Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
กรณีศึกษาที่ 2 : นายดำ อายุ 66 ปี, นางสาวอรญา ศรีมะณี 621001106 - Coggle…
กรณีศึกษาที่ 2 : นายดำ อายุ 66 ปี
โรคประจำตัว
โรคเกาท์ ( Gout)
แบบประเมินเพิ่มเติม
แบบประเมินความสามารถเชิงปฏิบัติ
( Barthel Activities of Daily Living :ADL)
แบบประเมินความเสี่ยงต่อการพลัดตกหกล้มในผู้สูงอายุ (Fall risk assessment tool in elderly)
ข้อวินิจฉัยทางการพยาบาลที่ 2 : เสี่ยง เสี่ยงต่อการเกิดอุบัติเหตุพลัดตกหกล้มเนื่องจากปัจจัยภายนอกไม่เหมาะสม
ข้อมูลสนับสนุน
S: บ้าน 2 ชั้น และผู้ป่วยนอนที่ห้องชั้นบน และเมื่อ 1 ปีก่อนเคยตกบันไดบ้าน 2 ครั้ง
S: ชอบนุ่งผ้าขาวม้า
O: ภายในบ้านไม่ค่อยเป็นระเบียบโดยมีอุปกรณ์เครื่องจักรวางไว้ในบ้าน
กิจกรรมการพยาบาล
แนะนำให้ผู้ป่วยหลีกเลี่ยงการใช้บันได โดยลงมานอนชั้นล่าง เพื่อป้องกันการพลัดตกหกล้ม
ดูแลจัดวางอุปกรณ์ภายในบ้านให้เป็นระเบียบ เพื่อไม่ให้กีดขวางทางเดิน
แนะนำการสวมเสื้อผ้าควรเลือกเสื้อผ้าที่มีขนาดพอดีกับร่างกาย ไม่มีส่วนที่รุงรังเพราะอาจก่อให้เกิดการสะดุดหกล้ม
ให้ผู้ดูแลช่วยเหลือผู้สูงอายุในการทำกิจกรรมต่างๆ ที่ผู้สูงอายุทำไม่ได้หรือทำได้แต่ไม่ถนัด เพื่อป้องกันอุบัติเหตุ
แนะนำการออกกำลังกาย โดยงานวิจัยหลายๆงานพบว่าการออกกำลังกายโดยการฝึกร่วมกับดนตรีจะทำให้ผู้ป่วยมีกล้ามเนื้อและกระดูกที่แข็งแรงจะส่งผลให้การทรงตัวดีขึ้น เช่น การออกกำลังกายแบบไทชี่ ครั้งละ 30 นาที อย่างน้อย 3 วันต่อสัปดาห์ พบว่าจำนนครั้งของการพลัดตกหกล้มในผู้สูงอายุลดลง การออกกำลังกายด้วยลีลาศ เป็นระยะเวลา 8 สัปดาห์ ครั้งละ 1 ชม. ในจังหวะบิกิน ชาชาช่า และวอลซ์ พบว่าผู้สูงอายุมีการทรงตัวดีขึ้น
ข้อวินิจฉัยทางการพยาบาลที่ 1: การช่วยเหลือตัวเองลดลง เนื่องจากอาการปวดข้อ
ข้อมูลสนับสนุน
S: มีอาการปวดข้อเข่าและแขนเป็นประจำเมื่อมีอาการกำเริบของโรคเก๊าท์ โดยข้อข้อแขนทั้ง 2 ข้างจะบวมแดง
S: ต้องมีคนช่วยใส่เสื้อผ้า
S: เดินขึ้นบันไดเองไม่ได้
O: เป็นโรคเกาต์
กิจกรรมการพยาบาล
แนะนำให้รับประทานAllopurinol 100 mg 1 เม็ด เช้า-เย็น
หลังอาหาร และ Colchicine 0.5 mg 1 เม็ด เช้า-เย็น หลังอาหารตามแผนการรักษาของแพทย์เพื่อลดกรดยูริกและลดการอักเสบ
แนะนำให้ผู้ป่วยพักข้อ หลีกเลี่ยงการลงนํ้าหนัก เมื่อมีอาการกำเริบของโรคเกาท์ และยกสูงวางบนหมอน เพื่อลดการอักเสบและอาการปวด
สังเกตอาการ บวม แดง และอาการปวดข้อ เพื่อประเมินการอักเสบของข้อ
แนะนำให้หลีกเลี่ยงสิ่งที่ทำให้เกิดการอักเสบของข้อเพิ่มขึ้น เช่น อาหารที่มีพิวรีนสูง ได้แก่ เครื่องในสัตว์ ชะอม กะปิ และความเครียดต่างๆ ซึ่งจะทำให้ภาวะกรดยูริคในเลือดสูง
ให้ญาติช่วยเหลือในกิจกรรมที่ผู้ป่วยไม่สามารถทำเองได้
ข้อวินิจฉัยทางการพยาบาลที่ 3: มีภาวะอ้วนเนื่องจากพฤติกรรมการบริโภคอาหารไม่เหมาะสม
ข้อมูลสนับสนุน
S: รับประทาน วันละ 2 มื้อ ในมื้อเช้า
ไม่ค่อยได้รับประทาน
O: น้ำหนัก 66 กก รอบเอว 76 ซม. สูง 160 ซม
O: BMI = 25.78
กิจกรรมการพยาบาล
แนะนำให้รับประทานอาหารให้เป็นเวลา ไม่ควรรับประทานอาหารระหว่างมื้อ และไม่ควรรับประทานอาหารมื้อเย็นดึกเกินไป ขณะรับประทานควรเคี้ยวให้ละเอียดก่อนกลืน
ให้ดื่มน้ำก่อนรับประทานอาหาร 1-2 แก้ว และให้ดื่มน้ำก่อนที่จะอิ่ม 1-2 แก้ว เพื่อให้การกินอาหารได้น้อยลง และอิ่มเร็วขึ้น
ไม่ควรเสียดายของที่เหลือจากการรับประทานอาหาร เนื่องจากจะทำให้รับประทานอาหารในปริมาณที่มากเกินความจำเป็นของร่างกาย
เมื่อรับประทานอาหารเสร็จแล้วไม่ควรนอนทันที อาจหางานอดิเรก หรือมีการเคลื่อนไหว เพื่อเป็นการเผาผลาญพลังงานในร่างกาย
แนะนำการออกกำลังกาย โดยการออกกำลังกายครั้งละ 20-30 นาที อย่างน้อย 2-3 วันต่อสัปดาห์ และต้องมีการอบอุ่นร่างกายโดยยืดเยียดกล้ามเนื้อประมาณ 5-10 นาที
ปัญหาที่พบ
มีอาการปวดบริเวณข้อแขนและข้อเข่า
การช่วยเหลือตนเองลดลง เดินขึ้นบันไดเองไม่ได้ใส่เสื้อผ้าต้องมีคนช่วย
มีภาวะน้ำหนักเกิน
นางสาวอรญา ศรีมะณี 621001106