Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
เทคนิคเกี่ยวกับความปลอดภัยและชีวอนามัยในอุตสาหกรรม, image, นายธนาวุฒิ…
เทคนิคเกี่ยวกับความปลอดภัยและชีวอนามัยในอุตสาหกรรม
องค์ประกอบของอาชีวอนามัย
คน
ในด้านคนที่ปฎิบัติงานทั้งหลายย่อมมีความแตกต่างกันอย่างหลากหลาย เช่น กรรมพันธุ์สภาพ ร่างกาย อารมณ์ เป็นต้น
กระบวนการผลิต มีส่วนเกี่ยวข้อง 2 ส่วน คือ
. วัตถุดิบที่ใช้ในการผลิต อาจจะเป็นพิษต่อสุขภาพได้
. วิธีการผลิต อาจมีอันตรายในการทำงานเกิดขึ้นได้
เครื่องมือ
มีทั้งเครื่องจักร เครื่องยนต์ อุปกรณ์ต่าง ๆ ที่ใช้ในการประกอบอาชีพ เช่น รถบรรทุก เครื่องตัด เครื่องยก ฯลฯ
สิ่งแวดล้อมในการทำงาน มีองค์ประกอบที่สำคัญ ดังนี้
. สิ่งแวดล้อมทางเคมี เช่น ยาฆ่าแมลง ควัน สารเคมีต่าง ๆ ที่ใช้ใน
การประกอบอาชีพ เป็นต้น
. สิ่งแวดล้อมทางชีวภาพ เช่น ไวรัส แบคทีเรีย หนู แมลงต่าง ๆ
. สิ่งแวดล้อมด้านจิตใจ เช่น ความสกปรก ทัศนียภาพ เป็นต้น
ขอบเขตของอาชีวอนามัย
ป้องกันและรักษาอุบัติภัยจากการทำงานในอาชีพ
ป้องกันและรักษาโรคที่เกิดจากการประกอบอาชีพ
การจัดบริการสุขภาพแก่คนงาน
ส่งเสริมสุขภาพจิตในการทำงาน
จัดสิ่งแวดล้อมที่เหมาะสมในการทำงานเพื่อป้องกันอันตราย
ฟื้นฟูสุขภาพผู้รับบาดเจ็บจากการทำงาน
ป้องกันการเจ็บป่วยและส่งเสริมสุขภาพของคนงานโดยรวม
ความหมายของความปลอดภัย
มีนักวิชาการได้ให้ความหมายของความปลอดภัยไว้ ดังนี้
พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ 2542 กล่าวว่า ความปลอดภัย คือ พ้นภัย เฉิดศักดิ์ สืบทรัพย์ (2555 : 23) กำหนดว่า ความปลอดภัย หมายถึง การปราศจากภัย รวมถึง ปราศจากอันตรายที่มีโอกาสจะเกิดขึ้น
สรุป ความปลอดภัย หมายถึง การพ้นหรือปราศจากสิ่งที่เป็นอันตรายต่าง ๆ ทั้งจากโรคและจาก อุบัติภัย
ความสำคัญของความปลอดภัยในการทำงาน
ต้นทุนการผลิตลดลง เมื่อการเกิดอุบัติเหตุลดลง ความสูญเสียหรือค่าใช้จ่ายสำหรับอุบัติเหตุก็น้อยลง โรงงานสามารถประหยัดเงินค่า รักษาพยาบาล ค่าเงินเข้ากองทุนทดแทน เป็นต้น
ผลผลิตเพิ่งขึ้น การทำงานอย่างปลอดภัยทำให้คนงานมีขวัญและกำลังใจทำงานได้เต็มที่ รวดเร็วยิ่งขึ้น ส่งผลให้มีผลผลิต โดยรวมเพิ่มขึ้น
กำไรมากขึ้น เนื่องจากต้นทุนลดลงและผลผลิตเพิ่ม เป็นเหตุให้โรงงานได้กำไรมาขึ้น เนื่องจาก กำไร = รายได้ - รายจ่าย
รักษาทรัพยากรมนุษย์ การทำให้สภาพการทำงานมีความปลอดภัย เป็นการลดการเกิดอุบัติเหตุ ส่งผลให้คนงานได้รับบาดเจ็บหรือตาย น้อยลง จึงเป็นการสงวนรักษาทรัพยากรมนุษย์ที่สำคัญของชาติไว้ได้
จูงใจให้คนอยากทำงานมากขึ้น เนื่องจากมีความปลอดภัยในการทำงานและดำรงชีวิตซึ่งสอดคล้องตามทฤษฎีการจูงใจของมาสโลว์ (Maslow Motivation Theory)
กฎหมายความปลอดภัยในการทำงานของประเทศไทย
พ.ศ 2470 ได้มีการจัดตั้งคณะพิจารณากฎหมายอุตสาหกรรม เพื่อคุมครองความปลอดภัยของคนงาน
พ.ศ 2471 ประกาศใช้พระราชบัญญัติควบคุมกิจการค้าขายอันกระทบถึงความปลอดภัยหรือผาสุกแห่ง สาธารณชน
พ.ศ 2477 ประกาศใช้พระราชบัญญัติสาธารณสุข
พ.ศ 2482 ประกาศใช้พระราชบัญญัติโรงงาน พ.ศ 2482 ได้กำหนดเงื่อนไขการขอตั้งและประกอบกิจการโรงงาน เกี่ยวกับการรักษาความสะอาด ความปลอดภัยในการทำงาน ความปลอดภัยในการติดตั้งเรื่องจักร อุปกรณ์ ตลอดจน ไฟฟ้า การป้องกันอันตรายจากวัตถุระเบิด
พ.ศ 2484 ประก่ศใช้พระราชบัญญัติสาธารณสุข โดยเพิ่มเติมในบทบัญญ้ติเกี่ยวกับแสงสว่างการระบายอากาศ น้ำดื่ม ห้องน้ำ และสุขภัณฑ์
พ.ศ 2499 ประกาศใช้พระราชบัญญัติควบคุมการก่อสร้างอาคาร
พ.ศ 2503 ประกาศใช้พระราชบัญญัติโรงงาน (ฉบับที่ 2) พ.ศ 2503
พ.ศ 2510 ประกาศใช้พระราชบัญญัติวัตถุมีพิษ พ.ศ 2510 และมีการแก่ไขเพิ่มเติม โดยพระราชบัญญัติวัตถุมีพิษ (ฉบับที่ 2) พ.ศ 2516
กฎเบื้องต้นแห่งความปลอดภัย 10 ประการ
ช่วยกันรักษาความสะอาดและมีความเป็นระเบียบเรียบร้อย
ปรับปรุงแก้ไขสภาพการณ์ที่ไม่ปลอดภัย
ปฏิบัติตามคำแนะนำอย่างเคร่งครัด
รายงานการบาดเจ็บและการปฐมพยาบาล
ใช้เครื่องมือหรืออุปกรณ์ให้ถูกต้องปลอดภัย
การใช้ การปรับ ซ่อมแซมอุปกรณ์ต่างๆ ต้องเป็น
การยกสิ่งของหนักควรช่วยกันยกหลายๆ คน
ห้ามหยอกล้อหรือเล่นกันในขณะทำงาน
ใช้อุปกรณ์ป้องกันอันตรายในการปฏิบัติงานให้เหมาะสม
ปฏิบัติตามกฎหรือสัญลักษณ์ของความปลอดภัย
คณะทำงานทางด้านอาชีวอนามัยและความปลอดภัย
เจ้าหน้าที่ความปลอดภัยระดับวิชาชีพ (Safety professional) จะต้องมีความรู้ทางด้านวิทยาศาสตร์สุขภาพ สังคมศาสตร์ วิศวกรรม ฟิสิกส์ เคมี สถิติ คณิตศาสตร์ และ หลักการวัดและการวิเคราะห์ ซึ่งรวมถึงการประเมินทางด้านความปลอดภัยในสถานที่ทำงาน
พยาบาลอาชีวอนามัย (Occupational Health nurse) เป็นบุคคลสำคัญในการให้บริการทางด้านสุขภาพอนามัยของคนงาน พยาบาลอาชีวอนามัยจะมีหน้าที่ในการ ส่งเสริม ป้องกัน และทำให้คนงานมีสุขภาพดีโดยได้อยู่ในสิ่งแวดล้อมที่ดีและปลอดภัย พยาบาลอาชีวอนามัยจะเป็น ส่วนที่เชื่อมต่อระหว่างสถานะทางสุขภาพของลูกจ้างกระบวนการทำงานและความสามารถของคนงานในการทำงาน
แพทย์อาชีวอนามัย (Occupational physician) แพทย์ที่ผ่านการอบรมหรือมีประสบการณ์ และความรู้อย่างกว้างขวางเกี่ยวกับสาเหตุของการเกิดโรคจาก การทำงานและอันตรายของสารเคมี ฟิสิกส์ ชีวภาพ และเออร์โกโนมิคส์ ที่มีต่อคนงาน อาการ และอาการแสดงของ การได้รับสารแบบเฉียบพลันและเรื้อรัง สามารถรักษาโรคที่เกิดขึ้นได้ จุดมุ่งหมายของแพทย์อาชีวอนามัยก็เพื่อป้องกัน โรคจากการทำงาน เมื่อเกิดโรคจากการทำงานขึ้นสามารถรักษาโรคจากการทำงานให้หายได้และช่วยให้คนงานมี สถานที่ทำงานที่ดีและปลอดภัย มีการจัดทำโครงการเฝ้าระวังทางการแพทย์โดยจัดให้มีการทดสอบที่จำเป็นตาม ลักษณะงานเพื่อดูแลสุขภาพของคนงาน และสามารถตรวจพบความผิดบกติของคนงานได้ก่อนที่จะเกิดโรคจากการ ทำงาน
ลูกจ้าง (Employee) เป็นส่วนสำคัญในโครงการอาชีวอนามัยและความปลอดภัย ลูกจ้างเป็นแหล่งข้อมูลของขั้นตอนการทำงาน วิธีการทำงานและอันตรายที่เกิดจากกระบวนการทำงานต่าง ๆ ในอุตสาหกรรมคณะกรรมการอาชีวอนามัย ความ ปลอดภัยและสิ่งแวดล้อม เป็นคณะกรรมการที่ควรจะจัดตั้งขึ้นในโรงงานที่มีคนงานตั้งแต่ 50 คนขึ้นไป เป็นสถานที่ที่มี การทำงานร่วมกันของผู้บริหารและพนักงานโดยมีทั้งตัวแทนฝ่ายนายจ้างและฝ่ายคนงาน มีการร่วมมือกัน มีการ แลกเปลี่ยนความคิดเห็นของผู้เกี่ยวข้องในโครงการอาชีวอนามัยและความปลอดภัย แนะนำนโยบายทางด้านบริหาร ทำการสำรวจสถานที่ทำงานเป็นระยะ ประเมินและส่งเสริมกิจกรรมทางด้านอาชีวอนามัยและความปลอดภัย การ ประชุมกรรมการจะทำให้มีการจัดทำโครงการทางด้านสุขศาสตร์อุตสาหกรรมและความปลอดภัย และการเสนอ นโยบายทางด้านความปลอดภัยที่เหมาะสม เป็นต้น
5 ส. เพื่อความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงาน
5 ส เครื่องมือ พื้นฐานที่สำคัญ ในการเสริมสร้างและยกระดับความปลอดภัยของสถานประกอบกิจการ การนำ 5ส มาใช้อย่างเป็นระบบ โดยมี องค์ประกอบ ที่สำคัญ 3 ประการ ที่จะนำไปสู่ความสำเร็จ อย่างยั่งยืน ได้แก่ ความมุ่งมั่นอย่างแรงกล้า ของผู้บริหาร มีระบบการบริหารจัดการ 5ส อย่างต่อเนื่อง และ ความร่วมมือจาก ผู้ปฏิบัติงานในทุกระดับ จะทำให้ ระบบ 5ส เพื่อความปลอดภัย จะสามารถบรรลุ เป้าหมายที่ทุกองค์กร ต้องการ คือ อุบัติเหตุ/อบัติการณ์ ต้องเป็น ศูนย์
นายธนาวุฒิ วรสิงห์ รหัส 704