Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
พยาธิสรีรวิทยาระบบเลือด Hemato Phisiology - Coggle Diagram
พยาธิสรีรวิทยาระบบเลือด
Hemato Phisiology
ลักษณะทางกายภาพของเลือด (Physical
characleristics of blood)
ความหนืด (Viscosity) 4.5 -5.5
(เมื่อเปรียบเทียบกับน้ำ)
อุณหภูมิ 37-38 องศาเซลเซียส
ความเป็นกรด-เบส (pH) 7.35-7.45
องค์ประกอบของเกลือโซเดียมคลอไรด์ (Salinity) 0.9
เปอร์เซ็นต์
น้ำหนัก 8 % ของน้ำหนักร่างกาย ปริมาตร : เพศหญิง
5-6 ลิตร เพศชาย 4-5 ลิตร
หน้าที่ของระบบเลือด
การขนส่ง (Transportation) การขนส่งสารอาหาร
การควบคุม (Regulation)
ควบคุมความเป็นกรด-เบสของร่างกาย (Regulation of
body pH) ขบวนการ เมแทบอลิซึมและปฎิกิริยาทางชีวเคมีต่างๆ ที่เกิดขึ้นในร่างกายรวมทั้ง การเผาผลาญอาหารหรือผลจากการได้รับยาหรือสารเคมีต่างๆ เข้าไป
การป้องกัน (Protection)
การป้องกันการสูญเสียเลือด (Protection of bloodloss)เมื่อเกิดบาดแผลขึ้นกับร่างกายไม่ว่าจะเป็นที่ผิวหนังหรืออวัยวะภายในของร่างกาย
องค์ประกอบของเลือด
พลาสมา (Plasma)
ส่วนที่เป็นน้ำเลือดเป็นของเหลวที่เป็นตัวกลางให้เม็ดเลือดแขวนตัวลอยอยู่คิดเป็นสัดส่วนประมาณ 55 เปอร์เซ็นต์ของเลือด
โปรตีนในพลาสมา
อัลบูมิน และโกลบูลินเป็นตัวสำคัญที่เกี่ยวข้องกับความดันออสโมติก (colloidosmotic pressure)ในการรักษาสมดุลของน้ำในร่างกาย
โกลบูลินซึ่งมีอยู่ในรูปของ แอลฟา (*) บีตา (B)และแกมมา (V)/ เกี่ยวข้องกับการสร้างแอนติบอดีฮอร์โมน และเนไซม์ชนิดต่างๆ
ไฟบริโนเจนช่วยในการแข็งตัวของเลือดโปรตีนทั้งหมดในพลาสมาทำหน้าที่เป็นบัฟเฟอร์ช่วยควบคุมระดับความเป็น กรด-เบสและทำให้เกิดความหนีดของเลือด
เม็ดเลือด (Corpuscles หรือ formed elements)
ส่วนที่เป็นตัวเซลล์แขวนลอยไหลเวียนในหลอดเลือดทั้วร่างกาย คิดเป็นสัดส่วนประมาณ 45 เปอร์เซ็นต์ของเลือด
เม็ดเลือดแดง (Erythrocyte , red blood cell)ภายในเม็ดเลือดห่อหุ้มสารละลายต่างๆ ซึ่งส่วนใหญ่ คือฮีโมโกลบิน (hemoglobin) , เอ็นไซม์ (enzyme) , อิออน(ion) เพื่อทำหน้าที่ขนถ่ายออกซิเจนและคาร์บอนไดออกไซด์ระหว่างปอดและเนื้อเยื่อต่าง ๆ ทั้วร่างกายและทำหน้าที่เป็นบัฟเฟอร์ที่ปรับความสมดุลของกรดและเบส (acid - base buffer) ของเลือด
การสร้างเลือด (Hemopoiesis)
การสร้างเลือดของทารกในครรภ์ (Embryonicor Prenatal hemopoiesis)
การสร้างเลือดในระยะหลังคลอด (Post-natal
hemopoiesis)เป็นการสร้างเลือดหลังจากที่ทารกคลอดมาแล้วยกเว้นพวกลิมโฟไซต์ที่มีการสร้างจากอวัยวะน้ำเหลือง
ระยะเมดัลลารี (Medullary period)เมื่อตับและม้ามลดอัตราการสร้างเม็ดเลือดลงอวัยวะที่จะทำหน้าที่แทน คือ ไขกระดูก (bone marrow)โดยจะเริ่ม สร้างเม็ดเลือดต่างๆประมาณเดือนที่ 5 เป็นต้นไป
การสร้างเลือดนอกไขกระดูก
(Extramedullary hemopoiesis)โดยปกติแล้วภายหลังคลอดร่างกายจะควบคุมการสร้างเม็ดเลือดส่วนใหญ่ที่ไขกระดูกเท่านั้น
และหากมีการทำลายเม็ดเลือดเป็นจำนวนมาก ไขกระดูกส่วนที่เป็นไขกระดูกสีเหลืองจะกลับมามีบทบาทในการสร้างเม็ดเลือดจนกว่าไขกระดูกจะสร้างทดแทน ไม่ได้หรือมีพยาธิสภาพเกิดขึ้นกับไขกระดูกเอง
หมู่เลือดระบบ ABO
จัดเป็นหมู่เลือดที่สำคัญที่สุดในการให้เลือด
เป็นหมู่เลือดระบบแรกที่มีการตั้ง ชื่อไว้โดยอาศัยโปรตีนที่ทำหน้าที่เป็นแอนติเจน (antigen, A3)บนผิวของเม็ดเลือดแดงที่มีชื่อว่า Ag-A และ Ag-Bสามารถแบ่งได้เป็นหมู่เลือดชนิดย่อย คือ หมู่เลือดกลุ่ม A
B O และ ABสามารถตรวจสอบหมู่เลือดโดยอาศัยปฏิกิริยาทางวิทยาภูมิคุ้มกัน ระหว่าง แอนติเจนบนผิวเม็ดเลือดแดงและแอนติบอดีในน้ำเลือดที่จำเพาะต่อกันเกิดปฏิกิริยาการเกาะกลุ่ม (agslutination)ของเม็ดเลือดแดงทำให้สามารถทดสอบได้ว่าเลือดของคนมีหมู่เลือดอยู่ในกลุ่มใด
หมู่เลือดระบบ Rh
จากการศึกษาต่อมาพบว่าหมูมีแอนติเจนที่สำคัญ คือ
แอนติเจน D C E C และ eจัดเป็นหมู่เลือดที่มีความสำคัญมาก ในคนผิวขาวในคนไทยพบว่ 99.9 เปอร์เซ็นต์ มีหมู่เลือด Rh+จากการที่ผู้ที่มีหมู่เลือด Rh จะไม่มีแอนติบอดี ต่อแอนติเจนของหมู่เลือด Rhจึงเป็นสาเหตุสำคัญของโรคเม็ดเลือดแดงสลายในเด็กแรก
เกิด (hemolytic disease of the newborn)ลูกคนที่สองของแแม่ที่มีหมูเลือด Rh -และได้รับการกระตุ้นให้สร้างแอนติบอดี (immuneantibody) จากลูกคนแรกที่หมูเลือด เป็น Rh+เมื่อเลือดของแม่ที่มีแอนติบอดีนี้ผ่านรกไปยังลูกที่อยู่ในครรภ์ซึ่งมีแอนติเจนที่จำเพาะกันจึงก่อให้เกิดการสลายเม็ดเลือดแดงของลูก ทำให้เกิดการเสียชีวิตของทารกแรกเกิด
กำเนิดและการพัฒนาของเซลล์เม็ดเลือด (Origin and
development of blood cell)
ทฤษฎีโมโนไฟลิติก (Monophyletic theory)
ทฤษฎีนี้เชื่อว่าเซลล์เม็ดเลือดทุกชนิดกำเนิดมาจากเซลล์บรรพบุรุษเดียวกันที่เรียกว่า"Totipotential hemocytoblast"โดยที่เซลล์นี้จะเจริญเป็นเม็ดเลือดแดง แกรนูลโลไซต์โมโนไซต์ มโฟไซต์
และทรอมโบไซได้ตามความต้องการของร่างกาย
ทฤษฎีโพลีไฟลิติก (Polyphyletic theory)
ทฤษฎีนี้เชื่อว่า เม็ดเลือดแต่ละสายกำเนิดมาจากเชลล์บรรพบุรุษของตัวเองและแต่ละชนิดจะไม่มีการสร้างข้ามสายกัน
การสร้าง erythropoietin และการสร้างเม็ดเลือดแดง
ฮีโมโกลบิน (Hemoglobin, Hb) คือโปรตีนในเม็ดเลือดแดง ทำหน้าที่รับส่งแก๊สออกซิเจนและเป็นบัฟเฟอร์ที่ปรับความสมดุลของกรดและเบสแต่ละโมเลกุลของฮีโมโกลบิน ประกอบด้วย 4 หน่วยย่อยแต่ละหน่วยย่อยประกอบด้วย 1 ม (heme)จับกับเปปไทด์สายยาว (polypeptide) 1 สายภายในมีธาตุเหล็ก (Fe) 1 อะตอม
ฮีโมโกลบินเมื่อจับกันออกซิเจน จะเรียกว่าออกซิฮีโมโกลบิน (Oxyhemoglobin)โดยการจับกันของฮีโมโกลบิน กับ ออกซิเจนขึ้นอยู่กับอุณหภูมิความเป็นกรด-เบสปริมาณคาร์บอนไดออกไซด์และปริมาณออกซิเจนที่ละลายอยู่ในกระแสเลือด ( pC02 และ pO2)
ความผิดปกติของเม็ดเลือดแดง
Anemia เป็นสภาวะที่เลือดมีปริมาณฮีโมโกลบินหรือมีค่าปริมาณเม็ดเลือดแดงอัดแน่นต่ำกว่าปกติซึ่งเกิดได้จากสาเหตุต่างๆ
Normocytic normochromic anemia ขนาดเซลล์
และความเข้มข้นฮีโมโกลบินในเซลล์ปกติแต่จำนวนเม็ดเลือดแดงในเลือดต่ำ เช่น กรณี acutehemorrhage
Microcytic hypochromic anemia (iron deficiency
anemia) เม็ดเลือดแดงมีขนาดเล็กปริมาณฮีโมโกลบินต่ำ พบในกรณี chronichemorrhage หรือทารกที่ขาดธาตุเหล็กในอาหาร
Macrocytic hypochromic anemia (pernicious หรือ
mononuclear anemia) เซลล์มี ขนาดใหญ่ปริมาณฮีโมโกลบินมาก แต่จำนวนเซลล์น้อย เกิดจากการขาดantianemia (หรือ hemotinic) factor ซึ่งประกอบด้วย- extrinsicfactor ได้แก่ vitamin B12, และ intrinsic factor ได้แก่น้ำย่อยของกระเพาะอาหาร (gastic juice) antianemic factorที่เกิดขึ้นจะถูกดูดซึมผ่านลำไส้เข้าสู่กระแสเลือดแล้วถูกเก็บไว้ที่ตับ
Aplastic anemia เกิดจาก bone marrow
ผิดปกติอาจจะเกิดขึ้นเองหรือได้รับรังสี มากเกินไป
เม็ดเลือดขาว
เม็ดเลือดขาว (Leucocyte, white blood cell)เม็ดเลือดขาวในกระแสเลือดมีหลายชนิดโดยมีหน้าที่หลักคือป้องกันและทำลายสิ่งแปลกปลอมที่เข้าสู่ร่างกายมีคุณสมบัติที่สำคัญ 3 ประการ คือ
เม็ดเลือดขาวสามารถเคลื่อนที่ผ่านผนังหลอดเลือดฝอ
ยสู่เนื้อเยื่อไปยังบริเวณที่มีเชื่อโรค (Diapedesis)
เม็ดเลือดขาวสามารถเคลื่อนเข้าไปหาเชื่อโรคโดยการดึ
งดูดของสารเคมีที่ถูกปล่อยจากเชื่อโรคเช่แบคทีเรีย(Chemotaxis)
เม็ดเลือดขาวสามารถจับกินสิ่งแปลกปลอมโดยวิธีคล้ายอะมีบาเข้าโอบล้อมและย่อยเชื่อโรคหรือสิ่ง แปลกปลอมนั้น (Phagocytosis)
แบ่งเม็ดเลือดขาวออกเป็น 2 ชนิดใหญ่ ๆ คือ
ชนิดมีแกรนูลหรือมีนิวเคลียสหลายแบบ(Granulocytic or polymorpho nuclear cet)
ชนิดไม่มีแกรนูลหรือมีนิวเคลียสเดียว (Agranulocyticor mononuclear cel)
ชนิดมีแกรนูลหรือมีนิวเคลียสหลายแบบ
(Granulocytic or polymorpho nuclear cell)
นิวโทรฟิล (Neutrophitor polymorphonuclear cell,
PMN) ivunalno กว่าเม็ดเลือดแดงประมาณ 2เท่าหรือประมาณ 12 ไมครอนนิวเคลียสได้ตั้งแต่ 2- 5พู (tobeติดสีน้ำเงินปนม่วงในไซโทพลาซึมมีแกรนูลละเอียดมากติดสีชมพูหรือชมพูอมม่วง)
2 ชนิดไม่มีแกรนูลหรือมีนิวเคลียสเดียว (Agranulocytic
or mononuclear cell)
โมโนไชต์ (Monocyte)เป็นเม็ดเลือดขาวที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในกระแสเลือดขนาดใหญ่กว่าเม็ดเลือดแดงประมาณ 2-3เท่าหรือประมาณ 14-20ไมครอนนิวเคลียสมักจะเว้าหรือเป็นลอนไซโทพลาซัมติดสีเทาอ่อนๆหรือน้ำเงินปนเทาและอะชูโรฟลิกแกรนูลเป็นเม็ดเล็กๆติดสีแดงกระจายอยู่ทั่วไป
เกล็ดเลือด Platelet
กระจายอยู่ทั่วไปกลางเซลล์ มีต้นกำเนิด มาจากเซลล์เมกะคาริโอไซต (megakaryocyte) ในไขกระดูกทำหน้าที่สำคัญเกี่ยวกับการแข็งตัวของเลือดช่วยทำให้เลือดหยุดไหลหรือห้ามเลือดเมื่อเกิดบาดแผลกลไกห้ามเลือด(Homeostasis) ประกอบด้วย 3ขั้นตอนที่สำคัญ คือ
หลอดเลือดหดตัว (Vasoconstriction)เมื่อเกิดบาดแผล สารซีโรโทนิน (serotonin)จากเกล็ดเลือดจะกระตุ้นให้หลอดเลือดหดตัว
การเกาะกลุ่มของเกล็ดเลือด (Platelet aggregation)คือ เซลล์ที่ได้รับความเสียหาย และเกล็ดเลือดจะปล่อยสาร ADP (adenosinediphosphate)ออกมาทำให้เกล็ดเลือดเกิดการเปลี่ยนรูปร่างและรวมกัน (aggregate) อุดหลอดเลือดที่เกิดบาดแผล
การแข็งตัวของเลือด (Coagulation, clot)เกิดจากปฏิกิริยาของเกล็ดเลือด สารต่างๆ ในพลาสมา และสารจากเนื้อเยื่อที่เกิดบาดแผล แบ่งเป็น
4 ขั้นตอนย่อย