Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
สิทธิเเละกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการคุ้มครองผู้บริโภค - Coggle Diagram
สิทธิเเละกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการคุ้มครองผู้บริโภค
หลักในการเลือกผลิตภัณฑ์เพื่อสุขภาพ
๔) ผลิตภัณฑ์บางชนิดควรทดสอบก่อนเลือกใช้ว่ามีอาการแพ้หรือไม่
๓) มีฉลากระบุส่วนประกอบ วันที่ผลิต วันหมดอายุ ไว้อย่างชัดเจน
๒) เลือกผลิตภัณฑ์ที่สะอาดปราศจากสารปนเปื้อน และมีประโยชน์
๑) เลือกใช้ผลิตภัณฑ์ที่มีเครื่องหมายเลขทะเบียนอาหารและยา ของสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา หรือได้รับมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมจากสำนักงานมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม
๕) ผลิตภัณฑ์บางชนิดควรปรึกษาผู้เชี่ยวชาญก่อนใช้ เช่น ยา วิตามิน
๖) ไม่ควรเลือกใช้เพราะเชื่อคำโฆษณา แต่เลือกตามประโยชน์ที่ใช้
ลักษณะของฉลากผลิตภัณฑ์ที่ดี ควรระบุข้อมูล
รูปภาพและส่วนประกอบสินค้า เป็นรูปภาพของสินค้าที่ใช้แสดงให้ลูกค้าเข้าใจในตัวสินค้ามากขึ้น
ขนาดและการบรรจุ เป็นตัวเลขที่บอกถึงปริมาณสินค้าที่อยู่ในบรรจุภัณฑ์ ว่ามีขนาดและปริมาณเท่าไหร่ เพื่อให้ผู้บริโภคใช้ในการตัดสินซื้อ
รายละเอียดของสินค้า คือ ข้อมูลต่าง ๆ ที่เป็นข้อความในเชิงประชาสัมพันธ์ บรรยายสรรพคุณของสินค้า และรายละเอียดต่าง ๆ ที่เกี่ยวกับสินค้า เช่น ที่มาและความหมายของสินค้า, ราคา, สโลแกนของสินค้า เป็นต้น
ข้อมูลทางโภชนาการ เป็นข้อมูลที่บ่งบอกถึงชนิดสารอาหาร และปริมาณสารอาหาร มักจะพบในอาหารที่มีการกล่าวอ้างทางโภชนาการ อาหารที่มีการใช้คุณค่าทางโภชนาการอาหารระบบกลุ่มผู้บริโภค โดยมีข้อมูลที่บังคับให้มีบนบรรจุภัณฑ์ได้แก่ สารอาหารที่เป็นประโยชน์ต่อระบบทางเดินอาหาร ปริมาณพลังงานทั้งหมด โปรตีน วิตามิน คาร์โบไฮเดรต เกลือแร่ เป็นต้น
ชื่อผลิตภัณฑ์ (Product name) คือ ชื่อของสินค้า ที่บ่งบอกถึงลักษณะของสินค้า ว่าสินค้าเป็นอะไร จัดอยู่ในประเภทไหน ควรตั้งชื่อไม่ยาวและมีความเกี่ยวข้องกับสินค้า เพื่อให้ลูกค้าจดจำได้และรับรู้ได้ทันที
ชื่อผู้ผลิตและจัดจำหน่าย เป็นการบ่งบอกถึงบริษัทผู้ผลิตสินค้า ผู้นำเข้าเพื่อจำหน่าย ว่ามีที่มาจากไหน บริษัทไหน และสถานที่ตั้งโรงงานผลิตหรือโรงงานที่นำเข้า เบอร์โทรติดต่อทางบริษัท
ตราสินค้า (Brand) คือ ข้อความ สัญลักษณ์ รูปแบบ หรือนำสิ่งเหล่านี้มารวมกัน เพื่อบ่งบอกให้เห็นถึงสินค้าหรือบริการของผู้ขาย
บาร์โค้ด รหัสที่ใช้ในการซื้อ ขาย สินค้า ซึ่งเป็นเครื่องมือที่ใช้ อำนวยความสะดวกให้กับผู้ขายในการคิดราคาสินค้า
วันที่ผลิตและวันหมดอายุ หรือวันที่ควรบริโภคก่อน เป็นข้อมูลที่สำคัญมาก เพราะจะช่วยเพิ่มความปอลดภัยให้ผู้บริโภค ในการซื้อสินค้าก่อนและ หลังจากที่ซื้อสินค้าว่าควรบริโภคก่อนวันไหน และหมดอายุวันที่เท่าไหร่
เครื่องหมาย อ.ย. ย่อมาจาก “สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา”เป็นสิ่งที่ต้องมีบนบรรจุภัณฑ์เพื่อแสดงว่าสินค้าของผู้ผลิตมีความปลอดภัยเพราะได้รับการตรวจสอบจากสำนักงานคณะกรรมการอาหารและ ยา ช่วยสร้างความน่าเชื่อถือให้กับผู้บริโภค
สิทธิผู้บริโภค5 ประการ
สิทธิที่จะได้รับความปลอดภัยจากการใช้สินค้าหรือบริการ ได้แก่ สิทธิที่จะได้รับสินค้าหรือบริการที่ปลอดภัย มีสภาพและคุณภาพได้มาตรฐานเหมาะสมแก่การใช้ ไม่ก่อให้เกิดอันตรายต่อชีวิต ร่างกายหรือทรัพย์สิน ในกรณีใช้ตามคำแนะนำหรือระมัดระวังตามสภาพของสินค้าหรือบริการนั้นแล้ว
สิทธิที่จะได้รับความเป็นธรรมในการทำสัญญา ได้แก่ สิทธิที่จะได้รับข้อสัญญาโดยไม่ถูกเอารัดเอาเปรียบจากผู้ประกอบธุรกิจ
สิทธิที่จะมีอิสระในการเลือกหาสินค้าหรือบริการ ได้แก่ สิทธิที่จะเลือกซื้อสินค้าหรือรับบริการโดยความ สมัครใจของผู้บริโภค และปราศจากการชักจูงใจอันไม่เป็นธรรม
สิทธิที่จะได้รับการพิจารณาและชดเชยความเสียหาย ได้แก่ สิทธิที่จะได้รับการคุ้มครองและชดใช้ค่าเสียหาย เมื่อมีการละเมิดสิทธิของผู้บริโภค
ตามข้อ 1, 2, 3 และ 4 ดังกล่าว
สิทธิที่จะได้รับข่าวสารรวมทั้งคำพรรณนาคุณภาพที่ถูกต้องและเพียงพอเกี่ยวกับสินค้าหรือบริการ ได้แก่ สิทธิที่ จะได้รับการโฆษณาหรือการ แสดงฉลากตามความเป็นจริงและปราศจากพิษภัยแก่ผู้บริโภค รวมตลอดถึงสิทธิที่จะได้รับทราบ ข้อมูลเกี่ยวกับสินค้าหรือบริการอย่างถูกต้องและเพียงพอที่จะไม่หลงผิดในการซื้อสินค้าหรือรับบริการโดยไม่เป็นธรรม
ผลิตภณัฑ์เพื่อสุขภาพเเบ่งได้6ประเภท
เครื่องสำอาง หมายถึง วัตถุที่มุ่งหมายสำหรับใช้ทา ถู นวด โรย พ่น หยอด ใส่ อบหรือกระทำด้วยวิธีอื่นใดต่อส่วยหนึ่งส่วนใดของร่างกาย เพื่อความสะอาด ความสวยงามหรือส่งเสริมให้เกิดความสวยงาม และรวมไปถึงเครื่องประทินผิวต่างๆ แต่ไม่รวมถึงเครื่องประดับหรือเครื่องแต่งตัวซึ่งเป็นอุปกรณ์ภายนอกร่างกาย
ยา หมายถึง วัตถุที่มุ่งหมายใช้สำหรับการพิเคราะห์ บำบัด บรรเทา รักษาหรือป้องกันโรค หรือความเจ็บป่วยของมนุษย์ หรือสัตว์
อาหาร หมายถึง วัตถุทุกชนิดที่คนกิน ดื่ม อม หรือนำเข้าสู่ร่างกาย แต่ไม่รวมถึงยา วัตถุออกฤทธิ์ต่อจิตและประสาท หรือสารเสพติด นอกจากนี้อาหารยังรวมถึงวัตถุที่ใช้เป็นส่วนผสมในการผลิตอาหาร วัตถุเจือปนอาหาร สี เครื่องปรุงแต่งกลิ่น รสด้วย
เครื่องมือแพทย์ การพิจารณาตีความว่าผลิตภัณฑ์ใดจัดว่าเป็นเครื่องมือแพทย์พิจารณาจาก 2 ประเด็นหลักที่สำคัญดังนี้
วัตถุอันตราย มีหลายชนิด เช่น วัตถุระเบิดได้ วัตถุไวไฟ วัตถุมีพิษ วัตถุที่ทำให้เกิดโรค วัตถุกัมมันตรังสี เป็นต้น
สารเสพติดให้โทษ สิ่งที่จัดเป็นสารเสพติดตามกฎหมายมี 3 ประเภท คือ สารเสพติดให้โทษ วัตถุที่ออกฤทธิ์ต่อจิตและประสาท และสารระเหย
ผู้บริโถคหมายถึง
ตามพระราชบัญญัติคุ้มครองผู้บริโภค พ.ศ.2522 ให้ความหมายไว้ว่า หมายถึง ผู้ซื้อ ผุ้ได้รับบริการจากผู้ประกอบธุรกิจ หรือผู้ซึ่งได้รับการเสนอหรือชักชวนจากผู้ประกอบธุรกิจ เพื่อให้ซื้อสินค้าหรือบริการ และหมายความรวมถึงผู้ใช้สินค้าหรือผู้ได้รับบริการจากผู้ประกอบธุรกิจโดนชอบ แม้มิได้เสียค่าตอบแทนก็ตาม
วันหมดอายุ วันผลิต
EXP/EXD หมายถึง วันหมดอายุ (ย่อมาจาก Expiry Date / Expiration Date
MFG / MFD หมายถึง วันที่ผลิต (ย่อมาจาก Manufacturing date / Manufactured Date )
BB / BBE หมายถึง ควรบริโภคก่อนวันที่ (ย่อมาจาก Best Before / Best Before End)