Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
การป้องกันและช่วยเหลือเด็กที่ได้รับอุบัติเหตุและสารพิษ - Coggle Diagram
การป้องกันและช่วยเหลือเด็กที่ได้รับอุบัติเหตุและสารพิษ
ปัจจัยที่ทำให้เกิดอุบัติเหตุในเด็ก
ด้านตัวเอง
พัฒนาการตามวัยของเด็กวัยทารกและเด็กวัยก่อนเรียน เอื้ออำนวยให้เด็กประสบอุบัติเหตุต่างๆ รอบ ตัวได้ง่ายมากกว่าเด็กวัยอื่นๆ การเจริญเติบโตและพัฒนาทักษะของกล้ามเนื้อที่ยังไม่แข็งแรงสมบูรณ์เต็มที่ทำ
ผู้ดูแลเด็ก
ความประมาทเลินเล่อ หรือรู้เท่าไม่ถึงการณ์ของบิดามารดา มีความประมาทขาดความรอบคอบ อาจก่อให้เกิดอุบัติเหตุแก่เด็กได้
สิ่งแวดล้อม
สิ่งแวดล้อมทางกายภาพ เช่น ถนน แม่น้ำลำคลอง สระน้ำ สนามเด็กเล่น
ส่วนสิ่งแวดล้อมทางสังคม เช่น การอยู่ในชุมชนที่เสี่ยงอันตราย ผู้คนรอบข้างที่มีการใช้ความรุนแรง ทำให้เด็กมีโอกาสถูกทำร้ายหรือลว่งละเมิดได้มากขึ้น
ภาวะฉุกเฉินและอุบัติเหตุทพี่บบ่อยในเด็กวัยต่างๆ
วัยทารก อุบัติเหตุเหตุในวัยทารกมักเกิดภายในบ้าน ดังนั้นผู้ดูแลควรให้ความสนใจดูแลเด็กและจัดสภาพแวดล้อมให้ปลอดภัย และต้องเข้าใจแบบแผนการเจริญเติบโตของเด็ก
วัยหัดเดิน เด็กวัยหัดเดินมีนิสัยเป็นนักค้นคว้า ชอบเดินไปรอบๆบ้าน ผู้ดูแลควรมีความกระฉับกระเฉงว่องไว ส่วนอุบัติเหตุที่พบบ่อยได้แก่ การพลัดตกหกล้ม ถูกของมีคม
วัยก่อนเรียน เด็กวัยนี้จะเริ่มเข้าสังคมมากขนึ้ มีความอยากรู้อยากเห็นอุบัติเหตุที่พบบ่อยได้แก่ ไฟฟ้าดูด อุบัติเหตุบนท้องถนน จมน้ำ บาดแผลถลอก ฟกช้ำ ถูกสารพิษ
วัยเรียน ชอบผจญภัยเริ่มเล่นนอกบ้านผู้ดูแลไม่สามารถตามไปปกป้องเด็กได้ ดังนั้นควรสอนเด็กเรื่องวิธีดูแลตนเอง และหลีกเลี่ยงการเกิดอุบัติเหตุต่างๆ ที่อาจจะเกิดขึ้น เช่น จมน้ำ อุบัติหตุบนท้องถนน
วัยรุ่น เด็กวัยนี้เป็นอิสระจากพ่อแม่ตัดสินใจด้วยตนเองมีการเปลี่ยนแปลงทางด้านร่างกายอย่างรวดเร็ว ทำให้งุ่มง่าม จะทำให้เกิดอุบัติเหตุได้ง่าย
การพยาบาลเด็กและวัยรุ่นที่ได้รับสารพิษ
สารพิษ หมายถึง สารที่เข้าสู่ร่างกายแล้วทำให้เกิดอันตรายต่อร่างกาย
ชนิดของสารพิษ
กลุ่มสารพิษที่มีสารตะกั่วเป็นส่วนประกอบ เช่น สีทาบ้าน สีทาของเล่น สีย้อมผ้า ถ่านไฟฉาย แบตเตอรี่
กลุ่มสารกัดกร่อน เป็นสารเคมีที่มีฤทธิ์เป็นกรดและด่างที่เข้มข้น สามารถทำลายเนื้อเยื่อที่สัมผัสได้ เช่น น้ำยาล้างสุขภัณฑ์ น้ำยาล้างผ้าขาว
กลุ่มน้ำยาทำความสะอาดเสื้อผ้า หรือทำความสะอาดร่างกาย เช่น ผงซักฟอก น้ำยาซักแห้ง สบู่เหลว
กลุ่มไฮโดรคาร์บอน เช่น น้ำมันก๊าด น้ำมันเบนซิน น้ำมันสำหรับจุดบุหรี่
กลุ่มยาฆ่าแมลง เช่น ยาฆ่าแมลงทำลายผักผลไม้ ยาฆ่ามด ปลวก ชนิดที่ใช้มากที่สุดมีส่วนประกอบ ของ organophosphate เป็นอันตรายมากต่อคน เนื่องจากตกค้างในผักและผลไม้
กลุ่มยารักษาโรค ถ้าได้รับเกินขนาดทำให้เกิดอันตรายต่อร่างกายได้ เช่น paracetamol, aspirin, morphine, antihistamine
หลักการรักษาเมื่อเด็กได้รับสารพิษ
ทำให้อาเจียน เป็นวิธีที่ดีที่สุด คือ การล้วงคอ หรือรับประทาน syrup ipecac
ห้ามทำให้เด็กอาเจียนเมื่อ หมดสติ เพราะอาจสำลักเข้าปอดได้ง่าย
การล้างท้อง (gastric lavage) ควรทำในรายที่หมดสติ หรือไม่อาเจียนภายหลังการให้ยาแล้ว
การให้สารน้ำทางหลอดเลือดดำ หรือให้ยาที่ทำให้ปัสสาวะเป็นด่าง เช่น NaHCO3 เพื่อช่วยเร่ง ขับสารพิษพวก aspirin
การเปลี่ยนถ่ายเลือด
สารพิษกลุ่มสารตะกั่ว
สารเคมีที่มีส่วนผสมของสารตะกั่ว เช่น น้ำมันเบนซิน สีทาบ้าน สีทา ของเล่น
เด็กได้รับพิษจากสารตะกั่ว
การรับประทานอาหารหรือน้ำที่ปนเปื้อนสารตะกั่วจากการใช้ภาชนะใส่อาหาร น้ำ
การหายใจเอาสารตะกั่วเข้าไป เช่น ตะกั่วจากควันไอเสียรถยนต์ สารตะกั่ว 1 ไมครอนดูดซึมเข้าสู่ร่างกาย ได้ร้อยละ 70-80
การดูดซึมเข้าสู่ผิวหนัง โดยการสัมผัสวัตถุสิ่งของที่ปนเปื้อนสารตะกั่ว เช่น สัมผัสเสื้อผ้าผู้ที่ทำงานเป็นช่างสี หรือช่างแบตเตอรี่
สารตะกั่วมีผลต่อร่างกาย
ระบบโลหิต ขัดขวางการ สร้างฮีโมโกลบินทำให้เม็ดเลือดแดงแตกง่าย ทำให้ผู้ป่วยมีภาวะซีดและพร่องออกซิเจนได้ง่าย
ระบบประสาท ทำลายเซลล์สมองโดยตรงทำให้เกิดหลอดเลือดในสมองอักเสบทำให้เยื่อสมองบวมมีเลือดออก
ไต สารตะกั่วทำลายหลอดไตส่วนต้น ทำให้การดูดซึมกลับของน้ำตาล ฟอสเฟต กรดอมิโน กรดยูริคและไบคาร์บอเนตเสียไป
ระบบทางเดินอาหาร เด็กจะมีอาการปวดท้องอย่างรุนแรง เกิดการตายของเซลล์ตับและตับอักเสบ
หัวใจ สารตะกั่วทำให้กล้ามเนื้อหัวใจอักเสบและเกิดพังผืดส่งผลให้หัวใจเต้นผิดปกติ
ระบบสืบพันธุ์ สารตะกั่วจะทำให้เด็กวัยรุ่นเป็นหมัน
ระบบกระดูกและกล้ามเนื้อ จะทำให้กระดูกอ่อน เพราะขาดการวิตามินดี นอกจากนี้ยังทำให้ปวด กล้ามเนื้อ
อาการและอาการแสดง
ระดับสารตะกั่วในเลือดมากกว่า 40 ไมโครกรัม/เดซิลิตร จะทำให้ซีด เด็กจะมีอาการปวดท้องรุนแรง
ระดับสารตะกั่วในเลือดมากกว่า 100ไมโครกรัม/เดซิลิตร ทำให้เด็กเกิดอาการทางสมอง
ระดับสารตะกั่วในเลือดมากกว่า 10ไมโครกรัมเดซิลิตรจะทำให้การพัฒนาของสมองช้าลง
สารเคมีที่ใช้ในบ้าน
กลุ่มสารกัดกร่อน ได้แก่ น้ำยาล้างสุขภัณฑ์ น้ำยาซักผ้าขาว
ผิวหนัง ปวดแสบปวดร้อนมาก ผิวหนังแดง พอง ลอดหลุดเป็นแผล
การรับประทาน ทำให้เกิดอาการปวดแสบปวดร้อนในปาก มีแผลในปาก กลืนลำบาก
ทางเดินหายใจ ทำให้เสียงแหบ หายใจลำบาก เนื่องจากการบวมของกล่องเสียง
กลุ่มทำความสะอาดเสื้อผ้าและร่างกาย
ผกซักฟอก เมื่อรับประทานเข้าไปจะทำให้มีอาการคลื่นไส้อาเจียน
น้ำยาซักแห้ง เมื่อรับประทานเข้าไปทำให้หัวใจเต้นเร็วมากกว่าปกติ มีอาการพิษต่อตับ
สบู่ เมื่อรับประทานทำให้เกิดอาการคลื่นไส้อาเจียน
กลุ่มไฮโดรคาร์บอน เช่น น้ำมันก๊าด น้ำมันเบนซิน การรับประทานทำให้เกิดอาการ เจ็บ ๆ แสบ ปวดศีรษะ คลื่นไส้อาเจียน
กลุ่มยาฆ่าแมลง เมื่อรับประทานเข้าไปในร่างกาย ทำให้เกิดอาการและอาการแสดงอย่างรวดเร็ว ภายในนาทีหรือใน 12-24 ชั่วโมงหลังรับประทาน
Nicotinic Receptor กล้ามเนื้ออ่อนแรง โดยเฉพาะกล้ามเนื้อช่วยในการหายใจ
ระบบประสาท จะมีอาการตื่นเต้น กระวนกระวาย นอนไม่หลับ
Muscarinic Receptor จะมีอาการน้ำลายไหล น้ำตาไหล เหงื่อออกมาก
หลักการป้องกันเด็กและวัยรุ่นจากสารเคมี
สารเคมีที่ใช้ในบ้านควรเก็บแยกประเภทและเขียนฉลากไว้ให้ชัดเจน เก็บให้มิดชิด
การเลือกซื้อของใช้ ของเล่นสำหรับเด็ก เช่น ไม่ควรเลือกซื้อของเล่นที่เคลือบเงา
ดูแลเด็กอย่างใกล้ชิด เพื่อป้องกันการหยิบสิ่งของที่ไม่ใช่อาหารเข้าปาก
สังเกตอาการและอาการแสดงของบุตร เพื่อให้บุตรได้รับการรักษาที่ถูกต้องโดยเร็ว
การพยาบาลเด็กและวัยรุ่นที่ได้รับอุบัติเหตุ
สิ่งแปลกปลอมติดคอ พบบ่อยในเด็กเล็กโดยเฉพาะอายุ 1-3 ปี ชอบหยิบของเข้าปาก
การรักษาเบื้องต้น
เด็กเล็ก อายุน้อยกว่า 1 ปี ให้จับเด็กคว่ำ ศีรษะต่ำ ตบหลัง (Back Blow) สลับด้วยนอนหงาย ทำ Chest Thrust อย่างละ 5 ครั้ง จนสิ่งแปลกปลอมหลุด
เด็กโตใช้เทคนิค Abdominal Thrust
เปิดปากเด็ก ถ้ามองเห็นสิ่งแปลกปลอมให้ล้วงออก แต่ถ้ามองไม่เห็นห้ามล้วงออก
ไฟดูด ไฟไหม้ น้ำร้อนลวก
กระแสไฟฟ้าจะผ่านเข้าสู่ร่างกาย ทำอันตรายต่ออวัยวะที่สำคัญ คือ ระบบประสาทและหัวใจ
ประเมินความลึกของแผล
First Degree Burn จะมีอาการปวดแสบปวดร้อน ผิวหนังยังไม่พอง
Second Degree Burn จะปรากฏอาการบวมแดงมากขึ้นมีผิวหนังพอง และมีน้ำเหลืองซึมจะปวดแสบปวดร้อนมาก
Third Degree Burn บาดแผลจะลึกมากถึงชั้นหนังแท้ และอาจลึกถึงชั้นไขมัน ชั้นกล้ามเนื้อและกระดูก จะไม่เจ็บปวดเพราะปลายประสาทถูกทำลาย
หกล้ม และตกจากที่สูง
เด็กจะมีอาการเจ็บปวดมาก ยกอวัยวะที่กระดูกหักไม่ได้ พบอาการบวม เขียวช้ำ กดเจ็บ อาจเกิดภาวะช็อคจากการเสียเลือด
การพยาบาลผู้ป่วยเด็กที่เข้าเฝือกปูนหรือดึงถ่วงน้ำหนัก
ประเมินอาการและอาการแสดงของการบาดเจ็บของหลอดเลือดและเส้นประสาท
ประเมินความแน่นของเฝือกหรือการพันผ้า
จัดท่านอนให้ผู้ป่วยอยู่ในท่าที่ถูกต้อง เพื่อป้องกันความพิการมากขึ้น
ตรวจสอบน้ำหนักถ่วงให้ถูกต้องและมีการถ่วงน้ำหนักอย่างอิสระ