Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
ตัวแปร กรอบความคิด และ สมมติฐาน, นายวัฒนะ บุตรสุวรรณ์ รหัส 636322332-03 …
ตัวแปร กรอบความคิด และ สมมติฐาน
ตัวแปร
ความหมาย
ประเด็น คุณลักษณะที่ผู้วิจัยต้องการศึกษา ตัวแปรจะมีค่าที่สามารถแปรเปลี่ยนค่าในรูปปริมาณหรือคุณภาพ ตั้งแต่ 2 ค่าขึ้นไปได้ตามสถานการณ์หรือเงื่อนไขที่กำหนดขึ้น
ประเภทของตัวแปร
จากคุณสมบัติของค่าตัวแปรจากการวัด
ตัวแปรเชิงปริมาณ
หมายถึงคุณสมบัติของตัวแปรที่มีค่าแปรเปลี่ยนเชิงปริมาณจากบุคคลหนึ่งไปยังอีกบุคลหนึ่ง หรือจากเวลาหนึ่งไปยังอีกเวลาหนึ่งเช่น อุณหภูมิของอากาศในทุก ๆ 1 ชั่วโมงของวัน จะแปรค่าในเชิงปริมาณ วัดค่าออกมาเป็นจานวนองศา เช่น 32, 32.5, 32.7 …เป็นต้น
ตัวแปรเชิงคุณลักษณะ
คุณลักษณะของตัวแปรที่มีค่าแปรเปลี่ยนในทางคุณลักษณะ หรือคุณภาพจากบุคคลหนึ่งไปยังอีกบุคคลหนึ่ง หรือจากเวลาหนึ่งไปยังอีกเวลาหนึ่ง เช่น ระดับการศึกษา จะมีการแปรค่าเชิงคุณภาพโดยแปรค่าเป็นระดับ อนุบาล ประถมศึกษา มัธยมศึกษา อุดมศึกษา…เป็นต้น
จากความต่อเนื่องของตัวแปร
ตัวแปรต่อเนื่อง
หมายถึงตัวแปรที่สามารถแปรค่าได้ต่อเนื่องกันในช่วงเวลาใดเวลาหนึ่ง และสามารถแสดงลาดับได้ คือค่าที่มากแสดงว่ามีคุณสมบัติของตัวแปรมากกว่าค่าที่น้อยกว่า เช่น ความสูงน้าหนักรายได้เกรดเฉลี่ยเป็นต้น
ตัวแปรไม่ต่อเนื่อง
หมายถึงตัวแปรที่แปรค่าอย่างไม่ต่อเนื่อง เป็นไปตามคุณสมบัติของตัวแปรแต่ละรายการและไม่สามารถแสดงลาดับที่มากหรือน้อยของรายการได้เช่น เพศแบ่งออกเป็น 2รายการ คือ ชายและ หญิงเป็นต้น
จากความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปรในเชิงเหตุผล
ตัวแปรอิสระ
ตัวแปรอิสระที่สามารถจัดกระทำได้
ตัวแปรอิสระที่เกิดจากการจัดกระทาโดยตรงของผู้วิจัย และมักเรียกว่าเป็นการวิจัยเชิงทดลองเช่น อยากทราบว่าวิธีการสอนที่ต่างกันจะทาให้ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนนักเรียนต่างกันหรือไม่ เป็นต้น
ตัวแปรอิสระที่ไม่สามารถจัดกระทำได้
ตัวแปรอิสระที่มีอยู่เดิมในกลุ่มประชากร ผู้วิจัยไม่ได้จัดกระทำเพียงแต่เลือกหรือกาหนดกลุ่ม ตามลักษณะที่จะศึกษา และมักเรียกว่า การวิจัยเชิงความสัมพันธ์เป็นต้น
ตัวแปรแทรกซ้อน
เป็นตัวแปรที่ผู้วิจัยไม่ได้มุ่งศึกษา แต่มีอิทธิพลต่อตัวแปรตามที่ทำการศึกษา เป็นตัวแปรที่เกิดขึ้นระหว่างการทดลองโดยที่ผู้วิจัย ไม่ทราบล่วงหน้ามาก่อน
ตัวแปรตาม
เป็นตัวแปรที่เปลี่ยนค่า เนื่องจากตัวแปรอิสระเปลี่ยนค่า หรือบางครั้งอาจเรียกว่าตัวแปรผล ซึ่งเป็นตัวแปรที่เกิดทีหลัง
ตัวแปรเกิน หรือตัวแปรภายนอก
เป็นตัวแปรที่ผู้วิจัยไม่ได้มุ่งศึกษา แต่มีอิทธิพลต่อตัวแปรที่ทำการศึกษา โดยที่ผู้วิจัย ทราบล่วงหน้า และพยายามหาทางควบคุม
ตัวแปรกดดัน
เป็นตัวแปรที่ผู้วิจัยไม่ได้มุ่งศึกษา แต่มีอิทธิพลต่อตัวแปรอิสระที่ทำให้เกิดผลต่อตัวแปรตามที่ต้องการศึกษา
การนิยามตัวแปร
การให้ความหมายของตัวแปรต่าง ๆ ที่เราจะศึกษาทุกตัวที่ปรากฏในวัตถุประสงค์ของการวิจัยหรือสมมติฐานการวิจัย
ซึ่งโดยมากจะนิยามเฉพาะ ตัวแปรอิสระกับ ตัวแปรตาม
กำหนดรายการตัวแปร
ต้องทำการกาหนดรายการตัวแปรของการวิจัยให้ได้ก่อนว่ามีตัวแปรอะไรบ้าง โดยพิจารณาจาก วัตถุประสงค์ของการวิจัย
หรือ สมมติฐานการวิจัยและอาจกาหนดตามประเภทของตัวแปร ได้แก่ ตัวแปรอิสระ ตัวแปรตาม หรือตัวแปรเกินเป็นต้น ว่าแต่ละประเภทมีตัวแปรใดบ้าง
นิยามตัวแปร
การนิยามตัวแปร จะต้องนิยามเฉพาะ ตัวแปรอิสระและ ตัวแปรตามโดยการนิยามตัวแปรอิสระจะมีประโยชน์ต่อผู้วิจัยในการจัดกระทากับตัวแปร ส่วนการนิยามตัวแปรตามจะมีประโยชน์ต่อการสร้างเครื่องมือวัดได้ตรงมากยิ่งขึ้น ตัวแปรสอดแทรก และตัวแปรเกิน เราจะไม่นิยาม แต่จะต้องนาไปพิจารณาในการออกแบบการวิจัย ที่จะควบคุมไม่ให้มีผลต่อตัวแปรตาม
สมมติฐาน
Hypothesis
ความหมายของสมมติฐาน
ข้อความคาดการณ์หรือพยากรณ์คาตอบ จากความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปร ตั้งแต่สองตัวขึ้นไป โดยอาศัยความรู้ หลักการอย่างมีเหตุผล เพื่ออธิบายข้อเท็จจริง หรือ พยากรณ์เหตุการณ์ หรือปรากฎการณ์นั้นๆ โดยที่ยังไม่มีการทดสอบความเป็นจริง
ประโยชน์ของสมมติฐาน
ช่วยให้ผู้วิจัย มีแนวความคิดเกี่ยวกับเรื่องที่วิจัยชัดเจน
ช่วยกำหนดขอบเขตของการวิจัย ทั้งเนื้อหา พื้นที่ เวลา และประชากรที่ได้ในการวิจัย
ช่วยบอกถึงข้อมูลที่จะนำมาใช้ในการวิจัย เช่น ลักษณะข้อมูล เครื่องมือการวิจัย
แนะแนวทางในการวิเคราะห์ข้อมูล สถิติที่ใช้ผู้วิจัยจะทราบได้ทันที ว่าจะใช้สถิติอะไร และวิเคราะห์ข้อมูล
ช่วยผู้วิจัยได้แนวทางในการเขียนผลงานวิจัยหรือคำตอบได้ชัดเจนขึ้น
การทดสอบสมมติฐานจะนำไปสู่การสร้างทฤษฎี
ประเภทของสมมติฐาน
สมมติฐานการวิจัย
1) สมมติฐานการวิจัยแบบมีทิศทาง
(directional hypothesis)
เป็นสมมติฐานที่ระบุอย่างชัดเจนถึงความแตกต่างระหว่างกลุ่มหรือระบุทิศทางของความสัมพันธ์
2) สมมติฐานการวิจัยแบบไม่มีทิศทาง (nondirectional hypothesis)
เป็นสมมติฐานที่ไม่กำหนดทิศทางของความแตกต่างหรือความสัมพันธ์
สมมติฐานทางสถิติ
1) สมมติฐานที่เป็นกลาง หรือสมมติฐานไร้นัยสำคัญ (null hypothesis)
เป็นสมมติฐานที่เขียนอธิบายความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปรในลักษณะที่ไม่มีความสัมพันธ์กัน หรือ คุณลักษณะไม่แตกต่างกัน
2) สมมติฐานอื่น หรือ สมมติฐานทางเลือก (alternative hypothesis)
เป็นสมมติฐานที่เขียนให้สอดคล้องกับสมมติฐานทางการวิจัยซึ่งอธิบายความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปรที่สัมพันธ์ หรือ คุณลักษณะที่แตกต่างกัน
แหล่งที่มาของสมมติฐาน
จากความรู้ความสามารถของผู้วิจัย
จากประสบการณ์ของผู้วิจัย
จากปรัชญาและความเชื่อ
จากการใช้หลักเหตุผล
จากทฤษฎี หลักการ และโครงสร้างต่างๆ
จากผลการวิจัยของคนอื่น
ลักษณะของสมมติฐานที่ดี
1) มีความเกี่ยวข้องกับปัญหา สัมพันธ์กับวัตถุประสงค์ของการวิจัย มีความชัดเจน ไม่คลุมเครือ
2) อ้างอิงข้อเท็จจริงที่สามารถพิสูจน์ได้ ทดสอบได้
3) มีความจำเพาะ ไม่กว้างเกินไปจะเกิดปัญหาในการเก็บและวิเคราะห์ข้อมูล
4) มีวิธีหรือเทคนิคทดสอบ (สมมติฐานดี น่าสนใจ แต่ไม่มีวิธีพิสูจน์ ก็ไม่มีประโยชน์ทางการวิจัย)
5) มีความเกี่ยวข้องเชื่อมโยงกับทฤษฎี หรือหลักแห่งเหตุผลในการอธิบาย
หลักการเขียนสมมติฐานการวิจัย
ตรวจสอบวัตถุประสงค์ของการวิจัยแต่ละข้อ
พิจารณาตัวแปรในวัตถุประสงค์ของการวิจัย
พิจารณาข้อความถึงความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปร
ลงมือเขียนสมมติฐานการวิจัยให้สอดคล้องกับวัตถุประสงค์ของการวิจัย
สมมติฐาน (Hypothesis) คือ คำตอบที่ผู้วิจัยคาดการณ์หรือพยากรณ์ไว้ล่วงหน้าอย่างมีเหตุผล สมมติฐานแบ่งอกเป็น 2 ประเภทสมมติฐานการวิจัยเป็นข้อความแสดงถึงความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปรสมมติฐานทางสถิติเป็นการเขียนอยู่ในรูปแบบโครงสร้างทางคณิตศาสตร์
กรอบแนวคิด
กรอบความคิดเชิงทฤษฎี
เป็นแบบจำลอง หรือ โมเดล (model)ที่แสดงโครงสร้างความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปร ทั้งหมด ที่เกี่ยวข้อง
ตามทฤษฎี ที่ผู้วิจัยยึดเป็นกรอบในการดำเนินการวิจัย
กรอบความคิดการวิจัย
เป็นกรอบความคิดที่ผู้วิจัยปรับมาจากกรอบความคิดเชิงทฤษฎี ด้วยการปรับลดตัวแปรโดยมีเหตุผลสนับสนุนการตัดสินใจ หรืออาจกล่าวได้ว่ากรอบความคิดการวิจัยหมายถึงแบบจาลองที่นักวิจัย สร้างขึ้น โดยใช้ทฤษฎีและผลการวิจัยในอดีต
ที่มาของกรอบความคิด
ทฤษฎีต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง
แนวความคิดของผู้วิจัย
ผลงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง
ประโยชน์ของกรอบความคิดการวิจัย
ทำให้ทราบว่าต้องเก็บข้อมูลหรือตัวแปรอะไร จากแหล่งใด
ทำให้ทราบถึงวิธีการหรือเครื่องมือที่จะใช้เก็บรวบรวมข้อมูล
ทำให้การออกแบบการวิจัยถูกต้อง
ทำให้เห็นแนวทางการวิเคราะห์ข้อมูล
ทำให้สามารถตีความหมายผลการวิเคราะห์ข้อมูลได้ถูกต้องสอดคล้อง
การเสนอกรอบความคิด
แบบแผนภาพ
แบบบรรยายความ
แบบผสม
แบบจำลอง หรือ แบบฟังก์ชันทางคณิตศาสตร์
นายวัฒนะ บุตรสุวรรณ์
รหัส 636322332-03