Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
การตรวจทางระบบประสาท (Neurologinical Examination), นางสาวธนภรณ์…
การตรวจทางระบบประสาท
(Neurologinical Examination)
เส้นประสาทสมอง (Cranial Nerves)
VII. Facial
ควบคุมการเคลื่อนไหวของกล้ามเนื้อใบหน้า ตั้งแต่หนังศีรษะ หน้าผาก เปลือกตา แก้มกราม และกล้ามเนื้อที่ใช้แสดงอารมณ์ ทําการตรวจโดยสังเกตว่าร่องข้างจมูกของคนไข้เท่ากันหรือไม่ และให้คนไข้ยิ้ม ยิงฟัน ทําปากจู่ ย่นหน้าผาก ปิดตาให้สนิท
VIII. Acoustic
ควบคุมการได้ยินและการทรงตัว ทดสอบโดยกระซิบ หรือถูนิ้วมือข้างหูของคนไข้ หรือวางส้อมเสียงใกล้ๆ หูคนไข้แล้วเปรียบเทียบการได้ยินกับหูอีกข้างหนึ่ง
V. Trigeminal
รับความรู้สึกบริเวณใบหน้า การทดสอบความรู้สึกบริเวณ
ใบหน้าทําโดยลากนิ้วหรือสําลีเบาๆ ที่บริเวณต่างๆ ของหน้า
IX. Glossopharyngeal
รับความรู้สึกบริเวณส่วนบนของช่องปากและช่องคอ การทดสอบเส้นประสาทนี้ปกติจะไม่ทํา แต่ถ้าต้องการทดสอบสามารถทํา โดยใช้ไม้กดลิ้น แตะที่ด้านหลังของช่องคอ คนไข้จะแสดงอาการขย่อนออกมา
III. Oculomotor IV. Trochlear VI.Abducens
เส้นประสาทสมองทั้ง 3 คู่ นี้ควบคุมการเคลื่อนไหวของกล้ามเนื้อลูกตา ซึ่งสามารถทดสอบโดยให้คนไข้กลอกตามองตามนิ้วมือของผู้ประเมินไป 4 ทิศทาง และให้เพ่งมองจมูกตัวเอง (ให้ทําตาเหล่เข้าใน)
X. Vagus
ควบคุมการเคลื่อนไหวเพดานปากและเส้นเสียงสามารถทดสอบโดยให้คนไข้ออกเสียง อา ซึ่งจะมีการยกตัวของเพดานปาก และถ้าคนไข้เสียงแหบให้สงสัยว่ามีการบาดเจ็บของเสเนประสาทนี้
II. Optic
ทําหน้าที่เกี่ยวกับการมองเห็น ในการรับแสง เงา และการรับรู้รูปร่างวัตถุ การตรวจควรตรวจตาทีละข้างเพื่อประเมินว่าผู้ป่วยสามารถอ่านได้หรือไม่
XI. Spinal Accessory
ควบคุมการหันศีรษะไปด้านตรงข้ามและการยักไหล่
ทดสอบเส้นประสาทนี้โดยให้คนไข้หันศีรษะไปด้านตรงข้ามหรือยักไหล่และออกแรงต้าน
I. Olfactory
มักจะข้ามไปไม่ต้องตรวจ ทําหน้าที่รับกลิ่น
XII. Hypoglossal
ควบคุมการเคลื่อนไหวของลิ้น การบาดเจ็บของเส้นประสาทจะทําให้เมื่อแลบลิ้นแล้วลิ้นจะชี้ไปด้านที่อ่อนแรง
การทํางานประสานกันของระบบประสาท
(Coordination)
การตรวจอย่างละเอียดจะเน้น
ที่การทํางานของสมองและหูชั้นใน
การตรวจดังต่อไปนี้ควรตรวจทั้ง 2 ข้างเปรียบเทียบกัน
Romberg test
ให้ผู้ป่วยยืนหลับตา เท้าชิดกัน หงายฝ่ามือและเหยียดแขนไปข้างหน้า สังเกตว่าผู้ป่วยสามารถทรงตัวอยู่ได้หรือไม่ หรือล้มเอียงไปข้างใดข้างหนึ่ง
Finger-to-Nose Test
ให้ผู้ป่วยยืนหลับตา หลังจากนั้นบอกให้คนไข้งอศอก เอาปลายนิ้วแตะที่ปลายจมูกของตนเองสลับกัน 2 ข้าง
เมื่อตรวจเสร็จแล้วให้ผู้ป่วยลืมตา และให้เอาปลายนิ้วแตะปลายจมูกของตัวเองสลับกับแตะปลายนิ้วของผู้ประเมิน ซึ่งผู้ประเมินจะเปลี่ยนตําแหน่งนิ้วมือทุกครั้งที่ผู้ป่วยแตะจมูกของตัวเอง ประเมินความแม่นยําเป็นหลัก
การตรวจ Heel-to-Toe
การเดินต่อเท้าเป็นการตรวจมาตรฐานสําหรับตรวจคนเมาแล้วขับ ทดสอบโดยการให้คนไข้เดินเป็นเส้นตรง
Heel-Shin slide Test
ให้ผู้ป่วยลากส้นเท้าไปบนสันหน้าแข้งของขา
อีกข้างหนึ่งในท่ายืน โดยลากจากเข้าไปถึงข้อเท้า และปลายเท้าของข้างที่ลากชี้ไปข้างหน้า
Rapid alternating movement Test
ให้ผู้ป่วยตบมือข้างหนึ่งบนฝ่ามือของอีกข้างหนึ่ง โดย
มือที่ตบจะตบสลับคว่ำมือกับหงายมือ หลังจากนั้นให้ตรวจสลับข้าง
การสังเกตท่าทางการเดินของผู้ป่วยเป็นตัวบ่งชี้ที่ดีสําหรับ
การประเมินกําลังของกล้ามเนื้อและการทํางานประสานกันอย่างทั่วๆ ไป
สติสัมปชัญญะ
(Mental status)
ดูจากความรู้สึกตัว, การรับรู้วันเวลาสถานที่ และกระบวนการคิด
ดูว่าผู้ป่วยมีปฏิกริยาต่อคําถามและระหว่างการตรวจร่างกายอย่างไร
เป็นวิธีการที่ดีที่สุด ในการประเมินคนไข้เมื่อแรกพบ
ควรประเมินด้วยว่าผู้ป่วยสามารถบอกสถานที่ เวลา จําคนรู้จักรวมถึงเข้าใจสิ่งที่เกิดขึ้นได้ดีเพียงใด
อารมณ์ของผู้ป่วยที่แสดงออกมาเหมาะสมเพียงใด
หลังจากนั้นให้ถามคําถามเพื่อประเมินความจําของผู้ป่วย โดยเลือกใช้คําถามที่ผู้ถามรู้คําตอบดีอยู่แล้ว
ปฏิกิริยาเอ็นกล้ามเนื้อ (Deep Tendon Reflexes)
การตรวจการตอบสนองของผู้ป่วยต้องเปรยีบเทียบกับการตรวจก่อนหน้านี้ที่เคยทํามาและเทียบเป็นกลุ่มด้วยว่าระหว่าง 2 ข้าง ซ้ายขวาเท่ากันไหม
ถ้าตรวจพบความผิดปกติ ตล้องถามผู้ป่วยด้วยว่าเคยมีประวัติการเจ็บป่วยหรืออุบัติเหตุใดๆ ที่อาจเป็นสาเหตุนี้ได้หรือไม่
เพื่อประเมินว่าผู้ป่วยมีการตอบสนองเป็นอย่างไร
ระบบประสาทรับความรู้สึก (Sensory Function)
การตรวจที่ลําตัว (Testing the Trunk)
การตรวจบริเวณแขนขา (Testing Limbs)
เครื่องมือที่ใช้ในการตรวจ (Instruments)
การตรวจที่มือ (Testing the Hands)
การรับความรู้สึก (Sensations)
การตรวจระบบประสาทรับความรู้สึก (Sensory Examination)
การทําสัญลักษณ์(Marking Abnormalities)
มอเตอร์(ระบบกล้ามเนื้อ)(Motor)
ขนาดของกล้ามเนื้อ (Muscle Size)
ดูขนาดและความแน่นของกล้ามเนื้อและเปรยีบเทียบ
ความตึงตัวของกล้ามเนื้อ (Muscle Tone)
สัมผัสความตึงตัวของกล้ามเนื้อในขณะพัก และการต้านต่อการเคลื่อนไหวแบบ passive
ความแข็งแรงของแขนขา (Extremity Strength)
การตรวจกําลังของกล้ามเนื้อแยกเป็นส่วนบนและส่วนล่างของร่างกาย
การเคลื่อนไหวนอกที่เหนือความควบคุม (Involuntary Movements)
ซึ่งถ้าพบถือว่าผิดปกติ เช่น การเคลื่อนไหวช้าๆ ไม่สม่ำเสมอ และการกระตุก (jerky) การหดตัวอย่างเร็วtics หรืออาการสั่น
นางสาวธนภรณ์ เฟื่องอาวรณ์ นักศึกษาพยาบาลศาสตร์ชั้นปีที่ 2 ห้อง B เลขที่ 26
รหัสนักศึกษา 63123301047