Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
กระบวนการเสริมสร้างสุขภาพจิต(ต่อ) - Coggle Diagram
กระบวนการเสริมสร้างสุขภาพจิต(ต่อ)
สุขภาพจิต
ความหมายของคำที่เกี่ยวข้องกับสุขภาพจิต
จิตเวชศาสตร์ (Psychiatry) เป็นวิชาที่ว่าด้วยการเจ็บป่วยทางอารมณ์และจิตใจของมนุษย์
สุขภาพจิตชุมชน (Community Mental Health) เป็นวิชาหนึ่งของสุขภาพจิตที่ว่าด้วยการป้องกันปัญหาการเจ็บป่วยทางจิตใจ
วิชาสุขภาพจิต (Mental Health) เป็นศาสตร์ที่ว่าด้วยการมีสุขภาพจิตที่ดี
ความหมายของสุขภาพจิต
สภาวะชีวิตที่มีสุขภาพ ผู้มีสุขภาพจิตดีคือผู้ที่สามารถปรับตัวเองอยู่ได้ด้วยความสุขในโลกซึ่งเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วนี้ได้
เป็นผลของการปรับตัว หรือความสามารถที่จะปรับตัวให้เข้ากับสิ่งแวดล้อม
คุณภาพการทางานของจิต มีผลให้การแสดงออก สอดคล้องกับเกณฑ์ กาละ เทศะ บุคคล ซึ่งเปลี่ยนแปลงตลอดเวลา
ภาวะของจิตใจที่มีความสุขสงบ
สรุป
ภาวะที่บุคคลมีความพึงพอใจกับสภาพที่ตนเองได้ปรับตัวเข้ากับสถานการณ์ และสิ่งแวดล้อมรวมทั้งการกระทาต่าง ๆ ซึ่งทาให้ผู้อยู่ที่อยู่รวบตัวมีความสุข อบอุ่น ยอมรับผู้อื่น
ปัจจัยต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง
Psychological factors: ปัจจัยด้านจิตใจ
ทั้งในด้านความคิด อารมณ์ หรือพฤติกรรม
ทฤษฎีหลักๆ
ทฤษฎีจิตวิเคราะห์(psychoanalytic theory)
เป็นการนาสิ่งที่เรียนรู้และความฝังใจจากอดีตมาโยงกับชีวิตในปัจจุบัน
ทฤษฎีความคิด(cognitive theory)
ความนึกคิด มีผลต่อ อารมณ์ และพฤติกรรม
ทฤษฎีการเรียนรู้(learning theory)
เน้นสิ่งแวดล้อมเป็นสาเหตุ พฤติกรรมเกิดมาจากสิ่งแวดล้อม
ทฤษฎีบุคลิกภาพ(personality theory)
เป็นที่สังเกตว่าการที่คนๆ หนึ่งมีบุคลิกภาพบางรูปแบบ
มีทฤษฎีมากมายที่อธิบายปรากฏการณ์ทางจิตใจ
Social factors: ปัจจัยด้านสังคม
ปัจจัยทางสังคมมีผลอย่างมากในฐานะที่เป็นตัวกระตุ้นให้เกิดอาการในผู้ที่เสี่ยงต่อการเกิดโรคอยู่แล้ว
ปัญหาทางเศรษฐกิจ รายรับไม่พอกับรายจ่าย
การอยู่ร่วมกับผู้อื่น บางครั้งก็ทาให้เกิดความขัดแย้ง
เนื่องจากมนุษย์เป็นสัตว์สังคม ไม่สามารถอยู่เพียงลาพังได้
Biological factors: ปัจจัยด้านชีวภาพ
ชีวเคมี(biochemistry)
การทางานของสมองทาให้เกิดพฤติกรรม ความคิด และอารมณ์
การศึกษาการเปลี่ยนแปลงของระดับสารสื่อประสาท (neurotransmitters)และตัวรับ(receptor) พิสูจน์แล้วว่า ความผิดปกติของสารสื่อประสาททาให้เกิดอาการทางจิตได้ สารสื่อประสาทที่สาคัญได้แก่ dopamine, serotonin, norepinephrine
ความรู้ความเข้าใจด้านประสาทวิทยาและสารสื่อประสาท(neurology and neurotransmitter)
ในผู้ป่วยโรคซึมเศร้า จะมีการหลั่งของ Serotoninและ Norepinephrineลดลง ทาให้ผู้ป่วยมีอาการซึมเศร้า เบื่อหน่าย ท้อแท้ น้าหนักลด ไม่มีสมาธิ อยากตาย หมดเรี่ยวแรง
ในผู้ป่วยโรคจิตเภท (schizophrenia)มีการทางานของ dopaminergic receptorที่มากผิดปกติ ทาให้มีอาการหูแว่ว ประสาทหลอน หลงผิด
พันธุกรรม (genetic factor)
ปัญหาพฤติกรรมด้านสุขภาพจิต และโรคทางจิตเวช มีลักษณะของความผิดปกติแบบพหุปัจจัย (multifactorial)
โรคทางจิตเวชที่ปัจจุบันพบว่าพันธุกรรมมีบทบาทในการเกิดโรคอย่างมากได้แก่โรคจิตเภท(schizophrenia)โรคทางด้านอารมณ์ (mood disorder)โรคพิษสุราเรื้อรัง(alcoholism)และโรคอัลไซเมอร์
โดยเกิดจากปฏิสัมพันธ์ (interaction) ของปัจจัยทางพันธุกรรม ซึ่งได้แก่ ยีน หรือกลุ่มของยีน กับปัจจัยทางสิ่งแวดล้อม ที่มีผลกระทบต่อการแสดงออกของยีนเหล่านั้น
อื่นๆ
อาการแสดงขึ้นอยู่กับบริเวณ (area)ของสมองที่มีความผิดปกติ
เช่นถ้าเป็นที่บริเวณtemporal lobeผู้ป่วยจะแสดงอาการทางสมองที่ดูคล้ายอาการทางจิตได้ เช่น เหม่อ พูดจาสับสน อารมณ์แปรปรวน บุคลิกและพฤติกรรมเปลี่ยนไปจากเดิม
ความเปราะบาง (vulnerability)ของอวัยวะต่างๆ ในร่างกายบางอย่าง อาจเกิดจากภาวะแทรกซ้อนระหว่างคลอด (perinatal trauma)การประสบอุบัติเหตุกระทบกระเทือนที่ศีรษะเกิดร่องรอยแผลเป็นในสมองเป็นจุดกาเนิดของกระแสไฟฟ้าที่ผิดปกติ (epileptic foci)
กลไกทางจิต
Repression = เก็บกดความรู้สึกต่างๆ ไว้ในจิตไร้สำนึก
Denial = การปฏิเสธความจริงที่รับไม่ได้
Projection = การโยนความรู้สึกที่ตนไม่ชอบไปให้ผู้อื่น ( ราไม่ดีโทษปี่โทษกลอง)
Displacement = ความระบายอารมณ์ความรู้สึกให้บุคคลที่ 3
Reaction-formation = ความรู้สึกที่รับไม่ได้เปลี่ยนเป็นตรงข้าม
Rationalization = การหาเหตุผลเสริมสิ่งที่ตนทาภายใต้จิตใจที่ยอมรับไม่ได้ ( การแก้ตัว แบบองุ่นเปรี้ยวมะนาวหวาน)
Intellectualization =การอธิบายทางความคิด ปรัชญา วิชาการต่างๆ เพื่อลบล้างสิ่งที่ไม่สบายใจ
Isolation =การเก็บกดเหตุการณ์ที่รุนแรงต่างๆด้วยการไม่รู้สึกอะไร /การแยกตัว
Sublimation = การเปลี่ยนแปลงความรู้สึกให้เป็นที่ยอมรับของสังคม
Suppression = การเก็บปัญหาเอาไว้ในระดับจิตสานึก
ลักษณะของผู้ที่มีสุขภาพจิตดี
ความรู้สึกต่อผู้อื่น
ไว้วางใจคนอื่น ๆไม่หวาดระแวง
ยอมรับนับถือความแตกต่างหลาย ๆอย่างที่คนอื่นมี
คบหาสมาคมกับคนอื่น ๆได้
ไม่ผลักดันให้ผู้อื่นตามใจตนเองและไม่ตามใจผู้อื่นตามใจชอบ
รู้สึกว่าตนเองเป็นส่วนหนึ่งของหมู่คณะและมีความรับผิดชอบต่อมนุษย์ทั่วไป
ให้ความรักแก่คนอื่นและยอมรับพิจารณาความสนใจของคนอื่น
ความสามารถในการดำเนินชีวิต
รู้จักทำสภาพแวดล้อมให้ดีที่สุดในกรณีจำเป็นก็ปรับตัวให้เข้ากับสภาพแวดล้อมได้ดี
รู้จักวางแผนดาเนินชีวิตไม่หวาดกลัวอนาคต
มีสิทธิและรับผิดชอบต่อหน้าที่ของตนเอง
ยอมรับประสบการณ์และความคิดใหม่ ๆ
ใช้ความสามารถของตนอย่างเต็มที่ถ้าทำอะไรก็ทำอย่างเต็มความสามารถและพึงพอใจต่อการกระทานั้น
สามารถแก้ไขปัญหาในชีวิตได้เป็นอย่างดี
วางเป้าหมายที่นามาซึ่งความสำเร็จในชีวิตของตนเองได้
ความรู้สึกต่อตัวเอง
เข้าใจตนเองอย่างถูกต้องเช่นยอมรับข้อบกพร่องของตนเอง
นับถือตนเองไม่ยอมให้ผู้อื่นมีอิทธิพลเหนือตนเอง
สามารถควบคุมความผิดหวังได้
ไม่เกิดอารมณ์ต่าง ๆรบกวนตนเองมากนักเช่นโกรธ กลัว กังวล ฯลฯ
สามารถแก้ไขปัญหาต่าง ๆได้โดยรู้สาเหตุแห่งปัญหา