Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
ผู้ป่วย เพศหญิง อายุ 87 ปี แพทย์วินิจฉัย Cellulitis left leg - Coggle…
ผู้ป่วย เพศหญิง อายุ 87 ปี แพทย์วินิจฉัย Cellulitis left leg
Cellulitis left leg
คือ ภาวะติดเชื้อบริเวณผิวหนังหรือเนื้อเยื่อใต้ผิวหนัง ส่งผลให้มีอาการบวมแดง ปวด หรือร้อนบริเวณที่มีการติดเชื้อ บางรายอาจมีไข้หรืออาการอื่นๆ ร่วมด้วย แต่ในกรณีที่รุนแรง การติดเชื้ออาจแพร่กระจายสู่กระแสเลือดและเป็นอันตรายต่อชีวิตได้ ซึ่งภาวะนี้สามารถเกิดขึ้นได้ของทุกส่วนในร่างกาย แต่มักเกิดบริเวณขาโดยสาเหตุส่วนใหญ่มาจากการติดเชื้อแบคทีเรียที่อาจเข้าสู่ร่างกายผ่านรอยแผล รอยแตก หรือผิวหนังที่บอบบาง
อาการและอาการแสดง
มีไข้ รู้สึกอุ่นหรือร้อนบริเวณที่มีการติดเชื้อ
ข้อมูลผู้ป่วย : อุณหภูมิ 37.8 องศสเซลเซียส
มีอาการปวดกล้ามเนื้อภายใน 1-2 วันแรกที่เริ่มเกิดอาการ และเจ็บเมื่อถูกกดหรือสัมผัดตรงบริเวณนั้น
ข้อมูลผู้ป่วย : 5 ปีก่อน แขนขาเริ่มไม่มีแรง นอนติดเตียง การรับรู้เริ่มลดลง พูดคุยสับสน ต่อมาไม่พูด แต่ส่งเสียงร้องอืออาไม่เป็นคำ ไม่ได้ไปพบแพทย์ดูแลกันเองที่บ้าน
ข้อวินิจฉัย :เสี่ยงต่อการพลัดตกหกล้มและท้องผูก เนื่องจากญาติพร่องความรู้
เกิดรอยบุ๋มบริเวณผิวหนัง
เกิดแผล หรือมีผื่นขึ้นบริเวณที่เกิดอาการและอาจขยายตัวลุกลามไปอย่างรวดเร็ว
ข้อมูลผู้ป่วย : 2 วันก่อนมา รพ. มีแผลที่ขาซ้าย มีขนาดใหญ่ขึ้นและบวมแดงมากขึ้น ญาติจึงนำส่งโรงพยาบาล
ข้อวินิจฉัย : 1.มีภาวะแทรกซ้อน เนื่องจากแผลติดเชื้อและข้อติดแข็ง 2.มีภาวะติดเชื้อที่ขาซ้าย เนื่องจากcellulitis
สาเหตุ
เกิดจากการติดเชื้อแบคทีเรีย
สแตฟิโลค็อกคัส (Staphylococcus)
สเตรปโทคอกคัส (Streptococcus)
ปัจจัยเสี่ยง
เกิดแผลบริเวณผิวหนัง ทำให้แบคทีเรียเข้าสู่ร่างกายได้ เช่น มีรอยตัด รอยแตก แผลไฟไหม้ เป็นต้น
เป็นโรคผิวหนัง เช่น ผิวหนังอักเสบ น้ำกัดเท้า เป็นต้น
มีน้ำหนักมากเกินมาตรฐาน
มีประวัติเคยเป็น Cellulitis มาก่อน
ได้รับยาผ่านการฉีดเข้าเส้นเลือดดำโดยตรง
เป็นโรคตับ เช่น ตับแข็ง ตับอักเสบ เป็นต้น
มีปัญหาเกี่ยวกับระบบไหลเวียนโลหิต เช่น เลือดไปเลี้ยงแขนและขาไม่เพียงพอ เส้นเลือดขอด ระบบน้ำเหลืองไหลเวียนไม่ดี เป็นต้น
เป็นโรคหรือภาวะที่ส่งผลให้ระบบภูมิคุ้มกันต่ำ เช่น โรคเบาหวาน การใช้ยาบางชนิดที่อาจทำให้ภูมิคุ้มกันอ่อนแอ เป็นต้น
การรักษา
แพทย์จะให้ยาปฏิชีวนะชนิดรับประทานตามความรุนแรงของอาการ แรกเริ่มอาจให้รับประทานยาประมาณ 7-14 วัน แต่ผู้ป่วยที่มีอาการรุนแรงอาจต้องรับประทานยานานกว่านั้น โดยแพทย์จะคอยดูแลอาการควบคู่ไปด้วย ซึ่งผู้ป่วยมักมีอาการดีขึ้นหลังจากได้รับยาภายใน 2-3 วัน แต่หากอาการไม่ดีขึ้น มีปัญหาสุขภาพอื่น ๆ หรือมีไข้สูงร่วมด้วย ผู้ป่วยอาจต้องรับยาปฏิชีวนะชนิดฉีดเข้าเส้นเลือดโดยตรงพร้อมทั้งเข้ารักษาตัวที่โรงพยาบาล
ข้อมูลผู้ป่วย : ได้รับยา Myocilin 2mg. และ Dressing wound b.i.d