Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
ภูมิจันท์สู่ภูมิปัญญา การเจียระไนพลอย - Coggle Diagram
ภูมิจันท์สู่ภูมิปัญญา การเจียระไนพลอย
เกี่ยวกับพลอยภูมิจันท์
ที่มา
“ภูมิพลอยจันท์” เป็นอัตลักษณ์ของพลอยไทยที่กำเนิดจากภูมิปัญญาของคนจันทบุรี ที่ตกผลึกจากองค์ความรู้(Knowledge) ทักษะ (Skills) และประสบการณ์ (Experience) ของช่างฝีมือในการเพิ่มมูลค่าให้กับอัญมณีที่ต้องอาศัยความปราณีต การสังเกต การลงมือปฏิบัติ ตั้งแต่ การล้างก้อนพลอย การตั้งน้ำ การโกลน การคัดเลือกพลอย การขึ้นรูป การแต่งพลอย การเจียระไนตัดเหลี่ยม และการขัดเงา
วัตถุประสงค์
(1) เพื่อสืบสานภูมิปัญญาการเจียระไนพลอยของจังหวัดจันทบุรีมิให้เสื่อมสูญไปตามกาลเวลาอันนำไปสู่การต่อยอดภูมิปัญญาการเจียระไนพลอยของอนุชนคนรุ่นหลัง
(2) เพื่อแหล่งสารสนเทศคลังทรัพยากรการศึกษาแบบเปิด (OER) เพื่อการเรียนรู้ตลอดชีวิตสำหรับการค้นคว้าและสืบสานภูมิปัญญาการเจียระไนพลอยของจังหวัดจันทบุรี
(3) เพื่อเป็นแหล่งฝึกอบรมหลักสูตรภูมิพลอยจันท์สำหรับการต่อยอดและยกระดับช่างฝึมือการเจียระไนที่สอดคล้องกับความต้องการของกลุ่มวิสาหกิจชุมชนและวิสาหกิจขนาดกลางและ ขนาดย่อม (SMEs)
ผู้สนับสนุน
(4) คณะอัญมณี มหาวิทยาลัยบูรพา วิทยาเขตจันทบุรี
(3) คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา จ.ชลบุรี
(2) สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (สกสว.)
(5) หน่วยวิจัยบูรณาการนวัตกรรมวัสดุเครื่องประดับ (IIJMAT) คณะอัญมณี มหาวิทยาลัยบูรพา วิทยาเขตจันทบุรี
(1) โครงการวิจัย ““นวัตกรรมการเล่าเรื่องแบบดิจิทัลเพื่อพัฒนากระบวนการสืบสานภูมิปัญญาการเจียระไนพลอยของจังหวัดจันทบุรี”ได้รับงบประมาณสนับสนุนจาก สำนักงานการวิจัยแห่งชาติ โครงการบริหารจัดการทุนวิจัยและนวัตกรรมของสำนักงานบูรณาการวิจัยมุ่งเป้ากลุ่มเรื่องอุตสาหกรรมขนาดกลางและขนาดย่อม (SME)
พื้นฐานภูมิพลอยจันท์
ย้อนรอยแหล่งพลอยจันท์
พลอยเป็นทรัพย์ในดินอันเลอค่าที่ปัจจุบันเริ่มได้หายากขึ้น เพราะพลอยเกิดจากการสะสมของแร่ต่าง ๆ ใต้ผืนดิน ผ่านเวลาหลายร้อยหลายพันปีกว่าจะตกผลึกเป็นก้อนที่มีสีสันสวยงาม เรานิยมนำพลอยมาเจียระไนและเข้าตัวเรือนเป็นเครื่องประดับ และยังมีความเชื่อว่า พลอย ช่วยเสริมพลังใจและพลังชีวิตได้อีกด้วย
ตำนานโบราณของจันทบุรีเล่าขานกันว่า ในอดีตมีปรากฎการณ์มหัศจรรย์ที่ประหลาดมากเกิดขึ้นในช่วงเวลาค่ำคืน ชาวบ้านมองเห็นลูกไฟกลุ่มใหญ่ โดยมีดวงไฟลูกใหญ่ลอยนำทางมา มีความเชื่อว่าลูกไฟนั้นเป็นแม่พลอย ในขณะที่กลุ่มลูกไฟลอยมานั้นจะมีเสียงดังเกิดขึ้น และยังเชื่อกันว่าถ้ากลุ่มลูกไฟผ่านพื้นที่สวนใด สวนแห่งนั้น จะมีสายแร่พลอยอยู่
สำหรับจุดที่พบพลอยเมืองจันท์เป็นแห่งแรก ๆ นั้น เล่ากันว่า “อยู่บริเวณเขาพลอยแหวน เชื่อเรียกนี้กันมานานนมตั้งแต่ครั้งโบร่ำโบราณ สมัยก่อนการหาพลอยไม่ได้ใช้เครื่องมือหนัก ไม่ต้องเปลืองน้ำมัน เพราะว่าบริเวณเขาพลอยแหวนนั้นมีพลอยมาก เขี่ยตามพื้นดินก็เจอพลอยแล้ว โดยเฉพาะช่วงหลังฝนหนัก หน้าดินจะถูกน้ำชะไป พลอยและก้อนกรวดจะขึ้นมาที่หน้าดิน ชาวบ้านที่ชำนาญก็จะแยกออกว่าเม็ดไหนกรวด เม็ดไหนพลอย”
ในเมืองจันท์มีพื้นที่ที่ขุดพบสายแร่พลอย ได้แก่ ในพื้นที่ตำบลบางกะจะ อำเภอเมือง พบพลอยบุษราคัม เขียวส่อง สตาร์บุษราคัม และในพื้นที่ตำบลเขาพลอยแหวน ตำบลสีพยา ตำบลเขาวัว ตำบลบ่อพุ อำเภอท่าใหม่ และตำบลบ่อเวฬ ตำบลตกพรม ในเขตอำเภอขลุง พบพลอยสีน้ำเงิน และ พลอยสีแดงหรือที่เรียกว่า ทับทิมสยาม
การค้นพบพลอยนี้ จึงเปลี่ยนให้เมืองจันท์กลายเป็นพื้นที่สำคัญทางเศรษฐกิจ ที่สร้างรายได้ให้ประเทศนับหมื่นนับแสนล้านต่อปี ก่อให้เกิดอาชีพในวงการพลอยที่หลากหลาย โดยเฉพาะภูมิปัญญาด้านการเจียระไนพลอย ที่ถือเป็นความภูมิใจของคนจันท์
ภูมิเจียระไนสร้างสรรค์
การเจียระไนพลอยเป็นขั้นตอนที่สำคัญที่ส่งผลให้เพิ่มมูลค่าของก้อนพลอยที่ผ่านการเผา โดยการเจียระไนพลอยผู้ที่เจียระไนนั้นต้องอาศัยประสบการณ์ ทักษะที่สั่งสมมา เพื่อให้ก้อนพลอยให้มีความมันวาว และเมื่อตกกระทบกับแสงจะเกิดการหักเหมีความสวยงามเมื่อได้รับแสง ซึ่งเป็นเสน่ห์ของพลอยที่อัญมณีอันเลอค่า ดังนั้นกว่าจะได้พลอยที่สวยงามอยู่บนเครื่องประดับได้นั้นต้องผ่านกระบวนการเจียระไนพลอยจากช่างฝีมือที่สร้างสรรค์ ซึ่งประกอบด้วยกระบวนการตามขั้นตอนดังแผนภาพต่อไปนี้
แหล่งเรียนรู้พลอยภูมิจันท์
ภูมิจันท์
ภูมิเจียระไนสร้างสรรค์ “พลอยกลม ก้นเพชร ก้นชั้น”
ภูมิเจียระไนสร้างสรรค์ “การโกลนพลอย แต่งพลอย”
ภูมิเจียระไนสร้างสรรค์ “พลอยสี่เหลี่ยม”
ภูมิเจียระไนสร้างสรรค์ “การตั้งน้ำ”
ภูมิเจียระไนสร้างสรรค์ “พลอยหลังเบี้ย”
การเจียระไนพลอยอย่างปลอดภัย
การเจียระไนขัดเงาและทำความสะอาดพลอย
เตรียมความพร้อมการเจียระไนพลอย
ตรวจสอบพลอยหลังการเจียระไน
สรรหาวัตถุดิบและคัดเลือกก้อนพลอย
ย้อนรอยแหล่งพลอยจันท์
ภูมิใจ
ข้ามเพลาภพพลอยจันท์สู่เศรษฐกิจสร้างสรรค์
อัตลักษณ์พลอยจันท์สร้างสรรค์เศรษฐกิจ
ปราชญ์ภูมิพลอยจันท์
ปราชญ์ภูมิพลอยจันท์
(6) นายวิชัย พัฒโท
ประสบการณ์ช่างเจียระไนพลอย เป็นเวลา 40 ปี
(4) นายสรรค์ชัย มณีกระจ่างแสง
ประสบการณ์ช่างเจียระไนพลอย กว่า 40 ปี
พ่อค้าพลอย
(3) นายธงศักดิ์ จินตการฤกษ์
ช่างเจียระไนพลอย และเจ้าของธุรกิจค้าพลอยเป็นเวลา 40 ปี
เจ้าของบริษัท เอ็กซเปิร์ต เจมส์ แมนูแฟคเจอริ่ง จำกัด
อดีตประธานสภาอุตสาหกรรมจังหวัดจันทบุรี และ นายกสมาคม ผู้ค้าอัญมณี และ เครื่องประดับจังหวัดจันทบุรี
(5) นายเผด็จ ภูอากาศ
ประสบการณ์ช่างเจียระไนพลอย
วิทยากรฝึกอบรมการเจียระไนพลอย เป็นเวลากว่า 40 ปี
ครูฝึกฝีมือแรงงาน ระดับ ช3 สำนักงานพัฒนาฝีมือแรงงานจันทบุรี
อาจารย์พิเศษหลักสูตรการเจียระไนพลอย ให้กับ สถาบันอุดมศึกษาที่ผลิตบัณฑิตสาขาวิชาอัญมณี และเครื่องประดับ
ผู้เรียบเรียงตำรา “งานเจียระไนอัญมณี”
(2) นายเมธี จึงสงวนสิทธิ์
ช่างเจียระไนพลอย และเจ้าของธุรกิจค้าพลอยเกือบ 50 ปี
ประธานกรรมการบริษัท ไชน์นิ่งมูน จำกัด
เจ้าของพิพิธภัณฑ์ส่วนตัว ชื่อ “เวิลด์ แซฟไฟร์ แกลอรี่”
เจ้าของหนังสือ ชื่อ “จันทบูร ไชนิ่ง มูน”
(7) นายสุรชัย ช่วยบุญ
ประสบการณ์ช่างเจียระไนพลอย เป็นเวลา 40 ปี
(1) นายพัศพงศ์ ชินอุดมพงศ์
เริ่มเข้าวงการพลอยโดยการเจียระไน ตั้งแต่ ปี 2509
ผู้คิดริเริ่มเผาพลอยด้วยเตาฟู่เป่าทอง
อดีตผู้นำผู้ค้าอัญมณีและเครื่องประดับของจันทบุรี
ผู้ริเริ่มเปิดตลาดอัญมณีไทยสู่อัญมณีโลก
ผู้เรียบเรียงหนังสือ “คุณภาพอมตะพลอยไทย” และ “ตามรอยพลอยจันท์”
ผู้ประกอบการค้าพลอย บ้าน 119 Gems บ้านทำพลอย เผาพลอย ริมน้ำจันทบูร
หลักสูตรฝึกอบรมภูมิพลอยจันท์
กิจกรรมการฝึกอบรมแบบผสมผสาน 39 ชั่วโมง
ออนไลน์ 10 ชั่วโมง
ฝึกปฏิบัติจริง 29 ชั่วโมง
หลักสูตร “เสน่ห์พลอยจันท์เลอค่าภูมิปัญญาการเจียระไน”
หลักสูตรการฝึกอบรมแบบผสมผสาน 4P Blended Training
ภูมิพลอยจันท์สู่เศรษฐกิจสร้างสรรค์
: อัตลักษณ์พลอยจันท์สร้างสรรค์เศรษฐกิจ
ข้ามเพลาภพพลอยจันท์สู่เศรษฐกิจสร้างสรรค์
งานวิจัยนวัตกรรม
สกุลพจน์ ยิมขลิบ. (2559). เกณฑ์ในการคัดเลือกช่างทําพลอยสําเร็จ. (งานนิพนธ์ บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต สาขาวิชาบริหารธุรกิจ สำหรับผู้บริหาร). ชลบุรี: วิทยาลัยพาณิชยศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา. Link :
http://digital_collect.lib.buu.ac.th/dcms/files/56710320.pdf
สุรินทร์ อินทะยศ และธนวัฒน์ พิมลจินดา. (2561). การประเมินศักยภาพในการยกระดับจังหวัดจันทบุรีสู่นครแห่งอัญมณีของโลก (รายงานวิจัยฉบับสมบูรณ์).
กรุงเทพฯ : สํานักงานคณะกรรมการส่งเสริมวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม. Link :
https://cmudc.library.cmu.ac.th/frontend/Info/item/dc:130152
ธิติ มงคลศิริภัทรา. (2560). ภูมิปัญญาการทำพลอยกับกระแสโลกาภิวัตน์ กรณีศึกษา ช่างเจียระไนพลอยและช่างเผาปรับปรุงคุณภาพสีพลอยในจังหวัดจันทบุรี.(รายงานการศึกษาเฉพาะบุคคล ปริญญาศิลปศาสตรบัณฑิต). นครปฐม : มหาวิทยาลัยศิลปากร. Link :
http://www.sure.su.ac.th/xmlui/handle/123456789/15127
ชลกานดาร์ นาคทิม. (2562). กลยุทธ์การทำพลอยในจังหวัดจันทบุรีตามรูปแบบการพัฒนาประเทศไทย 4.0. (ดุษฎีนิพนธ์ การศึกษาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาการศึกษาและการพัฒนาสังคม)ชลบุรี: มหาวิทยาลัยบูรพา.Link :
http://digital_collect.lib.buu.ac.th/dcms/files/56810123.pdf
ธนัชญา สร้อยสมยา. (2556). ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการซื้อปลีกพลอยและอัญมณีของชาวต่างชาติ ณ ถนนอัญมณี จังหวัดจันทบุรี. (การศึกษาค้นคว้าอิสระ ปริญญาบริหารธุรกิจมหาบัณฑิตสาขาวิชาธุรกิจระหว่างประเทศ). ปทุมธานี : มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี.
Link :
http://www.repository.rmutt.ac.th/xmlui/bitstream/123456789/2035/1/139316.pdf
นันทรัตน์ บุนนาค และอัครเดช ฐิศุภกร. (2561). การพัฒนาฐานข้อมูลพลอยสีในจันทบุรีเพื่อส่งเสริมการขาย.(รายงานวิจัยฉบับสมบูรณ์). กรุงเทพฯ : สำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ และสำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย. Link :
http://elibrary.trf.or.th/project_content.asp?PJID=RDG60T0063
ชูเกียรติ อ่อนชื่น. (2555). การถ่ายภาพอัญมณีในงานโฆษณา. (วิทยานิพนธ์ ศิลปมหาบัณฑิต สาขาวิชาการออกแบบนิเทศศิลป์). นครปฐม : มหาวิทยาลัยศิลปากร. Link :
http://www.sure.su.ac.th/xmlui/handle/123456789/3560?attempt=2&
อุทิศ บำรุงชีพ และพักตร์วิภา โพธิ์ศรี. (2564). กระบวนทัศน์การพัฒนานวัตกรรมการเล่าเรื่องแบบดิจิทัลเพื่อสืบสานภูมิปัญญาการเจียระไนพลอยสู่เศรษฐกิจสร้างสรรค์ของจังหวัดจันทบุรี.วารสารอุตสาหกรรมศึกษา. 15(1)2021. (มกราคม-มิถุนายน 2564). 88-103. Link :
http://ejournals.swu.ac.th/index.php/jindedu/article/view/13561