Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
พยาธิสรีรวิทยาระบบเลือด Hemato Phisiology - Coggle Diagram
พยาธิสรีรวิทยาระบบเลือด
Hemato Phisiology
หน้าที่ของระบบเลือด
การควบคุม (Regulation)
ควบคุมความเป็นกรด-เบสของร่างกาย (Regulation of body pH)
ควบคุมอุณหภูมิของร่างกาย (Regulation of body temperature)
การควบคุมน้ำในร่างกาย (Regulation of water balance)
การขนส่ง (Transportation) การขนส่งสารอาหาร
การป้องกัน (Protection)
การป้องกันการสูญเสียเลือด (Protection of blood loss)
การป้องกันสิ่งแปลกปลอม (Protection of foreign body)
อาศัยกลไกการทำงานของเม็ดเลือดขาว เกล็ดเลือด และแอนติบอดี (antibodies) ที่ไหลเวียนในกระแสเลือด
ลักษณะทางกายภาพของเลือด (Physical characteristics of blood)
ความหนืด (Viscosity) 4.5 - 5.5 (เมื่อเปรียบเทียบกับน้ำ)
อุณหภูมิ 37-38 องศาเซลเซียส
ความเป็นกรด-เบส (pH) 7.35-7.45
องค์ประกอบของเกลือโซเดียมคลอไรด์ (Salinity) 0.9 เปอร์เซ็นต์
น้ำหนัก 8% ของน้ำหนักร่างกายปริมาตร: เพศหญิง 5-6 ลิตรเพศชาย 4-5 ลิตร
องค์ประกอบของเลือด
Plasma (about 55%)
โปรตีนใน Plasma
อัลบูมินและโกลบูลิน รักษาสมดุลของน้ำในร่างกาย (ดูดน้ำไว้)
โกลบูลิน มีอยู่ในรูปของแอลฟา (α) บีตา (β) และแกมมา (γ) เกี่ยวข้องกับการสร้างแอนติบอดีฮอร์โมนและเอ็นไซม์ชนิดต่างๆ
ไฟบริโนเจนช่วยในการแข็งตัวของเลือด
Platelets (0,01)
ขนาดเล็กที่สุด ทำหน้าที่สำคัญเกี่ยวกับการแข็งตัวของเลือดช่วยทำให้เลือดหยุดไหลหรือห้ามเลือดเมื่อเกิดบาดแผล
กลไกห้ามเลือด (Homeostasis) ประกอบด้วย 3 ขั้นตอนที่สำคัญคือ
หลอดเลือดหดตัว (Vasoconstriction) เมื่อเกิดบาดแผลสารซีโรโทนิน (serotonin) จากเกล็ดเลือดจะกระตุ้นให้หลอดเลือดหดตัว
การเกาะกลุ่มของเกล็ดเลือด (Platelet aggregation) คือเซลล์ที่ได้รับความเสียหายและเกล็ดเลือดจะปล่อยสาร ADP (adenosine diphosphate) ออกมาทำให้เกล็ดเลือดเกิดการเปลี่ยนรูปร่างและรวมกัน (aggregate) อุดหลอดเลือดที่เกิดบาดแผล
การแข็งตัวของเลือด (Coagulation, clot) เกิดจากปฏิกิริยาของเกล็ดเลือดสารต่างๆในพลาสมาและสารจากเนื้อเยื่อที่เกิดบาดแผลแบ่งเป็น 4 ขั้นตอนย่อยคือ
การเกิดการกระตุ้นโปรทรอมบิน (prothrombin activation) แบ่งย่อยได้ 2 ขบวนการ
Extrinsic pathway เกิดจากการทำลายเซลล์หลอดเลือดและเซลล์ข้างเคียงจะกระตุ้นให้เซลล์เหล่านี้สร้างทรอมโบพลาสติน (tissue thromboplastin)
Intrinsic pathway เกิดขึ้นภายในหลอดเลือดเมื่อเกล็ดเลือดเกิดการแตกจะมีการทำปฏิกิริยากันของสารที่หลั่งออกมาจากเกล็ดเลือดและปัจจัยการแข็งตัวของเลือดได้ทรอมโบพลาสติน (intrinsic thromboplastin)
การเปลี่ยนโปรทรอมบิน (prothrombin) เป็นทรอมบิน (thrombin) ทรอมโบพลาสติน (thromboplastin) ที่เกิดขึ้นจะกระตุ้นการเปลี่ยนโปรทรอมบินเป็นทรอมบิน
การเปลี่ยนไฟบริโนเจน (fibrinogen) เป็นไฟบริน (fibrin) ทรอมบินที่เกิดขึ้นจะเปลี่ยนไฟบริโนเจนเป็นไฟบรินโดยใช้แคลเซียมอิออน (Ca 2+) และปัจจัยการแข็งตัวของเลือดชนิดต่าง ๆ ไฟบรินเป็นเส้นใยโปรตีนที่ไม่ละลายน้ำมีการรวมตัวกันแน่นประสานเป็นร่างแหและยึดจับกับเม็ดเลือดแดงกลายเป็นก้อนเลือด (clot)
การเกิดการหดตัวของก้อนเลือด (clot retraction)
Factor
ที่ช่วยในการแข็งตัวของเลือด
| Fibrinogen
|| Prothrombin
||| Tissue factor, thromboplastin
|V Calcium
V Proaccelerin, labile factor
V|| Proconvertin, stable factor
V||| Antihemophilic factor
|X Christmas factor
X Stuart-Prower factor
X| Plasma thromboplastin antecedent
X|| Hageman factor
X||| Fibrin-stabilizing factor, transglutaminase
Red blood cells (about 41%)
White blood cells (about 4%)
คุณสมบัติที่สำคัญ 3 ประการคือ
1) เม็ดเลือดขาวสามารถเคลื่อนที่ผ่านผนังหลอดเลือดฝอยสู่เนื้อเยื่อไปยังบริเวณที่มีเชื้อโรค (Diapedesis)
2) เม็ดเลือดขาวสามารถเคลื่อนเข้าไปหาเชื้อโรคโดยการดึงดูดของสารเคมีที่ถูกปล่อยจากเชื้อโรคเช่นแบคทีเรีย (Chemotaxis)
3) เม็ดเลือดขาวสามารถจับกินสิ่งโดยวิธีคล้ายอะมีบาเข้าโอบล้อมและย่อยเชื้อโรคหรือสิ่งแปลกปลอมนั้น (Phagocytosis)
แบ่งเม็ดเลือดขาวออกเป็น 2 ชนิดใหญ่ ๆ
ชนิดมีแกรนูลหรือมีนิวเคลียสหลายแบบ (Granulocytic or polymorpho nuclear cell)
Basophil
(Granulocytes)
เบโซฟิล (Basophil) รูปร่างเหมือนนิวโทฟิลต่างกันที่นิวเคลียสมีได้ตั้งแต่ 2-5 พู แต่มักจะเห็นนิวเคลียสได้ไม่ชัดเนื่องจากถูกบดบังด้วยแกรนูลซึ่งมีขนาดใหญ่ติดสีน้ำเงินเข้มกระจายทั่วไซโทพลาซึม
Eosinophil
(Granulocytes)
โอสิโนฟล (Eosinophil) มีขนาดประมาณ 12 ไมครอนรูปร่างเหมือนนิวโทฟิลต่างกันที่ส่วนใหญ่นิวเคลียสจะมี 2 พูในไซโทพลาซึมจะมีแกรนูลเม็ดใหญ่ติดสีส้มแดงค่อนข้างวาวแสงอยู่เต็มไซโทพลาซึมและมักจะไม่ทับนิวเคลียส
Neutrophil
(Granulocytes)
นิวโทรฟล (Neutrophil or polymorphonuclear cell, PMN) มีขนาดใหญ่กว่าเม็ดเลือดแดงประมาณ 2 เท่าหรือประมาณ 12 ไมครอนนิวเคลียสได้ตั้งแต่ 2- 5 พู (lobe) ติดสีน้ำเงินปนม่วงในไซโทพลาซึมมีแกรนูลละเอียดมากติดสีชมพูหรือชมพูอมม่วง
ชนิดไม่มีแกรนูลหรือมีนิวเคลียสเดียว (Agranulocytic or mononuclear cell)
Lymphocyte
(Agranulocytes)
ลิมโฟไซต (Lymphocyte) โดยทั่วไปเป็นเม็ดเลือดขาวที่มีขนาดเล็กที่สุดใหญ่กว่าเม็ดเลือดแดงเล็กน้อย (ขนาดประมาณ 10 ไมครอน) แต่บางครั้งอาจพบที่มีขนาดใหญ่ได้ (20 ไมครอน) นิวเคลียสมักจะกลมหรือรีและอาจมีรอยเว้าได้บ้างติดสีเข้มทึบอยู่ชิดริมด้านใดด้านหนึ่งของเชลล์ไขโทพลาซึมติดสีฟ้าอ่อนใสและพบอะซูโรฟลิกแกรนูลใต้บ้าง
Monocyte
(Agranulocytes)
โมโนไซต์ (Monocyte) เป็นเม็ดเลือดขาวที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในกระแสเลือดขนาดใหญ่กว่าเม็ดเลือดแดงประมาณ 2-3 เท่าหรือประมาณ 14-20 ไมครอนนิวเคลียสมักจะเว้าหรือเป็นลอนไซโทพลาซุ้มติดสีเทาอ่อน ๆ หรือน้ำเงินปนเทาและอะซูโรฟลิกแกรนูลเป็นเม็ดเล็ก ๆ ติดสีแดงกระจายอยู่ทั่วไป
เม็ดเลือด (Corpuscles หรือ formed elements)
เม็ดเลือดขาว
เกล็ดเลือด หรือ ทรอมโบไซต์
เม็ดเลือดแดง (Erythrocyte, red blood cell)
ฮีโมโกลบิน (hemoglobin)
เอ็นไซม์ (enzyme)
อิออน (ion) +,-
ทำหน้าที่ขนถ่ายออกซิเจนและคาร์บอนไดออกไซด์ระหว่างปอดและเนื้อเยื่อต่างๆ ทั่วร่างกาย และทำหน้าที่เป็นบัฟเฟอร์ที่ปรับความสมดุลของกรดและเบส (acid-base buffer) ของเลือด
การสร้างเลือด (Hemopoiesis)
การสร้าง erythropoietin และการสร้างเม็ดเลือดแดง
HEMOGLOBIN
กำเนิดและการพัฒนาของเซลล์เม็ดเลือด (Origin and development of blood cell)
• เซลล์ต้นกำเนิดของเม็ดเลือด (stem cell)
Hemopoiesis = Hematopoiesis
Origin : Stem cell
Three paths
Erythropoiesis (RBC)
Leukopoiesis (WBC)
Thrombopoiesis (PIT)
การสร้างเลือดของทารกในครรภ์ (Embryonic or Pre-natal hemopoiesis)
การสร้างเลือดในระยะหลังคลอด (Post-natal hemopoiesis)
ระยะเมตัลลารี (Medullary period)
ตับ
สร้างเลือดช่วงประมาณสัปดาห์ที่ 6 จะสร้างเม็ดเลือดต่างๆได้สูงสุดในเดือนที่ 4 และเดือนที่ 5 และจะค่อยๆลดบทบาทลงจนกระทั่งถึง 2-3 สัปดาห์ก่อนคลอด
ต่อมไทมัส (thymus gland)
เป็นอวัยวะที่สำคัญในการให้กำเนิดลิมโฟไซต์ในร่างกาย แต่มีการสร้างในช่วงระยะเวลาสั้น ๆ
ต่อมน้ำเหลือง
เป็นอวัยวะที่สร้างเม็ดเลือดชนิดลิมโฟไซต์เริ่มจากเดือนที่ 4 และ 5 และจะคงสร้างไปตลอดชีวิต
ไขกระดูก (bone marrow)
จะเริ่มสร้างเม็ดเลือดต่างๆ ประมาณเดือนที่ 5 เป็นต้นไปโดยมีเซลล์ต้นกำเนิดจากเซลล์มีเซนไคมอล
ไขกระดูกเป็นปัจจัยสำคัญเกี่ยวข้องกับการสร้างเลือดมีฮอร์โมนอีริโทรพอยอีติน (Erythropoietin) ในเลือดเป็นตัวควบคุมการสร้าง
ม้าม
ในระยะเวลาไล่เลี่ยกันม้ามจะเริ่มมีหนาที่ในการสร้างเม็ดเลือด แต่เป็นเม็ดเลือดแดงมากกว่าเม็ดเลือดขาวประมาณเดือนที่ 5 การสร้างเม็ดเลือดจะลดน้อยลงไปเรื่อย ๆ จนกระทั่งคลอด หลังคลอดม้ามจะมีหน้าที่ในการสร้างลิมโฟไซต์ (lymphocyte) อย่างเดียวไปตลอดชีวิต
ความผิดปกติของเม็ดเลือดแดง
• Anemia เป็นสภาวะที่เลือดมีปริมาณฮีโมโกลบินหรือมีค่าปริมาณเม็ดเลือดแดงอัดแน่นต่ำกว่าปกติซึ่งเกิดได้จากสาเหตุต่างๆเช่น
การสร้างหรือการเจริญของเม็ดเลือดแดงช้า (mononuclear deficiency)
ไขกระดูกผิดปกติ (aplastic bone marrow)
เสียเลือดทั้งแบบเฉียบพลันและแบบเรื้อรัง (acute and chronic hemorrhage)
Microcytic Hypochromic Anemia
Normocytic normochromic anemia
ขนาดเซลล์และความเข้มข้นฮีโมโกลบินในเซลล์ปกติ แต่จำนวนเม็ดเลือดแดงในเลือดต่ำ เช่น กรณี acute hemorrhage
Microcytic hypochromic anemia (iron deficiency anemia)
เม็ดเลือดแดงมีขนาดเล็กปริมาณฮีโมโกลบินต่ำพบในกรณี chronic hemorrhage หรือทารกที่ขาดธาตุเหล็กในอาหาร
Macrocytic hypochromic anemia (pernicious หรือ mononuclear anemia)
เซลล์มีขนาดใหญ่ปริมาณฮีโมโกลบินมาก แต่จำนวนเซลล์น้อยเกิดจากการขาด antianemia (หรือ hemotinic) factor ซึ่งประกอบด้วย extrinsic factor ได้แก่ vitamin B12, และ intrinsic factor
Aplastic anemia
เกิดจาก bone marrow ผิดปกติอาจจะเกิดขึ้นเองหรือได้รับรังสีมากเกินไป
Hemolytic anemia
เกิดจากเม็ดเลือดแดงถูกทำลายมากกว่าปกติอาจจะเนื่องมาจาก
สารเคมี
ระบบ reticuloendothelial ทำงานมากเกินไป
กรรมพันธุ์ซึ่งมีผลให้เม็ดเลือดแดงที่ถูกสร้างขึ้นมามีขนาดหรือรูปร่างที่ผิดปกติเช่น famillait hemolytic anemia
กรณีนี้เซลล์มีขนาดเล็กรูปร่างกลมเรียก microcytes หรือ spherocytes แต่ยังเป็น normochromic
เซลล์เหล่านี้แตกง่ายเพราะรูปร่างของมัน sickle cellanemia เป็นความผิดปกติอีกชนิดหนึ่งที่ถ่ายทอดได้ทางกรรมพันธุ์พบมากในนิโกรรูปร่างเซลล์คล้ายเคียว (sickle) หรือพระจันทร์เสี้ยว (Crescent) ฮีโมโกลบินผิดไปจากปกติเซลล์เปราะหรือแตกง่าย
หมู่เลือด
หมู่เลือดระบบ ABO
ABO Blood Group System
Group
B (Antigen B) , (Anti-A)
AB (Antigen A & B) , (None Antibodies Present)
A (Antigen A) , (Anti-B)
O (None Antigen) , (Anti-A & Anti-B)
หมู่เลือดระบบ Rh
หมูมีแอนติเจนที่สำคัญคือแอนติเจน D CE C และ e จัดเป็นหมู่เลือดที่มีความสำคัญมากในคนผิวขาวในคนไทยพบว่า 99.9 เปอร์เซ็นต์มีหมู่เลือด Rh + จากการที่ผู้ที่มีหมู่เลือด Rh จะไม่มีแอนติบอดีต่อแอนติเจนของหมู่เลือด Rh จึงเป็นสาเหตุสำคัญของโรคเม็ดเลือดแดงสลายในเด็กแรกเกิด (hemolytic disease of the newborn)) มักพบในลูกคนที่สองของแม่ที่มีหมูเลือด Rh- และได้รับการกระตุ้นให้สร้างแอนติบอดี (immune antibody) จากลูกคนแรกที่มีหมูเลือดเป็น Rh +
เมื่อเลือดของแม่ที่มีแอนติบอดีนี้ผ่านรกไปยังลูกที่อยู่ในครรภ์ซึ่งมีแอนติเจนที่จำเพาะกันจึงก่อให้เกิดการสลายเม็ดเลือดแดงของลูกทำให้เกิดการเสียชีวิตของทารกแรกเกิด
การไม่เข้ากันของหมู่เลือด Rh ซึ่งก่อให้เกิดอันตรายกับทารกแรกเกิดในแม่ที่มี Rh- และพ่อที่มี Rh + ที่ให้กำเนิดลูกคนแรกที่มี Rh +
เม็ดเลือดของลูกคนแรกที่มี Rh + เกิดการปนผ่านเข้าไปยังเลือดของแม่
แม่สร้างแอนติบอดีตอบสนองต่อแอนติเจนของเม็ดเลือดแดงที่มี Rh+
แอนติบอดีบางส่วนปนผ่านรกเข้าสู่เลือดของลูกคนที่ 2 เกิดการสลายของเม็ดเลือดแดงทำให้เกิดการเสียชีวิตของทารกแรกเกิด
Rh Factor and Pregnancy
Rh+ mother w/Rh- baby- no problem
Rh- mother w/Rh+ baby- problem
Rh- mother w/Rh- father- no problem
Rh- mother w/Rh- baby- no problem