Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
หน่วยที่ 6 แนวทางการวัดและประเมินส าหรับนักเรียนที่มีความ …
หน่วยที่ 6 แนวทางการวัดและประเมินส าหรับนักเรียนที่มีความ
ต้องการจำเป็นพิเศษทางการศึกษา
ความหมายของเด็กที่มีความต้องการพิเศษ
อนุชา ภูมิสิทธิพร (มมป.: ออนไลน์) กล่าวว่า เด็กที่มีความต้องการพิเศษ (Children with special needs) หรือเด็กพิเศษ หมายถึง เด็กที่มีปัญหาและความต้องการจ าเป็นพิเศษ ซึ่งมากกว่าเด็กปกติทั่วไป แบ่งได้ออกเป็น 3 กลุ่ม คือ
1) กลุ่มเด็กที่มีความบกพร่องทางก ารศึกษาทั้ง 9 ประเภท อันได้แก่ เด็กที่มีความบกพร่องทางการเห็น เด็กที่มีความบกพร่องทางก ารได้ยิน เด็กที่มีความบกพร่องทางสติปัญญา เด็กที่มีความบกพร่องทางร่างกาย หรือสุขภาพเด็กที่มีความบกพร่องทางการพูดและภาษา เด็กที่มีความบกพร่องทางพฤติกรรมหรืออารมณ์ เด็กที่มีปัญหาทางการเรียนรู้ เด็กออทิสติก และเด็กพิการซ้ าซ้อน
2) กลุ่มเด็กที่มีความสามารพิเศษ หรือที่รู้จักกันในนาม “เด็กปัญญาเลิศ-เด็กอัจฉริยะ”
3) กลุ่มเด็กด้อยโอกาส ซึ่งเด็กทั้ง 3 กลุ่มนี้จ าเป็นจะต้องได้รับบริการทางการศึกษา โดยในการเข้ารับ บริการศึกษาศึกษาพิเศษจะมากหรือน้อยขึ้นอยู่กับประเภท และระดับของความบกพร่อง หรือความต้องจ าเป็น พิเศษของแต่ละบุคคล
ความสำคัญของการวัดและประเมินผลการเรียนรู้ส าหรับนักเรียนที่มีความต้องการจ าเป็นพิเศษ
ประเทศไทยได้ให้ความส าคัญเรื่องสิทธิคนพิการ โดยได้ก าหนดในรัฐธรรมนูญ แห่งราชอาณาจักรไทย ไว้หลายฉบับ สรุปสาระส าคัญเกี่ยวกับคนพิการ บัญญัติไว้ว่าศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์สิทธิเสรีภาพและความ เสมอภาค ของบุคคลย่อมได้รับความคุ้มครองและบุคคล ย่อมมีสิทธิเสมอกันในการรับการศึกษาไม่น้อยกว่า 12 ปีที่รัฐจะต้องจัด ให้อย่างทั่วถึงและมีคุณภาพ โดยไม่เก็บค่าใช้จ่าย ผู้ยากไร้ผู้พิการหรือทุพพลภาพหรือ ผู้อยู่ในสถานะยากล าบาก ต้องได้รับความคุ้มครองและการสนับสนุนจากรัฐเพื่อให้ได้รับการศึกษา โดยทัดเทียมกันกับบุคคลอื่น และเพื่อตอบสนอง เจตนารมณ์แห่งรัฐธรรมนูญ พระราชบัญญัติการศึกษา แห่งชาติพ.ศ. 2542 ได้ก าหนดแนวทางการจัดการศึกษา เกี่ยวกับคนพิการไว้ว่า การจัดการศึกษาต้องจัด ให้บุคคลมีสิทธิและโอกาสเสมอภาคกันในการรับการศึกษาขั้นพื้นฐาน ไม่น้อยกว่า 12 ปีที่รัฐจะต้องจัดให้ อย่างทั่วถึงและมีคุณภาพโดยไม่เก็บค่าใช้จ่าย การจัดการศึกษาส าหรับบุคคลซึ่งมีความบกพร่องทางร่างกาย จิตใจ สติปัญญา อารมณ์สังคม การสื่อสารและการเรียนรู้หรือมีร่างกายพิการหรือ ทุพพลภาพหรือบุคคล ซึ่งไม่สามารถพึ่งตนเองได้หรือไม่มีผู้ดูแลหรือด้อยโอกาส ต้องจัดให้บุคคลดังกล่าวมีสิทธิและโอกาสในการรับ การศึกษาขั้นพื้นฐานเป็นพิเศษ และให้จัดการศึกษาส าหรับบุคคลพิการตั้งแต่แรกเกิดหรือแรกพบ ความพิการ โดยไม่เสียค่าใช้จ่าย และให้บุคคลดังกล่าว มีสิทธิได้รับสื่อ สิ่งอ านวยความสะดวก บริการ และความช่วย เหลือ อื่นใดทางการศึกษาและพระราชบัญญัติการจัดการศึกษาส าหรับคนพิการ พ.ศ.2551 ที่ระบุในหมวด 1 มาตรา 5(3) ว่าคนพิการมีสิทธิทางการศึกษาโดยได้รับการศึกษาที่มีมาตรฐานและการประกันคุณภาพการศึกษา รวมทั้งการจัด หลักสูตร กระบวนการเรียนรู้การทดสอบทางการศึกษาที่เหมาะสมสอดคล้องกับความต้องการ จ าเป็นพิเศษของคน พิการแต่ละประเภทและบุคคลและกระทรวงศึกษาธิการได้ประกาศ เรื่อง ก าหนดประเภท และหลักเกณฑ์ของคนพิการ ทางการศึกษา พ.ศ. 2552 ไว้9 ประเภท ได้แก่
บุคคลที่มีความบกพร่องทางการเห็น
บุคคลที่มีความบกพร่องทางการได้ยิน
บุคคลที่มีความบกพร่องทางสติปัญญา
บุคคลที่มีความบกพร่องทางร่างกายหรือการเคลื่อนไหวหรือสุขภาพ
บุคคลที่มีความบกพร่องทางการเรียนรู้
บุคคลที่มีความบกพร่องทางการพูดและภาษา
บุคคลที่มีความบกพร่องทางพฤติกรรมหรืออารมณ์
บุคคลออทิสติก
บุคคลพิการซ้อน
จากแนวคิดการจัดการศึกษาที่ค านึงถึงสิทธิมนุษยชนโดยเฉพาะกลุ่มเด็กพิการ ที่ควรได้รับโอกาส ทางการศึกษาและการอยู่ร่วมในสังคมเหมือนกับเด็กปกติโดยให้เด็กพิการ ได้รับการศึกษาที่เหมาะสมกับ -3- ศักยภาพและความสามารถ ตามเจตนารมณ์ดังกล่าวจึงมีการจัดการศึกษาให้กับเด็กพิการได้เรียนรวมกับเด็ก ปกติในโรงเรียน ภายใต้ความเชื่อ พื้นฐานที่ว่า เด็กพิการ ถือเป็นส่วนหนึ่งของสังคม และในสังคมย่อมมีทั้งคน ปกติและคนพิการ ซึ่งต้องอยู่ร่วมกัน ในปีพ.ศ. 2541 กระทรวงศึกษาธิการจึงได้ประกาศนโยบายให้ผู้พิการทุกคนที่อยากเรียนต้องได้เรียน ปีพ.ศ. 2542 มีการรับเด็กพิการเข้าเรียนร่วมในโรงเรียนทั่วไป ตามนโยบาย ของรัฐบาล และในปีพ.ศ. 2543 ได้ขยายโอกาสและบริการทางการศึกษาส าหรับคนพิการให้ทั่วถึง ให้มีคุณภาพ และด าเนินการอย่างต่อเนื่อง โดยมติคณะกรรมการปฏิรูปการศึกษาเพื่อคนพิการ ผู้ด้อยโอกาส และผู้มีความสามารถพิเศษ ได้มีนโยบายให้ คนพิการทุกคน ต้องได้เรียน โดยให้ได้รับการพัฒนาคุณภาพชีวิต เพื่อพัฒนาตนเองและสังคม ซึ่งส านักงาน คณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานได้ขยายการจัดตั้งศูนย์การศึกษาพิเศษเพิ่มขึ้น เพื่อส่งเสริมและ สนับสนุนการจัดการศึกษาส าหรับนักเรียนพิการและ มีความต้องการจ าเป็นพิเศษทางการศึกษาในโรงเรียน มี การจัดโครงการโรงเรียนแกนน าจัดการเรียนร่วมขึ้น โดยจัดการ เรียนการสอนที่เปิดโอกาสให้นักเรียนที่มีความ ต้องการจ าเป็นพิเศษทางการศึกษาได้เรียนร่วมกับเด็กปกติตั้งแต่ปีการศึกษา 2547 เป็นต้นมา ปัจจุบันโรงเรียน จัดการเรียนการสอนโดยใช้หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 ซึ่งเป็นหลักสูตร อิงมาตรฐาน (Standards-based Curriculum) ที่มีมาตรฐานการเรียนรู้เป็นเป้าหมายในการพัฒนา คุณภาพ นักเรียนทุกคน ในส่วนของการวัดและประเมินผลการเรียนรู้ส าหรับนักเรียนที่มีความต้องการจ าเป็นพิเศษ ทางการศึกษาต้องด าเนินการให้สอดคล้องกับแนวปฏิบัติในการวัดและประเมินผลการเรียนรู้ตามหลักสูตร แกนกลาง การศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551ซึ่งก าหนดให้ผู้สอนจะต้องประเมินนักเรียนใน 4 องค์ประกอบ ได้แก่
การประเมินผลการเรียนรู้ตามกลุ่มสาระการเรียนรู้
การประเมินคุณลักษณะอันพึงประสงค์
การประเมินการอ่าน คิดวิเคราะห์และ เขียน
การประเมินกิจกรรมพัฒนาผู้เรียน
โดยก าหนดตัวชี้วัดของมาตรฐานการเรียนรู้ในแต่ละกลุ่มสาระการเรียนรู้ไว้ให้เป็นเป้าหมายเพื่อการ จัดการเรียนรู้ซึ่งเป็นการก าหนดมาตรฐานส าหรับเด็กปกติทั่วไปยังไม่เหมาะกับนักเรียนที่มีความต้องการจ าเป็น พิเศษทางการศึกษาที่เรียนรวมอยู่ด้วย ปัญหาที่พบได้แก่ความไม่ยืดหยุ่นของมาตรฐานการเรียนรู้และตัวชี้วัด การจัดกิจกรรมการเรียนรู้การวัดและประเมินผล ยังไม่สอดคล้องกับพัฒนาการและศักยภาพ ของนักเรียนที่มี ความต้องการจ าเป็นพิเศษทางการศึกษา ดังนั้นเพื่อให้สอดคล้องและเป็นไปตามพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติพ.ศ.2542 แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่2) พ.ศ. 2545 ซึ่งเป็นกฎหมายแม่บทเกี่ยวกับการบริหารและการจัดการศึกษาของชาติได้ก าหนด สาระส าคัญเพื่อเป็น แนวทางการปฏิรูปการศึกษาในหมวด 4 มาตรา 26 ให้สถานศึกษาจัดการประเมิน นักเรียนโดยพิจารณาจากพัฒนาการของนักเรียน ความประพฤติการสังเกตพฤติกรรมการเรียนการร่วม กิจกรรมและการทดสอบควบคู่ไปในกระบวนการเรียนการสอน โดยมีกฎหมาย ประกาศออกตามความใน พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติพ.ศ.2542 แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่2) พ.ศ. 2545 ดังนี้
พระราชบัญญัติการจัดการศึกษาส าหรับคนพิการ พ.ศ. 2551 ที่กำหนดให้มีการวางระเบียบ ข้อก าหนด ประกาศ ค าสั่งแนวปฏิบัติเกี่ยวกับ การจัดการศึกษาส าหรับคนพิการ
ประกาศกระทรวงศึกษาธิการ เรื่อง หลักเกณฑ์และวิธีการปรับใช้หลักสูตรแกน กลางการศึกษาขั้น พื้นฐาน พุทธศักราช 2551 ส าหรับกลุ่มเป้าหมายเฉพาะ หน่วยงานที่ท าหน้าที่โดยตรงคือส านักบริหารงานการศึกษาพิเศษ จึงมีความจ าเป็นในการพัฒนา แนวทางการวัดและประเมินผลการเรียนรู้นักเรียนที่มีความต้องการจ าเป็นพิเศษทางการศึกษาซึ่งเรียนร่วม อยู่ในสถานศึกษาทุกสังกัดเพื่อให้ครูผู้สอน สถานศึกษาและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับการวัด และประเมินผล ผู้เรียน ทั้งในระดับเขตพื้นที่การศึกษาและในระดับชาติได้มีแนวทางในการวัดและประเมินผลนักเรียนพิการ หรือบกพร่องได้อย่างเหมาะสม โดยค านึงถึงหลักสิทธิมนุษยชน โอกาส ความเท่าเทียม และไม่มีการเลือก ปฏิบัติน าไปสู่การพัฒนาตนเองได้เต็มตามศักยภาพ รวมทั้งสามารถบรรลุตามมาตรฐานการเรียนรู้เช่นเดียวกับ นักเรียนทั่วไป
จุดมุ่งหมายของการวัดและประเมินผลการเรียนรู้สำหรับนักเรียนที่มีความต้องการจำเป็นพิเศษ
การวัดและประเมินผลการเรียนรู้ส าหรับนักเรียนที่มีความต้องการจ าเป็นพิเศษทางการศึกษาจะต้อง ด าเนินการควบคู่กับการจัดกระบวนการเรียนการสอน เพื่อน าผลการประเมินมาพัฒนานักเรียนให้บรรลุ ถึงความรู้ความสามารถตามเป้าหมายที่ก าหนดไว้การวัดและประเมินผลการเรียนรู้ส าหรับนักเรียนที่มีความ ต้องการจ าเป็น พิเศษทางการศึกษามีจุดมุ่งหมาย ดังนี้
เพื่อประเมินความรู้ความสามารถพื้นฐานและความต้องการจ าเป็นพิเศษเพื่อวางแผนการจัดการ เรียนรู้
เพื่อประเมินพัฒนาการและผลการเรียนรู้ของนักเรียนระหว่างการจัดกิจกรรมการเรียนรู้อย่าง ต่อเนื่อง
เพื่อตัดสินผลการเรียน เมื่อจบหน่วยการเรียนรู้หรือจบรายวิชาตามมาตรฐานและตัวชี้วัดใน หลักสูตร แกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551
การวัดและประเมิลผลการเรียนรู้ของนักเรียนที่มีความต้องการจ าเป็นพิเศษจะต้องอาศัยการจัดท า แผนการจัดการศึกษาเฉพาะบุคคล (Individualized Education Program : IEP) ซึ่งการจัดท าแผนการ จัดการศึกษาเฉพาะบุคคล (IEP) จะต้องอาศัยการประเมินระดับความรู้ความสามารถและความต้องการจ าเป็น พิเศษของนักเรียนเป็นรายบุคคล โดยการตรวจสอบหรือประเมินความรู้ทักษะและความพร้อมพื้นฐานของ นักเรียนตามหลักสูตรสถานศึกษาในแต่ละกลุ่มสาระการเรียนรู้ ทักษะการเรียนรู้ แล้วน าไปใช้วางแผนการจัด การศึกษาเฉพาะบุคคล (IEP) เพื่อให้ทราบจุดเด่น คือ ความสามารถหรือศักยภาพในปัจจุบันที่นักเรียน สามารถท าได้ในสาระการเรียนรู้ ทักษะการเรียนรู้ จุดด้อย คือ สิ่งที่นักเรียนไม่สามารถท าได้ ในสาระการเรียนรู้ทักษะการเรียนรู้ ทั้งนี้ผู้ประเมิน/ครูควรตรวจสอบหรือประเมินความสามารถพื้นฐานจาก สภาพจริงในหลายสถานการณ์ให้ครอบคลุมก่อนจัดท าแผนการจัดการศึกษาเฉพาะบุคคล (IEP) เพื่อให้ได้ ข้อมูลที่ถูกต้อง และน าข้อมูลมาวิเคราะห์เพื่อจัดท าแผนการจัดการศึกษาเฉพาะบุคคล (IEP) ตามความต้องการ จ าเป็นพิเศษของแต่ละบุคคล ซึ่งในระหว่างการประเมินเพื่อจัดท าแผนการจัดการศึกษาเฉพาะบุคคล (IEP) -5- จะต้องเปิดโอกาสนักเรียนแสดงความรู้ความสามารถด้วยวิธีการที่หลากหลาย โดยค านึงถึงศักยภาพและ ความสามารถของนักเรียนที่มีความต้องการจ าเป็นพิเศษทางการศึกษา (ส านักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้น พื้นฐาน.2558:12) ทั้งนี้การจัดท าแผนการศึกษาเฉพาะบุคคล (IEP) ควรให้สอดคล้องตามมาตรฐานและตัวชี้วัด ในหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พ.ศ. 2551 การประเมินพฤติกรรมการเรียนรู้ของนักเรียนที่มีความ ต้องการจ าเป็นพิเศษจะแบ่งออกเป็น 2 ลักษณะ คือ
การประเมินพัฒนาการและผลการเรียนรู้ของนักเรียน เป็นการประเมินเพื่อพัฒนา (Formative Evaluation) โดยเก็บรวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับพัฒนาการและผลการเรียนรู้ของนักเรียน เพื่อน าผล การประเมินไปปรับปรุง กระบวนการจัดการเรียนรู้การประเมินประเภทนี้ใช้ระหว่างการจัดการเรียนการสอน เป็นระยะ ๆ เพื่อตรวจสอบว่านักเรียนมีความรู้ความสามารถตามจุดประสงค์ที่ก าหนดไว้ในแผนการจัด การศึกษาเฉพาะบุคคล (IEP) ปกติผู้ประเมินจะก าหนดเกณฑ์การผ่านไว้ไม่น้อยกว่าร้อยละ 50 ทั้งนี้ให้ สอดคล้องตามศักยภาพนักเรียนรายบุคคล ซึ่งหากนักเรียนไม่ผ่านจุดประสงค์ตามเกณฑ์ที่ก าหนดไว้จะต้องหา วิธีการที่จะช่วยให้นักเรียนเกิดการเรียนรู้ตามเกณฑ์ที่ตั้งไว้ นอกจากนี้ผลการประเมินยังใช้เพื่อการปรับปรุง แผนการจัดการศึกษาเฉพาะบุคคล (IEP) ให้เหมาะสมกับศักยภาพของนักเรียนแต่ละบุคคลได้อย่างต่อเนื่อง
การประเมินเพื่อตัดสินผลการเรียน (Summative Assessment) เป็นการประเมินเพื่อตัดสิน ผลการจัดการเรียนรู้หลังจบหน่วยการเรียนรู้หรือเสร็จสิ้นการจัดการเรียนรู้ตามแผนการจัดการศึกษาเฉพาะ บุคคล (IEP) รวมทั้งการประเมินปลายภาคเรียนหรือปลายปีผลจากการประเมิน ใช้ในการตัดสินผลการจัดการ เรียนรู้หรือตัดสินใจว่า นักเรียนควรจะได้มีคะแนนอยู่ในระดับคุณภาพใด ซึ่งความน่าเชื่อถือของการวัดและ ประเมินผลนั้น ครูผู้สอนควรให้ความส าคัญแก่การประเมินตามสภาพจริงด้วยวิธีการที่หลากหลาย เช่น การพูดคุยและใช้ค าถาม การสังเกต การเขียนสะท้อนการเรียนรู้การประเมินการปฏิบัติการตรวจการบ้าน การแสดงออกในการปฏิบัติงาน การแสดงกิริยา อาการต่าง ๆ การประเมินด้วยแฟ้มสะสมงาน แบบทดสอบ การบันทึกการประเมินตนเองของนักเรียนตลอดเวลา ที่จัดกิจกรรม เป็นต้น เพื่อให้ทราบว่านักเรียนบรรลุ จุดประสงค์เชิงพฤติกรรมในแผนการจัดการศึกษาเฉพาะบุคคล (IEP) โดยอิงมาตรฐานและตัวชี้วัดตามหลักสูตร แกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พ.ศ. 2551
หลักการวัดและประเมินผลการเรียนรู้ส าหรับนักเรียน ที่มีความต้องการจ าเป็นพิเศษ
เพื่อให้สถานศึกษามีการด าเนินการวัดและประเมินผลการเรียนรู้ส าหรับนักเรียนที่มีความต้องการ จ าเป็นพิเศษ ทางการศึกษา เป็นไปอย่างมีคุณภาพและประสิทธิภาพ มีผลการประเมินตรงตามสภาพความรู้ ความสามารถที่แท้จริง ตามศักยภาพของนักเรียนรายบุคคล สอดคล้องกับแนวปฏิบัติในการวัดและประเมินผล การเรียนรู้ตามหลักสูตร แกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 สถานศึกษาจึงควรก าหนดหลักการ วัดและประเมินผลการเรียนรู้ส าหรับนักเรียนที่มีความต้องการจ าเป็นพิเศษทางการศึกษา เพื่อเป็นแนวทางใน การตัดสินใจการวัดและประเมินผล การเรียนรู้ที่สอดคล้องตามหลักสูตรสถานศึกษา ดังนี้
สถานศึกษาเป็นผู้รับผิดชอบการวัดและการประเมินผลการเรียนรู้ของนักเรียนที่มีความต้องการ
จ าเป็น พิเศษทางการศึกษา โดยเปิดโอกาสให้ผู้ที่เกี่ยวข้องมีส่วนร่วม
การวัดและการประเมินผลการเรียนรู้ส าหรับนักเรียนที่มีความต้องการจ าเป็นพิเศษทางการศึกษา มี จุดมุ่งหมายเพื่อประเมินระดับความสามารถและความต้องการจ าเป็นพิเศษ ปรับปรุงพัฒนานักเรียน และ ตัดสิน ผลการเรียน
การวัดและประเมินผลการเรียนรู้ส าหรับนักเรียนที่มีความต้องการจ าเป็นพิเศษทางการศึกษา ควร อยู่บน พื้นฐานที่สอดคล้องและตอบสนองกับความต้องการจ าเป็นพิเศษทางการศึกษาของนักเรียน โดยใช้ แผนการจัด การศึกษาเฉพาะบุคคล (IEP) เป็นเครื่องมือในการด าเนินการ เชื่อมโยงกับมาตรฐานและตัวชี้วัด ตามหลักสูตรแกนกลาง การศึกษาขั้นพื้นฐาน พ.ศ. 2551 รวมทั้งประเมินการอ่าน คิดวิเคราะห์และเขียน คุณลักษณะอันพึงประสงค์ตลอดจนกิจกรรมพัฒนาผู้เรียน
การวัดและประเมินผลการเรียนรู้เป็นส่วนหนึ่งของกระบวนการจัดการเรียนการสอนต้องดำเนินการ ด้วยวิธีการที่หลากหลาย เหมาะสมกับสภาพปัญหาความต้องการจำเป็นพิเศษทางการศึกษาและศักยภาพของ นักเรียน โดยการส่งเสริมสนับสนุนให้สามารถเข้าถึงกิจกรรมหรือรูปแบบวิธีการวัดและประเมินผล มีแนวทาง ดังนี้
4.1. การช่วยเหลือและอ านวยความสะดวกด้านการน าเสนอ เป็นการช่วยเหลือให้นักเรียนที่มี ความ ต้องการจ าเป็นพิเศษทางการศึกษา ได้เรียนรู้เนื้อหาและทักษะต่าง ๆ รวมทั้งการวัดและประเมินผลด้วย วิธีการที่เหมาะสม กับสภาพปัญหาความพิการหรือบกพร่อง
4.2. การช่วยเหลือและอ านวยความสะดวกด้านการตอบสนอง เป็นการให้นักเรียนที่มีความ ต้องการ จ าเป็นพิเศษทางการศึกษา ได้ตอบสนองหรือแสดงออกในรูปแบบวิธีการที่เหมาะสมกับสภาพปัญหา ความพิการหรือบกพร่อง
4.3. การช่วยเหลือและอ านวยความสะดวกด้านการจัดสภาพแวดล้อม เป็นการปรับสภาพแวดล้อม สถานที่ รวมทั้งรูปแบบของการสอบหรือการท างานที่ได้รับมอบหมายที่เหมาะสมกับสภาพปัญหาความพิการ หรือ บกพร่อง
4.4. การช่วยเหลือและอ านวยความสะดวกด้านการจัดเวลาและตารางเป็นการปรับเปลี่ยนเกี่ยวกับ เวลา หรือตารางเวลาในการเรียนหรือการทดสอบที่เหมาะสมกับสภาพปัญหาความพิการหรือบกพร่อง เพื่อให้สามารถวัดและประเมินผลนักเรียนได้อย่างรอบด้านทั้งด้านความรู้ความคิดกระบวนการพฤติกรรมและ เจตคติสอดคล้องเหมาะสมกับศักยภาพและความสามารถของนักเรียน โดยตั้งอยู่บนพื้นฐานความเที่ยงตรง ยุติธรรมและเชื่อถือได้
การประเมินนักเรียนพิจารณาจากพัฒนาการของนักเรียน ความประพฤติการสังเกตพฤติกรรมการ เรียนรู้การร่วมกิจกรรมและการทดสอบ โดยประเมินควบคู่ไปกับกระบวนการเรียนการสอนเหมาะสมตาม ศักยภาพ ของนักเรียนรายบุคคลและความสามารถของนักเรียนแต่ละระดับและรูปแบบการศึกษา
เปิดโอกาสให้นักเรียนและผู้มีส่วนเกี่ยวข้องตรวจสอบผลการประเมินผลการเรียนรู้
ให้มีการเทียบโอนผลการเรียนระหว่างสถานศึกษาและรูปแบบการศึกษาต่าง ๆ
ให้สถานศึกษาจัดท าเอกสารหลักฐานการศึกษา เพื่อเป็นหลักฐานการประเมินผลการเรียนรู้รายงาน
ผลการเรียนแสดงวุฒิการศึกษาและรับรองผลการเรียนของนักเรียน
แนวทางการวัดและประเมินผลการเรียนรู้ส าหรับนักเรียน ที่มีความต้องการจ าเป็นพิเศษ
การวัดและประเมินผลการเรียนรู้ส าหรับนักเรียนที่มีความต้องการจ าเป็นพิเศษทางการศึกษา ควรอยู่ บน พื้นฐานที่สอดคล้องและตอบสนองกับความต้องการจ าเป็นพิเศษทางการศึกษาของนักเรียน โดยใช้ แผนการจัดการศึกษา เฉพาะบุคคล (IEP) เป็นเครื่องมือในการด าเนินการ เชื่อมโยงกับมาตรฐานและตัวชี้วัด ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษา ขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 มีองค์ประกอบ ดังนี้
การวัดและประเมินผลการเรียนรู้ตามกลุ่มสาระการเรียนรู้ครูผู้สอนด าเนินการวัดและประเมินผล การเรียนรู้ของนักเรียนเป็นรายวิชาตามตัวชี้วัดในรายวิชาพื้นฐาน ตามผลการเรียนรู้ในรายวิชาเพิ่มเติม โดย การปรับใช้ให้เหมาะกับสภาพความพิการหรือความบกพร่องของนักเรียน เพื่อเอื้ออ านวยให้นักเรียนได้รับการ พัฒนาเต็มศักยภาพ ตามที่ก าหนดไว้ในแผนการจัดการศึกษาเฉพาะบุคคล (IEP) นักเรียนได้รับการพัฒนา ความรู้ ทักษะและคุณลักษณะอันพึงประสงค์ที่จ าเป็นพื้นฐานตามมาตรฐานการเรียนรู้ของหลักสูตรแกนกลาง การศึกษาขั้นพื้นฐาน พ.ศ. 2551 ครูผู้สอนด าเนินการวัดและประเมินผลการเรียนรู้ตามกลุ่มสาระการเรียนรู้ โดยใช้วิธีการที่หลากหลาย จากแหล่งข้อมูลหลายๆแหล่ง เพื่อให้ได้ผลการประเมินที่สะท้อนความรู้ ความสามารถที่แท้จริงของนักเรียน โดยวัดและ ประเมินการเรียนรู้อย่างต่อเนื่องไปพร้อมกับการจัดการเรียน การสอน สังเกตพัฒนาการและความประพฤติของนักเรียน สังเกตพฤติกรรมการเรียน การร่วมกิจกรรม ผู้สอน ควรเน้นการประเมินตามสภาพจริง เช่น การประเมิน การปฏิบัติงาน การประเมินจากโครงงาน หรือการ ประเมินจากแฟ้มสะสมงาน เป็นต้น ควบคู่ไปกับการใช้การทดสอบ แบบต่าง ๆ อย่างสมดุล ต้องให้ความส าคัญ กับการประเมินระหว่างเรียนมากกว่าการประเมินปลายปี/ปลายภาค และใช้เป็นข้อมูลเพื่อประเมินการเลื่อน ชั้นเรียนและการจบการศึกษาระดับต่าง ๆ
การประเมินการอ่าน คิดวิเคราะห์และเขียน การประเมินการอ่าน คิดวิเคราะห์และเขียน เป็นการ ประเมินศักยภาพของนักเรียนในการอ่านหนังสือ เอกสารและสื่อต่าง ๆ เพื่อหาความรู้เพิ่มพูนประสบการณ์ ความสุนทรีย์และประยุกต์ใช้แล้วน าเนื้อหาสาระที่อ่าน มาคิดวิเคราะห์น าไปสู่การแสดงความคิดเห็น การ สังเคราะห์สร้างสรรค์การแก้ปัญหาในเรื่องต่าง ๆ และถ่ายทอดความคิดนั้น ด้วยการเขียนที่มีส านวนภาษา ถูกต้อง มีเหตุผลและล าดับขั้นตอนในการน าเสนอ สามารถสร้างความเข้าใจแก่ผู้อ่าน ได้อย่างชัดเจนตามระดับ ความสามารถในแต่ละระดับชั้นการประเมินการอ่าน คิดวิเคราะห์และเขียน ส าหรับนักเรียนที่มีความต้องการจ าเป็นพิเศษทาง การศึกษา สถานศึกษาควรค านึงถึงสิ่งที่เป็นข้อจ ากัดที่เกี่ยวข้อง และเป็นอุปสรรคต่อการพัฒนาความสามารถ ด้านการอ่าน คิด วิเคราะห์และเขียน เช่น ความบกพร่องทางการเห็น ความบกพร่องทางการเรียนรู้สถานศึกษา สามารถปรับวิธีการและ เครื่องมือในการประเมินให้เหมาะสมกับนักเรียนกลุ่มเป้าหมายดังกล่าว ในกรณี นักเรียนที่มีความต้องการจ าเป็นพิเศษ ทางการศึกษาอื่นให้ปรับวิธีการประเมินให้เหมาะสมกับสภาพความ พิการและความบกพร ่องแต่ละบุคคล และ สอดคล้องกับแผนการจัดการศึกษาเฉพาะบุคคล (IEP) การประเมิน การอ่าน คิดวิเคราะห์และเขียน สถานศึกษาต้อง ด าเนินการอย่างต่อเนื่องและสรุปผลเป็นรายปี/รายภาค เพื่อ วินิจฉัยและใช้เป็นข้อมูลในการพัฒนานักเรียนและ ประเมินการเลื่อนชั้น ตลอดจนการจบการศึกษาระดับ ต่างๆ
การประเมินคุณลักษณะอันพึงประสงค์การประเมินคุณลักษณะอันพึงประสงค์ เป็นการประเมิน คุณลักษณะที่ต้องการให้เกิดขึ้นกับนักเรียนอันเป็น คุณลักษณะที่สังคมต้องการในด้านคุณธรรม จริยธรรม ค่านิยม จิตส านึก สามารถอยู่ร่วมกับผู้อื่นในสังคมได้อย่าง มีความสุขทั้งในฐานะพลเมืองไทยและพลโลก การ ประเมินคุณลักษณะอันพึงประสงค์ ส าหรับนักเรียนที่มีความต้องการจ าเป็นพิเศษทางการศึกษา ให้สถานศึกษา ด าเนินการประเมินคุณลักษณะอันพึงประสงค์ ตามที่หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พ.ศ. 2551 ก าหนด โดยการปรับกระบวนการ วิธีการประเมินและเครื่องมือที่ใช้ให้เหมาะกับสภาพความพิการ และความ บกพร่องแต่ละบุคคล สอดคล้องตามแผนการจัดการศึกษาเฉพาะบุคคล (IEP) และในการประเมินให้ประเมิน แต่ละคุณลักษณะแล้วรวบรวมผลการประเมินจากผู้ประเมินทุกฝ่ายและแหล่งข้อมูลหลายแหล่งเพื่อให้ได้ข้อมูล น ามาสู่ การสรุปผลเป็นรายปี/รายภาคและใช้เป็นข้อมูลเพื่อประเมินการเลื่อนชั้นและการจบการศึกษาระดับ ต่าง ๆ
การประเมินกิจกรรมพัฒนาผู้เรียน การประเมินกิจกรรมพัฒนาผู้เรียน เป็นการประเมินการปฏิบัติ กิจกรรมและผลงานของนักเรียน และเวลา ในการเข้าร่วมกิจกรรมตามเกณฑ์ที่ก าหนดไว้ในแต่ละกิจกรรม โดย ปรับวิธีการประเมินผลให้สอดคล้องกับศักยภาพ ความสนใจ ความถนัดและความต้องการจ าเป็นพิเศษของ นักเรียน ผลการประเมินจะใช้เป็นข้อมูลประเมินการเลื่อนชั้นเรียน และการจบการศึกษาระดับต่าง ๆ จากหลักเกณฑ์และวิธีการปรับใช้หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พ.ศ. 2551 ส าหรับกลุ่ม เป้าหมาย เฉพาะ (ส านักวิชาการและมาตรฐานการศึกษา, 2544: 23) ได้ก าหนดคุณภาพที่ต้องการให้เกิดขึ้นแก่นักเรียน ในระดับการศึกษาขั้นพื้นฐานทุกคน ครอบคลุมมาตรฐานและตัวชี้วัด 8 กลุ่มสาระการเรียนรู้การอ่านคิด วิเคราะห์และเขียน คุณลักษณะที่พึงประสงค์กิจกรรมพัฒนาผู้เรียนในระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน ส าหรับนักเรียนที่เป็นกลุ่มเป้าหมายเฉพาะ การวัดและประเมินผลจะต้องค านึงถึงปัจจัยความแตกต่างของ นักเรียน อาทิ นักเรียนที่พิการอาจต้องมีการปรับการประเมินผลที่เอื้อต่อสภาพนักเรียนทั้งวิธีการและ เครื่องมือที่ใช้หรือกลุ่มนักเรียนที่มีจุดเน้นเฉพาะด้าน อาจก าหนดสัดส่วนน้ าหนักคะแนนและวิธีการประเมินที่ ให้ความส าคัญแก่ทักษะด้านการปฏิบัตินอกจากนั้น การวัดผล และประเมินผลการเรียนรู้ควรอยู่บนหลักการ พื้นฐาน เพื่อพัฒนาการเรียนรู้และตัดสินผลการเรียน ควรประเมิน เป็นระยะสม่ าเสมอเพื่อให้ได้ข้อมูลที่เป็น ประโยชน์ในการปรับปรุงการเรียนการสอนและแก้ไขข้อบกพร่องต่าง ๆ สิ่งส าคัญ อีกประการที่มีผลต่อ ประสิทธิภาพและความน่าเชื่อถือของการวัดและประเมินผลได้แก่ วิธีการและเครื่องมือที่ใช้ในการ ประเมิน ครูผู้สอนควรให้ความส าคัญในการประเมินตามสภาพจริงด้วยวิธีการที่หลากหลาย เช่น การพูดคุยและใช้ ค าถาม การสังเกต การสะท้อนการเรียนรู้การประเมินจากการปฏิบัติการตรวจการบ้าน การแสดงออกในการ ปฏิบัติงาน การประเมินด้วยแฟ้มสะสมงาน แบบทดสอบ เป็นต้น เพื่อให้ทราบว่านักเรียนบรรลุมาตรฐานการ เรียนรู้และตัวชี้วัด หรือมีแนวโน้มว่าจะบรรลุตัวชี้วัดเพียงใด และสิ่งเหล่านี้ควรพิจารณาให้เหมาะสมกับ นักเรียนพิการแต่ละประเภท เพื่อให้การวัดและประเมินผลเกิดประสิทธิภาพสูงสุด
แนวปฏิบัติการวัดและประเมินผลการเรียนรู้ส าหรับนักเรียนที่มีความต้องการจ าเป็นพิเศษในโรงเรียน จัดการ เรียนร่วม แบ่งออกเป็น 3 ลักษณะ คือ (สุจินดา ผ่องอักษร. 2558)
กรณีนักเรียนพิการหรือบกพร่องที่มีความรู้ความสามารถเท่าเทียมหรือใกล้เคียงกับนักเรียนทั่วไปที่ เรียนร่วม เต็มเวลาในโรงเรียนจัดการเรียนร่วม ก าหนดแนวปฏิบัติดังนี้
1.1 ให้วัดและประเมินผลการเรียนรู้ตามมาตรฐานการเรียนรู้ตัวชี้วัดและเกณฑ์ต่าง ๆ ในกลุ่มสาระ การเรียนรู้/รายวิชาเช่นเดียวกับนักเรียนทั่วไป
1.2 อาจมีการปรับวิธีการ/เวลาในการวัดและประเมินให้ยืดหยุ่นตามความต้องการจ าเป็นพิเศษ ของ นักเรียนแต่ละคน
1.3 จัดให้มีสิ่งอ านวยความสะดวกและวิธีการสื่อสารให้นักเรียนสามารถเข้าถึงเนื้อหาสาระในแบบ ทดสอบตามความเหมาะสมของแต่ละบุคคล เช่น การขยายตัวอักษร/สัญลักษณ์/รูปภาพของแบบทดสอบ การ ใช้อักษร เบรลล์การฟัง การตอบปากเปล่าหรือการช่วยจดบันทึก ส าหรับนักเรียนที่มีความบกพร่องทางการ เห็น การน าเสนอ ข้อสอบ (presentation) โดยมีผู้อ่าน/เครื่องอ่านข้อสอบให้ฟัง เทปเสียง หรือซีดีโปรแกรม อ่านหน้าจอ(Screenreader) บริการอ่านข้อสอบ ส าหรับนักเรียนที่มีความบกพร่องทางการเรียนรู้ด้านการอ่าน เป็นต้น
กรณีนักเรียนที่มีความต้องการจ าเป็นพิเศษทางการศึกษา ที่เรียนร่วมกับเด็กทั่วไปในกลุ่มสาระการ เรียนรู้/ รายวิชาใดเต็มเวลาและหรือบางเวลาในโรงเรียนจัดการเรียนรวมและมีการปรับตัวชี้วัดให้เหมาะสมกับ นักเรียนพิการ แต่ละประเภทก าหนดแนวปฏิบัติดังนี้
2.1 ให้ใช้เกณฑ์การวัดและประเมินผลในแต่ละกลุ่มสาระการเรียนรู้ตามมาตรฐานและตัวชี้วัด เช่น เดียว กับนักเรียนปกติ
2.2 เป็นการพิจารณาเฉพาะบุคคลไม่เปรียบเทียบกับนักเรียนทั่วไป
2.3 ในกลุ่มสาระการเรียนรู้/รายวิชาที่ต้องปรับเปลี่ยนเนื้อหา/ตัวชี้วัดที่ใช้ในการประเมินจะต้องมี
การจัดการเรียนการสอนที่สอดคล้องกันในชั้นเรียน
2.4 ปรับวิธีการในการวัดและประเมินผลให้ให้เหมาะสมกับความต้องการจ าเป็นของแต่ละบุคคล เช่น ให้สอบปากเปล่าหรือสัมภาษณ์อ่านข้อสอบให้ฟัง โดยครูเพื่อนหรือพี่เลี้ยงการสังเกตพฤติกรรมทุกๆด้าน ประเมินผล จากการมีส่วนร่วม ประเมินผลจากแฟ้มงาน (Portfolio) ให้ฟังเทปบันทึกเสียง/หนังสือเสียงช่วยให้ เรียนรู้สอบที่ใดก็ได้ที่วัดศักยภาพจริงของเด็กได้เป็นต้น
2.5 ปรับเครื่องมือวัดและประเมินผล เช่น ปรับลักษณะของเครื่องมือโดยแบ่งแบบทดสอบเป็น
ตอนๆ และให้สอบทีละตอนแทนที่จะสอบครั้งเดียวทั้งฉบับ เป็นต้น
2.6 ก าหนดเกณฑ์การให้คะแนนใหม่ให้เหมาะสมกับศักยภาพนักเรียนและสอดคล้องกับ
วัตถุประสงค์ในแผนการจัดการศึกษาเฉพาะบุคคล (IEP)
2.7 ปรับระยะเวลาหรือก าหนดเวลาในการสอบให้เหมาะสมหรือพร้อมที่จะสอบ เช่น ไม่จ ากัดเวลา
สอบแล้วพักแล้วสอบใหม่ขยายเวลาในการสอบให้มีเวลามากขึ้น
2.8 ปรับสถานที่สอบเพื่อนักเรียนจะได้ไม่ไปท าความรบกวนให้กับผู้อื่นหากจ าเป็นให้การช่วยเหลือ จัดอุปกรณ์และสิ่งอ านวยความสะดวกที่จ าเป็นอื่น ๆ ตามความต้องการจ าเป็นของนักเรียนแต่ละคน เช่น ปรับ วิธีการสอบ ก าหนดเวลาในการสอบให้เหมาะสม/พร้อมที่จะสอบ
2.9 การน าเสนอข้อสอบ (presentation) โดยมีผู้อ่าน/เครื่องอ่านข้อสอบให้ฟัง ใช้เทปเสียง ซีดี โปรแกรมอ่านหน้าจอ (Screen reader) หรือบริการอ่านข้อสอบ เป็นต้น
2.10 วัดและประเมินผลความก้าวหน้าและระบุไว้ในช่องการวัดประเมินผลของแผนการจัด การศึกษา เฉพาะบุคคล (IEP) อาจใช้เกณฑ์ระดับคะแนน ดังตัวอย่าง
ระดับ 4 ดีเยี่ยม มีคะแนนความก้าวหน้าเฉลี่ยร้อยละ 80-100 ระดับ 3.5 ดีมาก มีคะแนนความก้าวหน้าเฉลี่ยร้อยละ 75-79 ระดับ 3 ดีมีคะแนนความก้าวหน้าเฉลี่ยร้อยละ 70-74 ระดับ 2.5 ค่อนข้างดีมีคะแนนความก้าวหน้าเฉลี่ยร้อยละ 65-69 ระดับ 2 น่าพอใจ มีคะแนนความก้าวหน้าเฉลี่ยร้อยละ 60-64 ระดับ 1.5 พอใช้มีคะแนนความก้าวหน้าเฉลี่ยร้อยละ 55-59 ระดับ 1 ขั้นต่ า มีคะแนนความก้าวหน้าเฉลี่ยร้อยละ 50-54 ระดับ 0 ต่ ากว่าเกณฑ์มีคะแนนความก้าวหน้าเฉลี่ยร้อยละ 0-49
กรณีนักเรียนพิการหรือบกพร่องขั้นรุนแรงที่ไม่สามารถปรับใช้มาตรฐานการเรียนรู้และตัวชี้วัดใน กลุ่มสาระ การเรียนรู้/รายวิชาใด ๆได้ถึงแม้จะปรับวิธีการสอนหรือวิธีการสอบแล้วก็ตาม การจัดการเรียนรู้ มุ่งเน้นการเรียนรู้ทักษะชีวิต เพื่อการด ารงชีวิตในสังคมอย่างมีความสุข ก าหนดแนวปฏิบัติดังนี้
3.1 ให้ประเมินผลตามจุดประสงค์เชิงพฤติกรรมที่ก าหนดไว้ในแผนการจัดการศึกษาเฉพาะบุคคล (IEP)
3.2 เป็นการประเมินเฉพาะบุคคลไม่เปรียบเทียบกับนักเรียนปกติ
3.3 ประเมินความสามารถในการปฏิบัติตามระดับคุณภาพ เช่น ระดับคุณภาพ 4 มีท าได้ถูกต้องด้วยตนเองทั้งหมด ระดับคุณภาพ 3 ท าได้ถูกต้องด้วยตนเอง (กระตุ้นด้วยวาจา) ระดับคุณภาพ 2 ท าได้เองบ้าง ท าไม่ได้บ้าง (ครูต้องกระตุ้นด้วย ท่าทาง และวาจา) ระดับคุณภาพ 1 มีท าได้โดยครูต้องกระตุ้นเตือนทั้งหมด (กระตุ้นด้วย กายท่าทาง วาจา)
3.4 ประเมินความก้าวหน้าในการปฏิบัติงาน ได้ใช้วิธียืดหยุ่นและปรับวิธีการให้คะแนน เช่น ระดับคุณภาพ 5 ท าได้ครบ 5 ครั้ง ระดับคุณภาพ 4 ท าได้ครบ 4 ครั้ง ระดับคุณภาพ 3 ท าได้ครบ 3 ครั้ง ระดับคุณภาพ 2 ท าได้ครบ 1-2 ครั้ง ระดับคุณภาพ 1 ท าไม่ได้
3.5 การประเมินผลการเรียนรู้อย่างหลากหลาย โดยก าหนดสัดส่วนคะแนนที่เหมาะสม เช่น จากการ ทดสอบ การร่วมกิจกรรม การน าเสนองาน การมาเรียน เป็นต้น ตัวอย่าง การก าหนดสัดส่วนคะแนน การมาเรียน ร้อยละ 10 การน าเสนองาน ร้อยละ 30 จากการร่วมกิจกรรม ร้อยละ 20 การประเมินระหว่าง เรียน ร้อยละ 30 การสอบปลายปี/ปลายภาค ร้อยละ 10
เกณฑ์การวัดและประเมินผลการเรียนรู้ส าหรับนักเรียน
6.1 การตัดสินผลการเรียน การตัดสินผลการเรียนส าหรับนักเรียนที่มีความต้องการจ าเป็นพิเศษทางการศึกษา ให้ด าเนินการ ตาม หลักเกณฑ์การวัดและประเมินผลการเรียนรู้เพื่อตัดสินผลการเรียนที่หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้น พื้นฐาน พุทธศักราช 2551 ก าหนด ดังนี้
นักเรียนต้องมีเวลาเรียนไม่น้อยกว่าร้อยละ 80 ของเวลาเรียนทั้งหมด
นักเรียนต้องได้รับการประเมินทุกตัวชี้วัดหรือตัวชี้วัดที่ปรับใช้ส าหรับกลุ่มเป้าหมายเฉพาะและ
ผ่าน ตามเกณฑ์ที่สถานศึกษาก าหนด
นักเรียนต้องได้รับการตัดสินผลการเรียนทุกรายวิชาหรือได้รับการตัดสินผลการเรียนที่ก าหนด
ไว้ในแผนการจัดการศึกษาเฉพาะบุคคล (IEP)
ผู้เรียนต้องได้รับการประเมินและมีผลการประเมินผ่านตามเกณฑ์ที่สถานศึกษาก าหนดในการ อ่าน คิด วิเคราะห์และเขียน คุณลักษณะอันพึงประสงค์และกิจกรรมพัฒนาผู้เรียน โดยค านึงถึงศักยภาพและ ความสามารถ ของนักเรียนแต่ละรายบุคคล เพื่อให้การตัดสินผลการเรียน มีความสอดคล้องกับความต้องการ จ าเป็นพิเศษและเป็นการลดข้อจ ากัด ในการวัดและประเมินผลการเรียนรู้สถานศึกษาสามารถปรับใช้หลักสูตร แกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พ.ศ. 2551 ในเรื่อง การตัดสินผลการเรียนส าหรับนักเรียนที่มีความต้องการ จ าเป็นพิเศษทางการศึกษา โดยปรับจากข้อก าหนดใน หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พ.ศ. 2551 ให้เหมาะสมกับกลุ่มนักเรียนที่มีความต้องการจ าเป็นพิเศษ ทางการศึกษา สามารถตัดสินผลการเรียนเป็นรายปี หรือรายภาคตามความเหมาะสม โดยสอดคล้องกับวัตถุประสงค์ของการจัดการเรียนการสอนและโครงสร้าง เวลาเรียนของหลักสูตรสถานศึกษานั้น ๆ ซึ่งในการปรับใช้จากข้อก าหนด ในหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้น พื้นฐาน พ.ศ. 2551 ควรได้ค านึงถึงสิ่งส าคัญ ดังต่อไปนี้
เวลาเรียน นักเรียนที่มีความต้องการจ าเป็นพิเศษทางการศึกษาที่ศึกษาในระบบ ควรมีเวลา เรียนไม่น้อยกว่า ร้อยละ 80 ของเวลาเรียนทั้งหมด แต่อาจยืดหยุ่นตามสภาพความพิการหรือบกพร่อง ให้อยู่ในดุลพินิจของสถานศึกษา
คุณภาพนักเรียน นักเรียนที่มีความต้องการจ าเป็นพิเศษทางการศึกษา จะต้องได้รับการ ประเมิน คุณภาพที่สอดคล้องสัมพันธ์กับมาตรฐานการเรียนรู้และตัวชี้วัดของหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้น พื้นฐาน พ.ศ. 2551 ตามมาตรฐาน/ตัวชี้วัด ที่ก าหนด และสามารถปรับใช้ให้เหมาะสมตามสภาพความพิการ หรือ บกพร่องตามศักยภาพของนักเรียนรายบุคคล
มิติของการประเมิน นักเรียนที่มีความต้องการจ าเป็นพิเศษทางการศึกษา ควรได้รับการ ประเมินและ ตัดสินผลตามจุดประสงค์เชิงพฤติกรรมที่ก าหนดไว้ในแผนการจัดการศึกษาเฉพาะบุคคล (IEP) แผนการสอน เฉพาะบุคคลโดยประเมินใน 2 รูปแบบ คืออิงกับพัฒนาการและอิงเกณฑ์ไปพร้อม ๆ กัน เพื่อใช้ ในการพิจารณาเลื่อนชั้น ถ้านักเรียนมีข้อบกพร่องเล็กน้อยสามารถพัฒนาและสอนซ่อมเสริมได้การพิจารณา เลื่อนชั้นให้อยู่ในดุลพินิจของ สถานศึกษาที่จะพิจารณาผ่อนผันให้แต่หากนักเรียนไม่ผ่านการประเมิน จุดประสงค์เชิงพฤติกรรมที่ก าหนดไว้ในแผนการ จัดการศึกษาเฉพาะบุคคล (IEP) และมีแนวโน้มว่าจะเป็น ปัญหาต่อการผ่านจุดประสงค์เชิงพฤติกรรมที่ก าหนดไว้ใน แผนการจัดการศึกษาเฉพาะบุคคล (IEP) ควรแต่งตั้ง -12- คณะกรรมการพิจารณาให้ปรับแผนการจัดการศึกษาเฉพาะบุคคล (IEP) ให้เหมาะสมกับสภาพความพิการหรือ บกพร่องของนักเรียน ในช่วงที่มีการประเมินระหว่างเรียน โดยให้ค านึงถึง ศักยภาพด้านการเรียนรู้วุฒิภาวะ ความรู้ความสามารถ และประโยชน์ที่นักเรียนที่มีความต้องการจ าเป็นพิเศษทางการ ศึกษาจะได้รับเป็นส าคัญ
6.2 การให้ระดับผลการเรียน
2.1 การให้ระดับผลการเรียน ในการตัดสินเพื่อให้ระดับผลการเรียนกรณีนักเรียนที่มีความ ต้องการจ าเป็น พิเศษทางการศึกษาที่เรียนรวมในโรงเรียนจัดการเรียนรวม สามารถให้ระดับผลการเรียนหรือ ระดับคุณภาพ โดยพิจารณาจากการผ่านจุดประสงค์เชิงพฤติกรรมในแผนการจัดการศึกษาเฉพาะบุคคล (IEP) มาประกอบ การให้ระดับผลการเรียนและตัดสินระดับคุณภาพตามเกณฑ์ปกติโดยค านึงถึงความเหมาะสมตาม ศักยภาพ พัฒนาการ ความรู้ความสามารถ และความบกพร่องของนักเรียน ในระดับประถมศึกษา การให้ ระดับผลการเรียนอาจเป็นระบบ ตัวเลข ระบบตัวอักษร ระบบร้อยละ หรือระบบที่ใช้ค าส าคัญสะท้อน มาตรฐานได้ตามความเหมาะสม ส่วนในระดับ มัธยมศึกษา การให้ระดับผลการเรียน ให้ใช้ระบบตัวเลขแสดง ระดับผลการเรียนเป็น 8 ระดับ ดังนี้
2.2 การประเมินการอ่านคิดวิเคราะห์และเขียน และคุณลักษณะอันพึงประสงค์ ให้ผลการ ประเมินเป็น ผ่านและไม่ผ่าน กรณีที่ผ่านให้ระดับผลการประเมินเป็นดีเยี่ยม ดีและผ่าน ทั้งนี้ให้คณะกรรมการ พัฒนาและประเมิน การอ่านคิดวิเคราะห์และเขียน และคณะกรรมการพัฒนาและประเมินคุณลักษณะอันพึง ประสงค์ของสถานศึกษา ก าหนดเกณฑ์การประเมินให้เหมาะสม ตามศักยภาพ พัฒนาการความรู้ความสามารถ และความบกพร่องของนักเรียน 2.3 การประเมินกิจกรรมพัฒนาผู้เรียน จะต้องพิจารณาเวลาในการเข้าร่วม กิจกรรม การปฏิบัติกิจกรรม และผลงานของนักเรียนตามเกณฑ์ที่สถานศึกษาก าหนด และคณะอนุกรรมการ กลุ่มสาระการเรียนรู้และกิจกรรม พัฒนานักเรียนของสถานศึกษา ก าหนดเกณฑ์การประเมินให้เหมาะสม ตาม ศักยภาพ พัฒนาการ ความรู้ความสามารถ และความบกพร่องของนักเรียน
6.3 การเลื่อนชั้น
เมื่อสิ้นปีการศึกษา นักเรียนจะได้รับการเลื่อนชั้น เมื่อมีคุณสมบัติตามเกณฑ์ดังต่อไปนี้
นักเรียนมีเวลาเรียนตลอดปีการศึกษาไม่น้อยกว่าร้อยละ 80 ของเวลาเรียนทั้งหมด
นักเรียนมีผลการประเมินผ่านมาตรฐานการเรียนรู้และตัวชี้วัดตามเกณฑ์ที่สถานศึกษาก าหนด ไว้ในแต่ละ รายวิชา และผ่านเกณฑ์การวัดและประเมินผลตามจุดประสงค์ที่ก าหนดไว้ในแผนการจัดการศึกษา เฉพาะบุคคล (IEP)
นักเรียนมีผลการประเมินการอ่าน คิดวิเคราะห์และเขียน คุณลักษณะอันพึงประสงค์และ กิจกรรมพัฒนา ผู้เรียนผ่านตามเกณฑ์ที่สถานศึกษาก าหนด ทั้งนี้ให้พิจารณายืดหยุ่นตามศักยภาพ พัฒนาการ ความรู้ความสามารถ และความบกพร่องของนักเรียน
6.4 การเรียนซ้ าชั้น
นักเรียนที่ไม่ผ่านรายวิชาจ านวนมาก และมีแนวโน้มว่าจะเป็นปัญหาต่อการเรียน ในระดับสูงขึ้น สถานศึกษา อาจแต่งตั้งคณะกรรมการที่เกี่ยวข้องพิจารณาให้เรียนซ้ าชั้นได้ ทั้งนี้ให้ค านึงถึง ศักยภาพ วุฒิภาวะ ความรู้ความสามารถและระดับความบกพร่องของนักเรียนเป็นส าคัญ นักเรียนที่ไม่มี คุณสมบัติตามเกณฑ์การเลื่อนชั้น สถานศึกษาควรให้เรียนซ้ าชั้น ทั้งนี้สถานศึกษาอาจใช้ดุลยพินิจให้เลื่อนชั้น ได้หากพิจารณาว่านักเรียนมีคุณสมบัติข้อใดข้อหนึ่งดังต่อไปนี้
มีเวลาเรียนไม่ถึงร้อยละ 80 อันเนื่องจากสาเหตุจ าเป็นหรือเหตุสุดวิสัย แต่มีคุณสมบัติตาม
เกณฑ์การเลื่อนชั้นในข้ออื่น ๆ ครบถ้วน
นักเรียนมีผลการประเมินผ่านมาตรฐานการเรียนรู้และตัวชี้วัดไม่ถึงเกณฑ์ตามที่ สถานศึกษาก าหนด ในแต่ละรายวิชา แต่มีการผ่านเกณฑ์การวัดและประเมินผลตามจุดประสงค์ที่ก าหนดไว้ใน แผนการจัดการศึกษา เฉพาะบุคคล(IEP)ก่อนที่จะให้นักเรียนซ้ าชั้น สถานศึกษาควรแจ้งให้ผู้ปกครองและ นักเรียนทราบเหตุผลของการเรียนซ้ าชั้น
6.5 การสอนซ่อมเสริม
ในกรณีนักเรียนได้รับการพิจารณาให้ซ้ าชั้นหรือนักเรียนมีความรู้ทักษะ กระบวนการ หรือเจตคติ/ คุณลักษณะไม่เป็นไปตามเกณฑ์ที่สถานศึกษาก าหนด สถานศึกษาต้องจัดการสอน ซ่อมเสริมเป็นกรณีพิเศษนอกเหนือ ไปจากการสอนตามปกติเพื่อพัฒนาให้นักเรียนสามารถบรรลุตามมาตรฐาน การเรียนรู้ตัวชี้วัด ตามจุดประสงค์ที่ ก าหนดไว้ในแผนการจัดการศึกษาเฉพาะบุคคล (IEP)
6.6 เกณฑ์การจบการศึกษา
เกณฑ์การจบการศึกษาตามแนวปฏิบัติการวัดและประเมินผลการเรียนรู้ ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พ.ศ. 2551 เนื่องจากนักเรียนที่มีความต้องการจ าเป็นพิเศษทาง การศึกษา มีความแตกต่างจาก นักเรียนทั่วไป และในความพิการและบกพร่องของแต่ละบุคคลนั้น ยังมีความ แตกต่างกัน ดังนั้นเกณฑ์และวิธีการ ในการวัดและประเมินผลให้จบหลักสูตรตามเกณฑ์แนวปฏิบัติการวัดและ ประเมินผลการเรียนรู้ตามหลักสูตรแกนกลาง การศึกษาขั้นพื้นฐาน พ.ศ. 2551 ย่อมต้องมีความยืดหยุ่น มากกว่านักเรียนทั่วไป แต่ยังคงอิงกับเกณฑ์การจบการศึกษาที่ก าหนดไว้ในแนวปฏิบัติการวัดและประเมินผล การเรียนรู้ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พ.ศ. 2551 ในแต่ละระดับ ในการตัดสินผลการเรียนให้ จบการศึกษาของนักเรียนที่มีความต้องการจ าเป็นพิเศษ ทางการศึกษาควรครอบคลุมสิ่งส าคัญ ดังนี้
6.1 นักเรียนที่มีความต้องการจ าเป็นพิเศษทางการศึกษา บรรลุคุณภาพตามจุดประสงค์เชิง พฤติกรรม ที่ก าหนดไว้ในแผนการจัดการศึกษาเฉพาะบุคคล (IEP) ในรายวิชาใด ๆ โดยอิงมาตรฐานการเรียนรู้ -14- และตัวชี้วัดของ หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พ.ศ. 2551 หรือตามมาตรฐานและตัวชี้วัดที่ปรับใช้ กับกลุ่มเป้าหมายเฉพาะ
6.2 นักเรียนที่มีความต้องการจ าเป็นพิเศษทางการศึกษา ที่มีความบกพร ่องรุนแรง ควรพิจารณา ให้จบ การศึกษาโดยนักเรียนต้องผ่านการประเมินตามจุดประสงค์ที่ก าหนดไว้ในแผนการจัดการศึกษาเฉพาะ บุคคล (IEP) ทั้งนี้ให้ค านึงถึงศักยภาพ พัฒนาการ วุฒิภาวะ ความรู้ความสามารถและระดับความบกพร่องของ นักเรียนเป็นส าคัญ
6.7 การรายงานผลการเรียน
การรายงานผลการเรียนเป็นการสื่อสารให้ผู้ปกครองและนักเรียน ทราบความก้าวหน้าในการเรียนรู้ของ นักเรียน ซึ่งสถานศึกษาต้องสรุปผลการประเมินและจัดท า เอกสารรายงานให้ผู้ปกครองทราบเป็นระยะ หรืออย่างน้อย ภาคเรียนละ 1 ครั้ง การรายงานความก้าวหน้าใน การเรียนรู้ของนักเรียนที่มีความต้องการจ าเป็นพิเศษทางการศึกษา ควรมีข้อมูลในการรายงานผลการเรียน ดังนี้
ข้อมูลระดับชั้นเรียน ประกอบด้วย เวลามาเรียน ผลการประเมินความรู้ความสามารถตาม แผนการจัด การศึกษาเฉพาะบุคคล (IEP) พฤติกรรมการเรียนรู้ความประพฤติและผลงานในการเรียนของ นักเรียน เพื่อเป็นข้อมูล ส าหรับรายงานความก้าวหน้า ความส าเร็จของนักเรียน
ข้อมูลระดับสถานศึกษา ประกอบด้วย ผลการประเมินผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ผลการ ประเมินการอ่าน คิดวิเคราะห์และเขียน ผลการประเมินคุณลักษณะอันพึงประสงค์ผลการประเมินกิจกรรม พัฒนาผู้เรียนรายปี/รายภาค ผลการประเมินความก้าวหน้าโดยรวมของสถานศึกษา เพื่อเป็นข้อมูลและ สารสนเทศในการพัฒนาการเรียนการสอน และคุณภาพของนักเรียน
ข้อมูลระดับเขตพื้นที่การศึกษาและระดับชาติประกอบด้วย ผลการประเมินคุณภาพการศึกษา
ระดับเขต พื้นที่การศึกษาและระดับชาติ
ข้อมูลพัฒนาการของนักเรียนด้านอื่น ๆ ที่เกี่ยวกับพัฒนาการทางร่างกาย จิตใจ อารมณ์สังคม
และ พฤติกรรมต่าง ๆ
การรายงานผลการเรียน สถานศึกษาสามารถเลือกลักษณะข้อมูลและรูปแบบการรายงานให้ เหมาะสมและ สอดคล้องกับการให้ระดับผลการเรียนในแต่ละระดับการศึกษา โดยค านึงถึงการน าข้อมูลไปใช้ ประโยชน์ของผู้รับ รายงานเป็นส าคัญ นอกจากนี้การจัดการศึกษาส าหรับนักเรียนที่มีความต้องการจ าเป็น พิเศษทางการศึกษา มีความ จ าเป็นต้องมีการส่งต่อข้อมูลรายงานผลการเรียน ซึ่งควรด าเนินการทั้งการส่งต่อ ระหว่างชั้นเรียนและการเลื่อนชั้น (Transitions between grade levels and class transfers) การส่งต่อ ระหว่างโรงเรียน (Transitions between schools) เมื่อนักเรียนจบการศึกษาจากสถาบันการศึกษาหนึ่งแล้ว หรือมีการย้ายสถานศึกษา การส่งต่อจากระดับ มัธยมศึกษาสู่การศึกษาในระดับสูงขึ้นและวัยผู้ใหญ่ (Transitionfrom secondary school tohighereducationor adult life) เมื่อนักเรียนส าเร็จการศึกษา ระดับมัธยมศึกษา ทั้งนี้เพื่อให้นักเรียนได้รับการช่วยเหลือได้อย่างต่อเนื่อง
แนวปฏิบัติในการวัดและประเมินผลการเรียนรู้ส าหรับนักเรียนที่มีความต้องการจ าเป็นพิเศษแต่ละ
ประเภท
การวัดและประเมินผลการเรียนรู้ส าหรับนักเรียนที่มีความต้องการจ าเป็นพิเศษทางการศึกษา ควรอยู่ บนพื้น ฐานที่สอดคล้องและตอบสนองกับความต้องการจ าเป็นพิเศษทางการศึกษาของนักเรียน โดยใช้ แผนการจัดการศึกษา เฉพาะบุคคล (IEP) เป็นเครื่องมือในการด าเนินการ เชื่อมโยงกับมาตรฐานและตัวชี้วัด ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พ.ศ. 2551 เมื่อสถานศึกษาได้ด าเนินการคัดกรองแล้วพบว่ามี นักเรียนที่มีความต้องการจ าเป็นพิเศษ ทางการศึกษาแต่ละประเภทความพิการ ให้สถานศึกษาด าเนินการตาม ขั้นตอน ดังแผนภูมิแผนภูมิแสดงขั้นตอนการวัดและประเมินผลการเรียนรู้ส าหรับนักเรียนที่มีความต้องการ จ าเป็นพิเศษทางการศึกษาแต่ละประเภท
การประเมินระดับความรู้ความสามารถพื้นฐานและความต้องการจ าเป็นพิเศษเพื่อน าข้อมูลไปใช้ใน การวางแผนจัดการเรียนรู้โดยประเมินความสามารถปัจจุบัน การวิเคราะห์จุดเด่น/จุดด้อย การประเมิน พัฒนาการด้านต่าง ๆ ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ทั้งนี้ควรพิจารณาแหล่งข้อมูลและใช้เครื่องมือที่หลากหลาย สอดคล้องกับลักษณะความพิการ หรือความบกพร่องของแต่ละบุคคล เช่น แบบประเมินพัฒนาการ แบบ สังเกต แบบสอบถาม แบบสัมภาษณ์แบบทดสอบ
การวิเคราะห์มาตรฐานการเรียนรู้และตัวชี้วัด เพื่อใช้เป็นข้อมูลในการวางแผนและออกแบบการ เรียนรู้และ การวัดและประเมินผล ให้สอดคล้องกับความต้องการจ าเป็นพิเศษทางการศึกษาของนักเรียนโดย วิเคราะห์เนื้อหาสาระ ที่ต้องเรียน ลักษณะพฤติกรรมที่ต้องการให้เกิดขึ้นในตัวนักเรียน ตามบริบทของเนื้อหา สาระในแต่ละกลุ่มสาระ การเรียนรู้ที่จัดให้นักเรียน ทั้งนี้ให้ค านึงถึงระดับความสามารถพื้นฐานและความ บกพร่องของนักเรียน เพื่อให้นักเรียน สามารถเรียนรู้และพัฒนาให้บรรลุตาม เป้าหมายที่ก าหนดไว้ใน มาตรฐานและตัวชี้วัด โดยมีลักษณะของพฤติกรรม ที่แสดงออกใน 3 ลักษณะ คือ
2.1 พฤติกรรมด้านความรู้(Knowledge: K) หรือพุทธิพิสัย (Cognitive Domain) เป็นพฤติกรรม ที่แสดงออกสะท้อนให้เห็นถึงความสามารถทางสติปัญญาหรือพฤติกรรมผ่านกระบวนการทางสมอง
2.2 พฤติกรรมด้านทักษะกระบวนการ (Process Skill: P) หรือด้านทักษะพิสัย (Psychomotor Domain) เป็นพฤติกรรมที่แสดงให้เห็นถึงความคล่องแคล่ว เชี่ยวชาญในการปฏิบัติงานหรือกิจกรรมอย่าง ถูกต้องตามขั้นตอน
2.3 พฤติกรรมด้านคุณลักษณะอันพึงประสงค์ (Attribute: A) หรือด้านจิตพิสัย (Effective Domain) เป็นพฤติกรรมที่แสดงให้เห็นถึงคุณลักษณะนิสัย ทัศนคติหรือค่านิยมเฉพาะบุคคลของนักเรียน
การจัดท าแผนการจัดการศึกษาเฉพาะบุคคล (IEP) เป็นแผนการจัดการศึกษาที่จัดท าขึ้นให้ สอดคล้องกับ ความต้องการจ าเป็นพิเศษของนักเรียนเฉพาะบุคคล โดยการมีส่วนร่วมของผู้บริหารสถานศึกษา ผู้ปกครอง ครูและ คณะสหวิชาชีพที่เกี่ยวข้อง ซึ่งในแผนจะต้องระบุระดับความสามารถในปัจจุบัน เป้าหมาย ระยะยาว 1 ปีจุดประสงค์เชิงพฤติกรรม เกณฑ์และวิธีการวัดประเมินผลก าหนดเทคโนโลยีสิ่งอ านวยความ สะดวกสื่อ บริการและความช่วยเหลือ อื่นใดทางการศึกษา ตลอดจนมีการทบทวนปรับปรุงแผนตามความ เหมาะสมให้ค านึงถึงบริบท ด้านนักเรียน (Student) ด้านสิ่งแวดล้อม (Environments) ด้านกิจกรรม (Tasks) และด้านเทคโนโลยีสิ่งอ านวยความสะดวก สื่อ บริการ และความช่วยเหลืออื่นใดทางการศึกษา (Tools) ด้วย
การก าหนดเกณฑ์และแนวทางการวัดและประเมินผล เพื่อเป็นแนวทางในการเก็บรวบรวมข้อมูล เกี่ยวกับ พัฒนาการและผลการเรียนรู้ของนักเรียน ตรวจสอบความรู้ความสามารถของนักเรียนตามกรอบ มาตรฐานการเรียนรู้และตัวชี้วัดของหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พ.ศ. 2551 หรือตามมาตรฐาน การเรียนรู้และตัวชี้วัดที่ ปรับใช้กับกลุ่มเป้าหมายเฉพาะ ให้สอดคล้องกับแผนการจัดการศึกษาเฉพาะบุคคล (IEP) โดยใช้วิธีการและเครื่องมือ ประเมินที่หลากหลาย เหมาะสมกับศักยภาพและความต้องการจ าเป็นพิเศษ ทางการศึกษาและของนักเรียน โดยค านึง ถึงการให้ความช่วยเหลือและอ านวยความสะดวกในด้านการวัดและ ประเมินผล
การจัดกิจกรรมการเรียนการสอนและประเมินผล ตามแผนการจัดการศึกษาเฉพาะบุคคล (IEP) โดยด าเนินการประเมินผลควบคู่กับการจัดกระบวนการเรียนการสอน และให้โอกาสนักเรียนได้แสดงความรู้ -17- ความสามารถ ด้วยวิธีการที่หลากหลาย ค านึงถึงศักยภาพและความสามารถของนักเรียนที่มีความต้องการ จ าเป็นพิเศษทางการศึกษา เพื่อน าผลการประเมินมาพัฒนานักเรียนให้บรรลุถึงความรู้ความสามารถตาม เป้าหมายที่ก าหนดไว้ในแผนการจัดการศึกษา เฉพาะบุคคล (IEP) และให้น าผลการประเมินการผ่าน จุดประสงค์เชิงพฤติกรรมในแผนการจัดการศึกษาเฉพาะบุคคล (IEP) มาประกอบการให้ระดับผลการเรียนและ การตัดสินผลการเรียน ในแต่ละรายวิชาตามเกณฑ์ที่ครูผู้สอนได้ก าหนดไว้โดยค านึงถึงความเหมาะสมตาม ศักยภาพ พัฒนาการ ความรู้ความสามารถ และความบกพร่องของนักเรียน
การประเมินทบทวนและปรับปรุงแผนการจัดการศึกษาเฉพาะบุคคล(IEP) เพื่อตรวจสอบ ประเมินผลการจัด กิจกรรมการเรียนรู้ให้ทราบว่านักเรียนมีพัฒนาการตามที่ระบุไว้ในแผนการจัดการศึกษา เฉพาะบุคคล (IEP) ฉบับนั้น หรือไม่ กิจกรรมการเรียนรู้วิธีการและเครื่องมือประเมินผล เกณฑ์ระดับคุณภาพที่ ระบุไว้ในแผนการจัดการศึกษา เฉพาะบุคคล (IEP) มีความเหมาะสมหรือไม่อย่างไร ในกรณีที่นักเรียนมี พัฒนาการ หรือผลการเรียนรู้ต่ ากว่าหรือสูงกว่า เป้าหมายที่ก าหนดไว้สถานศึกษาต้องทบทวน ปรับแผนการ จัดการศึกษาเฉพาะบุคคล (IEP) อย่างน้อยปีละ 1 ครั้ง เพื่อให้นักเรียนได้รับการพัฒนาเต็มศักยภาพ
การรายงานผลการจัดการศึกษาตามแผนการจัดการศึกษาเฉพาะบุคคล (IEP) เป็นการรายงาน ความ ก้าวหน้า ให้ผู้ปกครองและนักเรียนทราบผลการพัฒนาและผลการเรียนรู้ซึ่งสถานศึกษาต้องสรุปผลการ ประเมินและ จัดท าเอกสารรายงานให้ผู้ปกครองทราบเป็นระยะ หรืออย่างน้อยภาคเรียนละ 1 ครั้ง โดยสรุปแล้วในฐานะครูผู้สอนควรให้โอกาสกับผู้เรียนทุกคนอย่างเท่าเทียมกันในการจัดการเรียนรู้ เพื่อให้ผู้เรียนบรรลุตามวัตถุประสงค์การเรียนรู้หรือเกิดการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมการเรียนรู้โดยเฉพาะ อย่างยิ่ง “ผู้เรียนที่มีความต้องการจ าเป็นพิเศษทางการศึกษา” ซึ่งจ าเป็นต้องอาศัยการวัดและประเมิน รายบุคคลเพื่อน าไปจัดท าเป็นแผนการจัดการศึกษาเฉพาะบุคคล (IEP) ซึ่งจะท าให้ผู้เรียนที่มีความต้องการ จ าเป็นพิเศษทางการศึกษาสามารถเรียนรู้และพัฒนาศักยภาพตนเองและสามารถดูแลตัวเองได้ในอนาคต
อ้างอิง
error