Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
ภาวะฉุกเฉินทางสูติศาสตร์, นางสาวนภัสรา ขุนจำนงค์ภักดิ์ 61102301055 D2,…
ภาวะฉุกเฉินทางสูติศาสตร์
การคลอดไหล่ยาก
การคลอดไหล่ยาก คือ ภาวะที่ภายหลังศีรษะทารกคลอดออกมาแล้ว บริเวณไหล่มีการติดแน่นที่บริเวณใต้รอยต่อกระดูกหัวเหน่า ทำให้ไม่สามารถคลอดส่วนของลำตัวทารกได้ตามวิธีการช่วยคลอดปกติ นับเป็นภาวะฉุกเฉินทางสูติกรรมที่อาจทำให้เกิดภาวะแทรกซ้อนแก่มารดาและทารกได้
อาการ
เมื่อเกิดภาวะคลอดไหล่ยาก อาการและอาการ แสดงที่สังเกตง่ายที่สุด คือ ภายหลังจากที่ศีรษะ ทารก แรกเกิดคลอดออกมาแล้ว ศีรษะทารกแรกเกิดจะมี ลักษณะหดสั้นเข้าไปชิดกับช่องทางคลอดคล้ายคอเต่า ที่เรียกว่า 'turtle sign' โดยไหล่ของทารกไม่สามารถคลอดออกมาได้ ไม่ว่าจะเป็นใหล่หน้า ใหล่หลัง หรือไหล่ทั้ง 2 ข้าง
วินิจฉัย
หลังแม่เบ่งศีรษะทารกเลื่อนกลับเข้าไปที่ฝีเย็บแม่คล้ายหลังเต่า Turtle sign
(คางแนบติดแน่นกับบริเวณปากช่องคลอด)
ขณะมดลูกหดรัดตัวเมื่อให้แม่ช่วยเบ่งแล้วไหล่บนไม่คลอดเพิ่ม
สาเหตุ
มารดาที่มีน้ำหนักเกินเกณฑ์ มีดัชนีมวลกาย มากกว่าหรือเท่ากับ 30 kg/m' หรือมีน้ำหนักเพิ่มขึ้น มากกว่า 20 กิโลกรัม ซึ่งอาจส่งผลให้ทารกแรกเกิด ในครรภ์มีขนาดใหญ่ (Fctal macrosomia) มีน้ำหนัก แรกเกิดเกินกว่า 4,000 กรัม และอาจมีภาวะเบาหวานระหว่างตั้งครรภ์ร่วมด้วย
การคลอดเร็วเกินไป มีภาวะเสี่ยงต่อการคลอด ไหล่ยาก เนื่องจากกลไกการหมุนของไหล่ภายในที่ระดับ pelvic brim เพื่อให้ไหล่อยู่ในแนวหน้า -หลังของทางออก ช่องเชิงกรานยังไม่เกิดขึ้น
ผู้คลอดที่มีระยะที่ 2 ของการคลอดยาวนานที่ ได้รับการช่วยคลอดด้วยเครื่องดูดสุญญากาศ หรือคีม เนื่องจากระยะที่ 2 ของการคลอดยาวนานเป็นสัญญาณ ของการคลอดยากหรือการผิดสัดส่วนระหว่างทารก แรกเกิดกับช่องเชิงกราน
ผู้คลอดมีประวัติการคลอดติดไหล่ และทารกมี ขนาดใหญ่ในครรภ์ก่อน
มารดาที่ผ่านการคลอดมาหลายครั้ง ความยืดหยุ่นของกล้ามเนื้อผนังหน้าท้องลดลง ปากมดลูกถูกยืดขยายมาแล้วหลายครั้ง มีโอกาสเกิด การคลอดเร็วเกิน ไป เสี่ยงต่อการเกิดภาวะคลอดไหล่ยาก ตามมาได้
5.มารดามีอายุมาก
แนวทางการรักษา
การพยาบาล
ทารก
ดูแลให้ได้รับความอบอุ่นเพื่อป้องกันภาวะBirth asphyxia
ประเมินร่างกายทารกว่ามีการได้รับบาดเจ็บหรือไม่
ประเมิน Apgar score และให้การช่วยเหลือเมื่อเกิด Birth asphyxia
ให้ออกซิเจนแก่ทารกอย่างเพียงพอด้วยการประเมินผ่าน Pule oximeter อย่างต่อเนื่อง
ประสานงานกับหน่วย NICU เพื่อส่งย้ายทารกไปรักษาอย่างต่อเนื่อง
ประสานกับกุมารแพทย์ เพื่อแจ้งกล่าวต่อมารดาและหรือญาติเพื่อรับทราบ และเข้าใจเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นและเพื่อให้มีส่วนร่วมต่อการตัดสินใจที่ได้รับ การดูแลรักษาทารกแรกเกิด
ระยะตั้งครรภ์
1.การซักประวัติ การตรวจร่างกาย และการประ เมินปัจจัยเสี่ยง โดยเฉพาะการตรวจครรภ์ซึ่งสามารถ ประเมินปัจจัยเสี่ยงต่อภาวะคลอดไหล่ยากได้จากขนาด หน้าท้องที่ไม่สัมพันธ์กับอายุครรภ์ และการคาดคะเน น้ำหนักทารกแรกเกิด เพราะเป็นข้อมูลที่จำเป็นสำหรับ การเตรียมตัวคลอดที่เหมาะสม ซึ่งแบบคัดกรอง ภาวะเสี่ยงต่อภาวะคลอดไหล่ยาก
ประวัติเคยคลอดไหล่ยากในครรภ์ก่อน
ประวัติเคยคลอดทารกน้ำหนักมากกว่าหรือเท่า กับ 4,000 กรัม
มารดาสูงน้อยกว่าหรือเท่ากับ 150 เซนติเมตร
มีภาวะเบาหวานในขณะตั้งครรภ์ทุกชนิด
5.น้ำหนักมารดาขึ้นในระหว่างการตั้งครรภ์ มากกว่าหรือเท่ากับ 20 กิโลกรัม ร่วมกับดัชนีมวลกาย มากกว่า30kg/m2
ดัชนีมวลกายมากกว่าหรือเท่ากับ35kgm
7.ตรวจครรภ์พบระดับยอดมดลูกมากกว่า อายุครรภ์ตั้งแต่ 3 เซนติเมตรขึ้นไป
ผลคาดคะเนน้ำหนักทารกในครรภ์ด้วย อัลตร้าซาวน์มากกว่าหรือเท่ากับ 4,000 กรัม
2.การอธิบายข้อมูลการคัดกรอง ความเสี่ยง แนวทางการ ป้องกัน และการรักษาพยาบาล แนะนำว่าควรทำร่วมกับทีม สหสาขาวิชาชีพ เพื่อเป็นการสื่อสารให้ทีม หญิงตั้งครรภ์ และครอบครัวได้รับทราบข้อมูลที่ตรงกัน และเป็นข้อมูล ที่ใช้ในการตัดสินใจ เพื่อการเตรียมตัวคลอดที่เหมาะสม พร้อมกันนี้ควรบันทึกข้อมูลลงในสมุดบันทึกสุขภาพ แม่และเด็กและเวชระเบียน เกี่ยวกับการคัดกรองภาวะเสี่ยง ให้ข้อมูลกับหญิงตั้งครรภ์และครอบครัว และการตัดสินใจเลือกวิธีการคลอดพร้อมทั้งหญิงตั้งครรภ์ และครอบครัวลงชื่อรับทราบข้อมูล เพื่อเป็นหลักฐาน
ระยะคลอด
1.แรกรับประเมินผู้คลอด ด้วยการตรวจครรภ์ ตรวจประเมิน ลักษณะเชิงกราน และช่องทางคลอด โดยเฉพาะช่องทาง เข้าเชิงกราน (Pelvic inlet) ช่องเชิงกรานส่วนกลาง (mid-pelvis/ pelvic cavity) และช่องทางออกเชิงกราน (pelvic outlet) ให้ข้อมูลเกี่ยวกับการคลอด ความเสี่ยง แนวทางการรักษาพยาบาล และภาวะแทรกซ้อนที่อาจ เกิดขึ้นในระยะคลอดพร้อมกับผู้คลอดและครอบครัวลงชื่อรับทราบ
การพยาบาลในระยะที่ 1 ของการคลอด พยาบาลผดุงครรภ์ควรประเมินความก้าวหน้าของ การคลอดด้วยกราฟความก้าวหน้าของการคลอด
ในขณะที่ทาคลอด พบว่าทำคลอดไหล่ตามปกติแล้วไม่คลอด ให้เปลี่ยนทพคลอดไหล่หลังก่อน ถ้ายังไม่คลอด ให้ปฏิบัติดังนี้
-ถ้ามีสายสะดือพันคอ ห้ามตัดสายสะดือ เพราะทารกจะขาดออกซิเจนทันที ถ้าช่วยคลอดไหลไม่ทันทารก อาจเสียชีวิต
-หยุดทำคลอดไหลไว้ก่อนรีบขอความช่วยเหลือจากผู้ที่อยู่ใกล้ที่สุด เช่น สูติแพทย์ กุมารแพทย์
-ระหว่างที่รอแพทย์ ให้การช่วยเหลือขั้นต้นด้วยวิธีของแมคโรเบิร์ท (McRobert maneuver) โดยให้ผู้คลอด ใช้มือจับบริเวณใต้ข้อพับเข่า แล้วดึงเข่าเข้ามาให้ชิดหน้าท้องให้มากที่สุด พร้อมกับออกแรงเบ่งเต็มที่ในขณะที่มดลูกหดรัด ตัว ขณะเดียวกันผู้ทำคลอดดึงศีรษะทารกลงข้างล่าง ไหล่หน้าอาจจะคลอดออกมาได้ เนื่องจากกระดูกสันหลังส่วนเอว และซาครัม (lumbosacral spine) เหยียดตรงขึ้น และกระดูกหัวเหน่าถูกยกให้สูงขึ้น ทำให้ใหล่หลังเคลื่อนเข้าช่องเชิง กรานได้ง่ายขึ้น เพราะจะหลุดจากกระดูกซาครัมและโพมอนทอรีของซาครัมที่ไหล่หลังติดขวางอยู่ ขณะเดียวกันไหล่หน้าที่ ติดอยู่ ที่กระดูกหัวเหน่าจะลอดผ่านใต้กระดูกหัวเหน่าออกมาได้ วิธีนี้ได้ผลประมาณร้อยละ 70 -80
-ถ้าใช้วิธีแมคโรเบิร์ทไม่ได้ผล จะใช้วิธีกดเหนือหัวเหน่า (suprapubic compression) ร่วมกับวิธีแมคโรเบิร์ท โดยมีผู้ช่วย 1 คน ใช้มือวางบริเวณเหนือหัวเหน่าตรงตำแหน่งไหล่หน้าแล้วกดลงไปทางด้านหลังและลงข้างล่าง ไหล่หน้าจะ ลอดผ่านใต้กระดูกหัวเหน่าออกมา
Rotation maneuver กรณีที่ใช้หัตถการข้างต้นช่วยคลอดไม่สำเร็จ อาจเป็น internal maneuvers ซึ่งมี 2 วิธี
1) Rubin maneuver หรือ reverse Woods'maneuver เป็นการใช้แรงผลักดันส่วนของไหล่บริเวณด้านหลัง ซึ่ง อาจเป็นไหล่หน้า หรือไหล่หลัง ให้เกิด adduction ทำให้ความกว้างของไหล่แนวหน้า-หลังลดลง ผู้ทำคลอดจึงใส่มือข้างหนึ่งเข้า ไปในช่องคลอดของผู้คลอดทางด้านหลังของไหล่ทารก และหมุนไหลไปทางด้านหน้าของทารก ซึ่งการหมุนหรือการสอดมือเข้าใน ช่องคลอดของผู้คลอดอาจทำได้ยาก ในกรณีที่ผู้คลอดไม่ได้รับยาสลบหรือไหล่ของทารกติดแน่นมาก ทำให้ไม่มีช่องว่างให้สอดนิ้ว ของผู้ทำคลอดได้
2) Woods corkscrew maneuver หัตถการที่นำเสนอมาก่อน Rubin maneuver โดยกลไก คือ ออกแรงดันที่ไหล่ หลังบริเวณกระดูกไหลปลาร้าของทารกให้หมุนทวนเข็มนาฬิกา จนกระทั่งไหล่หน้าหลุดออกจากใต้กระดูกหัวหน่าวของผู้ คลอด ผู้ทำคลอดควรออกแรงดึงลง (downward traction)
สังเกตเลือดที่ออกทางช่องคลอด ตลอดจนอาการของการเสียเลือดมาก ตรวจสอบดูการฉีกขาดของหนทาง คลอดอ่อน และเย็บซ่อมแซมให้ถูกวิธี
ให้การประคับประคองจิตใจผู้คลอด เพราะผู้คลอดมักจะตกใจกลัวต่อสถานการณ์ที่ไม่คาดคิดมาก่อน กลัวว่า ทารกจะได้รับอันตราย พยาบาลต้องอยู่เป็นเพื่อนผู้คลอดตลอดเวลา อธิบายการรักษาพยาบาลที่ได้รับ ถ้าทารกมีอาการดีขึ้น แล้ว รีบนำมาให้ผู้คลอดได้มีปฏิสัมพันธ์ เพื่อส่งเสริมสายใยผูกพัน
ระยะหลังคลอด
ด้านร่างกาย สิ่งที่ต้องเฝ้าระวังมากที่สุด คือ ภาวะตกเลือดหลังคลอด เนื่องจากมดลูกอ่อนล้า และ การ หดรัดตัวของมดลูกไม่ดี การติดเชื้อ จากระยะเวลา การคลอดยาวนาน และหัตถการต่างๆ เพิ่มโอกาสของ การติดเชื้อที่โพรงมดลูก ช่องทางคลอด และแผลฝีเย็บอย่างใกล้ชิด โดยเฉพาะในช่วง 24 ชั่วโมงแรกหลังคลอด ต้องเฝ้าระวัง และบันทึกสภาพทางร่างกาย สัญญาณชีพ ประเมินการหดรัดตัวของมดลูก ระดับยอดมดลูก กระเพาะปัสสาวะ เลือดที่ออกจากโพรงมดลูก แผลฝีเย็บ และช่องทางคลอด
• ด้านจิตใจ เปิดโอกาสให้มารดา และครอบครัวได้ระบายความรู้สึก และซักถามข้อสงสัย ควรให้กำลังใจ ชมเชยและให้คำแนะ นำในการดูแลตนเองในระยะหลังคลอด และการดูแล ทารกแรกเกิดให้กับมารดาหลังคลอด และครอบครัว
ผลต่อผู้คลอดและทารก
สายสะดือถูกกดทับอยู่ระหว่างลำตัวทารกกับกระดูกช่องเชิงกราน ทำให้ทารกขาดออกซิเจน และเสียชีวิตได้ ถ้าช่วยเหลือไม่ทันภายใน 7 - 8 นาที
ทารกได้รับอันตรายจากการคลอดเช่น เกิดอัมพาตของแขน (brachial plexus palsy or Erb's syndro me) จากการดึงหรือกดศีรษะไปทางด้านหลังมากๆ อาจเกิดกระดูกแขนหัก กระดูกไหปลาร้าหัก กระดูกต้นคอ เคลื่อนหรือหัก กล้ามเนื้อคอฉีกขาด
เกิดการชอกช้ำและฉีกขาดของหนทางคลอดอ่อน เช่น ผีเย็บ ปากช่องคลอด ผนังช่องคลอด กระเพาะปัสสาวะ ท่อปัสสาวะ ทวารหนัก
มดลูกปลิ้น (Inversion of Uterus)
มดลูกปลิ้น คือ ภาวะที่มดลูกปลิ้นกลับเอาผนังด้านในออกมาอยู่ด้านนอกเกิดขึ้นภายหลังจากทารกคลอดอาจเกิดขึ้นอย่างปัจจุบันในระยะที่3ของการคลอดหรือทันทีหลังจากรกคลอด
ซึ่งมี3ชนิด
มดลูกปลิ้นแบบสมบูรณ์ (complete inversion) มดลูกปลิ้นโดยส่วนที่ปลิ้นพ้นปากมดลูก
มดลูกปลิ้นแบบสมบูรณ์และเคลื่อนต่ำลงมานอกปากช่องคลอด (Prolapsed of inverted
uterus)
มดลูกปลิ้นแบบไม่สมบูรณ์ (Incomplete inversion) มดลูกปลิ้นโดยส่วนที่ปลิ้นยังไม่พ้นปาก มดลูก
พยาธิสภาพ
เมื่อเกิดการปลิ้นของมดลูกภายหลังทารกคลอดหรือภายหลังรกคลอดแล้ว ปากมดลูกและมดลูก ส่วนล่างจะมีการหดรัดตัว เป็นวงแหวนล้อมรอบส่วนของมดลูกที่หย่อนตัวลงมา ทำให้บริเวณที่ถูกรัดไว้นั้นขาดเลือดไปเลี้ยงเกิดการบวมและมีเนื้อตายในที่สุดเนื้อตายนั้นจะหลุดออกมา
อาการ
จะมีอาการปวด ช็อก ตกเลือดทางช่องคลอดอย่างเฉียบพลัน และมีอาการปวดท้องอย่างรุนแรง ถ้ารกยังไม่ลอกตัว หรือรกติดแน่นถ้าแก้ไขไม่ทันผู้คลอดอาจเสียชีวิต
ในรายที่เรื้อรังผนังเยื่อบุมดลูกจะแห้ง และเป็นแผลทำให้เกิดตกขาว เลือดออกกะปริบกะปรอย อาจมีอาการปวดหลังถึงอุ้งเชิงกราน และถ่ายปัสสาวะขัดหรือรู้สึกถ่วงที่ช่องคลอด
ยอดมดลูกเป็นแอ่งคล้ายภูเขาไฟ หรือไม่พบยอดมดลูก
สาเหตุ
มีพยาธิสภาพที่มดลูก , การทำคลอดรกไม่ถูกวิธี ,เพิ่มแรงดันภายในช้องท้องอย่างรวดเร็วและ รุนแรงอาการและอาการแสดง มีเลือดออกทางช่องดคลอดและมีอาการปวดหรือช็อกร่วมด้วย ,พบยอดมดลูกเป็นแอ่งคล้ายปล่องภูเขาไฟ ,ตรวจภายในจะคลำได้ก้อนเนื้อบริเวณปากมดลูก ช่องคลอดหรือก้อนโผล่ออกมานอกช่องคลอด
แนวทางการรักษา
การพยาบาล
การป้องกัน การทำคลอดรกต้องทำอย่างถูกวิธี ควรรอให้รกลอกตัวก่อนแล้วจึงคลึงมดลูกให้แข็งตัวก่อนแล้วจึงดันที่บริเวณ กั้นมดลูกเพื่อทำคลอดรก หลีกเสี่ยงการทำคลออีกโดยวิธีตึงสายสะตือ เมื่อมดลูกหย่อนตัวและรกลอกตัวไม่หมด
ให้ยาระงับปวด เช่น มอร์ฟิน และแก้ไขภาวะช็อกให้เลือดทดแทน
ระวังการตกเลือดหลังคลอด และการปลิ้นซ้ำ
ให้ยาป้องกันการติดเชื้อ และยาธาตุเหล็ก รักษาภาวะโลหิตจาง
ในรายที่เลือดออกมาก ควบคุมไม่ได้ จำเป็นต้องตัดมตลูกทิ้ง
ดันมดลูกที่ปลิ้นกลับเข้าที่ หลังจากแก้ใขภาวะช็อค และให้ผู้ป่วยดมยาสลบ ล้วงรกออกแล้วฉีดยากระตุ้นให้มดลูกหดรัดตัว ในรยาที่ไม่สามารถดันมดลูกกลับได้ จะต้องผ่าตัดเพื่อดึงกันมดลูกกลับที่เดิม
การวินิจฉัย
เลือดออกมากทางช่องคลอดภายหลังเด็กคลอดแล้ว ยกเว้นในรายที่รกเกาะติดแน่นที่ผนังมดลูก
เจ็บปวดมาก มีอาการปวดที่บริเวณท้องน้อยอย่างรุนแรง
ช็อดเนื่องจากรังไข่ ปีกมดลูก broad igament ถูกดึงรั้ง ถูกกด และเนื่องจากเสียเลือดจะพบชีพจรเร็ว ความดันโรหิตต่ำ ซีด
คลำทางหน้าท้องจะไม่พบยอดมดลูก ในรายที่มดลูกปลิ้นบางส่วน จะพบรอยบุ๋ม
พบผนังมดลูกด้านเยื่อบุมดลูกด้านในโผล่พ้นปากมดลูกออกมาอยู่ในช่องคลอด หรือโผล่พ้นปากช่องคลอดออกมา ในราย ที่มดลูกปลิ้นบางส่วน จะคลำผนังมดลูก เยื่อบุมดลูกด้านในที่บริเวณปากมดลูก
ผลต่อทารก
ทำให้ทารกได้รับความอบอุ่นจากมารดา ล่าช้า รวมถึงการ สร้างเสริมสัมพันธภาพ ระหว่างมารดาและทารกล่าช้า
ผลต่อมารดา
จะเกิดภาวะแทรกซ้อนจากภาวะมดลูกปลิ้น คือ เลือดออก อย่างรุนแรง เจ็บปวดมาก หรือช็อค จากการเสียเลือด และอาจเป็นอันตรายถึงขั้นเสีย ชีวิตได้
รกค้าง
Retention of Placenta
รกค้าง คือ รกค้างหรือรกไม่คลอด ตามปกติจะคลอดภายในเวลา 10-15นาที แต่ถ้ารกไม่คลอดในเวลาเลือดจะไหลอยู่เรื่อยๆ อาจทำให้ช็อกหรือเสียชีวิตได้
ชนิดของภาวะรกค้าง
Placenta adherents
ภาวะที่รกเกาะติดแน่นกับผนังมดลูก
Placenta accreta
รกจะฝังติดบริเวณผิวของมดลูก
Placenta increta
รกจะฝังติดบริเวณกล้ามเนื้อมดลูก
Placenta percreta
รกฝังติดบริเวณ แนวของกล้ามเนื้อ
อาการ
3.มีเลือดออกกระปริบกระปรอยทางช่องคลอด
1.มดลูกหดรัดตัวไม่ดีส่งผลให้เลือดตกค้างในมดลูกมาก คือภาวะตกเลือดหลังคลอด
4.น้ำคาวปลามีกินเหม็น
2.เกิดอาการปวดท้องน้อยเนื่องจากมดลูกพยายามบีบตัวขับไล่สิ่งแปลกปลอม และ อาจทำให้เกิดการอักเสบของโพรงมดลูกได้
แนวทางการรักษา
การพยาบาล
1.ถ้ายังอยู่ที่โรงพยาบาลและมีอาการปวดท้องมากให้รีบแจ้งพยาบาลทันที หรือถ้ากลับบ้านไปแล้วและมีอาการ
เลือดออกให้รีบมาพบคุณแพทย์ ไม่ต้องรอวันนัด
การรักษารกค้าง คือ การล้วงรก โดยกรณีหลังคลอด 30 นาทีไปแล้วแต่รกยังไม่คลอดออกมา แพทย์จะรักษาโดยการสวม
ถุงมือทางการแพทย์ แล้วยื่นมือเข้าไปในโพรงมดลูก เพื่อล้วงเอารกออกมาป้องกันการตกเลือดหลังคลอด
การล้วงรก
1.การเตรียมเครื่องมือและอุปกรณ์
1.ถุงมือยาวถึงข้อศอกปราศจากเชื้อ 2คู่ เสื้อคลุมและผ้าช่องสะอาดปราศจากเชื้อ
อุปกรณ์สำหรับ general anesthesia, endotracheal tube, oxygen, nitrous oxide, halothane
เตรียมเลือดเต็มส่วน (whole blood) อย่างน้อย 2 ยุนิต และเตรียมพร้อมที่จะให้ได้ทันที
เตรียมผู้คลอด
1.จัดท่าผู้คลอดอยู่ในท่า Iithotomy และบอกผู้ป่วยทราบสาเหตุที่ต้องล้วงรก และชั้นตอนในการล้วงรก
2.ให้สารน้ำทางหลอดเลือดดำ ควรเป็น IRS 1,000 mL IV drip ด้วยอัตราที่เหมาะสมทดแทนเลือดที่เสีย ไป และขึ้นกับ vital sign ของผู้ป่วยถ้าเสียเลือดมากอาจเปิดเส้น 2 เส้น เตรียมพร้อมนำเลือดมาให้
3.ตรวจวัดความดันโลหิต และชีพจรเป็นระยะๆ ขณะปฏิบัติหัตถการ
4.ทำความสะอาดอวัยวะเพศภายนอกใหม่อีกครั้งหนึ่ง และคลุมผ้าช่องเปิดไว้เฉพาะบริเวณ
ปากช่องคลอด
การเตรียมผู้ทำ
1.ผู้ทำสวมหมวก mask ล้างมือด้วยน้ำยาฆ่าเชื้อ สวมเสื้อสะอาดปราศจากเชื้อ
ถ้าใส่ถุงมือสั้นที่ทำคลอดอยู่แล้วให้เปลี่ยนมาใส่ถุงมือยาวถึงข้อศอก
ขั้นตอนการล้วงรก
1.สวนปัสสาวะ
ถามวิสัญญีแพทย์ว่าจะทำหัตถการได้หรือยัง
ใช้น้ำยาฆ่าเชื้อทำความสะอาดสายสะดือ
ใช้มือข้างที่ไม่ถนัดตรึงสายสะดือไว้ อีกมือหนึ่งตามสายสะดือเข้าไปในโพรงมดลูก โดยห่อมือเป็นรูปกรวย เมื่อเข้าไปถึงโพรงมดลูกแล้วย้ายมือข้างที่จับสายสะดือมาวางไว้ที่หน้าท้อง และจับยอดมดลูกตรึงไว้เพื่อให้อยู่กับที่ ใช้มือ ข้างที่อยู่ในโพรงมดลูกคลำหาขอบรก เมื่อพบขอบรกแล้วใช้สันมือทางด้านนิ้วก้อย (ไม่ใช้ปลายนิ้วตะกุย) เซาะรกแยกจาก ผนังโพรงมดลูกจนรกหลุดทั้งอัน แล้วจึงดึงรกออกมาทั้งหมดทีเดียว ถ้าเซาะไม่ได้ให้หยุด อย่าพยายามดึงเซาะแยกออกมา เนื่องจากจะทำให้เสียเลือดมากได้ ให้ตามแพทย์เวรมาโดยด่วน
การตรวจรกหลังคลอด
ตรวจโพรงมดลูกซ้ำ โดยสอดมือเข้าไปในมดลูกซ้ำอีกครั้ง มือข้างที่ไม่ถนัดตรึงมดลูกทางหน้าท้อง มือที่อยู่ ในโพรงมดลูกคลำให้ทั่วว่ามีส่วนของรกค้างหรือมีการฉีกขาดของมดลูกหรือไม่ อาจใช้ sterle gauze พันปลายนิ้วชี้และ นิ้วกลางและนิ้วนางเช็ดโพรงมดลูก ระวังอย่าให้ gauze ตกด้างอยู่ในโพรงมดลูก
2.แจ้งวิสัญญีแพทย์ว่าสิ้นสุดหัตถการแล้ว
3.ป้องกันการตกเลือดโดย คลึงมดลูกให้แข็งตัว และให้ยาช่วยการหดรัดตัวของมดลูก
4.ตรวจรกและเยื่อหุ้มเด็กให้ถี่ถ้วนอีกครั้งหนึ่ง
วัดความดันโลหิต ชีพจร และตรวจดูอาการทั่วไปจนผู้คลอดรู้สึกตัวดี
5.ตรวจช่องทางคลอด รวมทั้งปากมดลูก ถ้ามีการฉีกขาดต้องเย็บซ่อมให้เรียบร้อย
ให้ยาปฏิชีวนะ
หากมีเศษรกบางส่วนค้างอยู่ในโพรงมดลูกบางส่วน ภายหลังคลอดมักจะมีการอักเสบในโพรงมดลูกร่วมด้วย การรักษาจะ
เป็นการให้ยาปฏิชีวนะร่วมกับการขูดมดลูกเพื่อเอารกที่ค้างออก
4.ในครรภ์ต่อๆไปรกค้างอาจเกิดขึ้นได้อีกเพราะการขูดมดลูกจากที่มีรกค้างในครรภ์ก่อนทำให้เกิดแผลที่ผนังโพรงมดลูกได้เยื่อบุโพรงมดลูกบริเวณนั้นจะบางหรือหายไปเลยเหลือเป็นชั้นกล้ามเนื้อมดลูกหากรกมาเกาะบริเวณนี้ยิ่งทำให้รกเกาะลึกและไม่ลอกเกิดเป็นรกค้างอีกได้
ผลต่อมารดา
ตกเลือดหลังคลอด เนื่องจากรกไม่ลอกตัว และมดลูกหดรัดตัวไม่ดี
เกิดการติดเชื้อหลังคลอดได้ เนื่องจากชิ้นส่วนของรกตกค้างภายใน โพรงมดลูก หรือจากการล้วงรก
มีภาวะเสี่ยงสูงต่อการถูกตัดมดลูกทิ้ง เนื่องจากรกฝังตัวลึกกว่าปกติ
ผลต่อทารก
ทารกได้รับความอบอุ่นจากมารดาล่าช้า
การเสริมสร้างสัมพันธภาพระหว่างมารดาและทารกล่าช้า
สาเหตุ
การขาดกลไกการลอกตัว
รกปกติ แต่มดลูกไม่มีการหดรัดตัว รกจึงไม่ลอกตัวหรือลอกตัวได้ไม่ สมบูรณ์
รกผิดปกติ ถึงแม้มดลูกจะมีการหดรัดตัวได้ดีตามปกติ แต่รกไม่สามารถ ลอกออกมาได้เนื่องจากภาวะรกติด
(placenta adherens)
การขาดกลไกการขับดัน ให้รกที่ลอกตัวแล้วผ่านออกมาภายนอก
รกลอกตัวแล้วแต่ไม่อาจผ่านออกมาจากโพรงมดลูกส่วนบนได้
รกลอกตัวแล้ว และผ่านโพรงมดลูกออกมาอยู่ในช่องคลอด
นางสาวนภัสรา ขุนจำนงค์ภักดิ์
61102301055 D2