Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
พ.ร.บ.การศึกษาแห่งชาติ - Coggle Diagram
พ.ร.บ.การศึกษาแห่งชาติ
-
-
มาตรา 3
กฎหมาย/กฎ/ข้อบังคับ/ระเบียบ/ประกาศ/คำสั่งอื่น ที่ได้บัญญัติไว้แล้วในพ.ร.บ.นี้หรือขัดกับพ.ร.บ.นี้ ให้ใช้พ.ร.บ.นี้แทน
มาตรา 4 นิยามศัพท์
การศึกษา คือ กระบวนการเรียนรู้เพื่อความเจริญงอกงามของบุคคลและสังคม โดยการถ่ายทอดความรู้ การฝึก การอบรม การสืบสานทางวัฒนธรรม การสร้างสรรค์จรรโลงความก้าวหน้าทางวิชาการ การสร้างองค์ความรู้อันเกิดจากการจัดสภาพแวดล้อม สังคม การเรียนรู้และปัจจัยเกื้อหนุนให้บุคคลเรียนรู้อย่างต่อเนื่องตลอดชีวิต
-
การศึกษาตลอดชีวิต คือ การศึกษาที่เกิดจาก การศึกษาในระบบ + นอกระบบ + การศึกษาตามอัธยาสัย เพื่อให้สามารถพัฒนาคุณภาพชีวิตได้อย่างต่อเนื่องตลอดชีวิต
สถานศึกษา คือ สถานพัฒนาเด็กปฐมวัย, โรงเรียน, ศูนย์การเรียนรู้, วิทยาลัย, สถาบัน, มหาวิทยาลัย, หย่วยงานการศึกษาหรือหน่วยงานอื่นของรัฐหรือเอกชน ที่มีอำนาจ/หน้าที่/วัตถุประสงค์ในการจัดการศึกษา
-
มาตรฐานการศึกษา คือ ข้อกำหนดเกี่ยวกับคุณลักษณะ คุณภาพ ที่พึงประสงค์ และมาจรฐานที่ต้องให้เกิดขึ้นในสถานศึกษาทุกแห่ง และเพื่อใช้เป็นหลักในการเทียบเคียงสำหรับการส่งเสริมและกำกับดูแล การตรวจสอบ การประเมินผล และการประกันคุณภาพการศึกษา
การประกันคุณภาพภายใน คือ การประเมินผลและการติดตามตรวจสอบคุณภาพและมาตรฐานการศึกษาของสถานศึกษาจากภายใน โดยบุคคลของสถานศึกษานั้นเองหรือหน่วยงานต้นสังกัดที่ดูแล
การประกันคุณภาพภายนอก คือ การประเมินและติดตามตรวจสอบคุณภาพและมาตรฐานการศึกษาของสถานศึกษาจากภายนอก โดยสำนักงานรับรองมาตรฐานและประเมินคุณภาพการศึกษา(สมศ.) หรือบุคคล/หน่วยงานที่สมศ.รับรอง เพื่อเป็นการประกันคุณภาพ และให้มีการพัฒนาคุณภาพและมาตรฐานของสถานศึกษา
-
ครู คือ บุคลากรวิชาชีพซึ่งทำหน้าที่หลักทางด้านการเรียนการสอนและการส่งเสริมการเรียนรู้ของผู้เรียนด้วยวิธีการต่างๆ ในสถานศึกษาทั้งของรัฐและเอกชน
คณาจารย์ คือ บุคลากรซึ่งทำหน้าที่หลักด้านการสอนและการวิจัยในสถานศึกษาระดับอุดมศึกษาระดับปริญญาของรัฐและเอกชน
-
ผู้บริหารการศึกษา คือ บุคลากรวิชาชีพที่รับผิดชอบการบริหารการศึกษายอกสถานศึกษาตั้งแต่ระดับเขตพื้นที่การศึกษาขึ้นไป
บุคลากรทางการศึกษา คือ ผู้บริหารสถานศึกษา ผู้บริหารการศึกษา รวมทั้งผู้สนับสนุนการศึกษาซึ่งเป็นผู้ทำหน้าที่ให้บริการ หรือปฎิบัติงานเกี่ยวเนื่องกับการจัดกระบวนการเรียนการสอน การนิเทศและการบริหารการศึกษาในหน่วยงานการศึกษาต่างๆ
-
-
มาตรา 5
ให้ รมว.ศธ. รักษาการตามพ.ร.บ.นี้ และสามารถออกกฎกระทรวงระเบียบ ประกาศ เพื่อปฎิบัติ ตามพรบ.นี้ หมวด 1 บททั่วไป - ความมุ่งหมายและหลักการ
-
-
หมวดที่ 3 ระบบการศึกษา
มาตรา 15 ระบบการศึกษา มี 3 ระบบ 1. การศึกษาในระบบ เป็นการศึกษาที่กำหนดจุดมุ่งหมาย วิธีการศึกษา หลักสูตร ระยะเวลา ของการศึกษา การวัดผล และประเมินผล ซึ่งเป็นเงื่อนไขของการสำเร็จการศึกษาที่ แน่นอน 2. การศึกษานอกระบบ เป็นการศึกษาที่มีความยืดหยุ่นในการกำหนดจุดมุ่งหมาย วิธีการ ศึกษา หลักสูตร ระยะเวลาของการศึกษา การวัดและประเมินผล ซึ่งเป็นเงื่อนไขการสำเร็จการศึกษา 3. การศึกษาตามอัธยาศัย เป็นการศึกษาที่ให้ผู้เรียนได้เรียนรู้ด้วยตนเอง ตามความสนใจ
มาตราที่ 16 การศึกษาในระบบ มี 2 ระดับ คือ 1. การศึกษาขั้นพื้นฐาน จัดให้ไม่น้อยกว่า 12 ปี ก่อนอุดมศึกษา 2. การศึกษาระดับอุดมศึกษา ระดับต่ำกว่าปริญญา และระดับปริญญา
มาตรา 17 การศึกษาขั้นบังคับ จำนวน 9 ปี โดยเด็กอายุย่างเข้าปีที่ 7 เข้าเรียนในสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน จนอายุย่างเข้าปีที่ 16 เว้นแต่สอบได้ชั้นปีที่ 9 ของการศึกษาภาคบังคับ
มาตรา 18 การจัดการศึกษาปฐมวัย และการศึกษาขั้นพื้นฐาน ให้จัดในสถานศึกษา ดังนี้ 1. สถานพัฒนาเด็กปฐมวัย เช่น ศูนย์เด็กเล็ก ศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก 2. โรงเรียน เช่น โรงเรียนรัฐ / เอกชน 3. ศูนย์การเรียน
-