Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
A Beautiful Mind หัวใจมีเหตุผล ที่เหตุผลไม่รู้จัก ครั้งที่ 3, นางสาวพัชรา…
A Beautiful Mind หัวใจมีเหตุผล ที่เหตุผลไม่รู้จัก
ครั้งที่ 3
จอห์น แนช
ข้อมูลทั่วไป
ผู้ป่วยเพศชาย ชื่อนายจอร์น ฟอบส์ แนช จูเนียร์ อายุ 24 ปี สถานภาพสมรส รูปร่างสันทัด ผมสีน้ำตาลเข้ม
อาการสำคัญ
ทำร้ายร่างกายตัวเอง
การคิดว่ามีคนตามฆ่าตามทำร้าย เห็นอะไรเห็นใครก็ระแวงไปหมด (paranoid)
การเห็นภาพหลอน (เพื่อนร่วมห้องที่มหาวิทยาลัย หลานของเขาและสายลับที่นำเขาเข้าไปรับงานราชการลับด้านความมั่นคง)
มักเก็บเนื้อเก็บตัว ไม่คบหาสมาคมกับใคร อยู่ในโลกของตัวเองที่เชื่อว่าเป็นจริง
หูเเว่ว ได้ยินเสียงคนสั่งให้ทำตาม ซึ่งไม่มีอยู่จริง
ประวัติการเจ็บป่วย
ปฎิเสธโรคประจำตัว การแพ้ยา
ประวัติครอบครัว
ไม่พบโรคประจำตัวของผู้ป่วยและประวัติการเจ็บป่วยในครอบครัว
ความสัมพันธ์เเละคนในครอบครัวผู้ป่วย
ภรรยาของผู้ป่วยชื่อนางอลิเซีย (Mrs. Alicia) เล่าว่า ผู้ป่วยเป็นลูกชายคนเดียวของครอบครัว มีน้องสาว 1 คน บิดาเป็นวิศวกร มารดาเป็นครูสอนภาษา ผู้ป่วยเป็นคนเก็บตัว ไม่ค่อยเล่าเรื่องส่วนตัวให้ฟัง ก่อนหน้านี้ภรรยาสังเกตว่า ผู้ป่วยมีความคิดหมกมุ่นเกี่ยวกับเรื่องตัวเลขอย่างมากจนเกือบทำร้ายภรรยาและลูก
ผู้ป่วยเป็นโรคจิตเภท (schizophrenia)
อาการด้านบวก (Positive Symptoms)
อาการหลงผิดซึ่งอาการหลงผิดที่พบได้บ่อยของผู้ที่เป็นโรคจิตเภทคือคิดว่าตนเองมีคนคอยปองร้าย (delusion of persecution) และคิดว่ามีคนอื่นพูดเรื่องราวที่เกี่ยวข้องกับตนเอง (delusion of reference)
อาการประสาทหลอนพบว่าผู้ที่เป็นโรคจิตเภทจะมีอาการประสาทหลอนจากประสาทสัมผัสทั้งห้าที่พบบ่อยคืออาการหูแว่วเสียงแว่วที่ได้ยินมักจะเป็นเสียงคำพูดเช่นหูแว่วได้ยินเสียงคนพูดว่าร้ายหรือสบประมาทตนเองหรือการพูดเรื่องราวเกี่ยวกับตนเอง
ความผิดปกติของคำพูดพบว่าผู้ที่เป็นโรคจิตเภทมักมีปัญหาทางด้านความคิดขาดการเชื่อมโยงของเหตุผลไม่สามารถลำดับความคิดตามขั้นตอนของเหตุการณ์ได้ทำให้คำพูดไม่ต่อเนื่องเป็นเรื่องราวเนื้อหาคำพูดไม่มีความสัมพันธ์ต่อเนื่องกันหรือบางคนพูดไม่รู้เรื่องเลย
ความผิดปกติของพฤติกรรมพบว่าผู้ที่เป็นโรคจิตเภทจะมีพฤติกรรมวุ่นวายพลุ่งพล่านกระวนกระวายไม่ใส่ใจตนเองบางรายมีการแต่งกายที่ไม่เหมาะสมสกปรกบางรายมีพฤติกรรมทางเพศที่ไม่เหมาะสมร่วมด้วย
อาการด้านลบ(NegativeSymptoms)
อารมณ์เฉยเมย (eflective flattening) ซึ่งจะสังเกตได้จากสีหน้าของผู้ที่เป็นโรคจิตเภทจะเรียบเฉยไม่มีการแสดงของอารมณ์ไม่มีการมองสบตาหรือการแสดงกิริยาท่าทางต่าง ๆ
พูดน้อยหรือไม่พูด (alogia) แสดงออกโดยการตอบคำถามแบบสั้น ๆ โดยใช้คำพูดน้อยหรือไม่สนใจที่จะตอบคำถาม
ขาดความสนใจในกิจกรรมทุกชนิด (avolion) ซึ่งผู้ที่เป็นโรคจิตเภทจะไม่สามารถริเริ่มในการทำกิจกรรมทุกชนิดโดยจะนั่งอยู่เฉยๆในระยะเวลานาน ๆ และไม่สนใจที่จะเข้าร่วมในกิจกรรมต่าง ๆ
โรคจิตเภท (schizophrenia) (สำนักนโยบายและยุทธศาสตร์กระทรวงสาธารณสุข, 2552) ได้ให้ความหมายโรคจิตเภทว่าเป็น ความผิดปกติทางความคิดและการรับรู้มีอารมณ์ไม่เหมาะสมหรือเฉยเมยโดยระดับความรู้สึกตัวและสติปัญญายังปกติอยู่ การดำเนินของโรคจิตเภทจะเป็นแบบต่อเนื่องหรือบางรายมีอาการเป็นพักๆ แล้วดำเนินต่อหรือเป็นตลอดเวลา
Paranoid type ลักษณะสําคัญทางคลินิก คือ มีความหมกมุ่นอยู่กับอาการ หลงผิด หรือหูแว่ว เป็นชนิดที่พบบ่อยที่สุด ผู้ป่วยมักเริ่มเป็นขณะอายุมากกว่ากลุ่มยรอยอื่น
เกณฑ์การวินิจฉัยโรคจิตเภทตาม DSM-H-TR
ลักษณะอาการจำเพาะ: มีอาการต่อไปนี้อย่างน้อย 2 ข้อขึ้นไปโดยมีแต่ละอาการอยู่ต่ละอาการอยู่นานพอสมควรในช่วงเวลา 1 เดือน (หรือน้อยกว่านี้หากรักษาได้ผล)
1.1 อาการหลงผิดซึ่งจะแสดงให้เห็นด้วยการที่ผู้ที่เป็นโรคจิตเภทมีความเชื่อที่ผิดโดยไม่เป็นจริง ได้แก่ หลงผิดคิดว่ามีคนจะทำร้ายหลงผิดคิดว่าคนอื่นว่าร้ายหรือนินทาตนเองหลงผิดคิดว่าตนเองเป็นผู้วิเศษหรือหลงผิดคิดว่าตนเองเป็นคนที่มีอำนาจเหนือธรรมชาติเป็นต้น
1.2 อาการประสาทหลอนเป็นอาการที่เกิดการจากรับรู้ผิดซึ่งสามารถเกิดได้ทั้งประสาทสัมผัสทั้งห้า ได้แก่ ตาหูจมูกลิ้นและการสัมผัสเช่นได้ยินเสียงที่คนอื่นไม่ได้ยินเห็นภาพที่คนอื่นมองไม่เห็นได้กลิ่นเหม็นในขณะที่คนอื่นไม่ได้กลิ่นหรือการรับรู้รสชาติอาหารที่ผิดปกติเป็นต้น
1.3 มีอาการของความผิดปกติทางการพูด (disorganized speech) เป็นลักษณะการพูดจาสับสนพูดคนเดียวเป็นเรื่องเป็นราวในขณะที่คนอื่น ๆ ฟังไม่เข้าใจเนื้อหาสาระของเรื่องที่พูดจับใจความไม่ได้รวมถึงการสร้างคำขึ้นมาเองภาษาที่พูดเป็นภาษาที่คนอื่นฟังแล้วไม่เข้าใจเป็นต้น
1.4 มีพฤติกรรมแปลก ๆ ทำอะไรต่างจากคนอื่น ๆ ซึ่งอาจเป็นในลักษณะแบบว้าวุ่นสับสน (disorganized) หรือมีพฤติกรรมที่มีการเคลื่อนไหวแบบคงรูปเดิม (catatonic) อย่างเห็นได้ชัด
1.5 อาการด้านลบ (negative symptoms) ได้แก่ อารมณ์เรียบเฉย (affective flattening) พูดน้อยหรือไม่พูด (alogia) หรือขาดความกระตือรือร้น (avolition)
มีปัญหาด้านสังคมหรือการงานเสื่อมมีความบกพร่องในการทำงานระยะอาการตั้งแต่เริ่มเจ็บป่วย
กิจกรรมด้านสำคัญ ๆ บกพร่องลงจากระดับ
ไม่ใช่อาการจากสารพิษที่เกิดจากการได้รับสารเคมีหรือยาตัวอื่น
มีความสัมพันธ์กับประวัติความผิดปกติด้านพัฒนาการ (Pervasive Developmental Disorder
ระยะเวลามีอาการของความผิดปกติจะมีอยู่อย่างต่อเนื่องนานอย่างน้อย 6 เดือนซึ่งภายใน 6 เดือนและอาการดังกล่าวจะเป็นอยู่นานอย่างน้อย 1 เดือนหรือน้อยกว่านี้หากรักษาได้ผลและอาจรวมถึงระยะที่มีอาการเริ่มต้นของโรค (prodromal symptoms) หรืออาการหลงเหลือ (residual symptoms) ด้วยในระยะเริ่มต้นหรือระยะหลงเหลืออาจมีอาการเพียงแค่อาการด้านลบ แต่อาการเบาบางกว่าเช่นการมีความคิดแปลก ๆ มีการรับรู้ที่ต่างไปจากปกติ (unusual perceptual experience)
ไม่ใช่อาการจิตอารมณ์หรืออาการที่เกิดขึ้นจากความผิดปกติด้านอารมณ์ (Schizoaflective และ Mood Disorder)
การรักษา
การรักษาด้วยยา
การรักษาด้วยยามีความสำคัญในการรักษาผู้ที่เป็นโรคจิตเภทในทุกขั้นตอนของการรักษาโดยเฉพาะอย่างยิ่งระยะเฉียบพลัน (acute) ซึ่งวัตถุประสงค์ของการรักษาด้วยยาเพื่อเป็นการควบคุมอาการให้สงบโดยฤทธิ์ของยาจะทำให้อาการหรือพฤติกรรมที่วุ่นวายของผู้ป่วยโรคจิตเภทดีขึ้นเป็นการป้องกันอันตรายต่อทั้งตัวผู้ป่วยและผู้อื่นส่วนฤทธิ์ในการรักษาอาจต้องใช้เวลานานเป็นสัปดาห์การให้ยาในระยะยาวเป็นการให้เพื่อป้องกันการกลับเป็นซ้ำซึ่ง
Thorazine 30 mg IM q 6 hrs (antipshycotic)
กลุ่ม Phenothiazine
กลไกการออกฤทธิ์
มีฤทธิ์ยับยั้ง 5 HT receptor ทำให้มีฤทธิ์กดภาวะประสาทหลอนของผู้ป่วยโรคจิต
ผลข้างเคียง
ง่วงซึม ผิวหนังไวต่อแสงแดด ตาสู้แสงไม่ได้ ปากแห้ง
Diazepam 10 mg IM q 4 hrs prn (antianxiety)
กลุ่ม Benzodiazepine
กลไกการออกฤทธิ์
GABA เป็น inhibitory neurotransmitter ที่สำคัญในสมองทำงานโดยเปิด chloride ion channel ทำให้ บรรจุ chloride เข้าไปในเซลล์มากขึ้นเกิดภาวะ hyperpolarization ทำให้เกิด excitation ได้ยากขึ้น
ผลข้างเคียง
ง่วงนอน ง่วงซึมหรือมีอาการคล้ายเมาค้าง ฝันร้าย สมถภาพทางเพศลดลง ความจำบกพร้อง
การรักษาด้วยไฟฟ้า (electroconvulsive therapy: ECT)
การรักษาด้วยไฟฟ้าเป็นวิธีการหนึ่งที่ใช้ในการรักษาผู้ที่เป็นโรคจิตเภทในปัจจุบันเป็นการกระตุ้นให้เกิดภาวะชักด้วยกระแสไฟฟ้าจำนวน จำกัด ผ่านเข้าสู่สมองระยะเวลา จำกัด มีผลทำให้เกิดการปรับเปลี่ยนการทำงานในสมองที่จะมีผลต่อการปรับอารมณ์ความคิดของผู้ที่เป็นโรคจิตเภทส่งผลให้อาการทางจิตทุเลาลงได้ซึ่งการรักษาด้วยไฟฟ้าในผู้ที่เป็นโรคจิตเภทนั้นได้ผลไม่ดีเท่ากับการรักษาด้วยยา (มาโนชหล่อตระกูลและปราโมทย์สุคนิชย์, 2548) แต่จะถูกพิจารณาให้ใช้ในการรักษาผู้ที่เป็นโรคจิตทางอารมณ์โดยเฉพาะกลุ่มที่มีอาการซึมเศร้าหรือกลุ่มอาการไม่เคลื่อนไหว (catatonic type) หรือในรายที่รักษาด้วยยาแล้วไม่ได้ผลหรือการออกฤทธิ์ของยาค่อนข้างช้าจึงจำเป็นต้องใช้การรักษาด้วยไฟฟ้าควบคู่กันไป
ECT 1 course (5 times per week 10 weeks)
ผลข้างเคียงของการรักษาด้วยไฟฟ้า
ความดันสูง-ต่ำไม่สม่ำเสมอ หัวใจเต้นผิดปกติ
งุนงงสับสนชั่วคราว ปวดเมือยปวดศีรษะ
อาจมีความจําบกพร่องหลงลืม
การรักษาทางจิตสังคม
จิตบำบัด (psychotherapy)
การให้การปรึกษาครอบครัว (family counseling)
กลุ่มบำบัด (group therapy)
นิเวศน์บำบัด (milieu therapy)
การบำบัดครอบครัว (family intervention)
การทำกลุ่มสุขภาพจิตศึกษา (psycho-educational program)
การบำบัดทางปัญญาและพฤติกรรม (cognitive-behavior therapy)
การฝึกทักษะทางสังคม (Social skills training: SST)
การฟื้นฟูอาชีพ (Vocational rehabilitation)
สาเหตุของการป่วย
ปัจจัยทางพันธุกรรม
คนที่มีญาติสายตรงป่วยเป็นจิตเภท
ปัจจัยด้านสิ่งแวดล้อม
อยู่ในสภาวะที่มีความเครียดมากในสภาพสังคมที่เป็นอยู่
ปัจจัยด้านพยาธิสรีรวิทยา
ปริมาณสารสื่อประสาทในสมองผิดปกติที่ชื่อว่าโดปามีน (dopamine)
จากกรณีศึกษา
มีปัญหาในการสัมพันธ์กับคนอื่น เขาพูดเองว่า "ผมไม่ค่อยชอบคนอื่น และคนอื่นก็คงไม่ชอบผมเหมือนกัน"
ปัจจัยกระตุ้น
บุคคลในครอบครัวของผู้ป่วยไม่สามารถดูแลผู้ป่วยได้อย่างเหมาะสม
ความเครียดจากการทำงาน
ความผิดปกติของโครงสร้างสมอง
พบผู้ป่วยโรคจิตเภทอยู่จำนวนหนึ่งที่มีช่องในสมอง (ventricle) โตกว่าปกติ ซึ่งผู้ป่วยเหล่านี้ส่วนใหญ่มีอาการด้านลบเป็นอาการเด่น บางการศึกษาพบว่าผู้ป่วยเหล่านี้มีเลือดไปเลี้ยงสมองส่วนหน้าลดลง
ปัจจัยด้านจิตสังคม
สภาพครอบครัวมีผลต่อการกำเริบของโรค
ผลกระทบจากการป่วย
จากสถานการณ์
จอห์นสูญเสียบุคลิกภาพเพราะหลังค่อมและมองซ้ายมองขวาตลอดเวลา จากอาการของโรค
จอห์นสัมพันธภาพในครอบครัวแย่ลง
จอห์นพร่องกิจวัตรประจำวันบางส่วน
จอห์นขาดสัมพันธภาพกับคนรอบข้าง
จอห์นไม่สามารถทำงานได้เนื่องจากคิดว่าตนเองมีคนสะกดรอยตาม
จากทฤษฎี
สูญเสียบุคลิกภาพและความมั่นใจในตนเองเนื่องจากอาการของโรค
สูญเสียสัมพันธภาพทางสังคม
เกิดผลกระทบต่อหน้าที่การงาน
การพยาบาลผู้ป่วย
คำเเนะนำเมื่อผู้ป่วยกลับไปอยู่บ้าน
1.ดูแลผู้ป่วยให้ผู้ป่วยกินยาอย่างต่อเนื่อง ถึงแม้ว่าอาการจะดีขึ้น และสังเกตอาการข้างเคียงของยา แพทย์ผู้รักษามักจะอธิบายให้ฟังก่อนการสั่งยาครั้งแรกว่าจะมีอาการข้างเคียงอย่างไรบ้าง หากมีอาการข้างเคียงควรรีบติดต่อแพทย์ผู้รักษาทันที อย่าทิ้งไว้เพราะจะทำให้ผู้ป่วยไม่อยากกินยา และไม่อยากรักษาต่อ
2.สังเกตอาการเตือนที่ต้องนำผู้ป่วยไปพบแพทย์โดยเร็ว คือ นอนไม่หลับ ไม่ยอมนอน ไม่รับประทานอาหาร อารมณ์หงุดหงิดหรือครื้นเครงกว่าปกติ พฤติกรรมก้าวร้าว ทำร้ายตัวเอง หรือผู้อื่น
3.จดจำอาการต่างๆที่เกิดขึ้นที่บ้านมาเล่าให้แพทย์ฟัง การดำเนินชีวิตที่บ้านจะแสดงถึงความสำเร็จของการรักษาด้วย
4.พูดคุยกับผู้ป่วยด้วยความเป็นมิตร นุ่มนวล ส่งผลให้ผู้ป่วยเกิดความรู้สึกมีคุณค่าและยังคงเป็นส่วนหนึ่งของครอบครัว
5.กระตุ้นให้ผู้ป่วยมีกิจกรรมอื่นๆ พยายามให้ดำเนินชีวิตใกล้เคียงกับภาวะปกติมากที่สุดทั้งความรับผิดชอบส่วนตัว และงานรับผิดชอบส่วนรวม
6.ดูแลผู้ป่วยไม่ให้เกี่ยวข้องสารเสพติดทุกชนิด ทั้งเครื่องดื่มแอลกฮอล์ บุหรี่ ยาเสพติด
7.พาผู้ป่วยไปพบแพทย์ตามนัดทุกครั้ง เพื่อจะได้รับการตรวจรักษาอย่างสม่ำเสมอ หากผู้ป่วยไม่ยอมมาจริงๆ ญาติควรมาพบแพทย์และเล่าปัญหานี้ให้แพทย์ทราบ
8.หลีกเลี่ยงการใช้อารมณ์ตอบโต้กันภายในบ้าน
การป้องกันการกลับมาเป็นซ้ำ
การประเมินความรู้และความเข้าใจเกี่ยวกับการกลับเป็นซ้ำ
การตรวจสอบอาการเตือนก่อนการกลับเป็นซ้ำ
2.1 การระบุอาการที่เป็นอาการเตือนก่อนการกลับมาเป็นซ้ำ
2.1.1 การฝึกบันทึกเส้นเวลา (time line exercise)
2.2.2 การฝึกคัดเลือกบัตรคำอาการเตือน (the card sort exercise)
2.2 การพัฒนาแนวทางการจัดการกับอาการกลับเป็นซ้ำ
2.2.1 การหาแหล่งช่วยเหลือ (pathway to support)
2.2.2 การให้ความช่วยเหลือจากแหล่งบริการ (service interventions)
2.3 การฝึกการติดตามอาการเตือน
2.4 การอธิบายลักษณะของอาการเตือนของ การกลับเป็นซ้ำและการจัดการกับอาการเตือนของ การกลับเป็นซ้ำ
การพัฒนาแผนปฏิบัติการในการป้องกันการกลับเป็นซ้ำ
3.1 ผู้ป่วยและผู้ดูแลต้องสังเกตและประเมินอาการเตือนที่เกิดขึ้นก่อนการกลับเป็นซ้ำ
3.2 ผู้ป่วยและญาติต้องสามารถประเมินสิ่งกระตุ้นก่อให้เกิดความเครียด รวมทั้งจัดการความเครียด
3.3 บันทึกกิจกรรมที่ผู้ดูแลและสมาชิกในครอบครัวได้ปฏิบัติร่วมกันกับผู้ป่วยในการช่วยเหลือให้ผู้ป่วยฟื้นหายจากโรคและป้องกันการกลับเป็นซ้ำ
3.4 การปฏิบัติตามกิจกรรมการดูแลผู้ป่วยที่ผู้ดูแลต้องปฏิบัติมี 3 กิจกรรม
กิจกรรมการดูแลที่กำหนดโดยแพทย์
กิจกรรมที่เป็นไปตามความต้องการของผู้ป่วย
กิจกรรมที่เป็นไปตามความต้องการของครอบครัว
การเตรียมการเพื่อปฏิบัติปฏิบัติการในการป้องกันการกลับเป็นซ้ำ ในระยะนี้พยาบาล ผู้ป่วยและญาติได้ร่วมกันปฎิบัติตามแผนที่วางไว้ มุ่งให้ฟื้นหายจากอาการเตือนทางจิตที่ประเมินได้ ให้ความสำคัญในการรับประทานยาอย่างต่อเนื่อง จัดการกับความเครียดได้อย่างเหมาะสม และลดการกระตุ้นที่อยู่รอบตัวผู้ป่วย
บูรณาการแผนปฏิบัติป้องกันการกลับเป็นซ้ำสู้ครอบครัวและชุมชน จัดตั้งกลุ่มช่วยเหลือตนเองของผู้ป่วยจิตเภทเพื่อให้สมาชิกสามารถแลกเปลี่ยนความรู้ในการดูแลตนเอง ตลอดจนการประเมินสัญญาณหรือาการต่าง ๆ ที่เปลี่ยนแปลงของตนเอง
การจําแนกโรคจิตเภท ICD-๑๐
Paranoid schizophrenia (F ๒๐.๐)
โรคจิตเภทชนิดหวาดระแวง
Hebephrenic schizophrenia (F ๒๐.๑)
เป็นโรคจิตเภทชนิดหนึ่ง ที่มีการเปลี่ยนแปลงทางอารมณ์เป็นอาการเด่น
Catatonic schizophrenia (F ๒๐.๒)
ลักษณะอาการเด่น คือ การเคลื่อนไหวของร่างกายและจิตใจ (Psychomotor) ผิดปกติ
Undifferentiated schizophrenia (F ๒๐.๓)
เป็นสภาวะเข้าได้กับเกณฑ์ทั่วไป สําหรับการวินิจฉัยโรคจิตเภท แต่อาการไม่เข้ากับจิตเภทชนิดย้อยในรหัส F ๒๐.๐ – F ๒๐.๒ หรือมีอาการของชนิดย้อยเหลรานั้นมากกว่า ๑ อย่าง แต่อาการไม่เด่นพอที่จะวินิจฉัยเป็นชนิดย่อย ชนิดใดชนิดหนึ่ง
Post-schizophrenic depression (F ๒๐.๔)
เป็นสภาวะซึมเศร้าที่อาจจะเป็นนาน และเกิดตามหลังโรคจิตเภท
Residual schizophrenia (F ๒๐.๕)
เป็นโรคจิตเภทที่มีลักษณะเรื้อรัง มีการดําเนินโรคตั้งแต่ระยะต้น
Simple schizophrenia (F ๒๐.๖)
เป็นโรคที่พบได้ไม่บ่อย อาการค่อยเป็น ค่อยไปแต่ดําเนินไปเรื่อย ๆ ผู้ป่วยที่มีพฤติกรรมที่แปลกประหลาด ไม่สามารถทําตามสิ่งที่สังคมต้องการ และความสามารถทั้งหมดเสื่อมลงไป
พรบ.
ฉบับปรับปรุง พ.ศ.2562
“มาตรา ๒๐/๑ ในกรณีที่คณะกรรมการสถานบำบัดรักษาเห็นว่าผู้ป่วยตามมาตรา ๒๙ มีความจำเป็นต้องได้รับการบำบัดรักษาทางกายด้วย แต่ขาดความสามารถในการตัดสินใจให้ความยินยอมรับการบำบัดรักษาทางกาย และไม่มีผู้ให้ความยินยอมตามที่กำหนดไว้ในมาตรา ๒๑ วรรคสาม ให้คณะกรรมการสถานบำบัดรักษามีอำนาจให้ความยินยอมในการบำบัดรักษาทางกายแทน ”
เข้าไปในเคหสถาน สถานที่ หรือยานพาหนะใด ๆ เพื่อนำบุคคลซึ่งมีพฤติการณ์ อันน่าเชื่อว่ามีลักษณะตามมาตรา ๒๒ ไปรับการบำบัดรักษาในสถานพยาบาลของรัฐหรือสถานบำบัดรักษา เมื่อมีเหตุอันควรสงสัยตามสมควรว่าบุคคลดังกล่าวอยู่ในเคหสถานสถานที่ หรือยานพาหนะใด ๆ ประกอบกับมีเหตุอันควรเชื่อว่าเนื่องจากการเนิ่นช้ากว่าจะเอาหมายค้นมาได้ บุคคลนั้นจะหลบหนีไป หรือกรณีมีเหตุฉุกเฉินเนื่องจากบุคคลนั้นมีภาวะอันตรายและเป็นอันตรายที่ใกล้จะถึง
พระราชบัญญัติสุขภาพจิต พ.ศ. 2551
เป็นกฎหมายสำคัญที่ใช้ในการดูแลบุคคลที่มีความผิดปกติทางจิตที่มีภาวะอันตราย และ/หรือมีความจำเป็นต้อ'ได้รับการรักษา บุคคลที่ต้องได้รับการบำบัดรักษาตามมาตรา 22 ใน พ.ร.บ. นี้ ได้แก่ บุคคลที่มีความผิดปกติทางจิตในกรณีใดกรณีหนึ่ง ดังต่อไปนี้
มีภาวะอันตราย เช่น ผู้ที่มีอาการก้าวร้าว ทำร้ายตนเองและผู้อื่น พกอาวุธ ทำลายข้าวของ เป็นต้น
มีความจำเป็นต้องได้รับการบำบัดรักษา เช่น มีความเจ็บป่วยเกิดขึ้น แต่ไม่ยินยอมเข้ารับการบำบัด
รักษา
ขั้นตอนและแนวทางการดำเนินงาน
เจอ: เมื่อพบบุคคลที่มีความผิดปกติทางจิตตามมาตรา 22 (ผู้ที่มีภาวะอันตราย และ/หรือมีความจำเป็นต้องได้รับการบำบัดรักษา)
แจ้ง: แจ้งพนักงานเจ้าหน้าที่ เช่น แพทย์ พยาบาล เจ้าหน้าที่สาธารณสุข เป็นต้น พนักงานฝ่ายปกครองเช่นกำนันผู้ใหญ่บ้าน เป็นตัน หรือตำรวจเพื่vนำส่งสถานพยาบาลของรัฐหรือหรือสถานบำบัดรักษาที่อยู่ใกล้เคียงโดยไม่ชักช้า เพื่อรับการตรวจวินิจฉัยและประเมินอาการเบื้องตันตามมาตรา 27 ทั้งนี้ โดยจะมีผู้รับดูแลบุคคลดังกล่าวไปด้วยหรือไม่ก็ได
ตรวจ: สถานพยาบาลของรัฐหรือหรือสถานบำบัดรักษาต้องประเมินอาการและวินิจฉัยเบื้องตัน ภายใน 48 ชั่วโมง นับแต่เวลาที่บุคคลนั้นมาถึงสถานพยาบาลของรัฐหรือสถานบำบัดรักษา โดยมีแพทย์และพยาบาลอย่างละ 1 คน เป็นผู้ตรวจวินิจฉัยอาการเบื้องตัน
ส่ง: ส่งรักษาในสถานบำบัด (โรงพยาบาลจิตเวช) เมื่อผู้ป่วยจำเป็นต้องได้รับการตรวจวินิจฉัยและการประเมินอาการโตยละเอียดภายใน 30 วันหลังรับไว้ กรณีที่เป็นผู้ป่วยมาตรา 22 คณะกรรมการสถานบำบัดจะเป็นผู้ลงความเห็นถึงแผนการดูแลผู้ป่วยต่อไป โดยมีคำสั่งอย่างไตอย่างหนึ่ง ดังต่อไปนี้
ให้บุคคลนั้นต้องเข้ารับการบำบัดรักษาในสถานบำบัดรักษา
ให้บุคคลนั้นต้องรับการบำบัดรักษา ณ สถานที่อื่นนอกจาสถานบำบัดรักษาเมื่อบุคคลนั้นไม่มีภาวะอันตราย ทั้งนี้จะกำหนดเงื่อนไขใด ๆ ที่จำเป็นเกี่ยวกับการบำบัดรักษาให้บุคคลนั้นหรือผู้รับดูแลบุคคลนั้นต้องปฏิบัติด้วยก็ได้
นางสาวพัชรา นามบุญศรี เลขที่45 ห้องB รหัส62123301095