เรียนมีวิธีการปฏิบัติงานหรือวิธีทำงานถูกต้องหรือไม่
(1.2) การวัดผลงาน (Product) เป็นการวัดเพื่อพิจารณาว่าผู้เรียนสามารถสร้างผลงานหรือผลผลิตที่ได้จากการทำในข้อ1.1 หรือไม่
(3) แบ่งตามสิ่งเร้าแบ่งได้ 2 ประเภทคือ
(3.1) สิ่งเร้าตามธรรมชาติ
(3.2) สิ่งเร้าที่จัดขึ้น
(2) แบ่งตามลักษณะของสถานการณ์แบ่งได้ 2 ประเภทคือ
(2.1) ใช้สถานการณ์จริงใช้ในกรณีที่สามารถจะให้ดำเนินการในสถานการณ์จริงได้
(2.2) ใช้สถานการณ์จำลองใช้ในกรณีที่หากทำตามสถานการณ์จริงจะสิ้นเปลืองเวลาหรืองบประมาณมาก
หลักการและวิธีการในการทดสอบภาคปฏิบัติ
(1) วิเคราะห์งานและเขียนรายการโดยแบ่งออกเป็น
(1.1) วิเคราะห์ว่างานที่ต้องการทดสอบการปฏิบัติของผู้เรียนนั้นจะใช้ในการวัดพฤติกรรมด้านของผู้เรียน
(1.2) กำหนดขั้นตอนการปฏิบัติงานของกิจกรรมที่จะวัด
(1.3) เขียนข้อรายการระบุรายละเอียดแต่ละขั้นตอนในการปฏิบัติงาน
(1.4) ศึกษาตัวแปรที่ส่งผลให้การปฏิบัติงานนั้นมีคุณภาพแตกต่างกันเช่นจากตัวอย่างที่ยกตัวอย่างเกี่ยวกับการทำกล้วยบวชชีจะต้องมีการเลือกชนิดของกล้วยการแยกหัวกะทิหางกะทิเป็นต้น
(1.5) จัดรูปแบบของเครื่องมือโดยเลือกแบบวัดว่าต้องการแบบวัดใดเป็นแบบตรวจสอบรายการแบบมาตราส่วนประมาณค่า
(2) กำหนดน้ำหนักคะแนน
(3) กำหนดเกณฑ์ในการตัดสินใจ
(4) จัดรูปแบบของเครื่องมือโดยนำผลการดำเนินการในข้อ (1)-(3) มาจัดรูปแบบเป็นเครื่องมือทดสอบภาคปฏิบัติ