Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
End-Stage Renal Disease (ERDS) - Coggle Diagram
End-Stage Renal Disease (ERDS)
A3 : ความแข็งแรงของผิวหนังบกพร่อง เนื่องจากภาวะ Uremia จากประสิทธิภาพในการทำงานของไตลดลง
O: ผิวแห้งคล้ำ
ริมฝีปากแห้งเล็กน้อย
BUN 112 mg/dL
Cr 11.47 mg/dL
วัตถุประสงค์
ผิวหนังมีความแข็งแรงเพิ่มมากขึ้น
เกณฑ์การประเมิน
ผิวหนังมีความแข็งแรงเพิ่มมากขึ้น
BUN 18 – 20 mg/dL หรือมีระดับลดลงจากค่าเดิม
Cr 0.8 – 1.4 mg/dL หรือมีระดับลดลงจากค่าเดิม
การพยาบาล
1.ประเมินและสังเกตถึงภาวะที่ผิวหนังมีความแข็งแรงลดลง โดยสังเกตจากรอยแดงบริเวณผิวหนัง รอยแตกแห้งของผิวหนัง รอยถลอก เป็นต้น
เหตุผล : เนื่องจากบริเวณที่มีอาการและอาการแสดงของภาวะผิวหนังมีความแข็งแรงบกพร่องลง จะทำให้บริเวณนั้นเกิดอาการคันขึ้นได้ง่าย
2.ควรแนะนำและดูแลให้ผู้ป่วยได้รับการอาบน้ำอย่างน้อยวันละ 1 – 2 ครั้ง โดยแนะนำให้ผู้ป่วยใช้เจลอาบน้ำแทนสบู่
เหตุผล : เนื่องจากการอาบน้ำจะช่วยขจัดสิ่งสกปรกที่เกาะอยู่ตามผิวหนังของร่างกายออก และการแนะนำให้ผู้ป่วยใช้เจลอาบน้ำแทนการใช้สบู่ เนื่องจากตามปกติสบู่จะมีภาวะเป็นด่าง ซึ่งจะส่งผลทำให้ผิวหนังของผู้ป่วยมีอาการแห้งมากขึ้น แต่ถ้าใช้เจลในการอาบน้ำแทน จะมีส่วนช่วยให้ผิวหนังของผู้ป่วยชุ่มชื้นขึ้น เพราะในเจลอาบน้ำจะมีส่วนผสมของ moisturizer ซึ่งมีส่วนช่วยทำให้ผิวหนังชุ่มชื้นขึ้น
แนะนำให้ผู้ป่วยสวมใส่เสื้อผ้าที่สบาย ไม่รัดรูป
เหตุผล: เพราะการสวมเสื้อผ้าที่สบาย ไม่รัดรูปนั้น จะช่วยลดการระคายเคืองบริเวณผิวหนัง และยังช่วยระบายเหงื่อที่ออกมาได้ดี
3.แนะนำให้ผู้ป่วยทาโลชั่น ภายหลังจากการอาบน้ำทุกครั้ง
เหคุผล : เนื่องจากการทาโลชั่นหลังจากการอาบน้ำจะช่วยทำให้ผิวหนังของผู้ป่วยชุ่มชื้นขึ้น
A2 : เกิดภาวะซีดเนื่องจากประสิทธิภาพในการทำงานของไตลดลง
O : ผู้ป่วยมีอาการอ่อนเพลียเล็กน้อย
มีปลายมือปลายเท้าซีด
ตรวจพบเยื่อบุตาซีด (Paled Conjunctiva)
ผลการตรวจทางห้องปฏิบัติการ
Hb 8.3g/dl.
Hct 22.8%
BUN 112 mg/dl.
Cr 11.47 mg/dL.
Platelet 365,000
วัตถุประสงค์
มีภาวะซีดลดลง
เกณฑ์การประเมิน
ผู้ป่วยมีระดับความรู้สึกตัวดี
ไม่พบอาการอ่อนเพลีย
ไม่มีภาวะซีดหรือซีดลดลง
การพยาบาล
ประเมินภาวะซีด โดยดูจากเยื่อบุตา , ปลายมือปลายเท้า , ริมฝีปาก
เหตุผล : การตรวจดูภาวะซีดโดยดูจากเยื่อบุตา ปลายมือปลายเท้า ริมฝีปาก เป็นบริเวณที่มีหลอดเลือดฝอยมาเลี้ยงเป็นจำนวนมาก และมีการส่งเลือดมาเลี้ยงยังอวัยวะส่วนปลายเหล่านี้อยู่ตลอดเวลา แต่ในสภาวะที่ไตเสียหน้าที่จะส่งผลให้มีการผลิตเม็ดเลือดแดงในร่างกายลดลง เลือดที่จะไปเลี้ยงยังอวัยวะส่วนปลายก็จะลดลง ก็จะทำให้อวัยวะเหล่านั้นเกิดภาวะซีดขึ้น
แนะนำให้ผู้ป่วยรับประทานอาหารที่มีธาตุเหล็กสูงที่ไม่ขัดต่อแผนการรักษา เช่น ผักต่างๆ เนื้อปลา เป็นต้น พร้อมทั้งเน้นย้ำให้หลีกเลี่ยงอาหารโปรตีนสูง เช่น เนื้อสัตว์ต่างๆ นม ไข่แดง เป็นต้น
เหตุผล : ธาตุเหล็กเป็นสารอาหารในกลุ่มแร่ธาตุ และธาตุเหล็กมีอยู่ในเม็ดเลือดแดงทุกเม็ดเนื่องจากธาตุเหล็กเป็นส่วนประกอบของhemoglobin ที่ถูกห่อหุ้มอยู่ในเม็ดเลือดแดง ดังนั้นการให้ผู้ป่วยรับประทานอาหารที่มีธาตุเหล็กสูงจะช่วยส่งเสริมการสร้างเม็ดเลือดแดงเพิ่มขึ้น เนื่องจากผู้ป่วยที่มีภาวะไตวายเรื้อรังจะมีการสร้างเม็ดเลือดแดงลดลง และการหลีกเลี่ยงอาหารที่มีโปรตีนสูงประเภทเนื้อสัตว์ต่าง ๆ นม ไข่แดง เนื่องจากกลไกในการเผาผลาญสารอาหารประเภทโปรตีนผลลัพธ์สุดท้ายจะเกิดเป็น Urea ในผู้ป่วยไตวายเรื้อรังนั้นการขับของเสียออกจากร่างกายเป็นไปได้ไม่ดี ซึ่งจะทำให้เกิดการคั่งของของเสียภายในร่างกายเพิ่มขึ้น ส่งผลทำให้ไตสูญเสียหน้าที่เพิ่มมากขึ้น
แนะนำให้ผู้ป่วยหลีกเลี่ยงการดื่มเครื่องดื่มประเภทชา
ถั่วเหลืองและผลิตภัณฑ์จากถั่ว และนม เป็นต้น
เหตุผล : เนื่องจากอาหารและเครื่องดื่มเหล่านี้จะมีฤทธิ์ไปลดและขัดขวางการดูดซึมธาตุเหล็ก จึงส่งผลทำให้การสร้างเม็ดเลือดแดงลดลง และเกิดภาวะซีดตามมา
ในกรณีได้รับเลือด ดูแลให้ได้รับเลือดตามแผนการรักษาของแพทย์ พร้อมทั้งสังเกตอาการและอาการข้างเคียงในขณะได้รับเลือด
เหตุผล : เพราะการได้รับเลือด จะทำให้ปริมาตรเลือดในระบบไหลเวียนเพิ่มขึ้น
ดูแลให้ได้รับยาตามแผนการรักษาของแพทย์ พร้อมทั้งสังเกตอาการและอาการข้างเคียงภายหลังได้รับยาอย่างใกล้ชิด
เหตุผล : ยามักจะมีอาการข้างเคียงไม่พึงประสงค์ขึ้น จึงควรดูแลผู้ป่วยเพื่อที่จะให้การช่วยเหลือโดยเร็วหากเกิดอันตรายจากฤทธิ์ข้างเคียงไม่พึงประสงค์ขึ้น
ติดตามผลการตรวจทางห้องปฏิบัติ-การ คือ Hb , Hct
เหตุผล : Hb และ Hct สามารถบ่งบอกได้ถึงภาวะซีด หากมีค่าต่ำกว่าปกติ เนื่องจากทั้ง Hb และ Hct เป็นส่วนประกอบของเม็ดเลือดแดง
ติดตามผลการตรวจทางห้องปฏิบัติการ คือ BUN , Cr
เหตุผล : ค่า BUN และ Cr เป็นตัวบ่งชี้ถึงประสิทธิภาพในการทำงานของไต เพราะถ้ามีค่าสูง จะสามารถบอกได้ว่าไตมีการสูญเสียหน้าที่ ดังนั้นจะทำให้ Erythropoietin ถูกสร้างน้อยลง ส่งผลให้เม็ดเลือดถูกสร้างลดลงจนเกิดภาวะซีดได้
A1 : มีภาวะน้ำเกิน เนื่องจากกลไกในการควบคุมสารน้ำและ Electrolyte ของไตลดลงจากภาวะไตวายเรื้อรัง
วัตถุประสงค์
มีภาวะน้ำเกินลดลง
เกณฑ์การประเมิน
หนังตาบวมลดลง
Na 135 - 145 mmol/L
อาการบวมลดลงหรือไม่บวมเพิ่มขึ้นจากเดิม
CO2 21 - 41 mmol/L
BUN 18 – 20 mg/dL หรือมีระดับลดลงจากค่าเดิม
Cr 0.8 – 1.4 mg/dL หรือมีระดับลดลงจากค่าเดิม
Urine Specific gravity 1.005
Cr 11.47 mg/dL
BUN 112 mg/dL
CO2 16 mmol/L
Na 134 mmol/L
O: - เปลือกตาบวมทั้งสองข้าง
S: -
การพยาบาล
1.ประเมินอาการและอาการแสดงของภาวะน้ำเกิน ได้แก่ ปวดศีรษะ เบื่ออาหาร คลื่นไส้ อาเจียน กล้ามเนื้อเป็นตะคริว บวม เป็นต้น
เหตุผล : เนื่องจากเมื่อเกิดภาวะน้ำเกิน จะส่งผลทำให้มีอาการและอาการแสดง คือ ปวดศีรษะ เบื่ออาหาร คลื่นไส้ อาเจียน กล้ามเนื้อเป็นตะคริว บวม และอาการอื่น ๆ จากการที่ไตทำงานได้ลดลง เพราะปกติไตจะมีการรักษาสมดุลของน้ำในร่างากายอยู่ตลอด แต่ในระยะท้าย ๆ ของภาวะไตวายเรื้อรัง จะเหลืออัตราการกรองของ Glomerulus ลดลงอย่างมาก ไตจึงไม่สามารถที่จะขับน้ำออกจากร่างกายได้อย่างรวดเร็ว ดังนั้นจึงเกิดการคั่งของน้ำ และเกิดภาวะน้ำเกินตามมา
2.ประเมินอาการบวมตามส่วนต่างๆ ของร่างกาย
เหตุผล : เนื่องจากอาการบวมจะบอกได้ถึงการมีภาวะของการคั่งของน้ำในร่างกาย เพราะถ้าร่างกายมีการคั่งของน้ำมากขึ้น ร่างกายก็จะบวมมากขึ้น โดยอาการบวมเกิดจากการที่น้ำเคลื่อนที่จากภายนอกเซลล์เข้าสู่ภายในเซลล์ จึงมีผลทำให้เซลล์บวม ซึ่งความผิดปกตินี้เกิดขึ้นจากกลไกในการทำงานเพื่อขับน้ำออกจากร่างกายเกิดความล้มเหลว จากภาวะไตเสียหน้าที่ ร่างกายจึงไม่สามารถขับน้ำออกทางปัสสาวะได้ตามปกติ
4.ประเมินและบันทึกปริมาณของสารน้ำที่ร่างกายได้รับและที่ร่างกายขับออกอย่างน้อยทุก 8 ชั่วโมง
เหตุผล : การประเมินและบันทึกปริมาณสารน้ำเข้าออกของผู้ป่วย เพื่อประเมินระบบการทำงานของไต เพราะสารน้ำที่เข้าออกจากร่างกายจะเป็นตัวบ่งชี้ถึงการมีภาวะน้ำเกินในร่างกายได้
3.ประเมินและบันทึกสัญญาณชีพทุก 4 ชั่วโมง โดยเฉพาะค่าความดันโลหิต
เหตุผล : การประเมินสัญญาณชีพจะช่วยประเมินความรุนแรงของภาวะน้ำเกินได้ เพราะการที่ผู้ป่วยมีภาวะความดันโลหิตที่สูงขึ้น อาจเป็นอาการแสดงที่บ่งบอกว่าเกิดจากการเพิ่มขึ้นของปริมานน้ำที่สะสมในร่างกาย เพราะเมื่อเกิดภาวะน้ำเกินขึ้น จะทำให้ปริมาตรของน้ำในหลอดเลือดเพิ่มขึ้น ดังนั้นจึงทำให้แรงดันภายในหลอดเลือดเพิ่มสูงขึ้นตามไปด้วย
แนะนำให้ผู้ป่วยรับประทานอาหารที่มีปริมาณโซเดียมต่ำ และแนะนำให้ผู้ป่วยควรจำกัดน้ำดื่มหรือดื่มลดลงในแต่ละวัน
เหตุผล : เนื่องจากผู้ป่วยโรคไตซึ่งมีความผิดปกติของ Glomerulus มักจะมีการคั่งของ Sodium ดังนั้นปริมาณของ Sodium และน้ำที่ผู้ป่วยสามารถบริโภคได้จึงขึ้นอยู่กับความสามารถของไตในการขับ Sodium และน้ำออกจากร่างกาย เพราะถ้าหากผู้ป่วยบริโภคเข้าไปเป็นจำนวนมาก แต่ไตไม่สามารถที่จะขับออกมาได้ ก็จะส่งผลทำให้เกิดการคั่งขึ้นภายในร่างกาย
ประเมินอาการและอาการแสดงเกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลงทางระบบประสาทที่สำคัญ ได้แก่ ระดับความรู้สึกตัวลดลง กระสับกระส่าย ชัก สับสน เป็นต้น
เหตุผล : เนื่องจากในภาวะน้ำเกินนั้น มักจะเกิดขึ้นร่วมกับภาวะ Hyponatremia เนื่องจากอัตราการกรองของ Glomerulus ลดต่ำลง ส่งผลให้มีอาการทางระบบประสาท เนื่องจากเซลล์สมองบวม ได้แก่ ปวดศีรษะ ซึม สับสัน อ่อนเพลียและกล้ามเนื้อกระตุก
ติดตามผลตรวจทางห้องปฏิบัติการ คือ Electrolyte , BUN , Cr
เหตุผล : ผล BUN และ Cr จะบอกถึงการคั่งของของเสียในร่างกายที่มากขึ้น ซึ่งเมื่อมีการคั่งของ BUN และ Cr ร่างกายก็จะมีการปรับตัวในการเจือจางโดยการดูดน้ำกลับ จึงทำให้น้ำคั่งในร่างกายมากขึ้นดังนั้นค่าของ BUN และ Crที่สูงขึ้นจึงมีผลต่อการคั่งของน้ำในร่างกายมากขึ้น และค่า Electrolyte ก็สามารถที่จะบ่งบอกได้ถึงภาวะน้ำเกิน เช่น Sodium และ Chloride ใน Plasma ต่ำกว่าค่าปกติ เป็นต้น
A5 : เสี่ยงต่อหัวใจเต้นผิดจังหวะและอาการแทรกซ้อน จากระดับ โปตัสเซียมในเลือดสูงกว่าปกติจากไตไม่สามารถขับโปตัสเซียมได้
O: ระดับโปตัสเซียมในเลือด 5.5 mmol/L
วัตถุประสงค์
เพื่อป้องกันการเกิดอันตรายต่อหัวใจจากภาวะโปตัสเซียมในเลือดสูง
เกณฑ์การประเมิน
จังหวะและอัตรากราเต้นของหัวใจปกติ 60-100 ครั้ง/นาที
ระดับโปตัสเซียมในเลือด 3.6-5.2 mmol/L
การพยาบาล
1.ประเมินอาการของภาวะโปตัสเซียมใน เลือดสูงอย่างใกล้ชิด ได้แก่ หัวใจเต้นเร็วหรือช้ากว่าปกติ ไม่มีอาการผิดปกติของกล้ามเนื้อ และระบบประสาท เช่น อาการชาบริเวณหน้า มือ และ เท้า อ่อนเพลีย กล้ามเนื้ออ่อนแรง เป็นตะคริว
เหตุผล : เพื่อประเมินการเปลี่ยนแปลงของร่งกาย เมื่อพบความผิดปกติจะได้รักษาอย่างทันท่วงที
ตรวจสัญญาณชีพและติดตามดูคลื่นไฟฟ้าหัวใจ
เหตุผล : ถ้าพบความผิดปกติต้องรีบรายแพทย์ทันที เพื่อให้การรักษาที่ถูกต้องในการป้องกันการเกิดหัวใจเต้นผิดจังหวะและหัวใจหยุดเต้น
ติดตามผลการตรวจโปตัสเซียมในเลือด
เหตุผล : ถ้าพบว่ามีค่าสูงมากกว่า 6.5 mmol/L และมีภาวะหัวใจเต้นผิดจังหวะ รายงานแพทย์เพื่อพิจารณษการรักษาต่อไป
แนะนำให้รับประทานอาหารที่มีโปแตสเซียมพอเหมาะ เช่น แตงกวา ฟักเขียว กะหล่ำปลี แอปเปิ้ล 1 ผลเล็ก สับปะรด 8 ชิ้นพอคำ เงาะ 4 ผล เป็นต้น
เหตุผล : เมื่อไตไม่สามารถขับของเสียได้ตามปกติ จึงทำให้มีของเสียที่คั่งค้างอยู่ในเลือด ผู้ป่วยควรรับประทานอาหารให้ถูกต้อง ซึ่งจะส่งผลต่อคุณภาพชีวิตที่ดี และมีอายุยืนยาวขึ้น
ไม่มีอาการชา และเป็นตรัคริว
อัตราการเต้นของหัวใจ 98 ครั้ง/นาที
A4 : เสี่ยงต่อการติดเชื้อเนื่องจากมีแผลผ่าตัดหน้าท้อง
S : -
O :
มีแผลบริเเวณหน้าท้อง
ผลทางห้องปฏิบัติการ
WBC 12,520
Neutrophil 84.1 %
Lymphocyte10.3%
ซึม ไม่ค่อยเล่น นอนบนเตียง
อุณหภูมิกาย 37.4 องศาเซลเซีย
วัตถุประสงค์
เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดการติดเชื้อ
เกณฑ์การประเมิน
1.แผลหน้าท้องไม่ความผิดปกติ เช่น บวดแดง มีหนอง
2.น้ำยาไม่มีสีขุ่น
3.ไม่มีอาการและอาการแสดงของการติดเชื้อ เช่น มีไข้ ปวดเสียดท้อง
การพยาบาล
เฝ้าระวังสังเกตอาการติดเชื้อ ผู้ให้ข้อมูลทุกรายสามารถบอกได้ว่า อาการผิดปกติที่แสดงว่าเริ่มมีการติดเชื้อนั้น คือ มีอาการตัวร้อน เสียดท้อง น้ำยาขุ่น
เหตุผล : เพื่อป้องกันผลกระทบและภาวะแทรกซ้อนที่เกิดขึ้นในภายหลัง
4.การดูแลแผลไม่ให้เกิดการติดเชื้อ แนะนำให้ผู้ป่วยหากจะทำแผลให้ทำแผลวันละครั้งหลังจากอาบน้ำเสร็จก็ทำแผลโดยไม่ให้แผลเปียก โดยขณะทำแผลจะสังเกตดูว่าแผลผิดปกติหรือไม่ มีหนองหรือไม่และปิดแผล
เเหตุผล : พื่อสังเกตความผิดปกติบริเวณแผลและป้องกันเชื้อโรคเข้าสู่แผล
เมื่อสายรั่ว สายหลุด สายขาด ผ้ปู่วยจะต้องเปลี่ยนสายต่อและอาจจะต้องให้ยาปฏิชีวนะ โดยแนะนาให้ผู้ป่วยหยุดปล่อยน้ำยาเข้าออกทันที ปิดclamp
เหตุผล : เพื่อป้องกันภาวะติดเชื้อ
1.ประเมินสัญญาณชีพและอาการ แสดงการติดเชื้อ อย่างน้อยทุก
4 ช่ัวโมง
เหตุผล : ส่งเสริมการหายจากการติดเชื้อ
2.สังเกตและบันทึกลักษณะ สี ปริมาณน้ำยาที่ไหลออกทุกครั้ง
เหตุผล : ส่งเสริมการหายจากการติดเชื้อ
ใช้เทคนิคปราศจากเชื้อทุกขั้นตอนของการล้างไตทางช่องท้องอย่างเคร่งครัด
เหตุผล : ส่งเสริมการหายจากการติดเชื้อ
A6 : ผู้ปกครองวิตกกังวลจากการความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับการล้างไตทางหน้าท้อง
S: มารดาบอกว่า "นอนไม่ค่อยหลับเนื่องจากกลัวลูกรรักษาแล้วไม่หาย ในครอบครัวไม่มีใครเคยเป็นโรคนี้ หมอบอกต้องกลับไปล้างไตทางหน้าท้องซึ่งไม่เคยทำ ทำไม่เป็น กลัวทำไม่ได้"
O: - สีหน้ามารดาวิตกกังวล ไม่สดชื่น
วัตถุประสงค์
ผู้ปกครองมีความรู้ความเข้าใจในการล้างไตทางหน้าท้องที่ถูกต้อง
เกณฑ์การประเมิน
ผู้ปกครองหน้าตาสดชื่น
ผู้ปกครองมีความรู้ความเข้าใจ สามารถอธิบายเกี่ยวกับการล้างไตทางหน้าท้องได้ถูกต้อง
การพยาบาล
2.อธิบายขั้นตอนการล้างไตทางหน้าท้อง
เหตุผล : เพื่อให้ผู้ปกครองมีความรู้ความเข้าใจขั้นตอนและวิธีการล้างไตทางหน้าท้องอย่างถูกต้อง
แนะนำความสำคัญของการล้างไตทางหน้าท้อง และแนะนำข้อมูลเกี่ยวกับภาวะแทรกซ้อนของการล้างไตทางหน้าท้อง
เหตุผล : เพื่อให้ผู้ปกครองตระหนักถึงการล้างไตททางหน้าท้อง
แนะนำให้จัดสิ่งแวดล้อมให้สะอาดในขณะที่ล้างไตทางช่องท้อง
เหตุผล : เพื่อป้องกันเชื้อโรคที่นำไปสู่การติดเชื้อตามมา
สร้างสัมพันธภาพกับบิดามารดาหรือครอบครัวของผู้ป่วย แสดงท่าทีที่จริงใจ เห็นอกเห็นใจ
เหตุผล : เพื่อสร้างความไว้วางใจ
5.ให้กำลังใจและชื่นชมเมื่อผู้ปกครองสามารถปฏิบัติได้
เพื่อเสริมร้างกำลังใจ สร้างความมั่นใจ และให้เห็นคุณค่าในตัวเอง