Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
บทที่ 12 บทบาทพยาบาลในการดูแลรักษาและฟื้นฟูสภาพ ผู้ที่มีปัญหาสุขภาพจิตแล…
บทที่ 12
บทบาทพยาบาลในการดูแลรักษาและฟื้นฟูสภาพ
ผู้ที่มีปัญหาสุขภาพจิตและจิตเวช
การบำบัดรักษาด้านร่างกาย (Somatic therapy)
เภสัชบำบัดและการใช้ยาอย่างสมเหตุผล
เป็นวิธีการรักษาผู้ป่วยทางจิตเวชวิธีหนึ่งโดยใช้การควบคุมร่างกายให้ได้มาซึ่งอาการทางจิตที่ดีกว่าเดิม แบ่งเป็น 4 ชนิด คือ
2 ยารักษาอาการซึมเศร้า (Antidepressant drugs) ที่พบบ่อยแบ่งได้เป็น 2 กลุ่ม
1) Conventional antidepressant ได้แก่
Monoamine Oxidase inhibitors (MAOI) มีฤทธิ์ไปยับยั้งการทำงานของเอ็นไซม์ MAO ที่ทำให้ระดับของ Serotonin และ Catecholamine ในสมองสูงขึ้น ทำให้มีอารมณ์เป็นสุขสมองตื่นตัว กระปรี้กระเปร่า สดชื่น อยากอาหาร ทำให้หัวใจเต้นเร็ว ความดันโลหิตสูงขึ้น
Tricyclic antidepressants ยากลุ่มนี้นิยมใช้กันมากมีผลต่อระบบประสาทอัตโนมัติ กลไกการออกฤทธิ์เชื่อว่าลดอาการซึมเศร้า โดยไม่เพิ่มระดับของ Nor-epinephrine และ serotonin ในสมอง ทำให้มีอาการปากแห้ง ตาพร่า ง่วงนอน ปัสสาวะคั่ง ท้องผูกได้
ผลต่อระบบไหลเวียนทำให้หัวใจเต้นเร็ว ความดันโลหิตต่ำเมื่อเปลี่ยนอิริยาบถ
2) Secondary generation antidepressants ได้แก่
Bicyclic antidepressants เช่น Zimelidine (Zelmid), Viloxazine (Vivalan)การออกฤทธิ์ยับยั้ง Nor-epinephrine reuptake และ Serotonin reuptakeใช้ในผู้ป่วยซึมเศร้าได้ผลพอๆ กับ amitriptyline และ Imipramine อาการที่ไม่พึงประสงค์ที่พบบ่อย คือ
คลื่นไส้ อาเจียน ปวดศีรษะ ปากแห้ง ใจสั่น ท้องผูก ปัสสาวะลำบาก
Tetracyclic antidepressants เช่น Maprotiline (Ludiomil), Mianserin
(Talvon) ข้อบ่งใช้คล้ายๆ กับ amitriptyline และได้ผลพอๆ กันห้ามใช้กับผู้ที่เป็นโรคตับ ต่อมลูกหมากโต
Serotonin Reuptake Inhibitors นำมาใช้รักษาอาการซึมเศร้า ออกฤทธิ์ยับยั้งเฉพาะ Reuptake ของ Serotonin เรียกชื่อย่อว่า SSRIs (Selectiveserotonin reuptake inhibitors) ยาในกลุ่มนี้ที่นำมาใช้ในปัจจุบันมี 4 ชนิด คือ Fluoxetine,Paroxetine, Sertraline และFluvoxamine
3 ยาควบคุมอารมณ์ (Mood-stabilizing drug)
1) ลิเทียมคาร์บอเนต เป็นยาหลักที่ใช้รักษาเชื่อว่าจะไปยับยั้งการปลดปล่อย NE และ Dopamine ที่จุด Synapse และทำให้ Pre-synaptic re-uptake ของ Neurotransmitter เพิ่มขึ้น เป็นการปรับสมดุลของ Neurotransmitter
ข้อบ่งใช้
-รักษา Mania
-ป้องกันการเป็นซ้ำของโรค Bipolar disorder ทั้งระยะแมเนียและระยะซึมเศร้า
ข้อควรระวัง
ไม่ควรใช้ในผู้ป่วยโรคไต ผู้ที่มีปัญหาทางหัวใจ ผู้ป่วยที่มีภาวะสมองถูกทำลายและผู้ที่ขาดน้ำอย่างรุนแรงผู้ที่อยู่ในระยะตั้งครรภ์ 3 เดือนแรก และมารดาที่ให้นมบุตร
การพยาบาล
(1) ควรให้ผู้ป่วยรับประทานยาระหว่างมื้ออาหาร
(2) ในระยะแรกของการได้รับยาต้องตรวจหาระดับของลิเธียมในกระแสเลือด สัปดาห์ละ 2 ครั้ง จนกว่าจะมีระดับคงที่หรือควบคุมอาการแมเนียได้
(3)การออกฤทธิ์ของยาในการควบคุมอาการแมเนียอาจต้องใช้ระยะเวลาเป็นเดือนจึงจะออกฤทธิ์เต็มที่ดังนั้นในระยะแรกของการได้รับยาจึงต้องใช้ยากลุ่มรักษาอาการทางจิตควบคุมอาการไปก่อนและต้องสังเกตประเมินลักษณะอารมณ์ของผู้ป่วยอย่างต่อเนื่อง
(4) ติดตามและประเมินอาการข้างเคียง
(5) แนะนำผู้ป่วยและญาติในการปฏิบัติตัว เช่น แนะนำเรื่อง การรัปประทานอาหาร ออกกำลังกาย
1.ยารักษาโรคจิต (Antipsychotic drugs or Major transquilizer drugs) ทำให้ผู้ป่วยที่กำลังอยู่ในระยะที่มีพฤติกรรมรบกวนตนเองและผู้อื่นสงบลงโดยไม่มีสภาวะของการง่วงซึมที่รุนแรงรักษาผู้ป่วยที่มีความสับสน ลุกลี้ลุกลน เชื่องช้า ความคิดผิดปกติ มีประสาทหลอน ยากลุ่มนี้แบ่งเป็นกลุ่มใหญ่ๆ ดังนี้
Phenothiazine derivatives ฤทธิ์ทางเภสัชวิทยาทั่วๆ ไป มีดังนี้ ง่วง ระงับอาการอาเจียน ปากแห้งคอแห้ง ความคิดเชื่องช้า และ antihistamine มีผลต่อการรักษาผู้ป่วยจิตเภทเป็นส่วนใหญ่และยังใช้รักษาผู้ป่วยคลั่งเศร้า (Mania) ลุกลี้ลุกลน (Agitated depression) และพฤติกรรมหลงผิดซึ่งเป็นผลจากความผิดปกติของสมอง ที่ใช้บ่อยๆ ได้แก่ - Chlopromazine - Promazine - Trifluoperazine - Thioridazine - Perphenazine - Fluphenazing
Butyrophenone derivatives ที่สำคัญในกลุ่มนี้ ได้แก่ Haloperidol มีฤทธิ์ทางเภสัชวิทยาคล้ายฟีโนไทอะซีนข้อบ่งใช้ที่สำคัญ คือ แมเนียได้ผลดีมาก นอกจานี้ใช้รักษาโรคจิตเภทและโรคจิตเนื่องจากสมองพิการได้ผลดีเช่นกัน ระยะเวลาในการให้ยารักษาโรคจิตโดยทั่วไปภายในเวลา 3 สัปดาห์ หลังให้ยาผู้ป่วยจะมีอาการดีขึ้น ยาจิตบำบัดชนิดใหม่ ยาจิตบำบัดชนิดใหม่ที่นำมาใช้รักษาโรคทางจิตเวช มีดังนี้ 1) Clozapine
2) Risperidone
4 ยาคลายกังวล (Anxiolytic, Antianxiety drug or minor transquilizer drugs)
ยาที่สำคัญในกลุ่มนี้ คือ Benzodiazepines มีฤทธิ์ Anti anxiety, Anti
aggression, Muscle relaxant, Anti convulsant และ Sedative ออกฤทธิ์โดยเพิ่ม GABA ergic neurotransmission (GABA – aminobutyric acid เป็น Inhibitory neurotransmitterที่สำคัญของสมอง) มีฤทธิ์คลายกังวลดีที่สุด
ข้อบ่งใช้
1) โรคทางจิตเวชที่มีอาการกังวล เช่น ตื่นเต้นง่าย พลุ่งพล่าน กระวนกระวาย หอบ
2) ใช้เป็นยานอนหลับ
3) ใช้รักษา Delirium tremens
4) โรคลมชัก เพื่อแก้อาการชัก และช่วยให้กล้ามเนื้อผ่อนคลาย
5) โรคของ Neuromuscular ที่มีอาการเกร็งของกล้ามเนื้อ เช่น cerebral palsy บาดทะยัก
ข้อควรระวัง
ระวังการใช้ยานี้ในผู้ป่วยที่มีปัญหาของระบบทางเดินหายใจ ผู้ป่วยโรคไต โรคตับ ผู้ที่มีอาการซึมเศร้ามาก ๆ อาจนำไปสู่การฆ่าตัวตาย หรือผู้ที่เสพสารเสพติด ผู้ที่ตั้งครรภ์ 3 เดือนแรกเพราะอาจทำให้เกิดความผิดปกติของทารกในครรภ์ได้
-อาการข้างเคียง มีน้อย ที่พบบ่อย คือ ง่วงนอน ความคิดช้า อาจมีสับสน ตื่นเต้น วุ่นวายศีรษะหมุน ผื่นตามผิวหนัง
-การพยาบาล
1) ควรให้ยาเฉพาะก่อนนอน เพื่อไม่ให้ฤทธิ์ยารบกวนการทำกิจกรรมต่าง ๆ ในเวลากลางวัน
2) ในกรณีฉีดยาเข้ากล้ามให้ฉีดเข้ากล้ามเนื้อมัดใหญ่
และฉีดลึกให้เพียงพอเนื่องจากยาทำให้ปวดเเละระคายเคือง
3) สังเกตอาการข้างเคียง และติดตามผลการรักษา
4) ยา Lorazepam (Ativan) ใช้อมใต้ลิ้นจะดูดซึมเร็วกว่าการกลืนทางปาก
5) ให้คำแนะนำเกี่ยวกับเรื่อง การรับประทานอาหาน ยา น้ำ การออกกำลังกาย
การรักษาด้วยไฟฟ้า
หมายถึง การรักษาทางจิตเวชโดยใช้กระแสไฟฟ้าจำนวนจำกัดผ่านเข้าสมองในระยะเวลาจำกัดทำให้เกิดอาการชักเกร็งทั้งตัว ทำให้ความผิดปกติทางจิตบางชนิดลดลง
ข้อบ่งใช้ในการรักษา
1) ผู้ป่วยที่อาการเศร้าทุกชนิด และเสี่ยงต่อการฆ่าตัวตาย
2) ผู้ป่วยโรคจิตเภทชนิดที่คลั่งหรือซึมเฉย (Catatonic Schizophrenia)
3) โรคจิตในวัยเสื่อมในระยะเศร้า
4) โรคความผิดปกติของอารมณ์ทั้งในระยะคลั่งและระยะเศร้า
5) อาการทางจิตเวชอื่นๆ ที่รักษาด้วยวิธีอื่นๆ ไม่ได้ผล
ข้อห้ามใช้
1) Brain tumor (เพราะการทำให้ช็อคจะทำให้ความดันในสมองเพิ่มขึ้นทำให้เกิดTentorial herniation และเสียชีวิตได้), โรคของระบบประสาท
2) ผู้ป่วยที่มีโรคทางระบบหัวใจและหลอดเลือด เช่น ความดันโลหิตสูงที่ไม่ใช่สาเหตุจากอารมณ์ หอบ กล้ามเนื้อ หัวใจขาดเลือดที่ยังมีอาการ
เพราะขณะชักอาจเกิด Arrhythmias ได้
3) วัณโรคระยะรุนแรง
4) ผู้ป่วยที่เป็นกระดูก
5) การติดเชื้อที่มีไข้สูง
6) ผู้สูงอายุที่ร่างกายไม่แข็งแรง
เครื่องมือที่ใช้
1) สมัยก่อนนิยมใช้เครื่อง ECT ที่ให้คลื่นไฟฟ้าในลักษณะ Sine waveซึ่งจะให้พลังงานมากกว่า แต่ทำให้เกิดผลข้างเคียงด้านประสาทวิทยาและความทรงจำมากกว่าปัจจุบันนิยมใช้เครื่องมือ ECT
2) Electrodes 2 อัน
วางบริเวณทัดดอกไม้ หรือ Temporal lobe คือ
วางเหนือขึ้นไปจากจุดึ่งกลางระหว่างขอบหางตาและขอบบนของหูขึ้นไปประมาณ 1-1.5 นิ้ว ซึ่งเรียกวิธีวางอิเล็กโทรดแบบนี้ว่า “Bilateral ECT”
วางบริเวณศีรษะข้างเดียวกับมือที่ถนัด (Non-dominant cerebralhemisphere) โดย อิเล็กโทรดอันแรกวางเหมือนวิธีแรก ส่วนอันที่ 2 วางห่างจากอันแรกสูงขึ้นไปประมาณ3.5-5 นิ้ว โดยทำมุม 70 องศา กับเส้นแรก เรียกวิธีนี้ว่า “Unilateral ECT”
3) Airway
4) Jelly หรือ น้ำเกลือ NSS หรือ electrolyte
5) Emergency set
6) หมอนทราย
7) ผ้ายาง, ผ้าขนหนูผืนเล็กแช่น้ำเย็น
8) Oxygen
9) เครื่อง Suction
10) ฉากกั้น
11) เข็มฉีดยา, Syring
12) เตรียมยา
ขนาดของไฟฟ้าที่ใช้
ประมาณ 70-130 โวลท์ ในเวลา 0.1-0.5 วินาที (เครื่อง Sine wave) สำหรับเครื่อง B.P.S.ใช้ไฟฟ้า 150 Milliculombs ใช้เวลากระตุ้น 2-4 วินาที พลังงานไฟฟ้าที่ใช้ในผู้ป่วยแต่ละคนอาจไม่เท่ากัน
ขึ้นอยู่กับอายุ ปริมาณของ Subcutanious fat(คนอ้วนใช้พลังงานมากกว่าตนผอม)จำนวนครั้งที่ทำการชักที่ได้ผลควรชักไม่น้อยกว่า 25 วินาที/ครั้งและไม่ควรเกิน 60 วินาทีจะทำให้เกิดผลแทรกซ้อนทางสมองได้
จำนวนครั้งที่ใช้
โดยทั่วไปแพทย์อาจจะสั่งทำตั้งแต่ 3-10 ครั้ง โดยทำสัปดาห์ละ 2-3 ครั้ง วันเว้นวันยกเว้นในบางกรณีแพทย์จะสั่งเป็นกรณีไป
บทบาทหน้าที่และความรับผิดชอบของพยาบาลในการรักษาด้วยไฟฟ้า
การเตรียมผู้ป่วยก่อนทำ
การพยาบาลขณะทำ
การพยาบาลหลังทำ ECT
การผูกยึดและการจำกัดพฤติกรรม
ปัจจุบันการผูกมัดและจำกัดขอบเขตผู้ป่วยยังคงมีความจำเป็นในกรณีที่ไม่สามารถควบคุมตัวเองได้ เป็นการป้องกันอันตรายที่จะเกิดขึ้นกับตัวผู้ป่วยและผู้อื่นพฤติกรรมที่ต้องผูกมัด หรือ จำกัดบริเวณ
1) พฤติกรรมในรูปของการทำลาย (Destructive behavior) เป็นอันตรายต่อตนเอง และผู้อื่น
2) พฤติกรรมสับสนวุ่นวาย พฤติกรรมแปลกๆ อาจเป็นพฤติกรรมถดถอย (Disorganized behavior) เช่น ด่าเกรี้ยวกราดต่อเจ้าหน้าที่
3) มีพฤติกรรมที่แสดงออกมาจากผลของความขัดแย้งในใจ หรือบางทีเรียกว่า Acting out เช่น การเปลือยกาย การสำเร็จความใคร่ด้วยตนเองให้ผู้อื่นดู
4) พฤติกรรมที่แสดงถึงความไม่สบายต่าง ๆ (Dysphoric behavior) เช่น
พวกที่ไม่อยู่ในโลกของความเป็นจริง ซึมเศร้า
5) พฤติกรรมที่ต้องยึดผู้อื่นเป็นที่พึ่งพิง (Dependent behavior) เช่น พวกติดยาเสพติด
การผูกมัด (Physical restrain) โดยใช้เจ้าหน้าที่ประมาณ 3-5 คน
วิธีการนี้เจ้าหน้าที่ทุกคนจะต้องรู้ขั้นตอนในการดำเนินงาน ทำอย่างรวดเร็ว มั่นใจ ไม่กลัวก่อนทำพยาบาลหรือเจ้าหน้าที่ 1 คน ต้องพยายามพูดให้ผู้ป่วยสนใจ เพลิดเพลิน เมื่อผู้ป่วยเผลอ เจ้าหน้าที่ 2 คน จะจับแขนผู้ป่วยไว้คนละข้าง แล้วนำผู้ป่วยไปไว้ในห้องพักที่เตรียมไว้ กรณีที่ผู้ป่วยไม่ยอมต้องให้เจ้าหน้าที่อีก 2 คนยกตัวผู้ป่วยขึ้นให้เท้าลอยจากพื้นแล้วผูกยึดตัวผู้ป่วย
การใช้ยาและการจำกัดขอบเขต (Medical restrain and room seclusion)สำหรับรายฉุกเฉิน แพทย์อาจให้ฉีดยาเพื่อให้ผู้ป่วยสงบก่อนนำผู้ป่วยเข้าห้อง หรือให้ยา)หลังจากนำผู้ป่วยเข้าห้องเรียบร้อยแล้ว ปัจจุบันการใช้ห้องแยก (Room seclusion)ยังมีประโยชน์ในการดูแลผู้ป่วยจิตเวชที่มีอาการรุนแรง
การบำบัดรักษาทางจิต (Psychotherapy)
ความหมาย คำว่า Milieu เป็นภาษาฝรั่งเศส แปลว่า สิ่งแวดล้อม (Environment) หมายถึงการจัดสภาพบรรยากาศเพื่อการบำบัดอย่างมีจุดมุ่งหมายเฉพาะผู้ป่วยที่มีอาการทางจิตเวชอย่างมีแบบแผนมีหลักการ มีวัตถุประสงค์ และวิธีการเฉพาะซึ่งต่างจากผู้ป่วยทั่วไป
หลักการในการจัดสิ่งแวดล้อมเพื่อการบำบัด
1) ในการจัดสิ่งแวดล้อมเพื่อการบำบัดยึดหลักการอำนวยความสะดวกสบายตามสภาพของสถานที่ซึ่งสามารถจัดให้ได้อย่างดีที่สุดที่ปฏิสัมพันธ์ระหว่างผู้ป่วยกับผู้บำบัดและผู้ป่วยกับผู้ป่วยสามารถจะเกิดขึ้นได้ทุกเวลาเพื่อเสริมสร้างทักษะทางสังคม และการอยู่ร่วมกัน
2) สมาชิกทุกคนในทีมผู้บำบัดต้องแสดงตนเป็นแบบอย่างหรือตัวอย่างที่ดีและเหมาะสมแก่ผู้ป่วยนับตั้งแต่การแต่งกาย พฤติกรรมการแสดงออกต่อสังคม
3) การแต่งกายของพยาบาลไม่ยึดหลักการแสดงสัญลักษณ์ของความเจ็บป่วย คือการสวมยูนิฟอร์มสีขาว เพราะเป็นเครื่องบ่งชี้ให้เห็นถึงบทบาทของพยาบาล ที่ต้องให้ความช่วยเหลือและเป็นที่พึ่งของบุคคลที่เจ็บหนัก หมดหวัง ช่วยตัวเองไม่ได้
4) โปรแกรมนิเวศบำบัด ต้องวางแผนอย่างดี โดยความร่วมมือระหว่างผู้ป่วยกับผู้บำบัดกลุ่มบำบัดและกิจกรรมบำบัดที่ยึดเอาผู้ป่วยเป็นศูนย์กลางที่สมบูรณ์แบบจะต้องมีการวางแผนและนำไปปฏิ
บัติโดยตัวของผู้ป่วยเองงานต่างๆ
5) กลุ่มบำบัดแต่ละชนิดควรมีจำนวนที่เหมาะสม
6) การตัดสินใจทุกอย่างของผู้ป่วยและผู้บำบัดจะต้องเห็นชอบด้วยกันทั้ง 2 ฝ่าย
7) หลักการช่วยเหลือผู้ป่วยต้องการกระตุ้นให้ผู้ป่วยเกิดความรู้สึกอยากทำงานหรืออยากแสดงออก ตามความต้องการของผู้ป่วย
8) การจัดกิจกรรมในนิเวศบำบัด ต้องคำนึงถึงความเหมาะสมกับผู้ป่วยแต่ละคนหรือแต่ละกลุ่ม เช่น วัยวุฒิ คุณวุฒิ และฐานะของผู้ป่วย
9) ในการทำงานหากมีสิ่งบกพร่องเกิดขึ้น ผู้บำบัดจะปักความรับผิดชอบหรือยกเลิกกิจกรรมนั้น ๆ
10) การชี้ปัญหาหรือข้อบกพร่องของสมาชิกในกลุ่ม
ควรกระทำกันต่อหน้าผู้มีส่วนร่วมในกิจกรรมทุกคนและควรทำในขณะปัญหานั้นๆ เกิดขึ้นทันทีเพื่อทุกคนจะได้มองเห็นปัญหา และสามารถแสดงความคิดเห็นของตนได้ทันที
บทบาทของพยาบาลในการจัดสิ่งแวดล้อมเพื่อการบำบัด
1) เป็นแบบอย่างที่ดีในด้านการตอบสนองทางอารมณ์ เช่น ในยามโกรธ
จะบอกความรู้สึกโกรธแทนการแสดงออกให้เห็นทางพฤติกรรมว่ากำลังโกรธหรือแสดงพฤติกรรมรุนแรงเช่นที่คนทั่วไปและผู้ป่วยกระทำ ผู้ป่วยจะได้เห็นแบบอย่างของการแสดงออกของพฤติกรรมที่เหมาะสม
2) เป็นตัวแทนของบุคคลในสังคมปกติ การตอบสนองต่อผู้ป่วยควรอยู่ในเกณฑ์มาตรฐานของสังคมทั่วไป ไม่ใช่ตอบสนองเพราะผู้ป่วยเป็นผู้ป่วย
เช่น สามารถปฏิเสธคำร้องขอของผู้ป่วยที่เป็นคำร้องขอที่มากเกินไป
3) เป็นแบบอย่างที่ดีในด้านพฤติกรรมทางสังคม เช่น พฤติกรรมการตอบรับในกรณีที่พยาบาลควรตอบรับ และพฤติกรรมการตอบปฏิเสธในกรณีที่ควรปฏิเสธการแสดงความชื่นชมในกรณีที่มีผู้ทำสิ่งที่ควรชื่นชม การขอโทษ ขอบคุณ เป็นต้น
การบำบัดเชิงการรู้คิด
แนวคิดพื้นฐานของการบำบัดความคิดและพฤติกรรม การบำบัดด้วย CBT เชื่อว่าความคิดที่บิดเบือนไปจากความเป็นจริงหรือ dysfunctional thinking ทำให้เกิดผลกระทบต่ออารมณ์ของมนุษย์ โดยในโรคทางจิตเวชส่วนใหญ่จะพบลักษณะของความคิดที่บิดเบือนไปบางประการ ดังนั้นแนวทางในการบำบัด คือ ถ้าสามารถประเมิน (evaluate) ความคิดให้ถูกต้อง ตามความเป็นจริงหรืออยู่ในโลกของความเป็นจริงได้ (realistic) อาการเกี่ยวกับ emotion, behavior ของ ผู้ป่วยก็จะดีขึ้น โดยขั้นตอน คือ กาทำให้ผู้ป่วยเข้าใจก่อนว่าความคิดนั้นมีความ dysfunctionalอย่างไร แล้วให้ประเมินและแก้ไขให้ดีขึ้น CBTเป็นการรักษาที่ใช้การผสมผสานระหว่างเทคนิคการปรับความคิดและการปรับพฤติกรรมซึ่งในการรักษาโดยวิธีนี้ผู้รักษาทำหน้าที่ชี้แนะให้ผู้ป่วยได้เข้าใจรูปแบบต่างๆของความคิดที่เบี่ยงเบนและพฤติกรรมที่ผิดปกติ โดยการอภิปรายโต้แย้งความคิดที่ผิดปกติอย่างเป็นระบบ
ขั้นตอนการให้การปรึกษาโดยการปรับความคิดและพฤติกรรม
กิจกรรมในแต่ละครั้งของการให้การปรึกษาโดยการปรับความคิดและพฤติกรรม ครั้งที่ 1ในขั้นตอนแรกที่ผู้ให้การปรึกษาได้พบกับผู้รับการปรึกษามีข้อแนะนำจาก(Beck (1995)ถึงเนื้อหาของงานในอังคณา
ช่วยค้ำชู, 2554) คือ
1) สร้างสัมพันธภาพแห่งความไว้วางใจกับผู้รับ การปรึกษา
2) ให้ความรู้เกี่ยวกับปัญหาที่เกิดขึ้นในมุมมองของแนวคิดทางปัญญาตามรูปแบบใดรูปแบบหนึ่ง ที่เหมาะ กับความเข้าใจของผู้รับการปรึกษารายนั้นๆ
3) แนะนำให้ผู้รับการปรึกษารู้จักการให้การปรึกษาโดยการปรับความคิดและพฤติกรรมรวมทั้ง กระบวนการให้การปรึกษา
4) ให้ผู้รับการปรึกษามีความหวังในการที่จะปรับ ลดอารมณ์ที่ทำให้เกิดทุกข์ของตนเอง
5)ปรับความคาดหวังของผู้รับการปรึกษาให้เหมาะสมกับผลลัพธ์ที่จะได้จากการปรับความคิดและพฤติกรรม
6) ตั้งประเด็นสำหรับการให้การปรึกษาในวันนี้ ร่วมกัน
7) ระบุอารมณ์และให้คะแนนระดับความแรงของ อารมณ์ที่ไม่เหมาะสม ณ ขณะปัจจุบัน
8) สำรวจเบื้องต้นถึงเรื่องราวของปัญหาของผู้รับการปรึกษา
9) ระบุปัญหาและตั้งเป้าหมายในการแก้ปัญหาร่วมกัน
10) สอนผู้รับการปรึกษาถึงความเชื่อมโยงของ ความคิด อารมณ์พฤติกรรมและสรีระ
11) มอบหมายการบ้านให้ผู้รับการปรึกษาสังเกต
12) สรุปการสนทนาและให้ข้อมูลย้อนกลับจาก ผู้รับการปรึกษา
ครั้งที่ 2 มีงานในการให้การปรึกษาโดยการปรับ ความคิดและพฤติกรรมดังต่อไปนี้
1) ผู้ให้การปรึกษาสรุปย่อถึงปัญหาของผู้รับการ ปรึกษาและสิ่งที่ได้เรียนรู้ในครั้งที่ 1
2) ถามผู้รับการปรึกษาถึงภาวะอารมณ์ในปัจจุบัน และให้ระดับคะแนน
3) ทบทวนการบ้านที่ได้มอบหมายในครั้งที่แล้ว และถามถึงการเรียนรู้ที่เกิดขึ้น
4) สอนให้ผู้รับการปรึกษาได้รู้จักกับความคิดอัตโนมัติทางลบซึ่งเป็นต้นเหตุของอารมณ์ที่ไม่เหมาะสม
5) ฝึกค้นหาความคิดอัตโนมัติทางลบร่วมกับผู้รับ การปรึกษา
6) มอบหมายการบ้านให้ผู้รับการปรึกษาไปค้นหาความคิดอัตโนมัติทางลบในชีวิตจริงของผู้รับการปรึกษา มาอย่างน้อย 1 เรื่อง
7) สรุปการเรียนรู้ที่เกิดขึ้นในการปรึกษาครั้งนี้และ ให้ข้อมูลย้อนกลับระหว่างกัน
ครั้งที่ 3 และครั้งต่อๆ ไป มีงานในการให้การปรึกษาโดยการปรับความคิดและพฤติกรรมดังต่อไปนี้
1) ทักทายและระบุอารมณ์รวมทั้งให้ระดับคะแนน ของอารมณ์ ณ ปัจจุบัน
2) ทบทวนการบ้านที่ได้มอบหมายในครั้งที่ 2 ใน
เรื่องการค้นหาความคิดอัตโนมัติและสอบถามการเรียนรู้ ที่เกิดขึ้นในผู้รับการปรึกษา
3) เลือกความคิดอัตโนมัติมา 1 เรื่องเพื่อฝึกการ ประเมิน
ตรวจสอบหรือพิสูจน์ว่าความคิดดังกล่าวเป็น จริงหรือไม่มากน้อยเพียงใด
4) ในกรณีที่ความคิดนั้นไม่จริง หรือจริงเป็นบางส่วนนำผู้รับการปรึกษาเข้าสู่การปรับเปลี่ยนความคิดในกรณีที่ความคิดอัตโนมัตินั้นเป็นจริงนำผู้รับการปรึกษา เข้าสู่การแก้ปัญหา
5) ระบุอารมณ์รวมทั้งให้ระดับคะแนนของอารมณ์ ณ ปัจจุบันหลังจากการปรับเปลี่ยนความคิด
6) มอบหมายการบ้าน ให้ผู้รับการปรึกษาฝึกพิสูจน์และปรับเปลี่ยนความคิดอัตโนมัติของตนเองมา อย่างน้อย 1 เรื่องพร้อมทั้งหาปัญหาอุปสรรคที่อาจจะ เกิดขึ้นเพื่อจะได้นำมาพูดคุยในการปรึกษาครั้งต่อไป
7) สรุปและให้ข้อมูลย้อนกลับระหว่างกันในครั้งต่อ ๆไปจะมีกิจกรรมเช่นเดียวกันในขั้นตอนการค้นหา ความคิดอัตโนมัติการพิสูจน์และปรับเปลี่ยนความคิดอัตโนมัติ
นางสาวศิรภัทร ตุดเอียด เลขที่ 81