Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
Medications Affecting the Hematologic System - Coggle Diagram
Medications Affecting
the Hematologic System
Medications Affecting Coagulation
ยาห้ามเลือดและทำให้เลือดแข็งตัว
Tranexamic acid (Transamin®)
กลไกการออกฤทธิ์
ออกฤทธิ์ยับยั้งการสลายตัวของไฟบริน (antifibrinolytic)
โดยยาจะเข้าจับที่ fibrin biding site บน plasminogen
แบบผันกลับได้ทำให้ โครงสร้างของไฟบรินคงตัว
ข้อบ่งใช้
ป้องกันภาวะที่มีเลือดออกผิดปกติขณะผ่าตัด
ป้องกันและทุเลาการเสียเลือดในผู้ป่วย hemophilia
ผลข้างเคียง
มีลิ่มเลือดอุดตัน โดยสามารถเกิดได้ทั้งหลอดเลือดแดง
และหลอดเลือดดำ(arterial and venous thrombosis)
คลื่นไส้ อาเจียน ท้องเดิน
Vitamin K1 (Phytomenadione)
กลไกการออกฤทธิ์
เป็น cofactor ที่จำเป็นในการสร้าง coagulation factor
ได้แก่ factor II, VII, IX และ X ที่ตับ
ข้อบ่งใช้
ได้รับยาห้ามการแข็งตัวของเลือดประเภท warfarin เกินขนาด
ภาวะขาดvitamin K ซึ่งมีความผิดปกติของการแข็งตัวของเลือด
ภาวะ prothrombin ต่ำ(hypoprothrombinemia)
เนื่องจากภาวะเป็นพิษจาก salicylate
ผลข้างเคียง
Anaphylactoid reaction หลังจากฉีดเข้าทางเส้นเลือดดำ
เป้าหมายในการใช้ยา
ลดความเจ็บปวดที่เกิดขึ้นจากผลของลิ่มเลือดที่ไปอุดตัน
ป้องกันความเสียหายของอวัยวะต่าง ๆ
ทำให้เลือดไหลเวียนได้ตามปกติ
Erythropoietic Growth Factors
Epoetin (EPO)
ยาอีพีโอ (EPO) คือยาฮอร์โมนอีริโทโพอิติน (erythropoietin) มีโครงสร้างเป็น
ไกลโคโปรตีน ผลิตโดยใช้เทคโนโลยีการตัดต่อดีเอ็นเอ (recombinant DNA) โดยมีการเรียงต่อของลำดับกรดอะมิโนเหมือนกับฮอร์โมนอีริโทรโพอิตินที่ถูกสร้างในร่างกาย
โดยผลิตภัณฑ์ที่มีจำหน่ายในประเทศไทย ได้แก่ epoetin-alfa, epoetin-beta, darbepoetin alfa และ methoxy polyethylene glycol epoetin-beta
ข้อบ่งใช้
สำหรับภาวะเลือดจางจากโรคไตเรื้อรังที่ไม่พบสาเหตุอื่นที่รักษาได้
ผลข้างเคียง
ความดันเลือดสูง ซึ่งอาจนำไปสู่ภาวะความดันเลือดสูงขั้นวิกฤต (hypertensive crisis)
ภาวะลิ่มเลือดอุดหลอดเลือดดำภาวะบวมน้ำ มีไข
เวียนศีรษะ นอนไม่หลับ ปวดศีรษะ คัน เจ็บตาม ผิวหนัง ผื่นขึ้น คลื่นไส้
อาเจียน ท้องผูก
ท้องร่วง อาหารไม่ย่อย ปวดข้อ ชา ไอ แน่นจมูก หอบเหนื่อย
Blood and Blood Products
เลือดรวม (Whole blood)
คือเลือดที่เจาะเก็บจากผู้บริจาคโดยตรง บรรจุในถุงปลอดเชื้อ มีค่า hematocrit 33% มีส่วนประกอบของเลือด ทุกชนิด สามารถเพิ่มได้ทั้ง blood volume และ RBC โดยต้องให้เลือดหมู่ เดียวกับผู้ป่วย แต่ไม่นิยมเพราะอาจทำ ให้ platelet และ coagulation factors สูญเสียหน้าที่จึงนำไปแยกเก็บเพื่อเป็นส่วนประกอบต่างๆ ของเลือดให้เหมาะสมกับ การใช้งานในผู้ป่วยแต่ละคนต่อไป
เกล็ดเลือดเข้มข้น Platelet concentrate
มีจำนวนเกล็ดเลือดมาก เม็ดเลือดขาวน้อย มีพลาสม่าบ้างไม่มาก 1 unit มีประมาณ 50 cc มีอายุ ประมาณ 5 วัน และต้องเขย่าตลอดเวลาเพื่อป้องกันการจับกลุ่มกัน
ควรให้กลุ่มเดียวกับเลือดของผู้ป่วยมิฉะนั้นจะทำให้ platelet มีอายุสั้นและนับจำนวนได้น้อย นอกจากนี้ยังอาจพบปฏิกิริยาเม็ดเลือดแดงแตกได้ในยูนิตหลัง ใช้ในภาวะ platelet ต่ำหรือใน ภาวะเลือดออกมาจาก platelet dysfunction ขนาดที่ให้คือ 1 unit/10 kg ของน้ำหนักผู้ป่วย
เม็ดเลือดแดงเข้มข้น Packed red cell (PRC)
เลือดที่ปั่นแยกเอา plasma ออก โดย มีค่า hematocrit เท่ากับหรือน้อยกว่า 80% มีความหนืดสูงกว่าเลือดรวม
ลดความหนืดได้โดยการเจือจางด้วย 5%DN/2, 5%DNSS หรือ NSS 100 cc/เลือด 1 unit
ไม่ควรผสม PRC กับสารน้ำที่มี Ca2+ เพราะทำให้เกิดลิ่มเลือดได้ สามารถให้ในภาวะ ซีดจากสาเหตุต่างๆ
พลาสม่ารวมชนิดแช่แข็ง Fresh frozen plasma (FFP)
1 unit มีประมาณ 200-300 cc มีโปรตีน เช่น albumin immunoglobulin และปัจจัยในการ แข็งตัวของเลือดแทบทุกชนิดใน plasma โดยเฉพาะ factor V และ VIII แล้วให้แก่ผู้ป่วยภายในเวลา 1 ชม. เพื่อป้องกันการสูญเสียหน้าที่ของ coagulation factor
สามารถใช้ในภาวะ bleeding ที่มี PT, PTT prolong ได้รับ anticoagulant (heprin, warfarin)
พลาสม่าแยกส่วน Cryoprecipitate
เป็นพลาสม่าที่ได้จากการนำ FFP มาละลายแล้วปั่นแยกส่วน
ได้พลาสม่าส่วนตะกอนซึ่งมี factor ในการแข็งตัวของเลือด
เป็นตะกอนโปรตีนที่ทำการแยกมาจาก FFP ประกอบด้วย factor VIII, von Willebrand factor, fibrinogen และ fibronectin
ใช้เพื่อรักษา hemophilia A, von Willebrand’s disease, factor XIII deficiency หรือภาวะ Disseminated intravascular coagulation (DIC) สามารถให้ได้กับผู้ป่วยทุกกลุ่มเลือด