Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
อาหารสําหรับผู้ป่วยที่มีภาวะเครียดทางร่างกายและจิตใจ - Coggle Diagram
อาหารสําหรับผู้ป่วยที่มีภาวะเครียดทางร่างกายและจิตใจ
การตอบสนองของเมตาบอลิซึมต่อความเครียดทางด้านร่างกาย
Ebb Phase
เกิดภายหลังจากร่างกายได้รับบาดเจ็บในช่วง 12-24ชั่วโมง
Flow Phase
เกิดภาวะ Hypermetabolism และ Hypercatabolism สูงในช่วง3-4 วัน
การประเมินภาวะโภชนาการของผู้ป่วยที่มีการเผาผลาญสูง
ประเมินความต้องการพลังงานและโปรตีนเป็นหลัก ระวังการให้พลังงานสูง การทํางานของตับผิดปกติจาก lipogenesis มีการสะสมไขมันที่ตับ
การได้รับอาหารทางปาก
ควรให้อาหารที่มีโปรตีนสูง และพลังงานสูง ในรายที่มีอาการเบื่ออาหารให้เป็นPolymeric formula
การได้รับอาหารทางสายยางและทางหลอดเลือดดํา
อาหารสําเร็จรูปต้องดูความเหมาะสมของสารอาหาร ควรเลือกให้ชนิดที่มีBCAA ถ้าภาวะเครียดมีปัญหาเกี่ยวกับตับควรให้formula
อาหารสําหรับผู้ที่มีไข้และอยู่ในภาวะติดเชื้อ
การเปลี่ยนแปลงในร่างกาย
1.ความผิดปกติในการดูดซึมสารอาหาร
2.กระบวนการสลายของสารอาหารเพิ่มขึ้น
ผลของภาวะทุพโภชนาการต่อกลไลการต่อต้านเชื้อโรค
1.ผลต่อผิวหนังและเยื่อบุต่างๆโรคขาดสารอาหารหลายชนิด
2.ผลต่อการทํางานของฟาโกซัยท์
3.ผลต่ออิมมูโนโกลบูลิน
4.ผลต่อคอมพลีเมนต์
5.ผลต่อภูมิต้านทานที่ถ่ายทอดผ่านเซลล์
หลักการจัดอาหาร
อาหารสําหรับไข้ระยะเฉียบพลัน ให้เป็นอาหารอ่อนหรือเหลวถ้าระยะไข้นานกว่า 2-3 วัน อาหารต้องมีพลังงานและโปรตีนสูง
อาหารสําหรับไข้ระยะเรื้อรัง ต้องคํานึงถึงสารอาหารที่ครบถ้วน
วิธีการให้อาหาร
1.การให้อาหารทางปาก
2.การให้อาหารทางสายให้อาหาร
3.การให้อาหารทางหลอดเลือดดํา
อาหารสําหรับผู้ป่วยที่มีบาดแผล
อาหารสําหรับผู้ป่วยก่อนผ่าตัด
น้ำหนักตัวน้อย ควรให้อาหารที่มีโปรตีนและพลังงานสูง น้ำหนักตัวเกิน ควรลดน้ำหนักก่อนเพราะมีอันตรายสูงกว่าการดมยาสลบ งดน้ําและอาหารก่อนผ่าตัด 6 ชั่วโมง ระหว่างการผ่าตัด ผู้ป่วยควรได้รับสารละลายกลูโคสทางหลอดเลือดดํา
อาหารสําหรับผู้ป่วยหลังผ่าตัด
1.การผ่าตัดที่ไม่มีผลต่อการทํางานของระบบทางเดินอาหาร : วันแรกหลังผ่าตัดให้อาหารน้ำใส วันต่อมาหากผู้ป่วยไม่อืดแน่นท้อง จะให้อาหารอ่อนและเปลี่ยนเป็นอาหารธรรมดา
2.การผ่าตัดที่มีผลต่อการทํางานของระบบทางเดินอาหาร : ระยะที่ยังไม่ให้อาหารทางระบบทางเดินอาหาร และ ระยะที่ให้อาหารทางระบบทางเดินอาหาร
อาหารสําหรับผู้ป่วยที่ถูกความร้อนลวก
ความรุนแรงของการถูกความร้อนลวก
พิจารณาตามความลึกของบาดแผล
พิจารณาตามความกว้างของบาดแผล
การเปลี่ยนแปลงของภาวะโภชนาการ
สูญเสียน้ำ เกลือแร่และโปรตีนจากหลอดเลือดเข้าสู่บริเวณบาดแผล
สูญเสียน้ำทางผิวหนังมากขึ้น และต้องใช้พลังงานเพิ่มขึ้นในการระเหยน้ำออก
มีการสลายของสารอาหารเพิ่มขึ้น
เชื้อโรคเข้าสู่ร่างกายได้ง่ายขึ้น
อาหารสําหรับผู้ที่ได้รับความร้อนลวก
ระยะ 2 ถึง 3 วันแรกให้น้้ำ เกลือแร่ และโปรตีนทางหลอดเลือดดํา
ระยะภายหลังถูกความร้อนลวกแล้ว 3 วัน คํานึงว่าผู้ป่วยได้รับอาหารที่มีคุณค่าทางโภชนาการเพียงพอหรือไม่
หลักการจัดอาหารให้ผู้ป่วย
พลังงาน ควรได้รับประมาณ 50-70 กิโลแคลอรีต่อน้ําหนักตัว 1 กิโลกรัม
โปรตีน ควรให้20-25% โดยเน้นglutamine และ arginine
ไขมัน จํากัด 10-15% คาร์โบไฮเดรตควรเป็น glucose
วิตามินและเกลือแร่การได้รับโปรตีนไม่ต่ำกว่าร้อยละ 15 ของพลังงานทําให้ผู้ป่วยได้รับวิตามินและเกลือแร่อย่างเพียงพอ
น้ำ ควรให้น้ำอย่างเพียงพอ
วิธีการให้อาหาร
ให้อาหารทางปาก อาหารธรรมดา ย่อยง่าย หรืออาหารอ่อน
ให้อาหารทางสายให้อาหาร
ให้อาหารทางหลอดเลือดดํา
การจัดอาหารให้ผู้ป่วย
ระยะ2-3วันแรก ให้น้ำ เกลือแร่ และโปรตีนทางหลอดเลือดดำ
หลังจาก 3 วัน ให้อาหารน้ำใสและค่อยๆเป็นน้ำข้น
เมื่อเริ่มทานได้ดีขึ้นจัดอาหารอ่อน ย่อยง่าย และเปลี่ยนเป็นอาหารธรรมดา
ให้ดื่มนม 2-3 แก้ว หรือผลิตภัณฑ์นม
ให้อาหารไขมันที่มีกรดไลโนเลอิคมาก
ผักผลไม้ควรจัดให้ทุกวัน
อาหารสําหรับผู้ป่วยโรคทางเดินหายใจ
หลักการให้โภชนบําบัด
ประเมินภาวะโภชนาการและคํานวณหาปริมาณพลังงานและโปรตีน
ใช้อาหารเท่ากับค่า BEE อย่างมาก 2 วัน
กรณีต้องเพิ่มน้ำหนักจะต้องเพิ่มพลังงานเป็น 2 เท่าของ BEE และประเมิน
สภาพการทํางานของปอด
Distribution ไขมัน 50-55% คาร์โบไฮเดรต 25-30%
อาหารลดก๊าซ
การติดเชื้อเฉียบพลันในระบบทางเดินหายใจ
การประเมินและการดูแล : การประเมินเกี่ยวกับปัจจัยที่ทําให้การรับประทานอาหารลดลง ปรับอาหารตามความสามารถในการทาน อายุ อาการแสดงความรุนแรงและระยะเวลาติดเชื้อ
การติดเชื้อเรื้อรังในระบบทางเดินหายใจ
การประเมินและการดูแล : การประเมินผู้ป่วยที่เป็นวัณโรคปอด ได้แก่ อาการไข้ ไอ มีเสมหะ อ่อนเพลีย เกิดภาวะhypoalbuminemia และสูญเสียกล้ามเนื้อ ทานอาหารที่มีประโยชน์ ได่แก่ อาหารที่มี calory สูง protein สูง มีวิตามินและเกลือแร่ครบ
การมีลมในเยื่อหุ้มปอด
การประเมินและการดูแล : การประเมินปัญหาด้านโภชนาการ ได้แก่ การเบื่ออาหาร ภาวะขาดน้ำ ระบบทางเดินอาหารเปลี่ยนแปลง ควรทานอาหารครั้งละน้อยแต่บ่อย อาหารอ่อน เลี่ยงอาหารที่มีก๊าซ พลังงานและโปรตีนสูง