Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
การช่วยเหลือดูแลผู้ใหญ่และผู้สูงอายุที่มีปัญหาระบบประสาท …
การช่วยเหลือดูแลผู้ใหญ่และผู้สูงอายุที่มีปัญหาระบบประสาท
ด้วยโรคที่พบบ่อยและไม่ซับซ้อนรุนแรง
การช่วยเหลือดูแลผู้ป่วยที่ได้รับบาดเจ็บศีรษะและสมอง (Craniocerebal trauma)
อาการและอาการแสดง
1) หากเนื้อสมองได้รับบาดเจ็บ อาการและอาการแสดงขึ้นกับสมองส่วนที่ช้ำ
2) หากมีการตกเลือดร่วมกับมีก้อนเลือด หรือมีการติดเชื้อ ผู้ป่วยจะมีอาการปวดศีรษะมาก อาเจียน ซึมลง ชัก อัมพาตครึ่งซีก หมดสติ
การรักษา
ระยะฉุกเฉิน
รักษาทางเดินหายใจให้โล่ง แล้วให้ออกซิเจนนานอย่างน้อย 24 ชั่วโมง และรักษาอาการช็อคที่เกิดจากการบาดเจ็บของอวัยวะอื่นๆ
การรักษาทั่วไป
ให้การรักษาเพื่อป้องกันสมองบวมหรือรักษาความดันในกะโหลกศีรษะ เช่น ให้ยาลดอาการปวด อักเสบ อาการบวม ยาปฏิชีวนะ
ปัญหาผู้ป่วยและการช่วยเหลือดูแล
1) ปัญหาการหายใจไม่มีประสิทธิภาพ
ตรวจสอบระดับการรู้สติ
ตรวจสอบการหายใจและปริมาณของเสมหะทุก 1 ชั่วโมง
ตรวจสอบการไหลเวียน เช่น ชีพจร ความดันโลหิต
2) ปัญหาเลือดออกในสมอง
ประเมินอาการทางระบบประสาท ทุก 1 ชั่วโมง
ตรวจสอบสัญญาณชีพทุก 1 ชั่วโมง
ส่งเสริมการไหลเวียนเลือดจากสมอง โดยจัดให้นอนศีระสูง 30 องศา
ดูแลให้ผู้ป่วยได้รับน้ำอย่างเพียงพอตามแผนการรักษา
3) ปัญหาระดับความรู้สึกตัวเปลี่ยนแปลง
ดูแลให้ได้รับยาตามแผนการรักษา
หากมีแผนการรักษาโดยการผ่าตัด ให้เตรียมผู้ป่วยให้พร้อมเพื่อรับการผ่าตัด
4) ปัญหาการเคลื่อนไหวของร่างกายบกพร่อง
ดูแลทำความสะอาดร่างกาย
ดูแลให้ได้รับการพลิกตะแคงตัวทุก 2 ชั่วโมงเพื่อป้องกันแผลกดทับ
ดูแลให้ผู้ป่วยออกกำลังกายที่เหมาะสม
การช่วยเหลือดูแลผู้ป่วยที่ได้รับบาดเจ็บของไขสันหลัง (Spinal cord trauma)
อาการและอาการแสดง
1) อาการช็อคจากไขสันหลัง (Spinal shock) พบได้เสมอทั้งในระยะที่ไขสันหลังถูกตัดบางส่วน หรือถูกตัดอย่างสมบูรณ์ ทำให้อัมพาต อ่อนปวกเปียก กล้ามเนื้อไม่มีความตึงตัว ไม่มีรีเฟล็กซ์ สูญเสียการรับความรู้สึกและการเคลื่อนไหว
2) อาการที่เกิดจากไขสันหลังได้รับบาดเจ็บบางส่วน
ไขสันหลังส่วนหน้าเสียหน้าที่ การรับความรู้สึกส่วนหน้าเสีย แต่การรับการสั่นสะเทือนและการทรงตัวไม่เสีย
ไขสันหลังส่วหลังเสียหน้าที่ การรับรู้สึกสั่นสะเทือน และการทรงตัวเสีย แต่การรับรู้สึกอุณหภูมิและการเจ็บปวดยังดีอยู่
การรักษา
เคลื่อนย้ายส่วนที่บาดเจ็บให้อยู่ในท่าตรงที่สุด
กระดูกคอบาดเจ็บให้ยึดไว้ด้วยไม้กระดานหรืออุปกรณ์ยึด
ปัญหาผู้ป่วยและการช่วยเหลือดูแล
1) ปัญหาการหายใจไม่มีประสิทธิภาพ ช่วยเหลือดูแลเช่นเดียวกับผู้ป่วยที่ได้รับบาดเจ็บศีรษะและสมอง
2) ปัญหาการเคลื่อนไหวของร่างกายบกพร่อง ให้การช่วยเหลือดูแลเช่นเดียวกับผู้ป่วยที่ได้รับบาดเจ็บศีรษะและสมอง
3) ปัญหาความวิตกกังวล
ส่งเสริมความสุขด้านจิตใจ
สอนให้ญาติมีส่วนร่วมในการดูแลผู้ป่วย
สาเหตุ
ตกจากที่สูง ศีรษะกระแทกพื้น อุบัติเหตุจราจร ถูกยิง วัตถุหล่นทับ
การช่วยเหลือดูแลผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมอง (Cerebrovascular disease)
ปัจจัยเสี่ยง
ความดันโลหิตสูง
โรคหัวใจ
เบาหวาน
ไขมันในเลือดสูง
การสูบบุหรี่
ความอ้วน
อาการและอาการแสดง
Transient Ischemic Attack: TIA
ผู้ป่วยจะมีอาการชาและอ่อนแรงของกล้ามเนื้อมือ และแขน ใบหน้า ขา หนังตาตก พูดลำบาก
Progressive Stroke
หลอดเลือดคาโรติดจะอุดตันมากขึ้น ทำให้สมองซีกนั้นขาดเลือดไปเลี้ยง ทำให้สมองบวม หมดสติ อัมพาตครึ่งซีก หรือเสียชีวิต
Complete Stroke
อาการของโรคอยู่ตัว
การรักษาสโตรค
1) การให้ยาละลายลิ่มเลือดในรายที่มีการอุดกลั้นที่หลอดเลือดสมอง
2) การผ่าตัดเพื่อนำก้อนเลือดออก
3) การดูแลให้ได้รับการดูดเสมหะ ตรวจสอบสัญญาณชีพ การจัดท่านอน การให้ออกซิเจน การเช็ดตัวลดไข้
3) การกำจัดปัจจัยเสี่ยงต่างๆ
ปัญหาผู้ป่วยและการช่วยเหลือดูแล
1) ปัญหาเลือดไปเลี้ยงสมองลดลง
วัดสัญญาณชีพ
ติดตามอาการ
ดูแลให้การไหลเวียนเลือดไปเลี้ยงสมองอย่างเพียงพอ
2) ปัญหาการหายใจไม่มีประสิทธิภาพ ให้การช่วยเหลือดูแลเช่นเดียวกับผู้ป่วยที่ได้รับบาดเจ็บศีรษะและสมอง
3) ปัญหาการเคลื่อนไหวของร่างกายบกพร่อง ให้การช่วยเหลือดูแลเช่นเดียวกับผู้ป่วยที่ได้รับบาดเจ็บศีรษะและสมอง
4) ปัญหาสูญเสียการรับความรู้สึก
จัดวางสิ่งของที่จำเป็นให้ผู้ป่วยเอื้อมหยิบได้ง่าย
ยกไม้กั้นเตียงเพื่อป้องกันการตกเตียง
กระตุ้นให้ผู้ป่วยออกกำลังกายแขนหรือขาที่อัมพาตบ่อยๆ
การช่วยเหลือดูแลผู้ป่วยที่เกิดความผิดปกติของสมองและเส้นประสาทสมอง
4.1 โรคเบลล์พัลซี (Bell’s palsy)
อาการและอาการแสดง
ส่วนใหญ่สังเกตเห็นอาการในเวลาตื่นนอน
ตอนเช้าเห็นอาการปากเบี้ยวข้างใดข้างหนึ่ง เวลายิ้มหรือยิงฟันจะเห็นมุมปากตก น้ำลายไหลที่มุมปาก คิ้วยักไม่ขึ้น หลับตาปิดตาไม่สนิท พูดลำบาก
ปัญหาผู้ป่วยและการช่วยเหลือดูแล
1) ปัญหาภาพลักษณ์ที่เปลี่ยนแปลง
อธิบายให้ผู้ป่วยเข้าใจเกี่ยวกับโรคนี้
เปิดโอกาสให้ผู้ป่วยระบายความรู้สึก
ดูแลให้ผู้ป่วยนวดกระตุ้นบริเวณหน้าเป็นประจำ
2) ปัญหาปิดตาไม่สนิท
ใช้แว่นตากันลมกันแดด
เวลานอนควรใช้ที่ครอบตา หรือที่ปิดตา
ให้สังเกตอาการตาแดง แสบตา เคืองตา
ไม่ขยี้ตา
สาเหตุ
ยังทราบไม่แน่ชัด อาจการจากการติดเชื้อจากไวรัสเริม ตับอักเสบ กรรมพันธุ์ และระบบภูมิคุ้มกันของร่างกาย
4.2 โรคไตรเจมมินัล นิวรัลเจีย (Trigeminal neuralgia)
อาการและอาการแสดง
อาการปวดรุนแรงทันทีทันใด ปวดคล้ายไฟฟ้าช็อตบริเวณใบหน้าที่
เส้นประสาทไปเลี้ยงเป็นช่วงๆ ที่บริเวณแก้ม ริมฝีปาก ฟันบน และคาง ภายในปาก ฟันล่าง ลิ้นด้านหน้า ด้าน
ที่เกิดโรคมีอาการใบหน้าบูดเบี้ยวอาการปวดเป็นระยะๆ ไม่สามารถบรรเทาได้ด้วยยาแก้ปวด ส่วนใหญ่พบว่า
มีอาการซีกเดียว
ปัญหาผู้ป่วยและการช่วยเหลือดูแล
1) ปัญหาความปวด
ดูแลบรรเทาอาการปวดตามแผนการรักษา
ดูแลให้ได้รับสารน้ำและอาหารให้เพียงพอกับความต้องการของร่างกาย
รับประทานอาหารอ่อนๆ
แนะนำให้เคี้ยวอาหารโดยใช้ด้านที่ไม่เป็นโรค
สาเหตุ
ยังทราบไม่แน่ชัด เกิดได้หลายปัจจัย เช่น การติดเชื้อเริมหรือการติดเชื้อไข้หวัดใหญ่ เป็นต้น
4.3 โรคลมชัก (Epilepsy)
อาการและอาการแสดง
เวียนศีรษะ กล้ามเนื้อกระตุก
มีอาการชา เห็นแสงไฟ
การเกร็งของกล้ามเน้อทั่วๆไป ทำให้ผู้ป่วยล้มลง กัดฟัน มีการกระตุกของแขน ขา
หลังจากการชักเมื่อตื่นขึ้นมาจะมีอาการมึนงง ปวดศรีษะ และอาจคลื่นไส้ได้
ปัญหาผู้ป่วยและการช่วยเหลือดูแล
1) ปัญหาเสี่ยงต่ออุบัติเหตุ
ยกไม้กั้นเตียงขึ้นทุกครั้ง
ไม่ใส่ของแข็งเข้าไปในปากเพื่อกันกัดลิ้น
ไม่ผูกมัดผู้ป่วย
สาเหตุ
ส่วนใหญ๋ไม่ทราบสาเหตุ อาจมีความผิดปกติของเนื้อเยื่อสมอง เช่น เป็นเนื้องอกในสมอง หลอดเลือดสมองผิดปกติ แอลกอฮอล์หรือสารพิษ เป็นต้น
การช่วยเหลือดูแลผู้ป่วยที่เกิดจากความเสื่อมของระบบประสาท (Degenerative disorder)
5.1 โรคพาร์คินสัน (Parkinson’s disease)
อาการและอาการแสดง
อาการสั่นของนิ้วมือและแขนข้างหนึ่งปวด
กล้ามเนื้อแขน ขา ลำตัว เริ่มแข็งเกร็ง การเคลื่อนไหวช้า สีหน้าเฉยเมย หลังโค้งงอ
ปัญหาผู้ป่วยและการช่วยเหลือดูแล
1) ปัญหาการเคลื่อนไหวของร่างกายบกพร่อง
ให้การช่วยเหลือดูแลเช่นเดียวกับผู้ป่วยที่ได้รับบาดเจ็บ
ศีรษะและสมอง
2) ปัญหาเสี่ยงต่ออุบัติเหตุ
ดูแลจัดสิ่งแวดล้อมให้เป็นระเบียบเรียบร้อย
ช่วยเหลือดูแลผู้ป่วยในการเคลื่อนย้าย เช่น การไปห้องน้ำ เป็นต้น
ยกไม้กั้นเตียงทุกครั้ง
3) ปัญหาการติดต่อสื่อสารบกพร่อง
ฝึกพูด
เปิดโอกาสให้ผู้ป่วยได้สื่อสารและแสดงความต้องการของตน
ดูแลทางด้าจิตใจ
สาเหตุ
อาจเกิดได้หลายสาเหตุ เช่น การติดเชื้อในสมอง เป็นต้น
5.2 โรคอัลไซเมอร์(Alzheimer disease)
อาการและอาการแสดง
ผู้ป่วยจะเสียความทรงจำระยะยาว พูดไม่จบประโยค พูดซ้ำคำที่ทิ้งไว้ครั้งแรก พูดลำบาก และจำสิ่งแวดล้อมรอบๆ บ้านไม่ได้
ปัญหาผู้ป่วยและการช่วยเหลือดูแล
1) ปัญหาการดูแลตนเองบกพร่อง
ดูแลให้ผู้ป่วยได้รับน้ำกับอาหารให้เพียงพอ
ดูแลทำความสะอาดร่างกาย
บันทึกปริมาณน้ำที่ร่างกายได้รับและขับออกทุก 8 ชั่วโมง
2) ปัญหาเสี่ยงต่ออุบัติเหตุ
จัดสิ่งแวดล้อมให้เหมาะสม
ยกไม้กั้นเตียง ป้องกันการตกเตียง
ช่วยเหลือดูแลผู้ป่วยในการเคลื่อนย้าย
3) ปัญหาการนอนหลับ
จัดสิ่งแวดล้อมให้ผู้ป่วยพักผ่อนได้อย่างเพียงพอ
หลีกเลี่ยงการทำกิจกรรมที่ก่อความวิตกกังวลให้ผู้ป่วย
สาเหตุ
เกิดจากหลายสาเหตุร่วมกัน และเกิดจากกรรมพันธุ์
การช่วยเหลือดูแลผู้ป่วยที่มีการติดเชื้อของระบบประสาท
6.1 เยื่อหุ้มสมองอักเสบ (Meningitis)
อาการและอาการแสดง
ไข้สูง หนาวสั่น ปวดศีรษะรุนแรง ปวดข้อ ชักและซึมลงจนหมดสติ มีอาการคอแข็งและอัมพาตครึ่งซีก พูดลำบาก ตามองไม่เห็น
ปัญหาผู้ป่วยและการช่วยเหลือดูแล
1) ปัญหาการมีไข้สูง
วัดอุณหภูมิทุก 4 ชั่วโมง หากมีไข้ให้เช็ดตัวลดไข้
ดูแลให้ผู้ป่วยได้รับสารน้ำตามแผนการรักษา
2) ปัญหาระดับการรู้สติลดลง
ดูแลให้ผู้ป่วยได้รับน้ำและอาหารให้เพียงพอ
ดูแลทำความสะอาดร่างกาย
ยกไม้กั้นเตียงเพื่อป้องกันการตกเตียง
3) ปัญหาปวดศีรษะและกล้ามเนื้อ
จัดให้ผู้ป่วยนอนศีรษะสูง 30-40 องศา รักษาร่วมกับการนวด และประคบด้วยน้ำอุ่น
สาเหตุ
เชื้อแบคทีเรีย
6.2 ฝีในสมอง (Brain abscess)
อาการและอาการแสดง
ไข้ ปวดศีรษะ ปวดกล้ามเนื้อคอ การรับรู้ลดลง ชา และชัก ในระยะท้ายจะมีความจำเสื่อม ตามัว เดินเซ
ปัญหาผู้ป่วยและการช่วยเหลือดูแล
ให้การช่วยเหลือดูแลเช่นเดียวกับผู้ป่วยเยื่อหุ้มสมองอักเสบ
สาเหตุ
เชื้อแบคทีเรีย
การช่วยเหลือดูแลผู้ป่วยโรคของระบบประสาทส่วนปลาย
7.1 โรคของเส้นประสาท (Neuropathies)
อาการและอาการแสดง
กล้ามเนื้ออ่อนแรงหรือเป็นอัมพาต กล้ามเนื้อสั่นเหมือนปลาถูกทุบหัว (Fasciculation) สูญเสียการสัมผัส การทรงตัว เดินเซ รีเฟล็กซ์เปลี่ยนแปลง เช่น มีเเหงื่อ
ปัญหาผู้ป่วยและการช่วยเหลือดูแล
เช่นเดียวกับในโรคกิลแลงบาเร่ซินโดรม
สาเหตุ
การติดเชื้อในร่างกาย ไวรัสตับอักเสบ พิษของตะกั่ว เป็นต้น
7.2 โรคกิลแลงบาเร่ซินโดรม (Guillain-Barre’ syndrome: GBS)
อาการและอาการแสดง
กล้ามเนื้อขาอ่อนแรงจนถึงขั้นเป็นอัมพาต ภาวะแทรกซ้อนจากการที่ไม่เคลื่อนไหวร่างกายทำให้ท้องอืด ลำไส้เป็นอัมพาต กล้ามเนื้อเหี่ยวลีบ
ปัญหาผู้ป่วยและการช่วยเหลือดูแล
1) ปัญหาความเจ็บปวด
สังเกตอาการปวดตามกล้ามเนื้อ
ช่วยเหลือให้มีการเปลี่ยนท่านอนต่างๆ
ช่วยเหลือดูแลให้มีการนวด
2) ปัญหาการหายใจไม่มีประสิทธิภาพ
ตรวจสอบระดับการรู้สติ
ตรวจสอบการหายใจและปริมาณของเสมหะทุก 1 ชั่วโมง
ตรวจสอบการไหลเวียน เช่น ชีพจร
จัดสิ่งแวดล้อมให้เงียบสงบ จัดให้นอนศีรษะสูง
3) ปัญหาการเคลื่อนไหวของร่างกายบกพร่อง
ดูแลผู้ป่วยให้ได้รับน้ำและอาหารให้เพียงพอ
ดูแลความสะอาดร่างกาย
ยกไม้กั้นเตียงป้องกันการตกเตียง
สาเหตุ
การติดเชื้อทางเดินหายใจและทางเดินอาหาร
7.3 โรคมายแอสทีเนียกราวิส (Myasthenia gravis: MG)
อาการและอาการแสดง
อ่อนแรง มองเห็นภาพซ้อน หนังตาตก กลืนลำบาก พูดลำบาก
ปัญหาผู้ป่วยและการช่วยเหลือดูแล
1) ปัญหาการหายใจไม่มีประสิทธิภาพ
ดูแลเช่นเดียวกับโรคกิลแลงบาเร่ซินโดรม
2) ปัญหาการกลืนลำบาก
ดูแลให้รับประทานอาหาร ตามแผนการรักษา
จัดท่านั่งในการรับประทานอาหาร
ดูแลความสะอาดของช่องปากหลังรับประทานอาหาร
สาเหตุ
เกิดจากสารต่อต้านสิ่งแปลกปลอมของตัวเองไปทำลายตัวรับสัณญาณระหว่างปลายประสาทและกล้ามเนื้อ
นางสาวสาลิกา วังคำ เลขที่ 36 รหัสนักศึกษา 64180090376