Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
โรคผื่นแพ้สัมผัส จากงานอาชีพและสิ่งแวดล้อม, นางสาวน้ำทิพย์ ถมยา เลขที่ 32…
โรคผื่นแพ้สัมผัส จากงานอาชีพและสิ่งแวดล้อม
ผื่นแพ้สัมผัสรองเท้า
การดูแลตนเองเบื้องต้น
ไม่ควรซื้อยาใช้เองควรไปตรวจและปรึกษาแพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านโรคผิวหนัง เพื่อค้นหาสาเหตุที่แท้จริงว่าเป็นผื่นแพ้สัมผัสจากรองเท้าหรือไม่
รักษาผื่นผิวหนังอักเสบ ตามระยะที่เป็นอยู่ ภายใต้การบำบัดรักษาของแพทย์ เนื่องจากผื่นแพ้สัมผัสจากรองเท้าเป็นผื่นแพ้ที่เรื้อรัง การรักษาต้องใช้เวลานาน
ควรสวมใส่รองเท้าที่ไม่คับจนเกินไป ทำให้โอกาสที่รองเท้าจะสัมผัสแนบแน่นกับผิวหนังน้อย หรืออาจทาครีมที่ทำให้ผิวหนังนุ่ม ทาบริเวณเท้าส่วนที่สัมผัสแนบแน่นกับรองเท้า เพื่อให้เท้าลื่นไม่เสียดสีกับรองเท้ามากนัก
ควรหลีกเลี่ยงภาวะที่ทำให้เหงื่อออกมาก หรือสวมรองเท้าเปียกน้ำ เพราะรองเท้าที่เปียกน้ำจะปล่อยสารก่อภูมิแพ้ออกมาง่ายขึ้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งภาวะที่มีเหงื่ออาจใช้แป้งโรยเท้าก่อนสวมรองเท้า หรือเลือกรองเท้าโปร่งที่ระบายความร้อนได้ดี
เลือกใช้รองเท้าที่ทำจากสารที่ตนเองไม่แพ้ เช่น คนที่แพ้รองเท้ายางก็ใช้รองเท้าที่ทำด้วยพลาสติก เช่น โพลีไวนิลคลอไรด์ หรือรองเท้าหนังล้วนๆ หากแพ้หนังก็ต้องใช้รองเท้าพลาสติก รองเท้ายาง หรือที่ทำด้วยผ้าหรือรองเท้าไม้ ในกรณีมีเหตุจำเป็นไม่สามารถเลือกใช้รองเท้าได้ ควรใช้รองเท้าที่มีแบบต่างๆ กัน เช่นมีลายไขว้หลายๆ แบบเพื่อจะได้ไม่สัมผัสซ้ำที่เดิมตลอดเวลา หรือสวมถุงเท้าป้องกันไม่ให้เท้าสัมผัสกับรองเท้าที่สวมใส่โดยตรง
ผื่นแพ้สัมผัสจากยาทาภายนอก
การดูแลตนเองเบื้องต้น
หยุดใช้ยาที่สงสัยว่าจะแพ้
พบแพทย์เพื่อทดสอบยืนยันว่าแพ้ยาชนิดใดบ้าง
แจ้งชื่อยาที่แพ้กับแพทย์ หรือสถานพยาบาลทุกครั้งที่เข้ารับการรักษา
เมื่อเจ็บป่วยไม่ควรซื้อยามาใช้เองควรไปตรวจรักษาจากแพทย์และไม่ควรนำยาของตนเองไปให้ผู้อื่นใช้
ผื่นแพ้สัมผัสปูนซีเมนต์
การดูแลตนเองเบื้องต้น
หลีกเลี่ยงและป้องกันการสัมผัสโดยตรงกับปูนซีเมนต์จะช่วยทำให้ผื่นดีขึ้น
ขณะปฏิบัติงานใช้ถุงมือสวมใส่เสื้อผ้าแขนยาขายาวหรือใช้พลาสติกคลุมร่างกายเมื่อเลิกปฏิบัติงานควรอาบน้ำชำระร่างกายทันที
ในกรณีแพ้เรื้อรังควรพบแพทย์ผิวหนังเพื่อทำการทดสอบภูมิแพ้ผิวหนังเมื่อทราบสาเหตุแล้วการหลีกเลี่ยงการสัมผัสกับสารนั้นๆ
ผื่นแพ้สัมผัสด่างทับทิม
ข้อควรระวังในการใช้
ศึกษาปริมาณความเข้มข้นที่เหมาะสมกับการนำไปใช้ประโยชน์ในแต่ละงานให้เข้าใจก่อนนำไปใช้เสมอ
ควรผสมสารละลายด่างทับทิมก่อนใช้ทุกครั้งไม่ควรผสมทิ้งไว้ค้างคืนเพราะความเข้มข้นของน้ำยาเปลี่ยนแปลงได้และระมัดระวังในการผสมให้เกร็ดด่างทับทิมละลายน้ำจนหมด
สารละลายด่างทับทิมทำให้ผิวหนังเล็บเป็นสีน้ำตาลกรณีติดเสื้อผ้าให้ใช้ไฮโดรเจนเปอร์ออกไซด์ล้างออก
เกร็ดด่างทับทิมไม่ควรถูกผิวหนังผู้ใช้โดยตรงกรณีสัมผัสเกิดรคายเคืองให้รีบล้างน้ำทันทีกรณีมีอาการรุนแรงควรพบแพทย์เพื่อรับการรักษา
ไม่ควรใช้ด่างทับทิมร่วมกับฟอร์มาลินควรเก็บด่างทับทิมในสถานที่ที่ไม่ถูกแสงและเก็บให้พ้นมือเด็ก
ผื่นแพ้สัมผัสแมลงดวงก้นกระดก
การดูแลตนเองเบื้องต้น
ลดกำลังส่องสว่างของแสงไฟฟ้าในห้องทำงานโดยการติดตั้งให้ต่ำลงหรือบังคับให้ส่องสว่างในบริเวณที่ต้องการ
อยู่ในห้องมุ้งลวดในเวลากลางคืน หากบังเอิญแมลงไต่ตามตัวอย่าไปตบตีให้น้ำพิษออกมา กรณีถูกน้ำพิษให้ล้างด้วยน้ำหรือสบู่หรือเช็ดทันทีด้วยแอมโมเนียอย่าไปเกาจนทำให้แผลลามออกไป ในรายที่มีอาการรุนแรงควรไปพบแพทย์
กรณีพิษเข้าตา ควรล้างด้วยน้ำสะอาดหลายๆ ครั้งแล้วรีบไปพบแพทย์
ระมัดระวังและหลีกเลี่ยงการสัมผัสกับแมลงด้วงก้นกระดก หากพบแมลงชนิดนี้บนพื้นบ้าน กำจัดออกโดยใช้กระดาษรองแล้วนำออกไปทิ้ง ล้างมือหรือผิวหนังบริเวณที่สัมผัสด้วยน้ำทันที
ก่อนนอนควรปิดไฟ ประตู หน้าต่าง หรือนอนกางมุ้งและสำรวจเตียงนอนก่อนว่ามีแมลงที่เป็นพิษอยู่หรือไม่
ในขณะนอนหลับอาจนอนทับหรือบี้แมลงโดยไม่รู้สึกตัว ควรอาบน้ำหรือทำความสะอาดเครื่องนอน เสื้อผ้าทันที
ผื่นแพ้สัมผัสเครื่องสําอาง
การดูแลตนเองเบื้องต้น
หลีกเลี่ยงสารที่ทำให้เกิดปฏิกิริยาผื่นแพ้ต่อผิวหนัง
ใช้ผลิตภัณฑ์ที่ไม่มีส่วนประกอบของสารที่ทำให้เกิดปฏิกิริยาผื่นแพ้
กรณีสงสัยว่าเครื่องสำอางชิ้นใดเป็นสาเหตุที่ทำให้เกิดปัญหาหากไม่ทราบว่าเป็นชิ้นใดให้หยุดทุกชนิดแล้วไปพบแพทย์เพื่อทำการทดสอบภูมิแพ้ผิวหนังด้วยวิธีการปิดสารบนผิวหนังและควรนำเครื่องสำอางทุกชนิดพร้อมกล่องหรือเอกสารเกี่ยวกับเครื่องสำอางไปด้วย
ไม่ควรซื้อผลิตภัณฑ์ที่ทำให้หน้าขาวที่มีจำหน่ายในท้องตลาดมาใช้เอง เพราะบางอย่างมีสารห้ามใช้ในผลิตภัณฑ์ทาฝ้าที่วางขายทั่วไป ซึ่งต้องใช้ภายใต้การดูแลของแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ เพราะอาจก่อให้เกิดอาการข้างเคียงได้แก่ ผื่นแดง ผิวลอกมีสะเก็ด ผิวสีดำไหม้ เป็นต้น
วิธีป้องกันคือวัยเด็กวัยรุ่นผิวยังอ่อนต่อเครื่องสำอางจึงไม่ควรใช้โดยไม่จำเป็นหากจำเป็นต้องใช้ควรเพิ่มความระมัดระวังโดยก่อนใช้ควรทำการทดสอบก่อนโดยทาเครื่องสำอางบนบริเวณแขนด้านในทิ้งไว้48ชั่วโมงหากมีอาการแพ้จะมีผื่นแดงคันปรากฏให้เห็นกรณีไม่ปรากฏอาการใดๆแสดงว่าไม่แพ้จึงนำมาทาบนใบหน้าได้
เมื่อสงสัยว่ามีผื่นแพ้เครื่องสำอางบนใบหน้าควรหยุดใช้เครื่องสำอางทันทีพยายามล้างเครื่องสำอางออกให้มากที่สุดและเร็วที่สุดด้วยน้ำสะอาดควรใช้ผ้าเช็ดหน้าหรือผ้าขนหนูผืนเล็กๆทำความสะอาดประคบใบหน้า2-3ชั่วโมงจะช่วยลดอาการหน้าแดงและอาการคันได้หากมีอาการรุนแรงควรไปพบแพทย์
ผิวหนังที่แห้งและสกปรกมีโอกาสแพ้ต่อสิ่งต่างๆได้ง่ายควรหลีกเลี่ยงผลิตภัณฑ์ทำความสะอาดใบหน้าที่มีฤทธิ์แรงและควรเลือกเครื่องสำอางให้เหมาะสมกับผิวของตนเอง
ซื้อเครื่องสำอางที่มีหลักแหล่งแน่นอนเชื่อถือได้เพราะหากมีปัญหาเกิดขึ้นจะได้ติดต่อหาผู้รับผิดชอบได้
ซื้อเครื่องสำอางที่มีฉลากภาษาไทยบ่งบอกสาระสำคัญเกี่ยวกับเครื่องสำอางอย่างครบถ้วนชัดเจน ได้แก่ ชื่อเครื่องสำอาง,ชื่อส่วนประกอบสำคัญ,ชื่อและที่ตั้งของผู้ผลิต,วันเดือนปีที่ผลิต,วิธีใช้และปริมาณสุทธิ
ปฏิบัติตามวิธีใช้และใช้ด้วยความระมัดระวังตามคำเตือนที่ระบุไว้ที่ฉลากอย่างเคร่งครัด
กรณีมีประวัติแพ้สารใดมาก่อนเวลาเลือกซื้อผลิตภัณฑ์ควรพิจารณาข้อมูลอย่างถูกต้องเพื่อหลีกเลี่ยงสารที่ก่อให้เกิดการแพ้
เมื่อใช้เครื่องสำอางเสร็จแล้วต้องปิดฝาให้สนิท เพื่อป้องกันการปนเปื้อนจากฝุ่นละออง สิ่งสกปรกหรือเชื้อโรคต่างๆ
เก็บเครื่องสำอางไว้ที่แห้งและเย็น อย่าเก็บไว้ในที่ร้อนหรือแสงแดดส่องถึง เพราะจะเสื่อมคุณภาพเร็วกว่าปกติ
ชนิดของผื่นแพ้สัมผัส
ผื่นระคายสัมผัส (Irritant contact dermatitis) หมายถึง ผื่นสัมผัสเกิดจากการระคายต่อคุณสมบัติทางกายภาพของสารนั้นๆ
ผื่นแพ้สัมผัส (Allergic contact dermatitis) หมายถึง ผื่นสัมผัสเกิดขึ้นจากปฏิกิริยาของร่างกายที่ตอบสนองต่อสิ่งกระตุ้น โดยใช้เวลาระยะหนึ่งหลังจากสัมผัสสิ่งกระตุ้น
ผื่นสัมผัสจากพิษของสารร่วมกับแสง (Phototoxic contact dermatitis) หมายถึง ผื่นสัมผัสเกิดจากการสัมผัสกับสารที่ถูกเปลี่ยนคุณสมบัติโดยแสงให้กลายเป็นสารที่ทำให้เกิดการระคายเคืองต่อผิวหนัง
ผื่นสัมผัสเนื่องจากการแพ้สารร่วมกับแสง (Photoallergic contact dermatitis) หมายถึง ผื่นสัมผัสเกิดจากการสัมผัสกับสารที่ถูกเปลี่ยนคุณสมบัติโดยแสงให้กลายเป็นสารก่อภูมิแพ้ โดยสารดังกล่าวจะกระตุ้นให้ร่างกายตอบสนองโดยใช้เวลาระยะหนึ่ง
ลมพิษจากสารสัมผัส (Contact urticaria) หมายถึง การสัมผัสกับสารซึ่งร่างกายมีการสร้างสารภูมิแพ้ที่เรียกกันว่า "ฮีสตามีน" ทำให้หลอดเลือดขยายตัวเกิดเป็นผื่นนูนแดงตามผิวหนัง
การค้นหาสาเหตุ
แพทย์จะซักประวัติและตรวจร่างกายสังเกตจากลักษณะอาการแสดงของผื่นบริเวณรอยโรคและตำแหน่งที่เป็นรวมทั้งประวัติจากอาชีพและสิ่งแวดล้อมที่ผู้ป่วยสัมผัสก็สามารถบอกที่มาของการเกิดโรคผื่นแพ้สัมผัสได้ หากค้นหาสาเหตุอย่างละเอียดจะต้องทำการทดสอบภูมิแพ้ผิวหนังโดยวิธีปิดสารทดสอบบนผิวหนัง (Patch test) ซึ่งต้องปฏิบัติดังนี้
กรณีที่ผู้ป่วยใช้ยากลุ่มแก้แพ้ แก้หวัด แก้คัน ฮอร์โมนและสเตียรอยด์ ควรหยุดใช้ยาอย่างน้อย2สัปดาห์ก่อนมาทำการทดสอบภูมิแพ้ผิวหนัง
ผู้ป่วยที่มีประวัติการแพ้ยา อาหาร สารเคมี และโรคภูมิแพ้หรือโรคประจำตัวควรแจ้งให้แพทย์ทราบ รวมทั้งนำสารหรือผลิตภัณฑ์ที่สงสัยว่าแพ้ พร้อมชื่อและรายละเอียดเกี่ยวกับสารมาในวันที่แพทย์นัดทำทดสอบด้วย
การทำทดสอบต้องปิดแผ่นที่ใส่สารทดสอบไว้ที่หลังผู้ป่วยแพทย์จะมัดมาอ่านผล2ครั้ง(ครั้งที่1ครบ48ชั่วโมง ครั้งที่2ครบ96ชั่วโมงต้องมาพบแพทย์เพื่ออ่านผลการทดสอบตามนัดทุกครั้ง)และต้องดูแลไม่ให้บริเวณที่ทดสอบเปียกน้ำ หลีกเลี่ยงภาวะที่ทำให้เหงื่อออกมาก เช่น เล่นกีฬา ออกกำลังกาย หรือถูกแสงแดดนานๆ เพราะเหงื่อและไขมันทำให้แผ่นทดสอบหลุดลอกและสารที่ทำการทดสอบเคลื่อนตำแหน่งได้
นางสาวน้ำทิพย์ ถมยา เลขที่ 32 รหัสนักศึกษา 622801033