Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
บทที่ 3 การประเมินตามสภาพจริง - Coggle Diagram
บทที่ 3 การประเมินตามสภาพจริง
1.การจัดการเรียนการสอนแบบเดิม
ผู้สอนเป็นศูนย์กลางกลาง (leather Center) กระบวนทัศน์เดิมทางการศึกษาเชื่อว่าความรู้คือสิ่งที่สั่งสมอยู่ในตัวของผู้สอนดังนั้นการจัดการเรียนการสอนจึงคือการถ่ายทอดความรู้จากผู้สอนไปสู่ผู้เรียนผ่านกระบวนการสอนที่มุ่งเน้นเนื้อหาวิชาเป็นหลักผู้เรียนมีหน้าที่รับฟังและจดจำในสิ่งที่บอกเท่านั้นด้วยเหตุนี้“ ข้อสอบ” จึงเป็นเครื่องมือหลักของการวัดผลเพื่อวัดว่าผู้เรียนสามารถจดจำเนื้อหาที่ครูสอนได้มากน้อยเพียงใดโดยมีคะแนนเป็นตัวบ่งชี้ความสำเร็จ
2.การจัดการเรียนการสอนแบบใหม่
การเรียนการสอนแบบใหม่เรียนเป็นศูนย์กลางกลาง (Student Center) ท่ามกลางการเปลี่ยนแปลงของข้อมูลข่าวสารอย่างรวดเร็วในกระแสโลกาภิวัตน์บนฐานของความเจริญทางด้านเทคโนโลยีสารสนเทศได้นำพาสังคมโลกให้กลายเป็นสังคมที่ไร้พรมแดนมีวิทยาการใหม่ ๆ เกิดขึ้นอย่างมากมายและองค์ความรู้ต่าง ๆ มีการเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลาดังนั้นผู้สอนจึงมิใช่แหล่งความรู้สมบูรณ์ (Absolute Source of Knowledge
การจัดการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นศูนย์กลางนี้มีคุณลักษณะที่สำคัญ 2 ประการคือ
(1) เป็นการจัดการเรียนการสอนที่เน้นกระบวนการคิดกระบวนการเรียนรู้ผู้เรียนและกลุ่มผู้เรียนมากกว่าเนื้อหาวิชาและผู้สอน
(2) เปิดโอกาสให้ผู้เรียนได้ลงมือปฏิบัติจริง (Learning by Doing การเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง คือการจัดการเรียนการสอนที่ผู้สอนจัดกิจกรรมหรือสถานการณ์ต่าง ๆ เพื่อกระตุ้นและเปิดโอกาสให้ผู้เรียนได้ใช้ความรู้สร้างเป็นเนื้อหาและกิจกรรมการเรียนรู้ด้วยการลงมือปฏิบัติจริงผ่านกระบวนการเรียนรู้ร่วมกันโดยผู้สอนทำหน้าที่คอยให้ความช่วยเหลือแนะนำและส่งเสริมให้ผู้เรียนได้ค้นพบความรู้ด้วยตนเองอย่างเต็มศักยภาพมากที่สุดเพื่อให้ผู้เรียนสามารถพึ่งตนเองและมีบทบาทในการรับผิดชอบต่อการเรียนรู้ของตนเองมากขึ้น
3.ตัวบ่งชี้ลักษณะการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็็นศูนย์กลาง
ศูนย์พัฒนาคุณภาพการเรียนการสอนสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติยังได้ศึกษาทฤษฎีการเรียนรู้ที่สอดคล้องกับแนวทางการปฏิรูปการศึกษาใน 5 แนวทางคือการเรียนรู้อย่างมีความสุข การเรียนรู้แบบมีส่วนร่วม การเรียนรู้เพื่อพัฒนากระบวนการคิด ลักษณะนิสัยด้านศิลปะดนตรีกีฬาและการฝึกฝนกาย วาจา ใจ
4.กิจกรรมการเรียนการสอน
กิจกรรมการเรียนการสอนนับเป็นปัจจัยสำคัญประการหนึ่งของการจัดการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นศูนย์กลางซึ่งผู้สอนควรเลือกนำมาใช้ให้เหมาะสมกับเนื้อหาและกลุ่มของผู้เรียนเพื่อมุ่งพัฒนาผู้เรียนให้ครบทั้ง 3 ด้านคือพุทธิพิสัย (Cognitive Domain) จิตพิสัย (Affective Domain) และทักษะพิสัย (Paychomotor Domain) มีตัวอย่างกิจกรรมการจัดการเรียนการสอนตามสภาพจริง
5.การวัดและประเมินผลการเรียนรู้ตามสภาพจริง
เพื่อให้สอดคล้องกับแนวทางการพัฒนาผู้เรียนให้เต็มตามศักยภาพที่มีด้วยการใช้กิจกรรมการเรียนการสอนที่หลากหลาย แต่ในสภาพส่วนใหญ่ของระบบการศึกษาของไทยนั้นมักใช้“ ข้อสอบหรือแบบทดสอบ” เป็นเครื่องมือหลักในการวัดผลการวัดและประเมินผลดังกล่าวจึงไม่สามารถแสดงผลสัมฤทธิ์และระดับพัฒนาการของผู้เรียนได้อย่างแท้จริงเพราะเป็นการ
5.1 ความหมายของการประเมินตามสภาพจริง
การประเมินตามสภาพจริงหมายถึงการประเมินผลที่ได้อีการและเกณฑ์ที่หลากหลายในการวัดและประเมินผลการเรียนรู้ความสามารถและคุณลักษณะต่าง ๆ ของผู้เรียนอย่างเต็มเวลาของกิจกรรมในแต่ละโปรแกรมโดยให้ผู้เรียนได้ทำกิจกรรมหรือสร้างผลงานออกมาเพื่อแสดงตัวอย่างของความรู้และทักษะตนที่มีซึ่งกิจกรรมที่นำมาใช้ในการประเมินนั้น
5.2 คุณลักษณะของการประเมินตามสภาพจริง
(1) งานที่ปฏิบัติเป็นงานที่มีความหมายคือสอดคล้องกับชีวิตประจำวัน
(2) เป็นการประเมินรอบด้านด้วยวิธีการที่หลากหลายคือประเมินความรู้ความสามารถทักษะและคุณบาษณะด้วยเครื่องมือที่สอดคล้องกับวิธีการเรียนรู้และกระทำหลายครั้งอย่างต่อเนื่องตลอดระยะเวลาที่การเรียนรู้เกิดขึ้น
(3) ผลผลิตมีคุณภาพงานทุกงานมีเกณฑ์มาตรฐานที่ร่วมกันตั้งไว้โดยครูผู้เรียนและอาจจะมีผู้ปกครองร่วมด้วยผู้เรียนจะประเมินตนเองตลอดเวลาเพื่อแก้ไขข้อบกพร่องจนผลงานมีคุณภาพตามเกณฑ์ที่กำหนดและมีการแสดงผลงานต่อสาธารณะเพื่อสร้างความภูมิใจแก่ผู้เรียนด้วย
(4) ใช้ความคิตระดับสูงกล่าวคือผลงานที่สร้างนั้นต้องเกิดจากการคิดวิเคราะห์สังเคราะห์และประเมินทางเลือกลงมือกระทำตลอดจนต้องใช้ทักษะในการแก้ปัญหาต่าง ๆ ด้วยตนเอง
(5) มีปฏิสัมพันธ์ทางบวกกล่าวคือผู้เรียนครูและผู้ปกครองจะต้องมีการร่วมมือกันประเมินและผู้เรียนไม่มีความเครียด
(6) มีการกำหนดจำนวนงานขอบเขตและมาตรฐานอย่างชัดเจนและสอดคล้องกับจุดมุ่งหมายของการเรียนรู้
(7) สะท้อนลักษณะเฉพาะตัวของผู้เรียนโดยผู้เรียนมีโอกาสแสดงความรู้สึกนึกคิดเหตุผลในการทำไม่ทำชอบหรือไม่ชอบในสิ่งต่าง ๆ เหล่านั้น
(8) เป็นการประเมินอย่างต่อเนื่องประเมินได้ทุกเวลาทุกสถานที่และเป็นการประเมินแบบไม่เป็นทางการเพื่อให้เห็นและทราบถึงพฤติกรรมการเรียนรู้ที่แท้จริงของผู้เรียน
(9) เป็นการบูรณาการซึ่งองค์ความรู้กล่าวคือผลงานที่ทำต้องใช้ทักษะที่เกิดจากการเรียนรู้ในวิชาต่าง ๆ ในลักษณะสหสาขาวิชา
5.3 ประโยชน์ของการประเมินผลตามสภาพจริง
(1) ใช้งานที่มีลักษณะปลายเปิดและสะท้อนกิจกรรมการเรียนการสอนที่แท้จริงซึ่งนับเป็นส่วนหนึ่งของการพัฒนายุทธวิธีการเรียนการสอนที่สำคัญ
(2) เน้นการใช้ทักษะความรู้ความเข้าใจระดับสูงที่สามารถประยุกต์ใช้ข้ามวิชาได้
(3) เน้นที่สาระสำคัญของลักษณะที่บ่งบอกถึงพัฒนาการทางการเรียนรู้มากกว่าเพียง แต่การดูปริมาณของความบกพร่อง
(4) เป็นปฏิบัติการที่เด่นชัดและแสดงให้เห็นกระบวนการแก้ปัญหาที่มีความสลับซับซ้อนและยุ่งยากได้เป็นอย่างดี
(5) ส่งเสริมให้มีการใช้วิธีการประเมินผลที่หลากหลายและบันทึกผลการเรียนรู้ในภาพกว้างที่ได้มาจากสถานการณ์ต่าง ๆ กัน
(6) สามารถใช้ได้กับทั้งรายบุคคลและรายกลุ่ม
(7) ให้ความสำคัญและสนใจในความคิดและความสามารถของปัจเจกบุคคลมากกว่านำมาเปรียบเทียบระหว่างกัน
(8) สนองตอบความแตกต่างระหว่างบุคคลและประเภทของผู้เรียนที่แตกต่างกันได้เป็นอย่างดี
(9) ส่งเสริมให้เกิดความร่วมมือกันในระหว่างกระบวนการเรียนการสอนและกระบวนการวัดและการประเมินผลระหว่างผู้เรียนผู้สอนและผู้ปกครอง
(10) ผู้เรียนและผู้สอนล้วนมีบทบาทสำคัญในการประเมินผล
(11) ไม่เน้นว่าผลการศึกษาจะต้องเป็นไปตามเกณฑ์สมมุติฐานที่ตั้งไว้ก่อนหน้าที่จะมีการเรียนการสอน
(12) สามารถนำมาใช้เป็นวิธีการประเมินในระยะยาวได้
(13) ให้ความสำคัญกับความก้าวหน้าที่ต้องการให้เกิดขึ้นมากกว่าการบันทึกจุดอ่อนของผู้เรียน
5.4 เครื่องมือในการประเมินตามสภาพจริง
1.การสังเกต
2.การสัมภาษณ์
3.การสอบถาม
4.การทดสอบ
5.แฟ้มสะสมผลงาน