Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
โจทย์สถานการณ์ (Scenario) “นายถุงชา” - Coggle Diagram
โจทย์สถานการณ์ (Scenario) “นายถุงชา”
ข้อมูลพื้นฐานเกี่ยวกับสุขภาพของผู้รับบริการ
20 ปี ก่อนมาโรงพยาบาล มีอาการใจสั่น หงุดหงิดง่าย คิดว่าตนเองเป็นทหารเอกของสมเด็จพระนเรศวรรับการรักษาที่โรงพยาบาลตค่ายนเรศวร
18 ปี ก่อนมาโรงพยาบาล มีอาการใจสั่น หงุดหงิด โมโหง่าย เดินร้องเพลงคนเดียว ไม่อาบน้ํา เก็บตัวคน
เดียว บางครั้งจําชื่อตนเองไม่ได้ รับการรักษาที่โรงพยาบาลสวรรค์ประชารักษ์ วินิจฉัยโรค Schizophrenia
16 ปี ก่อนมาโรงพยาบาล ประสบอุบัติเหตุทางจักรยานยนต์
15 ปี ก่อนมาโรงพยาบาล รับประทานยาไม่สม่ําเสมอ ทําร้ายมารดา วุ่นวาย น้ําลายไหล พูดไม่ชัด เดินไม่มีแรง ใจคอไม่ดี ปฏิเสธหูแว่วภาพหลอน ไปรับการรักษาที่โรงพยาบาลสวรรค์ประชารักษ์ มีอาการวุ่นวานจะชกต่อยแพทย์ ไม่ยอมนอน จึงส่งต่อมารับการรักษาที่โรงพยาบาลจิตเวชนครสวรรค์ราชนครินทร์
14 ปี ก่อนมาโรงพยาบาล ทําร้ายร่างกายแม่ค้าในตลาดเห็นแม่ค้าเป็นทหารพม่า คิดว่าตนเองเป็นทหารเอกของสมเด็จพระนเรศวร ไปรักษาที่โรงพยาบาลสวรรค์ประชารักษ์ รับยาไม่ต่อเนื่อง แพทย์ส่งต่อโรงพยาบาลจิตเวชนครสวรรค์ราชนครินทร์
8 ปี ก่อนมาโรงพยาบาล ผู้ป่วยวุ่นวายเป็นพัก ๆ ก้าวร้าว ใช้ขวานทําร้ายคนในตลาด เตะมารดา ถามตอบรู้เรื่อง แพทย์ส่งต่อมารักษาที่โรงพยาบาลจิตเวชนครสวรรค์ราชนครินทร์
4 ปี ก่อนมาโรงพยาบาล ผู้ป่วยคิดว่าตนเองเป็นทหารเอกของสมเด็จพระนเรศวร หงุดหงิด พฤติกรรมก้าวร้าว ทําร้ายมารดา เคยเข้ารับการรักษา 3 ครั้ง หลังจากมีอาการกําเริบ รับยาใกล้บ้าน
1 เดือน ก่อนมาโรงพยาบาล คิดว่าตนเองเป็นทหารเอกของสมเด็จพระนเรศวร ไม่อาบน้ํา แยกตัวมีอาการหงุดหงิดง่าย ทําร้ายมารดาด้วยการชกต่อย
2 สัปดาห์ ก่อนมาโรงพยาบาล ญาติให้ประวัติว่าผู้ป่วยดื่มสุราทุกวัน ไม่ใช้สารเสพติดชนิดอื่น ๆ เดินไป
เดินมาวุ่นวาย ไม่อาบน้ํา แยกตัว และบอกว่าตนเองเป็นทหารเอกของสมเด็จพระนเรศวร
การรักษาในปัจจุบัน
Benzhexol (5) 1 tab O h.s.
ใช้ควบคุมอาการ
Extrapyramidal Side Effect : EPS ที่เกิดจากการใช้ยาจิตเวช เช่น กระวนกระวาย สั่น กล้ามเนื้อแข็งเกร็ง ลิ้นแข็ง ฯลฯ
กลุ่มของยา Parkinson drug
Lorazepam (2) 1 tab O p.r.n.
กลุ่มของยา : Benzodiazepine
ใช้รักษาผู้ป่วยโรควิตกกังวลหรือผู้ที่มีความวิตกกังวลจากระดับ14
มีผลทางการรักษาอาการอื่น อย่างอาการนอนไม่
Haloperidol 5 mg. IM p.r.n. for agitation q 6 hrs.
กลุ่มของยา : Typical/ first generation
นำมาใช้รักษาโรคทางจิตหรืออารมณ์ เช่น โรคจิตเภ(Schizophrenia) โรคจิตอารมณ์ เมื่อมีอาการกระวนกระวาย
(Schizoaffective Disorder) และกลุ่มอาการทูเร็ตต์ (Tourette Syndrome)
Haloperidol decanoate 50 mg. IM q 2 weeks
กลุ่มของยา : Typical/ first generation
นำมาใช้รักษาโรคทางจิตหรืออารมณ์ เช่น โรคจิตเภท(Schizophrenia) โรคจิตอารมณ์(Schizoaffective Disorder) และกลุ่ม
อาการทูเร็ตต์ (Tourette Syndrome)
Depakine CR (500) 1 tab x 2 O เช้า, h.s
กลุ่มของยา : anticonvulsant
ใช้เป็นยาควบคุมอารมณ์ (mood stabilizer) กระวนกระวาย
Chlorpromazine (25) 1 tab O h.s
กลุ่มของยา : Antipsychotic agent
ใช้รักษาและควบคุมอาการโรคจิตชนิดคุ้ม
คลัง และโรคจิตเภท (mania andschizophrenia)
ใช้ลดอาการกระสับกระส่าย หวาดระแวงก่อนผ่าตัด (pre - operative anxiety)
รักษาพฤติกรรมก้าวร้าวในเด็ก
ควบคุมอาการคลื่นไส้ อาเจียนทีเกิดขึ้นทั่วไป และหลังผ่าตัด
Clozapine (100) 1.5 tab O h.s.
กลุ่มของยา : Atypical/ Secondgeneration
รักษาschizophrenia มีข้อบ่งใช้เฉพาะในรายที่ป่วยรุนแรง และใช้ยารักษาอาการ ทางจิตตัวอื่นไม่ได้ผล
ข้อมูลส่วนบุคคล
นายถุงชา อายุ 45 ปี, เชื้อชาติไทย, สัญชาติไทย, ศาสนาพุทธ
ระดับการศึกษา มัธยมศึกษาตอนต้น (ม.3), อาชีพ รับจ้างทั่วไป รายได้1,000 - 3,000 บาท/ เดือน (ไม่แน่นอน)
วินิจฉัยโรคแรกรับ Schizophrenia with aggressive behavior
วินิจฉัยโรคปัจจุบัน Schizophrenia
ผลการตรวจทางห้องปฏิบัติการ
Electrolyte
Sodium 137 mmol/ L
Potassium 3.3 mmol/ L
Chloride 98 mmol/ L
CO2 28 mmol/ L
Calcium 9.2 mg./ dL
Phosphorus 3.5 mg./ dL
Magnesium 2.4 mg/ dl
CBC
WBC 8.19 103/ul
RBC 5.51x 106 cell/ mm3
Hemoglobin 13.1 g/dL
Hematocrit 38.6%
MCV 70.1 fl
MCH 23.8 pg
ลักษณะครอบครัว และชุมชน
ครอบครัวเดี่ยว
อาศัยอยู่บ้านไม้ 2 ชั้น
การคมนาคมสะดวก
เป็นชุมชนเมือง สมาชิกที่อาศัยอยู่ในครัวเรือน
มารดา อายุ 70 ปี ไม่มีโรคประจำตัว ส่วนญาติคนอื่น ๆ ที่สามารถติดต่อได้ คือ พี่ชายและพี่สะใภ้อาศัยอยู่ในชุมชนเดียวกัน
อาการความผิดปกติ/ปัญหาทางจิต
อาการด้านบวก (Positive Symtomps)
หลงผิด (Delusion) คิดว่าตนเป็นทหารเอกของสมเด็จพระนเรศวรมหาราช จึงทำร้ายแม่ค้าในตลาดเพราะคิดว่าเป็นทหารพม่า
การพูดแบบไม่มีระเบียบแบบแผน (Disorganized speech) พูดสิ่งที่ไม่สมเหตุสมผล บอกว่าตนเองเป็นทหารเอกของสมเด็จพระนเรศวรมหาราช
พฤติกรรมแบบไม่มีระเบียบแบบแผน (Disorganized behavior)
มีความผิดปกติทางอารมณ์ในรูปแบบของความก้าวร้าว (Aggression) หงุดหงิด ทำร้ายร่างกายมารดาและแม่ค้าในตลาด
พฤติกรรมเคลื่อนไหวผิดแปลกไปจากปกติ (Catatinic behavior) คือ เดินไปเดินมาวุ่นวาย
อาการด้านลบ (Negative symtomps)
ขาดความสนใจในการเข้าสังคมและกิจกรรมที่เคยสนใจ คือ แยกตัว
ไม่ดูแลสุขภาพอนามัยส่วนตัว คือ ไม่อาบน้ำ
การวางแผนการพยาบาลแบบองค์รวมในการแก้ไขปัญหาในผู้ป่วยโรคจิตเภทที่มี
ความผิดปกติของความคิดและการรับรู้
ข้อวินิจฉัยการพยาบาลข้อที่ 1 การดูแลตนเองบกพร่องเนื่องจากมีอาการป่วยทางจิตเภท
ข้อมูลสนับสนุน
กิจกรรมการพยาบาล
1.สร้างสัมพันธภาพกับผู้ป่วยโดยแนะนำตัวเองและพูดคุยเพื่อสร้างความไว้วางใจ
2.ประเมินความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับการดูแลของตนเองของผู้ป่วย เพื่อดูว่ามีความเข้าใจมากแค่ไหนเพื่อง่ายต่อการให้คำแนะนำของพยาบาล
3.ส่งเสริมให้ปฏิบัติกิจวัตรประจำวันด้วยตนเองในการอาบน้ำ สระผม โกนหนวด การช่วยเหลือในสิ่งที่ผู้ป่วยทำไม่ได้ เช่น ผู้ป่วยไม่รับประทานอาหารเอง ก็นำช้อนวางในมือผู้ป่วยให้เขาตักอาหาร กระตุ้นดูแล ช่วยเหลือผู้ป่วยในการรับประทานอาหารและน้ำอย่างเพียงพอ
4.ให้ความรู้เรื่องยาและผลข้างเคียงที่อาจจะเกิดขึ้นถ้าหากว่าผู้ป่วยไม่รับประทานยา และสังเกตพฤติกรรมของผู้ป่วยด้วย
ข้อวินิจฉัยการพยาบาลข้อที่ 2 เสี่ยงต่ออาการทางจิตรุนแรงเนื่องจากรับประทานยาไม่ต่อเนื่อง
กิจกรรมการพยาบาล
1.การประเมินสภาพผู้ป่วยอาการทางจิต ประวัติการรับยาก่อนหน้านี้
2.สอบถามถึงสาเหตุที่ผู้ป่วยไม่รับประทานยาว่าเกิดจากเหตุใด เพื่อแก้ไขปัญหาได้ตรงจุด
3.จัดสิ่งแวดล้อมให้ปลอดภัย เช่น เก็บของมีคม หรืออาวุธ ให้ห่างจากผู้ป่วย เพื่อป้องกันการได้รับบาดเจ็บจากการทำร้ายตนและผู้อื่น
4.ส่งเสริมศักยภาพการดูแลตนเองของผู้ป่วย การร่วมมือในการรักษาด้วยยา เพื่อให้ผู้ดูแลตนเองได้ และเห็นคุณค่าในตัวเอง
5.สอนให้ผู้ป่วยและญาติสังเกตอาการเตือนก่อนอาการทางจิตกำเริบ เช่น เริ่มหงุดหงิดง่าย ไม่นอน/นอนไม่หลับ อาจเริ่มมีอาการประสาทหลอน เพื่อเฝ้าระวังและมีความพร้อมในการรับมือ
6.ให้ข้อมูลในแหล่งที่สามารถช่วยเหลือได้ในกรณีฉุกเฉิน แก่ผู้ดูแล
7.ดูแลให้ได้รับประทานยาตามแพทย์สม่ำเสมอ ไม่ควรลดหรือเพิ่มยาเอง หรือหยุดยา โดยต้องให้ผู้ป่วยกลืนยาต่อหน้า ตรวจเช็คยาในช่องปากของผู้ป่วยทุกครั้ง และเฝ้าระวังการทิ้งยา การล้วงคออาเจียน
ข้อวินิจฉัยการพยาบาลที่ 3 เสี่ยงต่อการทำร้ายตนเองหรือทำร้ายผู้อื่น เนื่องจากมีความคิดหลงผิดไม่สามารถควบคุมความคิดอารมณ์และพฤติกรรมได้
กิจกรรมการพยาบาล
สร้างสัมพันธภาพกับผู้ป่วยด้วยท่าทีที่นุ่มนวล เพื่อสร้างความไว้วางใจและความเชื่อถือ ทุกครั้งที่พบกับผู้ป่วย
การสื่อสารกับผู้ป่วยต้องเปิดเผยรักษาคำพูด รับฟังเพื่อแสดงถึงการเคารพและให้เกียรติแก่ผู้ป่วย
แสดงการยอมรับอาการประสาทหลอน หรือหวาดระแวงของผู้ป่วย โดยไม่โต้แย้งหรือท้าทายว่า
ที่ผู้ป่วยเล่าไม่เป็นความจริง แต่แสดงความคิดเห็นที่ขัดแย้งได้ โดยใช้เทคนิคการให้ความจริง
ดูแลให้ผู้ป่วยได้รับยาตามแผนการรักษาของแพทย์ เพื่อช่วยลดอาการหวาดระแวง
จัดสิ่งแวดล้อมให้ปลอดภัย เพื่อป้องกันไม่ให้ผู้ป่วยได้รับอัตรายและไม่ทำร้ายผู้อื่น
พูดจาสุภาพนุ่มนวลกับผู้ป่วย เพื่อไม่ให้เกิดการกระตุ้นอารมณ์ของผู้ป่วยจนเกิดอาการกำเริบ
พิจารณาจำกัดการเคลื่อนไหว กรณีที่ผู้ป่วยมีอาการคุ้มคลั่งไม่สามารถควบคุมอาการได้ เพื่อไม่ให้เกิดอันตรายต่อผู้ป่วยและผู้อื่น
ข้อวินิจฉัยการพยาบาลที่ 4 ครอบครัวไม่สามารถเผชิญกับการเจ็บป่วยของผู้ป่วยได้อย่างมีประสิทธิภาพ
กิจกรรมการพยาบาล
1.สร้างสัมพันธภาพกับครอบครัวของผู้ป่วย พร้อมกับประเมินสภาพทั่วไปของครอบครัว เช่น บทบาทของสมาชิกแต่ละคน วิธีการสื่อสารต่อกัน ระดับของสัมพันธภาพ ความใส่ใจต่อการเจ็บป่วยของผู้ป่วย และระดับความสามารถของครอบครัวในการดูแลผู้ป่วย
2.ให้ความรู้เกี่ยวกับพยาธิสภาพของผู้ป่วย อาการทางจิต การให้ความรู้เกี่ยวกับลักษณะทั่วไปของการป่วยทางจิตเวช และการให้คำแนะนำในการดูแลผู้ป่วยที่บ้าน
3.แนะนำญาติให้มีสัมพันธภาพที่สม่ำเสมอและจริงใจ จะทำให้ผู้ป่วยรู้สึกไว้วางใจผู้ดูแล ซึ่ง
แสดงออกโดยการแสดงความห่วงใยอย่างจริงใจและเป็นธรรมชาติ
4.สอนให้ใช้เทคนิคการผ่อนคลายความเครียดวิธีต่าง ๆ ได้แก่ พูดคุยกับเพื่อนบ้าน กำหนดลมหายใจเข้าออก กดจุดคลายเครียด เป็นต้น
5.แนะนำถ้ามีความเครียดมาก ๆ ให้ไปตรวจสุขภาพ
สมมุติฐาน
สมมุติฐานที่ 1แอลกอฮอล์มีผลต่อโรคจิตเภทหรือไม่
การดื่มสุราเป็นอันตรายทั้งในระยะสั้นและระยะยาว ด้านปัญหาสุขภาพ
การดื่มแอลกอฮอล์ของผู้ป่วยโรคจิตเภท เพิ่มอารมณ์ด้านบวก เช่น หลงผิด (Delusion)
ลดอารมณ์ด้านลบ เช่น ไม่กระตือรือร้น เฉื่อยชาลง
เมื่อดื่มในปริมาณมากจะเสี่ยงต่อการทำร้ายตนเอง หรือฆ่าตัวตายค่อนข้างสูง การดื่มหนักจะทำให้อาการซึมเศร้าและโรควิตกกังวลแย่ลง และการดื่มสุราจะทำให้ผู้ป่วยโรคจิตเภทมีผลการรักษาไม่ดี
สมมติฐานที่ 3 การรับประทานยาไม่ต่อเนื่องส่งผลต่อความรุนแรงของโรคจิตเภทหรือไม่
การรักษาด้วยยา ซึ่งมีทั้งยาฉีด และยารับประทาน เพื่อรักษาและแก้ไขอาการทางบวก(positive symptoms) ของผู้ป่วย หรือมีพฤติกรรมที่เป็นภาระต่อสังคม
งพยาบาลสุขภาพจิตและจิตเวช มีบทบาทสำคัญในการดูแลผู้ป่วยโดยการให้สุขภาพจิตศึกษา(psychoeducation) เพื่อให้ผู้ป่วย ครอบครัว และผู้ดูแล มีความเข้าใจ ตระหนักถึงความสำคัญของตามเกณฑ์การรักษาที่เหมาะสม
ส่งผลให้การรักษามี และเพื่อลดการกลับเป็นซ้ำของโรค แนะนำให้ผู้ป่วย ผู้ดูแล ครอบครัว ไม่ทำการหยุดยาเอง ให้รับประทานยาแก้อาการข้างเคียงที่แพทย์สั่ง
สมมติฐานที่ 2 อาการหลงผิดทำให้เกิดการรุนแรงได้หรือไม่
อาการหลงผิดของผู้ป่วยถือว่าเป็นภาวะทางจิตที่ร้ายแรง โดยผู้ป่วยจะมีอาการหลงผิดไปจากความเป็นจริงเป็นเวลามากกว่า 1 เดือน
ซึ่งผู้ป่วยส่วนใหญ่มักดูเป็นปกติและไม่มีพฤติกรรมที่แปลกประหลาด มีเพียงความเข้าใจผิดในบางเรื่อง เช่น เชื่อว่ากำลังถูกปองร้าย เชื่อว่าคนรักนอกใจ เชื่อว่าบุคคลอื่นเป็นคู่รักของตน
ซึ่งเป็นกลุ่มอาการที่พบได้บ่อยในผู้ป่วยจิตเภท คือเป็นกลุ่มอาการทางบวก (positive symptoms) อาการทางบวกนี้สามารถเกิดขึ้นในช่วงใดของโรคก็ได้
มีอาการเด่นชัดคือ อาการหลงผิด (delusion) และ ประสาทหลอนทางหู หูแว่ว (auditory hallucination)
สมมติฐานที่ 4 โรคจิตเภทสามารถถ่ายทอดทางพันธุกรรมได้หรือไม่
ปัจจัยทางพันธุกรรมเป็นปัจจัยที่ ค้านกับความรู้สึกของคนทั่วไปเกี่ยวกับอาการทางจิตเวชที่ว่าน่า จะเป็นผลจากการเลี้ยงดูหรือความเครียดจากปัญหาชีวิตต่างๆ โรคทางจิตเวชที่ปัจจุบัน
พบว่าพันธุกรรมมีบทบาทในการเกิดโรคอย่างมากก็คือ mood disorders, schizophrenia, alcohol abuse และ Alzheimer’s disease
สมมติฐานที่ 5 การมีส่วนร่วมของคนในครอบครัวมีผลต่อการรักษาจิตเภทหรือไม่
จากผลงานวิจัยเรื่อง ผลของโปรแกรมการจัดการอาการโดยการมีส่วนร่วมของครอบครัวต่ออาการทางบวกของผู้ป่วยจิตเภทในชุมชน
จากการเปรียบเทียบระหว่างก่อน-หลังเข้าโปรแกรมโดยการมีส่วนร่วมของครอบครัวกับการได้รับการพยาบาลตามปกติ พบว่า การได้รับโปรแกรมการจัดการกับอาการโดยการมีส่วนร่วมของครอบครัว
มีผลลดอาการทางบวกของผู้ป่วยจิตเภทในชุมชนได้เป็นอย่างดีและมีประสิทธิภาพมากกว่าการได้รับการดูแลตามปกติดังนั้นจึงอาจกล่าวได้ว่าการมีส่วนร่วมของคนในครอบครัวมีผลต่อการรักษาจิตเภททำให้มีอาการทางบวกเปลี่ยนแปลงในทางที่ดีขึ้น
การมีส่วนร่วมของครอบครัวและชุมชนในการดูแลบุคคลในวัยผู้ใหญ่ที่มีปัญหาทางจิต
ด้านครอบครัว
ผู้ป่วยและญาติควรติดต่อรับยาที่โรงพยาบาลอย่างสม่ำเสมอ ญาติควรดูแลให้ผู้ป่วยกินยา
อย่างต่อเนื่อง และควรปรึกษาแพทย์ก่อนเพิ่ม ลด หรือหยุดยา
ผู้ป่วยไม่ยอมกินยา ญาติควรชักจูง โน้มน้าวให้ผู้ป่วยกินยา ถ้าไม่ได้ผลให้ปรึกษาแพทย์ ซึ่ง
แพทย์อาจให้ยาฉีดออกฤทธิ์ยาว (นาน 2 - 4 สัปดาห์) แทน
ญาติควรกระตุ้นและให้กำลังใจผู้ป่วยให้ทำงานตามกำลังและความสามารถที่มีอยู่ เพื่อฟื้นฟู
ความสามารถของผู้ป่วยให้กลับมาได้มากที่สุด
ด้านชุมชน
รวบรวมและจัดทำทะเบียนผู้ป่วยจิตเวชเรื้อรังในชุมชน
ติดตาม/ เยี่ยมบ้าน เข้าไปพูดคุยกับผู้ป่วยและญาติ เพื่อประเมินเฝ้าระวัง อาการกำเริบ/การกลับเป็นซ้ำ ปรึกษาและหรือส่งต่อกรณีที่มีปัญหา
เฝ้าระวังสังเกตอาการเตือน/อาการกำเริบ
การดูแลการกินยาต่อเนื่อง ให้ความรู้เกี่ยวกับเรื่อง การดูแลผู้ป่วยและเรื่องยา ผลข้างเคียง
ประสานการส่งต่อ และช่วยดูแลต่อเนื่อง ดูแลสภาพความเป็นอยู่ ช่วยสนับสนุนสิ่งของ
อำนวยความสะดวกในการดูแลผู้ป่วยหากทางบ้านขาดเหลือต้องการความช่วยเหลือ อบต.เข้ามาช่วยเรื่องอาชีพ เพื่อให้ผู้ป่วยหรือญาติผู้ดูแลมีงานทำ ให้ผู้ป่วยมีรายได้เพิ่มขึ้น
สนับสนุนให้กำลังใจผู้ป่วยและญาติในการฟื้นฟูการใช้ชีวิต
สนับสนุนให้ผู้ป่วยและคนในชุมชนสามารถอยู่ร่วมกันได้ ลดระยะห่าง การกีดกัน ความเข้าใจผิดเกี่ยวกับการเจ็บป่วยของอาการของโรคจิตเภท ลดตราบาปแก่ข้อผู้ป่วยจิตเวช
การวินิจฉัยโรคจิตเภท
ICD-10
โรคจิตเภท มีลักษณะทั่วไป คือ มีความผิดปกติทางความคิดและการรับรู้ มีอารมณ์ไม่เหมาะสม
หรือ เฉยเมย โดยระดับความรู้สึกตัวและสติปัญญามักยังปกติอยู่
การสูญเสียด้านการรู้
คิดจะค่อยๆ ปรากฏขึ้น เมื่อเวลาผ่านไป ปรากฏการณ์ทางจิตพยาธิสภาพที่สำคัญที่สุด
ได้แก่
ความคิดแพร่กระจาย การหลงผิดในการรับรู้ หลงผิดว่าถูกควบคุม หูแว่ว ได้ยินคนอื่นนินทาผู้ป่วย ม
DSM-5
ผู้ป่วยเป็นมานาน 20 ปีรับประทานยาไม่
ต่อเนื่อง
ผู้ป่วยบอกว่าตนเองเป็นทหารเอกของสมเด็จพระนเรศวรมหาราช ผู้ป่วยมีอาการแสดงของการหลงผิด (Delusion)
ผู้ป่วยเดินไป เดินมาวุ่นวาย มีอาการแสดงความผิดปกติด้านพฤติกรรม (disorganized behavior)
ผู้ป่วยแยกตัว ไม่เข้าร่วมกิจกรรมทางสังคมผู้ป่วยแยกตัว ไม่เข้าร่วมกิจกรรมทางสังคมผู้ป่วยไม่ยอมอาบน้ า ร่างกายไม่สะอาด มีอาการด้านพฤติกรรมผิดปกติ รับประทานยาไม่ต่อเนื่องผู้ป่วยมีการคิดแบบเป็นรูปธรรมมากกว่าแบบนามธรรม มีอาการด้านความคิดผิดปกติ(Cognitive symptoms)ผู้ป่วยมีอารมณ์ก้าวร้าว หงุดหงิดง่าย มีอาการด้านอารมณ์ผิดปกติ