Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
หน่วยที1 แนวคิด หลักการและแนวปฏิบัติในการวัดและประเมินผลการเรียนรู้ของผู้เ…
หน่วยที1 แนวคิด หลักการและแนวปฏิบัติในการวัดและประเมินผลการเรียนรู้ของผู้เรียน
1.ความหมายของการวัดผล การทดสอบและการประเมินผล
การวัดผล(Measurement)
หมายถึงกระบวนการหาปริมาณ หรือจำนวนของสิ่งต่าง ๆ โดยใช้เครื่องมืออย่างใดอย่างหนึ่งมาวัด ผลจากการวัดมักออกมาเป็นตัวเลข สัญลักษณ์ หรือข้อมูลต่างๆ (สมนึก ภัททิยธนี,2537:1) เช่น ส่วนสูง น้ำหนัก คะแนนรายวิชาคณิตศาสตร์ เป็นต้น
หมายถึง กระบวนการกำหนดตัวเลขหรือสัญลักษณ์ให้กับบุคคล สิ่งของ หรือ
เหตุการณ์อย่างมีกฎเกณฑ์ เพื่อให้ได้ข้อมูลที่แทนปริมาณหรือคุณภาพของสิ่งที่จะวัด (พิชิต ฤทธิ์จรูญ,2545: 3)
จึงขอสรุปว่า การวัดผล หมายถึง กระบวนการกำหนดตัวเลขหรือสัญลักษณ์ให้กับสิ่งต่างๆ ที่
ต้องการวัดโดยใช้เครื่องมืออย่างใดอย่างหนึ่งมาวัด ซึ่งผลจากการวัดนั้นอาจจะเป็นตัวเลข หรือสัญลักษณ์
การวัดผลทางการศึกษา
หมายถึง กระบวนการในการหาปริมาณความสามารถเกี่ยวกับพฤติกรรมที่เกิด
จากการจัดการเรียนการสอนของครูผู้สอน โดยใช้เครื่องมือที่เหมาะสมในการวัดพฤติกรรมทางการศึกษาที่สนใจ
ผลจากการวัดผลทางการศึกษาจะออกมาเป็นตัวเลข สัญลักษณ์ หรือข้อมูลต่างๆ
การทดสอบ (Test)
หมายถึงเป็นเทคนิคที่ใช้การวัดผลทางการศึกษาประเภทหนึ่ง โดยเครื่องมือที่ใช้ในการวัดผลคือ "แบบทดสอบ"
การประเมินผล (Evaluation)
หมายถึง การตัดสิน หรือวินิจฉัยสิ่งต่างๆ ที่ได้จากการวัดผล โดยอาศัย
เกณฑ์การพิจารณาอย่างใดอย่างหนึ่ง สมนึก ภัททิยธนี, 2537:3) เช่น ผลจากการวัดความสูงเท่ากับ 180 ชม.
หมายถึงเป็นคนสูงมาก
หมายถึง การตัดสินคุณค่าหรือคุณภาพของผลที่ได้จากการวัดโดย
เปรียบเทียบกับผลการวัดอื่นๆ หรือเกณฑ์ที่ตั้งไว้ (พิชิต ฤทธิ์จรูญ, 2545.: 5)
จึงขอสรุปว่า การประเมินผล หมายถึง การตัดสินคุณค่าของสิ่งที่ได้ทำการวัดอย่างมีเหตุผลโดย
เทียบกับเกณฑ์หรือมาตรฐานที่กำหนดเอาไว้
2.องค์ประกอบของการวัดและการประเมินผล
2.1 องค์ประกอบของการวัด
พิชิต ฤทธิ์จรูญ (2545: 5) กล่าวว่า องค์ประกอบของการวัดประกอบด้วย 3 องค์ประกอบ คือ
ปัญหาหรือสิ่งที่จะวัด เครื่องมือวัดหรือเทคนิคที่จะใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล(เครื่องมือที่ใช้วัด) และข้อมูลที่ได้จากการวัด
2.2 องค์ประกอบของการประเมิน
พิชิต ฤทธิ์จรูญ (2545: 5) กล่าวว่า องค์ประกอบของการประเมิน ประกอบด้วย 3 องค์ประกอบ คือ
ข้อมูล(ที่ได้จากการวัด) เกณฑ์ และการตัดสินคุณค่าหรือการตัดสินใจ
ข้อสังเกต ในข้อมูลที่ได้จากการวัดเดียวกันแต่หากใช้เกณฑ์ที่แตกต่างกันอาจจะทำให้ตัดสินใจได้แตกต่างกันได้
3.ความสัมพันธ์ระหว่างการวัดและประเมินผล
กับกระบวนการเรียน
เป้าหมายสูงสุดคือ ให้ผู้เรียนบรรลุตามจุดประสงค์การเรียนรู้ที่กำหนดเอาไว้ครูมี
หน้าที่ในการให้ความรู้แก่ผู้เรียนจัดกิจกรรมการเรียนการสอนเพื่อให้บรรสุตามเป้าหมายที่วางเอาไว้ดังนั้นในการจัดการกิจกรรมการเรียนการสอนใดๆ จะมีองค์ประกอบที่สำคัญ 3 ส่วน
จุดประสงค์การเรียนรู้
(Learning Objectives)
กิจกรรมการเรียนการสอน
(Learning Experience)
การวัดและประเมินผล
(Evaluation)
ครูผู้สอนจะต้องเริ่มกำหนดจุดประสงค์การเรียนรู้เพื่อเป็นเป้าหมายให้กับผู้เรียน หลังจากนั้นดำเนินการจัดกิจกรรม
การเรียนการสอนที่สอดคล้องกับจุดประสงค์การเรียนรู้ที่กำหนดเอาไว้ และท้ายสุดต้องมีการวัดและประเมินผลผู้เรียน
ว่าได้บรรลุตามจุดประสงค์การเรียนรู้หรือไม่ เพื่อที่จะนำข้อมูลนั้นไปปรับปรุงกระบวนการจัดการเรียนการสอน
ความหมายเกี่ยวเนื่องกับการประเมินอยู่ 2 คำคือ Evaluation และ Assessment
ทั้ง 2 คำนี้ มีความหมายเดียวกันคือ "การประเมิน" แต่แตกต่างกันในแง่ของการเก็บรวบรวมข้อมูล(การวัดผล) และกระบวนการในการตัดสินคุณค่
ความแตกต่างระหว่าง Evaluation และ Assessment
Evaluation
1.ต้องทำอย่างเป็นกระบวนการหรือมีขั้นตอน
2.ต้องมีผลการวัด
3.ต้องกำหนดเกณฑ์สำหรับตัดสินคุณภาพ
4.ต้องทำการพิจารณาตัดสินโดยนำผลการวัดเทียบ
5.ผลการประเมินที่ได้บอกระดับคุณภาพ
Assessment
1.ต้องทำอย่างเป็นกระบวนการหรือมีขั้นตอน
2.ต้องเก็บรวบรวมข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับผู้เรียนจากหลาย ๆ แหล่ง (การวัดผล)
3.ต้องเก็บรวบรวมข้อมูลที่เกี่ยวช้องกับผู้เรียนโดยใช้วิธีการที่หลากหลาย
4.ต้องประเมินอย่างสม่ำเสมอและประเมินไปพร้อม ๆ
กับการจัดการเรียนรู้
5.ต้องประเมินให้ครอบคลุมพฤติกรรมด้านความรู้
ทักษะกระบวนการ และคุณธรรมจริยธรรม
6.ผลที่ได้จากการประเมินนำไปใช้ปรับปรุงแก้ไขจุดด้อย และส่งเสริมจุดเด่นของผู้เรียน
สรุปได้ว่า
สรุปได้ว่า
การประเมินแบบ Assessment
หมายถึง กระบวนการในการรวบรวมข้อมูลสารสนเทศที่เกี่ยวข้องกับ
ผู้เรียนอย่างเป็นระบบ เพื่อสะท้อนให้เห็นความสามารถที่แท้จริงของผู้เรียนทั้งจุดเด่นที่ควรส่งเสริม และจุดด้อยที่
ต้องปรับปรุงแก้ไข การประเมินแบบ Assessment จึงเหมาะสมอย่างยิ่งสำหรับนำมาใช้ประเมินผลการเรียนรู้เพื่อปรับปรุงและพัฒนาการเรียนการสอน
Assessment
ต้องได้มาจากแหล่งต่าง ๆ เช่น จากครูผู้สอนจากผู้ปกครอง จากผู้เชี่ยวชาญเฉพาะทาง
จากเพื่อนหรือจาผู้เรียนเองและต้องได้มาโดยใช้วิธีกรที่หลากหลาย ได้แก่ การทสอบ สังเกต สัมภาษณ์ ซักถาม
การประเมินแบบ Assessment จึงเป็นการประเมินโดยพิจารณาพัฒนาการของผู้เรียน เน้นการเรียนรู้ตามสภาพจริง ไม่มุ่งเปรียบเทียบกับพัฒนาการของนักเรียนคนอื่นๆ การตัดสินได้-ตก
การประเมินแบบ Evaluation หมายถึง การตัดสินผู้เรียนจากพฤติกรรมทางการศึกษาได้วัดได้โดยเทียบกับเกณฑ์หรือมาตรฐานทางการศึกษาที่กำหนดเอาไว้ เพื่อตัดสินว่าผู้เรียนนั้นมีพฤติกรรมทางการศึกษาที่สนใจอยู่ในระดับใด
4. จุดมุ่งหมายของการวัดผลการศึกษา
4.1 ค้นหาและพัฒนาสมรรถภาพของผู้เรียน
เป็นการวัดและประเมินผลการศึกษาเพื่อพิจารณา
ว่านักเรียนไม่เข้าใจเรื่องใด นักเรียนมีความรู้มากน้อยแค่ไหน แล้วพยายามอบรมสั่งสอนนักเรียนให้เกิดการเรียนรู้
จุดมุ่งหมายของการวัดและประเมินผลการศึกษาในข้อนี้เป็น
จุดมุ่งหมายที่สำคัญที่สุด และเป็น "ปรัชญาของการวัดผลการศึกษา"
ดังนั้นครูผู้สอนที่ทำการวัดและประเมินผลการศึกษาจะต้องตระหนักว่านักเรียนยังไม่เข้าใจหรือไม่บรรลุตามวัตถุประสงค์ในข้อใด เพื่อปรับปรุงกิจกรรมการเรียนการสอนเพื่อพัฒนาให้ผู้เรียนบรรลุตามจุดประสงค์การเรียนรู้
4.2 วินิจฉัย (Diagnosis)
เป็นการวัดและประเมินผลการศึกษาเพื่อค้นหาจุดบกพร่องของนักเรียนที่มี
ปัญหาว่ายังไม่เกิดการเรียนรู้ในจุดใด เพื่อหาทางช่วยเหลือนักเรียนและสอนซ่อมเสริมนักเรียนได้
4.3 จัดอันดับหรือตำแหน่ง (Placement)
การวัดและประเมินผลการศึกษาเพื่อจัดอันดับความสามารถ
ของผู้เรียนในกลุ่มเดียวกันว่าใครเก่งใครอ่อน ผ่าน-ไม่ผ่าน เป็นต้น
4.4 เปรียบเทียบหรือทำให้ทราบพัฒนาการของผู้เรียน (Assessment)
เป็นการวัดและประเมินผลการศึกษาเพื่อการเปรียบเทียบเพื่อให้ทราบความสามารถของตัวนักเรียนเอง(ไม่เปรียบเทียบกับคนอื่น)ว่ามีความ
เจริญงอกงามขึ้นเพียงใด เช่น การทดสอบก่อนเรียน ทดสอบหลังเรียน เป็นต้น
4.5 พยากรณ์ (Prediction)
เป็นการวัดและประเมินผลการศึกษาเพื่อนำผลไปคาดคะเนหรือทำนาย
อนาคตของผู้เรียน เช่น แบบทดสอบความถนัด แบบทดสอบวัดเชาว์ปัญญา
4.6 ประเมิน (Evaluation)
เป็นการวัดและประเมินผลการศึกษาเพื่อตัดสินใจสรุปคุณภาพของการ
จัดการจัดการศึกษา ควรปรับปรุงหลักสูตรหรือไม่ ฯลฯ
5. ธรรมชาติของวัดผลการศึกษา
5.1 การวัดผลการศึกษาเป็นการวัดที่ไม่สมบูรณ์ (Incomplete)
ครูผู้สอนจำเป็นต้องเลือกเนื้อหาสาระเป็นบางส่วนเพื่อเป็นตัวแทนของความรู้ในรายวิชานั้นมาออกข้อสอบ(ทำการวัด ทั้งนี้หากครูเลือกเนื้อหามาน้อยเกินไปก็อาจจะไม่ครอบคลุมองค์ความรู้ตามจุดประสงค์การเรียนรู้ที่ต้องการก็ได้ ดังนั้น การวัดผลการศึกษาจึงเป็นการวัดที่ไม่สมบูรณ์
5.2 การวัดผลการศึกษาเป็นการวัดทางอ้อม (Indirect)
การวัดผลการศึกษาไม่สามารถวัดได้โดยตรง
เนื่องจากข้อจำกัดในด้านของเครื่องมือที่ใช้ในการวัด กล่าวคือ ไม่มีเครื่องมือใดที่จะสามารถวัดความรู้ที่ฝังอยู่ในตัวบุคคลได้จริง
พฤติกรรมที่ผู้เรียนแสดงออกไม่สามารถจับต้องได้อย่างเป็นรูปธรรม นักวัดผลจึงพยายามหาวิธีการในการสร้างเครื่องมือ ซึ่งอาจจะเป็นข้อสอบ แบบสังเกตพฤติกรรม เพื่อที่จะศึกษาความรู้ความสามารถหรือพฤติกรรมทางการศึกษาของ ผู้เรียน การใช้เครื่องมือแบบนี้จึงเป็นการวัดทางอ้อม
5.3การวัดผลการศึกษามีความคลาดเคลื่อน (Error)
สีบเนื่องจากข้อ 5.2 เมื่อการวัดผลการศึกษาซ้อน ไม่สามารถจับต้องได้ ซึ่งความคลาดเคลื่อนนั้นอาจจะเกิดจากตัวผู้ถูกวัดเอง เช่น ไม่สบายในวันสอบหรือการวัด หรือเกิดจากปัจจัยภายนอก เช่น ข้อสอบไม่ตี โจทย์ไม่ขัดเจน กรรมการกำกับบกพร่องต่อหน้าที่ เป็นต้น
5.4การวัดผลการศึกษาเป็นการวัดในเชิงสัมพันธ์ (Relation)
กล่าวคือ ต้องมีการนำเอาผลที่ได้จากการ
วัดผลการศึกษาไปเปรียบเทียบกับเกณฑ์จึงจะสามารถแปลความหมายได้
5.5การวัดผลการศึกษาเป็นการวัดที่ไม่มีศูนย์แท้หรือศูนย์สมบูรณ์
กล่าวคือ คะแนน/ผลที่ได้จากการวัดเท่ากับ 0 ไม่ใด้แปลว่าผู้เรียนไม่มีความรู้ ผู้เรียนอาจจะมีความรู้แต่ข้อสอบไม่ได้ถามสิ่งที่ผู้เรียนมีความรู้
ข้อสอบอาจจะไม่ครอบคลุมเนื้อหาทั้งหมดที่ผู้เรียนควรทราบ เป็นต้น
6.มาตราการวัด
6.1 มาตรานามบัญญัติ(Nominal scale)
เป็นระดับการวัดที่ต่ำที่สุด เป็นระดับที่ใช้จำแนกความ
แตกต่างของสิ่งที่ต้องการวัดออกเป็นกลุ่มๆ โดยใช้ตัวเลข เช่น เพศ สถานภาพ เป็นต้น
6.2 มาตราเรียงอันดับ(Ordinal Scale)
เป็นระดับที่สูงกว่านามบัญญัติ เป็นการกำหนดตัวเลขเพื่อชี้ถึง
ลำดับตัวเลขในมาตราการวัดระดับนี้ เป็นตัวเลขที่บอกความหมายในลักษณะ มาก-น้อย สูง-ต่ำ เก่ง-อ่อน กว่ากัน
6.3 มาตราอันตรภาค(Interva Scale)
กล่าวคือ
สามารถบ่งบอกถึงปริมาณความแตกต่างได้ เช่น อุณหภูมิ 0 องศา กับ 10 องศา มีความหนาวแตกต่างกันอยู่ 10 ช่วงเท่าๆ กันหรือคะแนนสอบ เป็นต้น
6.4 มาตราอัตราส่วน(Ratio Scale)
เป็นระดับที่สูงที่สุด มีความสมบูรณ์มากกว่าอัตราภาค เนื่องจากมีศูนย์แท้
การวัดในระดับนี้ส่วนใหญ่จะเป็นการวัดทางวิทยาศาสตร์ เช่น น้ำหนัก ส่วนสูง จำนวนเชื้อแบททีเรียจำนวนผู้ติดเชื้อ เป็นต้น การวัดทางการศึกษาไม่อยู่ในระดับนี้
7. ขอบข่ายในการวัดและประเมินผลการเรียนรู้ของผู้เรียน
7.1 หลักการในการวัดผลการศึกษา
(1) กำหนดจุดประสงค์ของการวัดและประเมินผลให้ชัดเจนว่าต้องการวัดอะไร
กล่าวคือ การวัดผล
จะต้องวัดให้ตรงกับจุดมุ่งหมายในการจัดการเรียนการสอน
เนื่องจากการวัดผลจะเป็นตัวช่วยตรวจสอบว่านักเรียนเกิดพฤติกรรมตามที่ระบุไว้ในจุดมุ่งหมายการเรียนการสอน(จุดประสงค์การเรียนรู้) หรือไม่
ถ้าวัดและประเมินผลโดยไม่คำนึงถึงจุดมุ่งหมายในการจัดการเรียนการสอนก็จะไม่เกิดประโยชน์ใดๆ ในการวัด ครูผู้สอน
เป็นต้องกำหนดพฤติกรรมของผู้เรียนในด้านพุทธิพิสัยจิตพิสัย หรือทักษะพิสัยให้ชัดดเจน และวัดให้ตรงกับที่ได้กำหนดเอาไว้
(2) เลือกใช้วิธีการวัดให้เหมาะสม/เครื่องมือที่มีคุณภาพ
การวัดทางการศึกษา
เป็นการวัดทางอ้อม
ครูจำเป็นต้องเลือกใช้เครื่องมือที่มีคุณภาพที่ดีในการวัด
พฤติกรรทางการศึกษา(ด้านพุทธิพิสัย จิตพิสัย หรือทักษะพิสัย)
ตามจุดมุ่งหมายการเรียน
ให้ผลที่ได้จากการวัดนั้นถูกต้องและ
สามารถนำไปใช้ในการประเมินหรือตัดสินคุณค่าได้
(3) เลือกใช้วิธีการวัด/เครื่องมือที่หลากหลาย
ครูจำเป็นต้องเลือกใช้เครื่องมือที่หลายหลายเพื่อให้สามารถวัดพฤติกรรทางการศึกษา
ตามจุดมุ่งหมายการเรียนได้ครอบคลุมมากที่สุด การใช้เครื่องมือที่หลากหลายจะช่วยป้องกัน
ความคลาดเคลื่อนในการวัดที่อาจเกิดขึ้น
(4) เลือกตัวแทนของสิ่งที่จะวัดให้เหมาะสม
5) ใช้ผลจากการวัดให้คุ้มค่า
การวัดผลไม่ใด้มุ่งให้ครูตัดสินใจว่านักเรียนเก่ง-อ่อน ใครผ่าน-ตก
จุดประสงค์สำคัญคือ "ค้นหาและพัฒนาผู้เรียน"
จึงควรใช้การวัดผลในการคันหาว่าผู้เรียนถนัดในเรื่องใด เก่ง
ด้อยในเรื่องใด เพื่อส่งเสริมและพัฒนาผู้เรียนให้ดีขึ้น
(6) มีความยุติธรรม
(7) ดำเนินการสอบที่มีคุณภาพ
7.2กระบวนการวัดและประเมินผลทางการศึกษา
การวัดและประเมินผลทางการศึกษามีกระบวนการโดยสรุป
กำหนดวัตถุประสงค์
กำหนดจุดประสงค์เชิงพฤติกรรม
สร้างเครื่องมือวัดผลการเรียนรู้
ทดสอบและเก็บรวบรวมข้อมูล
จัดกระทำกับข้อมูล
ตัดสินผลการเรียน
8.การกำหนดจุดประสงค์ในการประเมินและสิ่งที่จะประเมิน
8.1ประเภทของการประเมินผล
(1) จำแนกตามวัตถุประสงค์ของการประเมิน
(1.1) การประเมินผลก่อนเรียน (Pre-evaluation) เป็นการประเมินเพื่อตรวจสอบความรู้
ฐานและทักษะของผู้เรียนว่ามีความรู้เพียงพอที่จะเรียนต่อในรายวิชาใหม่หรือเนื้อหาใหม่ได้หรือไม่
ถ้าความรู้พื้นฐานไม่เพียงพอหรือไม่มีพฤติกรรมขั้นต้นก่อนเรียนครูจะจัดให้มีการสอนปรับพื้นฐานจนผู้เรียนมีความรู้พียงพอที่จะเรียนในเนื้อหาใหม่ได้
การสอบก่อนเรียนไม่ใช่การวัดผลสัมฤทธิ์ (Achievement test) เพราะครูยัง
ไม่ได้ทำการสอนเนื้อหาเหล่านั้นมาก่อน แต่เป็นการสอบเพื่อวินิจฉัย (Diagnostic test)
นอกจากจะทำให้ครู
ทราบความรู้พื้นฐานของผู้เรียนแล้ว ยังทำให้ครูสามารถวางแผนการเรียนการสอนได้
1.2) การประเมินผลระหว่างเรียน หรือการประเมินความก้าวหน้า (Formative evaluation)
เป็นการประเมินเพื่อตรวจสอบว่าผู้เรียนบรรลุตามวัตถุประสงค์ของการเรียนที่กำหนดไว้หรือไม่ เพียงใด
หากพบว่ามีข้อบกพร่องในจุดประสงค์ใด ก็หาแนวทางปรับปรุงแก้ไขข้อบกพร่องในจุดประสงค์นั้นๆ โดยจัดสอนซ่อมเสริมให้แก่ผู้เรียน
(1.3) การประเมินสรุป (Summative evaluation)
เป็นการประเมินเพื่อตัดสินผลการเรียนรู้
และเพื่อตรวจสอบว่าผู้เรียนมีความรู้ทั้งสิ้นเท่าไร ควรตัดสินให้ผู้เรียนผ่านหรือตก หรือควรได้เกรดอะไร
การประเมินประเภทนี้เป็นการประเมินเมื่อสิ้นสุดการเรียนการสอนของแต่ละรายวิชา ครูจำเป็นต้องประเมินให้ครอบคลุมทุกจุดประสงค์
หากมีจุดประสงค์มากครูอาจต้องเลือกประเมินบางจุดประสงค์
โดยสุ่มเลือกเอาเฉพาะ
จุดประสงค์ที่สำคัญ
2) จำแนกตามระบบการวัดผล
(2.1) การประเมินแบบอิงกลุ่ม
(norm-referenced evaluation)
เป็นการตัดสินคุณลักษณะ
หรือพฤติกรรมโดยเปรียบเทียบกับผู้เรียนที่อยู่ในกลุ่มเดียวกันที่สอบในข้อสอบแบบเดียวกัน
มีจุดมุ่งหมายเพื่อ
จำแนกหรือจัดลำดับบุคคลในกลุ่มนั้นๆ เช่น การสอบคัดเลือกเข้าศึกษา การสอบชิงทุนการศึกษา เป็นต้น
(2.2) การประเมินแบบอิงเกณฑ์
(citerion-referenced evaluation)
เป็นการตัดสินคุณลักษณะหรือพฤติกรรมโดยเปรียบเทียบกับเกณฑ์ที่ กำหนดไว้ โดยอาจเป็นเกณฑ์มาตรฐานหรือเป็นเกณฑ์ที่ผู้ประเมินกำหนดขึ้น
ในทางปฏิบัติการประเมินผลสัมฤทธิ์ทางการเวียนเกณฑ์จะหมายถึงกลุ่มพฤติกรรมตามจุดมุ่งหมายในแต่ละบทหรือหน่วยการเรียน การประเมินแบบนี้มุ่งบ่งชี้สถานภาพของผู้เรียนแต่ละคนเมื่อเปรียบเทียบกับเกณฑ์
8.2 การกำหนดสิ่งที่จะประเมิน
เมื่อครูผู้สอนกำหนดวัตถุประสงค์ในการประเมินได้แล้ว
ปัจจัยที่จะต้องพิจารณาต่อมาคือ
การกำหนดสิ่งที่จะต้องประเมินหรือพฤติกรรมที่ต้องการจะประเมิน
ในการจัดการศึกษาเพื่อให้บรรลุความสำเร็จ
นั้นจำเป็นจะต้องมีการกำหนดเป้าหมายของการจัดการศึกษาที่ชัดเจน
เมื่อจัตการศึกษาไปแล้วก็ตรวจสอบว่าผู้เรียนมีพฤติกรรมเป็นไปตามที่กำหนดหรือไม่ ซึ่งพฤติกรรมทางการศึกษาก็คือ "สิ่งที่จะประเมิน" นั่นเอง
พฤติกรรมทางการศึกษา (Educationa behavior) ซึ่งเป็นคุณลักษณะที่พึงประสงค์ที่จะให้เกิดขึ้นกับ
ผู้เรียนตามกระบวนการเรียนการสอนอันประกอบไปด้วยความรู้ความสามารถ ทักษะ และลักษณะนิสัยต่างๆ
เมื่อกำหนดสิ่งที่จะประเมินได้ชัดเจนแล้ว ก็จะนำไปสู่การเลือกเครื่องมือที่จะใช้ในการวัด การจัดกระทำกับข้อมูลและการตัดสินคุณค่าตามมา
9. การประโยชน์ของการประเมินผลการศึกษา
จะทราบว่าผู้เรียนบรรลุตามวัตถุประสงค์การจัดการเรียนการสอนหรือไม่นั้น ต้องอาศัย
ประเมินผลการเรียนรู้
ข้อมูลที่ได้จากการวัดและประเมินผลการเรียนรู้จะทำให้ครูผู้สอนสามารถปรับปรุงการ
เรียนการสอนและนำไปใช้ประโยชน์ในด้านอื่นๆ
เซาว์ อินใย (2555, 8-9) สรุปประโยชน์ของการประเมินผลการ
เรียนรู้ไว้ดังนี้
ครูได้ข้อมูลพฤติกรรมของผู้เรียนเบื้องตันก่อนจัดกิจกรรมการเรียนการสอน ทำให้ครูสามารถจัด
กิจกรรมการเรียนการสอนได้ตามความสามารถของแต่ละบุคคล
ช่วยให้ครูกำหนดหรือปรับปรุงจุดมุ่งหมายของการสอนให้ชัดเจนยิ่งขึ้น จุดมุ่งหมายบางข้ออาจยาก
เกินไป ผู้เรียนไม่สามารถบรรลุได้ ครูก็อาจจะปรับให้ง่ายขึ้น
ประเมินประสิทธิภาพการสอนของครูผู้สอนเอง
เป็นประโยชน์ต่อผู้บริหารสถานศึกษาในการบริหารจัดการโรงเรียน
ผู้เรียนทราบถึงระดับความสามารถของตนเอง มีแรงจูงใจในการเรียนมากขึ้น