Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
Gall Stone with Acute Cholecystitis นิ่วในถุงน้ำดี ถุงน้ำดีอักเสบเฉียบพลัน…
Gall Stone with Acute Cholecystitis นิ่วในถุงน้ำดี ถุงน้ำดีอักเสบเฉียบพลัน
นิ่วในถุงน้ำดี
เกิดจากภาวะไม่สมดุลของสารประกอบในน้ำดี ซึ่งเมื่อมีนิ่วเกิดขึ้นแล้ว อาจมีอาการตั้งแต่ ท้องอืด อาหารไม่ย่อย บางครั้งนิ่วไปอุดท่อถุงน้ำดี ทำให้มีอาการปวดแบบปวดดิ้น หรือถ้านิ่วตกลงไปอุดท่อน้ำดีใหญ่ จะทำให้มีอาการตัวเหลืองตาเหลือง ในบางรายอาจตรวจพบนิ่วในถุงน้ำดีแต่ไม่มีอาการ
อาการแสดง
ผู้ที่มีนิ่วในถุงน้ำดี อาจไม่มีอาการเลย หรือมีอาการบางอย่างโดยไม่จำเป็นต้องมีครบทุกอาการ
ท้องอืด
แน่นท้องหลังรับประทานอาหาร โดยเฉพาะอาหารที่มีไขมันมาก
ปวดท้องใต้ชายโครงขวาเป็นครั้งคราว
ปวดท้องรุนแรง และปวดร้าวไปถึงสะบักด้านขาว
ไข้สูงเฉียบพลัน ถ้ามีการอักเสบของถุงน้ำดีอย่างเฉียบพลัน
ตัวเหลือง ตาเหลือง ปัสสาวะสีเข้ม
สาเหตุ มี 3 ชนิด
นิ่วในถุงน้ำดีชนิดที่เกิดจากคอเลสเตอรอล ซึ่งเป็นชนิดที่พบมากที่สุด มักมีลักษณะเป็นก้อนสีขาว เหลือง หรือเขียว และนิ่วในถุงน้ำดีมักจะประกอบด้วยคอเลสเตอรอลที่ไม่ถูกละลายไปและอาจมีส่วนประกอบของสารอื่น ๆ
นิ่วในถุงน้ำดีชนิดเม็ดสี ก้อนนิ่วชนิดนี้จะมีขนาดเล็ก มีสีคล้ำเป็นสีน้ำตาลหรือดำ และมีความแข็งน้อยกว่าชนิดที่เกิดจากคอเลสเตอรอล
Black pigment stone หรือ Black stone เป็นนิ่วที่มีสีน้ำตาลเข้มจนถึงดำ มีความแข็ง เปราะ ผิวไม่เรียบ มักพบเป็นก้อนเล็กหลายก้อน
Brown pigment stone หรือ Calcium bilirubinate stone เป็นนิ่วที่มีสีน้ำตาลจนถึงสีน้ำตาลเข้ม มีลักษณะเป็นเหลี่ยม ๆ พบได้ทั้งเป็นก้อนเดี่ยว ๆ และหลายก้อนพร้อมกัน
นิ่วในถุงน้ำดีชนิดผสม (Mixed gallstones) เป็นนิ่วที่มีส่วนผสมของสารหลายชนิดร่วมกัน เช่น คอเลสเตอรอล สารบิลิรูบิน และเกลือแคลเซียมชนิดต่าง ๆ
ปัจจัยเสี่ยงต่อการเกิดนิ่วในถุงน้ำดี
เป็นโรคเบาหวาน ผู้ป่วยอาจมีระดับไตรกลีเซอไรด์สูงและถุงน้ำดีจะบีบตัวไม่ได้ไม่ดีนักในผู้ที่มีน้ำตาลในเลือดสูง จึงเสี่ยงต่อการเกิดนิ่วในถุงน้ำดีได้
ใช้ยาลดคอเลสเตอรอล เพราะยาบางตัวอาจเพิ่มจำนวนตอเลสเตอรอลในน้ำดี ซึ่งอาจเพิ่มโอกาสให้เกิดนิ่วในถุงน้ำดีได้
ใช้ยาคุมกำเนิด ใช้ฮอร์โมนทดแทนในการบำบัดสำหรับผู้ที่มีอาการวัยหมดประจำเดือนหรือผู้ที่ตั้งครรภ์
น้ำหนักตัวลดลงอย่างรวดเร็ว ซึ่งทำให้ตับผลิตคอเลสเตอรอลออกมามากเกิน
ภาวะอ้วน เป็นปัจจัยเสี่ยงที่มีผลมากเพราะผู้ที่เป็นโรคอ้วนอาจมีระดับคอเลสเตอรอลในน้ำดีสูงและทำให้ถุงน้ำดีขับออกได้ไม่ดีพอ
พันธุกรรม หากคนในครอบครัวเป็นโรคนิ่วในถุงน้ำดีทำให้เสี่ยงเป็นโรคนี้มากขึ้น
มีภาวะเม็ดเลือดแดงแตกเรื้อรัง (เช่น ธาลัสซีเมีย) ซึ่งจะทำให้มีสารบิลิรูบินในน้ำดีสูงขึ้น สารนี้จึงตกตะกอนในถุงน้ำดีได้มากขึ้น จึงเกิดเป็นนิ่วได้สูงขึ้น
มีการอักเสบติดเชื้อของทางเดินน้ำดีเรื้อรัง เพราะจะส่งผลให้การบีบตัวของถุงน้ำดีลดลง
ภาวะแทรกซ้อนของนิ่วในถุงน้ำดี
ถุงน้ำดีอักเสบ เกิดจากก้อนนิ่วที่ติดอยู่ในท่อถุงน้ำดี อาจทำให้เกิดอาการปวดรุนแรง เป็นไข้ และตัวเหลือง ตาเหลือง
ท่อน้ำดีอักอักเสบ เกิดจากก้อนนิ่วเข้าไปปิดกั้นท่อน้ำดี ซึ่งเป็นทางที่น้ำไหลผ่านจากถุงน้ำดีหรือตับสู่ลำไส้เล็ก อาจทำให้เป็นดีซ่านและเกิดการติดเชื้อในท่อน้ำดี
ตับอ่อนอักเสบ จากก้อนนิ่วปิดกั้นท่อของตับอ่อน ทำให้เกิดอาการปวดท้องรุนแรงและตลอดเวลา และมักต้องรักษาอย่างทันท่วงที
มะเร็งท่อน้ำดี ผู้ที่มีประวัติเป็นนิ่วในท่อน้ำดีมักเสี่ยงเป็นมะเร็งท่อน้ำดีเพิ่มขึ้น แต่พบได้น้อยมาก
ติดเชื้อในกระแสเลือด หากมีถุงน้ำดีอักเสบ ท่อน้ำดีอักเสบ หรือตับอ่อนอักเสบ อาจเป็นเหตุให้ผู้ป่วยติดเชื้อในกระแสเลือดและเสียชีวิตได้
การวินิจฉัย
การตรวจเลือดดูการทำงานของตับ
การทำอัลตราซาวนด์ช่องท้องส่วนบน
การซักประวัติอาการและการตรวจร่างกาย
การส่องกล้องตรวจรักษาท่อน้ำดีและตับอ่อน
การใช้เข็มเจาะผ่านตับเข้าไปในท่อน้ำดี จะทำในกรณีท่อน้ำดีอุดตัน
การรักษานิ่วในถุงน้ำดี
ไปพบแพทย์ ถ้ามีอาการปวดท้องที่ชวนให้น่าสงสัยว่าเป็นนิ่วในถุงน้ำดี ควรไปตรวจที่โรงพยาบาลภายใน 1-2 สัปดาห์ หรือรีบไปพบแพทย์ภายใน 24 ชั่วโมง หรือไปพบแพทย์เป็นการฉุกเฉินขึ้นอยู่กับความรุนแรงของอาการ หลังจากพบแพทย์ การดูแลตนเองของผู้ป่วยให้ขึ้นอยู่กับคำแนะนำของแพทย์
การรักษาประคับประคองตามอาการ เช่น ถ้ามีอาการท้องอืดท้องเฟ้อให้กินยาลดกรด หรือยาแก้ท้องอืดท้องเฟ้อ
การใช้ยาละลายนิ่วในถุงน้ำดี มักไม่ค่อยได้ผล ใช้ได้เฉพาะกับนิ่วบางชนิด
การใช้วิธีสลายนิ่วด้วยคลื่นเสียงความถี่สูง เป็นการใช้คลื่นเสียงกระแทกนิ่วให้แตกหลังการทำผู้ป่วยอาจมีอาการปวดท้อง และมีอัตราสำเร็จต่ำ
การผ่าตัดเอาถุงน้ำดีออก เป็นการแก้ปัญหาอย่างถาวรเพื่อไม่ให้เกิดนิ่วในถุงน้ำดีขึ้นอีกต่อไป และป้องกันภาวะแทรกซ้อนรุนแรงต่าง ๆ ได้
การผ่าตัดถุงน้ำดีแบบเปิดหน้าท้อง ซึ่งเป็นวิธีการผ่าตัดแบบเดิม ในปัจจุบันแพทย์จะเลือกใช้ในการผ่าตัดถุงน้ำดีที่มีอาการอักเสบมากหรือแตกทะลุในช่องท้อง
การผ่าตัดถุงน้ำดีโดยการส่องกล้อง ซึ่งเป็นวิธีการผ่าตัดแบบใหม่และได้กลายเป็นการรักษามาตรฐานเพื่อรักษาภาวะนิ่วในถุงน้ำดีมานานแล้ว
รอเวลาที่เหมาะสม ในผู้ป่วยที่เป็นนิ่วในถุงน้ำดีที่ยังไม่มีอาการแสดงอะไรเลย แต่ตรวจพบโดยบังเอิญในขณะที่ตรวจรักษาโรคอื่น อาจจะยังไม่จำเป็นต้องรีบทำการผ่าตัด เนื่องจากมักเป็นนิ่วก้อนเล็กและอยู่ลึกที่ก้นถุงน้ำดี ซึ่งจะไม่ก่ออันตรายแก่ผู้ป่วย
การส่องกล้องตรวจรักษาท่อทางเดินน้ำดีและตับอ่อน ในกรณีที่ผู้ป่วยมีนิ่วในท่อน้ำดีร่วมด้วย เพื่อเอานิ่วที่อยู่ในท่อน้ำดีออกมา
ถุงน้ำดีอักเสบเฉียบพลัน
การอักเสบ (บวม) ของถุงน้ำดี มักเกิดจากนิ่วที่ติดอยู่ในท่อหรือช่องเปิดของถุงน้ำดีอาการที่พบบ่อยที่สุดของถุงน้ำดีอักเสบเฉียบพลัน ได้แก่อาการปวดอย่างรุนแรงรุนแรงและคงที่ในช่องท้อง นับว่าร้ายแรงและต้องเข้ารับการรักษาที่โรงพยาบาลเท่านั้น
อาการที่พบบ่อย
ปวดอย่างรุนแรงรุนแรงและคงที่ในช่องท้องด้านขวาบน (ท้อง) ซึ่งอาจแย่ลงเมื่อหายใจเข้าลึก ๆ หรือสัมผัสกับช่องท้อง
อุณหภูมิสูงหรือมีไข้ :38 ºC ขึ้นไป
คลื่นไส้ อาเจียน
เบื่ออาหาร
ผิวเหลืองและตาขาว
สาเหตุ
ถุงน้ำดีอักเสบจากนิ่ว
เป็นสาเหตุของโรคถุงน้ำดีอักเสบเฉียบพลันที่พบได้บ่อยที่สุด และมักจะไม่ร้ายแรง
ถุงน้ำดีอักเสบจากสาเหตุอื่น
พบได้ไม่บ่อยเท่าภาวะที่เกิดจากนิ่ว แต่จะทำให้เกิดโรคถุงน้ำดีอักเสบเฉียบพลันที่มีความร้ายแรงมากกว่า ภาวะนี้ยังก่อให้เกิดภาวะเจ็บป่วย ภาวะติดเชื้อ หรือการบาดเจ็บอื่น ๆได้
ปัจจัยเสี่ยงต่อการเกิดถุงน้ำดีอักเสบเฉียบพลัน
วัยกลางคนเนื่องจากอัตราของถุงน้ำดีอักเสบเฉียบพลันสูงที่สุดในผู้ที่มีอายุ 40 ถึง 60 ปี
ผู้หญิงมีแนวโน้มที่จะเป็นโรคถุงน้ำดีอักเสบเฉียบพลันมากกว่าผู้ชายถึง 3 เท่าแม้ว่าอาการจะรุนแรงกว่าในผู้ชายก็ตาม
มีน้ำหนักตัวมากเกินไป (เป็นโรคอ้วน) โดยมีดัชนีมวลกายตั้งแต่ 30 ขึ้นไป
การตรวจร่างกาย
การตรวจเลือด
เพื่อดูว่าคุณมีจำนวนเม็ดเลือดขาวในเลือดสูงกว่าปกติหรือไม่ จำนวนเม็ดเลือดขาวที่เพิ่มขึ้นมักเป็นสัญญาณของการอักเสบในร่างกาย
การสแกนอัลตราซาวนด์
การตรวจร่างกาย
ทำการทดสอบง่ายๆที่เรียกว่า Murphy’s sign แพทย์จะใช้มือหรือนิ้วคลำบริเวณท้องส่วนขวาบนและให้ผู้ป่วยหายใจเข้า หากมีอาการเจ็บแสดงว่าถุงน้ำดีอาจอักเสบ
การทดสอบอื่น ๆ ที่อาจทำได้
การสแกนเอกซเรย์ช่องท้องหรือเอกซเรย์คอมพิวเตอร์ (CT) ซึ่งใช้รังสีเอกซ์และคอมพิวเตอร์เพื่อสร้างภาพภายในร่างกายโดยละเอียด
การสแกนภาพด้วยคลื่นสนามแม่เหล็ก (MRI) ซึ่งใช้สนามแม่เหล็กแรงสูงและคลื่นวิทยุเพื่อสร้างภาพที่มีรายละเอียดของภายในร่างกาย
การสแกนภาพด้วยคลื่นสนามแม่เหล็กด้วย ซึ่งอาจดำเนินการได้หากคิดว่านิ่วในถุงน้ำดีอาจเคลื่อนจากถุงน้ำดีเข้าไปในท่อน้ำดีและทำให้เกิดการอุดตัน
การรักษา
การผ่าตัดถุงน้ำดี
การผ่าตัดถุงน้ำดีแบบส่องกล้อง
เป็นการผ่าตัดถุงน้ำดีชนิดที่นิยมใช้มากที่สุด
การผ่าตัดถุงน้ำดีแบบเปิด
การผ่าตัดถุงน้ำดีแบบเปิดหน้าท้อง ซึ่งเป็นวิธีการผ่าตัดแบบเดิม ในปัจจุบันแพทย์จะเลือกใช้ในการผ่าตัดถุงน้ำดีที่มีอาการอักเสบมากหรือแตกทะลุในช่องท้อง
ยาปฏิชีวนะ
ฉีดยาปฏิชีวนะเข้าหลอดเลือดดำ มีการใช้ยาปฏิชีวนะในวงกว้างซึ่งสามารถฆ่าแบคทีเรียหลายชนิดได้
พยาธิภาพ
เมื่อเกิดนิ่วที่ถุงน้ำดี ทำให้น้ำดีค้างในถุงน้ำดีซึ่งระคายเคืองผนังในถุงน้ำดี ทำให้เกิดการอักเสบ อุดตัน น้ำดีออกจากถุงน้ำดีไม่ดี จึงเกิดการบีบตัวอย่างรุนแรง ทำให้ปวดท้องแบบบิดคลื่นไส้อาเจียน นอกจากนี้จะทำให้มีความดันโลหิตสูง มีการอุดกั้นทางเดินของน้ำดี มีอาการแสดงของดีซ่าน