Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
ระบบเลือด Hemato Phisiology, สกรีนช็อต 2021-09-03 135018 - Coggle Diagram
ระบบเลือด Hemato Phisiology
หน้าที่ของระบบเลือด
การขนส่ง (Transportation)
การขนส่งสารอาหาร
การควบคุม (Regulation)
ควบคุมความเป็นกรด-เบสของร่างกาย (Regulation of body pH)
ขบวนการ เมแทบอลิซึมและปฎิกิรยิ าทางชีวเคมีต่างๆ ที่เกิดขึ้นในร่างกาย รวมทั้งการเผาผลาญอาหารหรือผล จากการได้รับยาหรือสารเคมีต่างๆ เข้าไป จะมีผลทาให้ความเป็นกรด-เบส ของร่างกายเปลี่ยนแปลง
ควบคุมอุณหภูมิของร่างกาย (Regulation of body temperature)
เลือดควบคุม อุณหภูมิหรือความร้อนภายในร่างกายโดยการกระจายความร้อนและการขับเหงื่อ
การควบคุมน้าในร่างกาย (Regulation of water balance)
เลือดทาหน้าที่ รักษาสมดุลของของเหลวในกระแสเลือดกับของเหลวในเนื้อเยื่อโดยการแลกเปลี่ยนของน้ำ
การป้องกัน (Protection)
การป้องกันการสูญเสียเลือด (Protection of blood loss)
เมื่อเกิด บาดแผลขึ้นกับร่างกายไม่ว่าจะเป็นที่ผิวหนังหรืออวัยวะภายในของร่างกาย เลือดจะมีกลไกการห้ามเลือด โดยอาศัยปัจจัยในการแข็งตัวของเลือดรวมถึงเกล็ดเลือด ช่วยให้เกิดการอุดปิดบาดแผล
การป้องกันสิ่งแปลกปลอม (Protection of foreign body)
โดยอาศัยกลไกการทำงานของ เม็ดเลือดขาวเกล็ดเลือด และแอนติบอดี (antibodies) ที่ไหลเวียนในกระแสเลือด ลักษณะทางกายภาพของเลือด (Physical characleristics of blood)
ความหนืด (Viscosity)
อุณหภูมิ 37-38 องศาเซลเซียส
ความเป็นกรด-เบส (pH) 7.35-7.45
องค์ประกอบของเกลือโซเดียมคลอไรด์ (Salinity) 0.9 เปอร์เซ็นต์
น้ำหนัก 8 % ของน้้ำหนักร่างกาย ปริมาตร : เพศหญิง 5-6 ลิตร เพศชาย 4-5 ลิตร
องค์ประกอบของเลือด
พลาสมา (Plasma)
ส่วนที่เป็นน้ำเลือด เป็นของเหลวที่เป็นตัวกลางให้เม็ดเลือดแขวนตัวลอยอยู่ คิดเป็นสัดส่วนประมาณ 55 เปอร์เซ็นต์ของเลือด
มีลักษณะเป็นของเหลวสีเหลืองใสซึ่งมีสารต่างๆ ละลายอยู่ได้แก่
โปรตีนชนิดต่างๆ รวมถึงปัจจัยในการแข็งตัวของเลือด คารโบไฮเดรต ไขมัน วิตามิน เกลือแร่ต่างๆ (อิเล็กโทรไลต์) ฮอร์โมนและสารอื่นๆ
โปรตีนในพลาสมามีคุณสมบัติทางกายภาพที่สำคัญทางสรีรวิทยา
อัลบูมิน และโกลบูลิน
เป็นตัวสำคัญที่เกี่ยวข้องกับความดันออสโมติก (colloid osmotic pressure) ในการรักษาสมดุลของน้ำในร่างกาย
โกลบูลินซึ่งมีอยู่ในรูปของ แอลฟา (α) บีตา (β) และแกมมา (γ)
เกี่ยวข้องกับการสร้างแอนติบอดี ฮอร์โมน และเอ็นไซม์ชนิดต่างๆ
ไฟบริโนเจนช่วยในการแข็งตัวของเลือด
โปรตีนทั้งหมดในพลาสมาท าหน้าที่เป็นบัฟเฟอร์ช่วยควบคุมระดับความเป็น กรด-เบส และท าให้เกิดความหนืดของเลือด ความเข้มข้นของโปรตีน
ชนิดและปริมาณโปรตีนในพลาสมา
โปรตีน
อัลบูมิน
น้ำหนักโมเลกุล 69,000
ความเข้มข้น(กรัม/100 ml.plasma) : 4-6
โกลบูลิน (α1, α2, β1, β2และ γ)
น้ำหนักโมเลกุล 80,000-200,000
ความเข้มข้น(กรัม/100 ml.plasma) : 1.5
ไฟบริโนเจน
น้ำหนักโมเลกุล350,000-400,000
ความเข้มข้น(กรัม/100 ml.plasma) : 0.2-0.4
เม็ดเลือด (Corpuscles หรือ formed elements)
ส่วนที่เป็นตัวเซลล์แขวนลอยไหลเวียนในหลอดเลือดทั่วร่างกาย คิดเป็นสัดส่วนประมาณ 45 เปอร์เซ็นต์ของเลือด โดยแบ่งเป็นชนิดใหญ่ ๆ
เม็ดเลือดแดง (Erythrocyte , red blood cell)
ภายในเม็ดเลือดห่อหุ้มสารละลายต่างๆ ซึ่งส่วนใหญ่ คือ
ฮีโมโกลบิน (hemoglobin)
เอ็นไซม์(enzyme)
อิออน (ion)
เพื่อทำหน้าที่ขนถ่ายออกซิเจน และคาร์บอนไดออกไซด์ระหว่างปอดและเนื้อเยื่อต่าง ๆ ทั่วร่างกาย และท าหน้าที่เป็นบัฟเฟอร์ที่ปรับความสมดุลของกรดและเบส (acid - base buffer) ของเลือด
เม็ดเลือดขาว
เม็ดเลือดขาว (Leucocyte, white blood cell)
มีหน้าที่หลักคือป4องกันและทําลายสิ่ง แปลกปลอมที่เข้าสู่ร่างกายมีคุณสมบัติที่สําคัญ 3 ประการ
เม็ดเลือดขาวสามารถเคลื่อนที่ผ่านผนังหลอดเลือดฝอยสู่เนื้อเยื่อไปยังบริเวณที่มีเชื้อโรค (Diapedesis)
เม็ดเลือดขาวสามารถเคลื่อนเข้าไปหาเชื้อโรคโดยการดึงดูดของสารเคมีที่ถูกปล่อยจากเชื้อโรค เช่น แบคทีเรีย
เม็ดเลือดขาวสามารถจับกินสิ่ง แปลกปลอมโดยวิธีคล้ายอะมีบาเข้าโอบล้อมและย่อยเชื้อโรคและสิ่งแปลกปลอม
เม็ดเลือดขาวออกเป็น 2 ชนิดใหญ่ ๆ
ชนิดมีแกรนูล หรือมีนิวเคลียสหลายแบบ
(Granulocytic or polymorpho nuclear cell)
นิวโทรฟีล (Neutrophitor polymorphonuclear cell, PMN) ivunalno กว่าเม็ดเลือดแดงประมาณ 2 เท่าหรือประมาณ 12 ไมครอนนิวเคลียสได้ตั้งแต่ 2- 5 พู(tobe) มีหน้าที่ทำลายสิ่งแปลกปลอมด้วยวิธีฟาโกไซโตซิส
อีโอซิโนฟิล (eosinophil) มีแกรนูลขนาดกลาง นิวเคลียสมี 2 พู มีหน้าที่ทำลายสิ่งแปลกปลอม และยับยั้งการสร้างสารก่อภูมิแพ้
เบโซฟิล (basophil) มีแกรนูลขนาดใหญ่ นิวเคลียสรูปร่างบิดเป็นรูป s หรือ m มีหน้าที่ป้องกันไม่ให้เลือดแข็งตัว และหลั่งสารฮิสตามีน (histamine) ซึ่งเป็นสารก่อภูมิแพ้
2 ชนิดไม่มีแกรนูล หรือมีนิวเคลียสเดียว (Agranulocytic
or mononuclear cell)
โมโนไชต์(Monocyte)
เป็นเม็ดเลือดขาวชนิดหนึ่ง และเป็นส่วนหนึ่งของระบบภูมิคุ้มกันของร่างกายมนุษย์ โมโนไซต์ปกติจะมีประมาณ 3 - 5 % มีอายุ 5 - 6 วัน ทำหน้าที่กำจัดสิ่งแปลกปลอมด้วยวิธีฟาโกไซโตซิส มีความสามารถสูงพอๆกับ neutrophil และสร้าง antibody ต่อต้านเชื้อโรค
ลิมโฟไซต (Lymphocyte)
เป็นเม็ดเลือดขาวชนิดหนึ่ง ที่ทำหน้าที่เป็นส่วนหนึ่งของระบบภูมิคุ้มกันของสัตว์มีกระดูกสันหลัง รวมถึงมนุษย์ อาจแบ่งออกเป็นเซลล์เอ็นเค (natural killer/NK cell, ทำหน้าที่ในระบบภูมิคุ้มกันแบบพื้นฐานและการทำลายเซลล์) เซลล์ที (ระบบภูมิคุ้มกันแบบปรับตัวและการทำลายเซลล์) และเซลล์บี (ระบบภูมิคุ้มกันแบบปรับตัว ทำงานผ่านแอนติบอดี) เป็นเซลล์ที่พบเป็นส่วนใหญ่ในระบบน้ำเหลือง (lymph) จึงได้ชื่อว่าลิมโฟไซต์ ("เซลล์น้ำเหลือง")
เกล็ดเลือด หรือ ทรอมโบไซต์(platelet ; thrombocyte)
เป็นส่วนของเมกะคารีโอไซท์ (megakaryocytes) ซึ่งเป็นระยะหนึ่งของเม็ดเลือดแดงที่ถูกสร้างมาจากไขกระดูก แต่ไม่พัฒนาต่อไปเป็นเม็ดเลือดแดง โดยปกติเกล็ดเลือดในกระแสเลือดจะเป็นแผ่นรูปไข่ ไม่มีสีและไม่มีนิวเคลียส แต่ถ้านำมาย้อมสีดูในกล้องจุลทรรศน์จะเป็นแผ่นกลมรูปร่างคล้ายดาว และอาจจะพบรวมกันเป็นกลุ่ม รูปร่างไม่แน่นอน
อวัยวะที่สร้างเกล็ดเลือด
ไขกระดูก เกล็ดเลือดมีอายุ 9-12 วัน หมุนเวียนในกระแสเลือด
หน้าที่ของเกล็ดเลือด
ช่วยทำให้เลือดแข็งตัวเมื่อออกสู่ภายนอกร่างกาย ซึ่งจะช่วยห้ามเลือดในกรณีที่เกิดบาดแผล โดยจับตัวเป็นกระจุกร่างแหอุดรูของหลอดเลือดฝอย ทำให้เลือดหยุดไหล ลดการสูญเสียเลือดจากร่างกายในกรณีที่เกิดบาดแผล
หลั่งเอ็นไซม์และปัจจัยอื่น ๆ ที่ช่วยในกระบวนการแข็งตัวของเลือด
เกล็ดเลือดสามารถประกอบกันเป็นก้อน เพื่อหยุดการไหลของเลือด (hemostatic plug) อุดปากแผลทำให้หยุดการไหลของเลือดและเกาะกันจับกับผนังของหลอดเลือดหรือบริเวณอื่นๆ ที่เกิดบาดแผล โดยทำงานร่วมกับไฟบริน ในระยะที่มีการรวมกลุ่มกันเกล็ดเลือดบางส่วนมีส่วนยื่นเรียกว่า ไซโตพลาสมิก โปรเซส (cytoplasmic process ; CP) เจริญออกมาเพื่อช่วยในการเกาะตัวกันเพื่ออุดปากแผล
หลังจากปากแผลถูกอุดและเลือดหยุดไหลแล้ว เกล็ดเลือดยังมีคุณสมบัติลดขนาดของก้อนเลือดหรือลิ่มเลือดที่อุดปากแผลดังกล่าวให้เล็กลง เนื่องจากในเกล็ดเลือดประกอบด้วยแอกตินกับไมโอซิน ฟิลาเมนท์ที่สามารถทำให้ก้อนเลือดมีการหดตัวได้
การสร้างเลือด (Hemopoiesis)
การสร้างเลือดของทารกในครรภ์ (Embryonic or Pre-natal hemopoiesis)
การสร้างเลือดในระยะหลังคลอด (Post-natal hemopoiesis) เป็นการสร้างเลือดหลังจากที่ทารกคลอดมาแล้ว ยกเว้นพวกลิมโฟไซต์ที่มีการสร้างจากอวัยวะน้ำเหลือง
การสร้างเลือดในระยะนี้ สร้างจากพวกเซลล์มีเซนไคมอล ที่แทรกตามเนื้อเยื่อ ในอวัยวะเหล่านี้เป็นเซลล์ต้นก าเนิด และเป็นการสร้างนอกหลอดเลือด (extravascular hemopoiesis)
ตับมีบทบาทในการสร้างเลือด ช่วงประมาณสัปดาห์ที่ 6 หรือเกือบปลายเดือนที่ 2 และจะสร้างเม็ดเลือดต่างๆ ได้สูงสุดใน เดือนที่ 4 และเดือนที่ 5 และจะค่อยๆ ลดบทบาทลงจนกระทั่งถึง 2-3 สัปดาห์ก่อนคลอด
ม้ามในระยะเวลาไล่เลี่ยกัน ม้ามจะเริ่มมีหนาที่ในการสร้างเม็ดเลือด แต่เป็นเม็ดเลือดแดงมากกว่าเม็ดเลือดขาว ประมาณเดือนที่ 5 การสร้างเม็ดเลือดจะลดน้อยลงไปเรื่อย ๆ จนกระทั่งคลอด
หลังคลอดม้ามจะมีหน้าที่ในการสร้างลิมโฟไซต์(lymphocyte) อย่างเดียวไปตลอดชีวิต
ต่อมไทมัส (thymus gland)
เป็นอวัยวะแรกที่สร้างเม็ดเลือดพวกลิมโฟไซต์ก่อน อวัยวะน้ าเหลือง (lymphatic organ) อื่นๆ และเป็นอวัยวะที่ส าคัญอย่างยิ่งในการให้กำเนิดลิมโฟ ไซต์ในร่างกาย แม้จะมีการสร้างในช่วงระยะเวลาสั้น ๆ
ต่อมน้ำเหลือง
เป็นอวัยวะที่สร้างเม็ดเลือดชนิดลิมโฟไซต์เริ่มจาก เดือนที่ 4 และ 5 และจะคงสร้างไปตลอดชีวิต
ระยะเมดัลลารี (Medullary period)
เมื่อตับและม้ามลดอัตราการสร้างเม็ดเลือดลง
อวัยวะที่จะทำหน้าที่แทน คือ ไขกระดูก (bone marrow) โดยจะเริ่มสร้างเม็ดเลือดต่างๆ ประมาณเดือนที่ 5 เป็นต้นไป
การสร้างเลือดนอกไขกระดูก (Extramedullary hemopoiesis)
ร่างกายจะควบคุมการสร้างเม็ดเลือด ส่วนใหญ่ที่ไขกระดูกเท่านั้น และหากมีการท าลายเม็ดเลือดเป็นจ านวนมากไขกระดูกส่วนที่เป็นไขกระดูกสีเหลือง จะกลับมามีบทบาทในการสร้างเม็ดเลือด จนกว่าไขกระดูกจะสร้างทดแทนไม่ได้ หรือมีพยาธิสภาพเกิดขึ้นกับไขกระดูกเอง
ท าให้การสร้างเลือดต้องกลับไปสร้างในที่ที่เคยสร้างมาก่อน แหล่งส าคัญของการสร้างเลือดในระยะนี้ คือ ม้าม รองลงมาคือ ตับ และอวัยวะอื่นๆ ที่มีเซลล์ มีเซนไคมอล แทรกอยู่
กำเนิดและการพัฒนาของเซลล์เม็ดเลือด (Origin and development of blood cell)
ทฤษฎีโมโนไฟลิติก (Monophyletic theory)
ทฤษฎีนี้เชื่อว่าเซลล์เม็ดเลือด ทุกชนิดกำเนิดมาจากเซลล์บรรพบุรุษเดียวกันที่เรียกว่า "Totipotential hemocytoblast" โดยที่เซลล์นี้จะเจริญเป็นเม็ดเลือดแดง แกรนูลโลไซต์โมโนไซต์ลิมโฟไซต์และทรอมโบไซต์ได้ตามความต้องการของร่างกาย
ทฤษฎีโพลีไฟลิติก (Polyphyletic theory)
ทฤษฎีนี้เชื่อว่า เม็ดเลือดแต่ละสาย กำเนิดมาจากเซลล์บรรพบุรุษของตัวเอง และแต่ละชนิดจะไม่มีการสร้างข้ามสายกัน ในการศึกษาเกี่ยวกับเรื่องนี้ยังมีทฤษฎีแยกย่อย ๆ ต่อไปอีก
นักวิทยาศาสตร์บางกลุ่มเชื่อว่า เซลล์ใหม่มีก าเนิดมาจากเซลล์เดียวกัน โดยเชื่อว่าลิมโฟไซต์ในภาวะปกติจะไม่มีการเปลี่ยนรูปร่าง แต่ถ้าร่างกายอยู่ในภาวะที่ผิดปกติหรือมีพยาธิสภาพ(pathological condition) พบว่าลิมโฟไซต์เหล่านี้จะสามารถเปลี่ยนเป็นเซลล์ชนิดใหม่ได้โดย เฉพาะในการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อ (tissue culture)
เม็ดเลือดแดงถูกสร้างในไขกระดูก
ไขกระดูกเป็นปัจจัยส าคัญเกี่ยวข้องกับการสร้างเลือด มีฮอร์โมนอีริโทรพอยอีติน(Erythropoietin) ในเลือดเป็นตัวควบคุมการสร้าง
เม็ดเลือดแดงมีอายุประมาณ 120 วัน
ถูกทำลายในม้าม ตับ และไขกระดูก
ปริมาณเม็ดเลือดแดงในเลือด
เพศชายมีค่าเทากับ 5.5-6.0 ล้านเซลล์/ลูกบาศก์มิลลิลิตร
เพศหญิงมีค่าเท่ากับ 4.5-5.0 ล้านเซลล์/ลูกบาศก์มิลลิลิตร
การสร้าง erythropoietin และการสร้างเม็ดเลือดแดง
ฮีโมโกลบิน (Hemoglobin, Hb)
โปรตีนในเม็ดเลือดแดง
ทำหน้าที่รับส่งแก๊ส ออกซิเจน และเป็นบัฟเฟอร์ที่ปรับความสมดุลของกรดและเบส แต่ละโมเลกุลของฮีโมโกลบิน ประกอบด้วย 4 หน่วยย่อย แต่ละหน่วยย่อยประกอบด้วย 1 ฮีม (heme) จับกับเปปไทด์สายยาว (polypeptide) 1 สาย ภายในมีธาตุเหล็ก (Fe) 1 อะตอม ฮีโมโกลบินเมื่อจับกัน ออกซิเจน จะเรียกว่าออกซิฮีโมโกลบิน (Oxyhemoglobin) โดยการจับกันของฮีโมโกลบิน กับ ออกซิเจน ขึ้นอยู่กับ อุณหภูมิความเป็นกรด-เบส ปริมาณคาร์บอนไดออกไซด์และปริมาณ ออกซิเจนที่ละลายอยู่ในกระแสเลือด ( pCO2 และ pO2)
ความผิดปกติของเม็ดเลือดแดง
Anemia เป็นสภาวะที่เลือดมีปริมาณฮีโมโกลบิน หรือมีค่าปริมาณเม็ดเลือดแดงอัดแน่นต่ำกว่าปกติซึ่งเกิดได้จากสาเหตุต่างๆ
จึงมักใช้ค่าทั้งสองนี้เป็นดัชนีจำแนกชนิดของ anemia ชนิดของ anemia แบ่งได้หลายชนิดตามขนาดและปริมาณฮีโมโกลบินในเซลล์เม็ดเลือดแดง
Normocytic normochromic anemia
ขนาดเซลล์ และความเข้มข้นฮีโมโกลบินในเซลล์ปกติ แต่จำนวนเม็ดเลือดแดงในเลือดต่ำ เช่น กรณี acute hemorrhage
Microcytic hypochromic anemia (iron deficiency anemia)
เม็ดเลือดแดงมีขนาดเล็ก ปริมาณฮีโมโกลบินต่ำ พบในกรณี chronic hemorrhage หรือทารกที่ขาดธาตุเหล็กในอาหาร
Macrocytic hypochromic anemia (pernicious หรือ mononuclear anemia)
เซลล์มี ขนาดใหญ่ ปริมาณฮีโมโกลบินมาก แต่ จำนวนเซลล์น้อย เกิดจากการขาดantianemia (หรือ hemotinic) factor
extrinsic factor ได้แก่ vitamin B12, และ intrinsic factor
Aplastic anemia
เกิดจาก bone marrow ผิดปกติอาจจะเกิดขึ้นเองหรือได้รับรังสีมากเกินไป
Hemolytic anemia
เกิดจากเม็ดเลือดแดงถูกทำลายมากกว่าปกติ อาจจะเนื่องมาจากสารเคมี
ระบบ reticuloendothelial ทำงานมากเกินไป
กรรมพันธุ์ซึ่งมีผลให้เม็ดเลือดแดง ที่ถูกสร้างขี้นมามีขนาดหรือรูปร่างที่ผิดปกติ
เซลล์เหล่านี้ แตกง่ายเพราะรูปร่างของมัน sickle cell anemia เป็นความผิดปกติอีกชนิดหนึ่ง ที่ถ่ายทอดได้ทางกรรมพันธุ์
เม็ดเลือดขาว (Leucocyte , white blood cell)
เม็ดเลือดขาวในกระแสเลือดมีหลายชนิดโดยมีหน้าที่หลัก คือ ป้องกัน และ ทำลายสิ่งแปลกปลอมที่เข้าสู่ร่างกาย มีคุณสมบัติที่ส าคัญ 3 ประการ
1) เม็ดเลือดขาวสามารถเคลื่อนที่ผ่านผนังหลอดเลือดฝอยสู่เนื้อเยื่อไปยัง บริเวณที่มีเชื้อโรค(Diapedesis)
2) เม็ดเลือดขาวสามารถเคลื่อนเข้าไปหาเชื้อโรค โดยการดึงดูดของสารเคมีที่ถูกปล่อยจากเชื้อโรค เช่น แบคทีเรีย (Chemotaxis)
3) เม็ดเลือดขาวสามารถจับกินสิ่งแปลกปลอมโดยวิธีคล้ายอะมีบา เข้าโอบล้อม และย่อยเชื้อโรค หรือสิ่งแปลกปลอมนั้น (Phagocytosis)
ชนิด
ชนิดมีแกรนูล หรือมีนิวเคลียสหลายแบบ
(Granulocytic or polymorpho nuclear cell)
ชนิดไม่มีแกรนูล หรือ มีนิวเคลียสเดียว
(Agranulocytic or mononuclear cell)
เกล็ดเลือด (Thrombocyte , platelet)
เป็นองค์ประกอบของเลือดที่มีขนาดเล็กที่สุดประมาณ 2-4 ไมครอน ไม่มีนิวเคลียส ส่วนใหญ่รูปร่างกลมแบน หรือ รูปไข่ ติดสีฟ้าอ่อนมี อะซูโรฟลิกแกรนูล ติดสีม่วงหรือม่วงแดง กระจายอยู่ทั่วไปกลางเซลล์
ทำหน้าที่สำคัญเกี่ยวกับการแข็งตัวของเลือด ช่วยทำให้เลือดหยุดไหลหรือห้ามเลือดเมื่อเกิดบาดแผล กลไกห้ามเลือด(Homeostasis)
กลไกห้ามเลือด
หลอดเลือดหดตัว (Vasoconstriction) เมื่อเกิดบาดแผล สารซีโรโทนิน (serotonin) จากเกล็ดเลือดจะกระตุ้นให้หลอดเลือดหดตัว
การเกาะกลุ่มของเกล็ดเลือด (Platelet aggregation) คือ เซลล์ที่ได้รับความเสียหาย และเกล็ดเลือด จะปล่อยสาร ADP (adenosine diphosphate) ออกมาทำให้เกล็ดเลือดเกิดการเปลี่ยนรูปร่าง และรวมกัน (aggregate) อุดหลอดเลือดที่เกิดบาดแผล
การแข็งตัวของเลือด (Coagulation, clot) เกิดจากปฏิกิริยาของเกล็ดเลือด สารต่างๆ ในพลาสมา และสารจากเนื้อเยื่อที่เกิดบาดแผล แบ่งเป็น 4 ขั้นตอนย่อย
การเกิดการกระตุ้นโปรทรอมบิน (prothrombin activation) แบ่งย่อยได้ 2 ขบวนการ
Extrinsic pathway เกิดจากการท าลายเซลล์หลอดเลือด และ เซลล์ข้างเคียง
Intrinsic pathway เกิดขึ้นภายในหลอดเลือด
การเปลี่ยนไฟบริโนเจน (fibrinogen) เป็นไฟบริน (fibrin) ทรอมบินที่เกิดขึ้นจะเปลี่ยนไฟบริโนเจน เป็นไฟบริน โดยใช้แคลเซียมอิออน (Ca 2+) และปัจจัยการแข็งตัวของเลือดชนิดต่าง ๆ ไฟบรินเป็นเส้นใยโปรตีนที่ไม่ละลายน้ำมีการรวมตัวกันแน่นประสานเป็นร่างแห และยึดจับกับเม็ดเลือดแดงกลายเป็นก้อนเลือด (clot)
การเปลี่ยนโปรทรอมบิน (prothrombin) เป็นทรอมบิน (thrombin) ทรอม โบพลาสติน(thromboplastin) ที่เกิดขึ้นจะกระตุ้นการเปลี่ยนโปรทรอมบิน เป็นทรอมบิน
การเกิดการหดตัวของก้อนเลือด (clot retraction) มีการหดตัวของก้อนเลือดและร่างแหทำให้น้ำเลือด (ซีรั่ม) ออกจากก้อนเลือด และเป็นผลให้เกิดการเชื่อมติดบาดแผลมากขึ้น บาดแผลหลังจากเกิดก้อนเลือดอุดบาดแผล และไม่มีเลือดไหลออกมาแล้ว เซลล์ไฟโบรบลาส(fibroblast) จะท าหน้าที่เป็นเนื้อเยื่อประสาน เจริญแทรกเข้าไปในก้อนเลือด
หมู่เลือดระบบ ABO
จัดเป็นหมู่เลือดที่สำคัญที่สุดในการให้เลือด เป็นหมู่เลือดระบบแรกที่มีการตั้งชื่อไว้โดยอาศัยโปรตีนที่ทำหน้าที่เป็นแอนติเจน (antigen, Ag) บนผิวของเม็ดเลือดแดงที่มีชื่อว่า Ag-A และ Ag-B สามารถแบ่งได้เป็นหมู่เลือดชนิดย่อย คือ หมู่เลือด กลุ่ม A B O และ AB
สามารถตรวจสอบหมู่เลือดโดยอาศัยปฏิกิริยาทางวิทยาภูมิคุ้มกัน ระหว่าง แอนติเจนบนผิวเม็ดเลือดแดง และแอนติบอดีในน้ำเลือดที่จ าเพาะต่อกัน เกิดปฏิกิริยาการเกาะกลุ่ม (agglutination) ของเม็ดเลือดแดงทำให้สามารถทดสอบได้ว่าเลือดของคน มีหมู่เลือดอยู่ในกลุ่มใด
หมู่เลือดระบบ Rh
ค้นพบโดยนักวิทยาศาสตร์ 2 ท่าน คือ Landsteiner และ Wiener
ซึ่งได้ทำการฉีดเม็ดเลือดแดงของลิงรีซัส (Rhesus) เข้าไปในกระต่าย ซีรั่มของกระต่ายสามารถทำปฏิกิริยากับเม็ดเลือดแดงของคนผิวขาวได้
ต่อมาพบว่าหมูมีแอนติเจนที่สำคัญ คือ แอนติเจน D C E C และ e จัดเป็นหมู่เลือดที่มีความส าคัญมาก ในคนผิวขาว ในคนไทยพบว่า 99.9 เปอร์เซ็นต์ มีหมู่เลือด Rh+ จากการที่ผู้ที่มีหมู่เลือด Rh จะไม่มีแอนติบอดี ต่อ แอนติเจนของหมู่เลือด Rh จึงเป็นสาเหตุสำคัญ ของโรคเม็ดเลือดแดงสลายในเด็กแรกเกิด (hemolytic disease of the newborn) มักพบใน ลูกคนที่สองของเแม่ที่มีหมูเลือด Rh- และได้รับการกระตุ้นให้สร้างแอนติบอดี (immune antibody) จากลูกคนแรกที่มีหมูเลือด เป็น Rh+
เมื่อเลือดของแม่ที่มีแอนติบอดีนี้ผ่านรกไปยังลูกที่อยู่ในครรภ์ซึ่งมีแอนติเจนที่จำเพาะ กันจึงก่อให้เกิดการสลายเม็ดเลือดแดงของลูก ท าให้เกิดการเสียชีวิตของทารกแรกเกิด