Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
หน่วยที่ 5 เครื่องมือที่ใช้ในการวัดผลในศตวรรษที่ 21 - Coggle Diagram
หน่วยที่ 5 เครื่องมือที่ใช้ในการวัดผลในศตวรรษที่ 21
แนวคิดหลักของการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21
การเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 เป็นการก าหนดแนวทางยุทธศาสตร์ในการจัดการเรียนรู้โดยสร้างรูปแบบและแนวปฏิบัติในการเสริมสร้างประสิทธิภาพของการจัดการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 ซึ่งเน้นที่องค์ความรู้ ทักษะ ความเชี่ยวชาญและสมรรถนะที่เกิดกับตัวผู้เรียน เพื่อใช้ในการด ารงชีวิตในสังคมแห่งความ เปลี่ยนแปลงในปัจจุบัน แนวคิดเรื่องดังกล่าวนี้ถูกพัฒนาขึ้นมาจากเครือข่าย P21 หรือ Partnership for 21st Century Learning ของประเทศสหรัฐอเมริกาเป็นผู้บุกเบิกในการจัดท าระบบส่งเสริมให้ผู้เรียนได้รอบรู้ทักษะ การเรียนรู้ไว้ 5 ด้าน ที่ส าคัญได้แก่ (ศศิธร บัวทอง, 2560: 1857-1858) (1) มาตรฐานในศตวรรษที่ 21 (21st Century Standards) (2) การประเมินทักษะในศตวรรษที่ 21 (Assessment of 21st Century Skill) (3) หลักสูตรและการสอนในศตวรรษที่ 21 (21st Century Curriculum and instruction) (4) การพัฒนาทางวิชาการในศตวรรษที่ 21 (21st Century Professional Development) (5) สภาพแวดล้อมทางการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 (21st Century Learning Environment) การจัดกระบวนการเรียนรู้ประกอบด้วยองค์ประกอบส าคัญ 3 องค์ประกอบ ได้แก่ วัตถุประสงค์การ เรียนรู้ การจัดการเรียนรู้และการวัดและประเมินผลการเรียนรู้ ดังนั้นจึงกล่าวได้ว่ากระบวนการเรียนรู้ใน ศตวรรษที่ 21 จะประกอบไปด้วย (1) วัตถุประสงค์การเรียนรู้ที่ก่อให้เกิดองค์ความรู้ ทักษะ ความเชี่ยวชาญและสมรรถนะที่เกิด กับตัวผู้เรียน หน่วยที่ 5 เครื่องมือที่ใช้ในการวัดผลในศตวรรษที่ 21 เอกสารประกอบการสอนรายวิชา การวัดและประเมินผลการเรียนรู้ ดร. พรรณิภา ภูกองพลอย -2- (2) การจัดการเรียนรู้ประกอบไปด้วยหลักสูตรและการสอนในศตวรรษที่ 21 การพัฒนาทาง วิชาการในศตวรรษที่ 21 และสภาพแวดล้อมทางการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 (3) การประเมินทักษะการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 ซึ่งมีความส าคัญอย่างยิ่งต่อการเรียนรู้ทั้ง ผู้สอนและผู้เรียนโดยตรง เพราะจะท าให้ทราบว่าผู้เรียนเกิดทักษะในศตวรรษที่ 21 หรือไม่ หากผู้เรียนยังไม่ เกิดทักษะก็จะน าผลการประเมินมาปรับปรุงกระบวนการจัดการเรียนรู้เพื่อให้เกิดทักษะ จึงกล่าวได้ว่าการวัด และประเมินผลเป็นกระบวนการที่ส าคัญอย่างหนึ่งที่ใช้ในการให้ข้อมูลย้อนกลับ เพื่อพัฒนาการจัดการ เรียนการสอนที่ส่งเสริมให้ผู้เรียนเกิดทักษะการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21
กรอบแนวคิดทักษะการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21
กรอบแนวคิดในการจัดการเรียนรู้แห่งศตวรรษที่ 21 ที่แสดงผลลัพธ์ของนักเรียนและปัจจัยส่งเสริม สนับสนุนในการจัดการเรียนรู้เพื่อรองรับศตวรรษที่ 21 โดยเครือข่ายองค์กรความรวมมือเพื่อทักษะการเรียนรู้ ในศตวรรษที่ 21 (Partnership for 21st Century Skills) หรือมีชื่อย่อว่าเครือข่าย P21 ได้พัฒนาวิสัยทัศน์ เพื่อความส าเร็จของนักเรียนในระบบเศรษฐกิจโลกใหม่ (ศศิธร บัวทอง, 2560: 1858) ภาพประกอบที่ 1 กรอบแนวคิดเพื่อการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 (21st Century Learning Framework) (ที่มา: www.p21.org/storage/documents/P21_Framework_Definitions.pdf) กรอบแนวคิดในการจัดการเรียนรู้แห่งศตวรรษที่ 21 จะเป็นการบูรณาการทักษะเข้าในการสอนเนื้อหา หลักด้านวิชาการเครือข่ายP21 ได้พัฒนาวิสัยทัศน์การเรียนรู้เป็นกรอบความคิดเพื่อการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 โดยผสมผสานองค์ความรู้ทักษะเฉพาะด้าน ความช านาญการและความรู้เท่าทันในด้านต่าง ๆ เข้าด้วยกัน เพื่อให้ประสบความส าเร็จ ทั้งในด้านการท างานและการด าเนินชีวิต จึงเป็นจุดเริ่มต้นของการพัฒนาทักษะ แห่งอนาคตใหม่ส าหรับประเทศไทย การน าทักษะในศตวรรษที่ 21 ทุกทักษะไปใช้นักเรียนทุกคนจ าเป็นต้อง ได้รับการพัฒนาให้มีความรู้ความเข้าใจเนื้อหาหลักด้านวิชาการ การที่นักเรียนจะสามารถคิดอย่างมี วิจารณญานและสื่อสารได้อย่างมีประสิทธิภาพนั้นต้องอาศัยบูรณาการของพื้นฐานความรู้ดังกล่าว ภายใต้บริบทการสอนความรู้วิชาหลัก นักเรียนต้องเรียนรู้ทักษะที่จ าเป็นเพื่อให้ประสบความส าเร็จในโลก -3- เช่น การคิดอย่างมีวิจารณญาน การแก้ปัญหา การคิดสร้างสรรค์การสื่อสารและการร่วมมือกัน ดังนั้น ทักษะเพื่อการด ารงชีวิตในศตวรรษที่ 21 (21st Century Skills) (วิจารณ์ พานิช, 2555: 16 -21) มีดังนี้
(1) สาระวิชาหลัก (Core Subjects) การรอบรู้สาระวิชามีความส าคัญและจ าเป็นอย่างยิ่งต่อ ความส าเร็จของนักเรียน สาระวิชาหลัก ได้แก่ ภาษาอังกฤษ การอ่าน ภาษาของโลก ศิลปะ คณิตศาสตร์ เศรษฐศาสตร์วิทยาศาสตร์ภูมิศาสตร์ประวัติศาสตร์การปกครองและความเป็นพลเมืองที่ดี แต่ไม่เพียงพอ ส าหรับการเรียนรู้เพื่อมีชีวิตในโลกยุคศตวรรษที่ 21 โรงเรียนต้องส่งเสริมความเข้าใจเนื้อหาวิชาการให้อยู่ใน ระดับสูงด้วยการสอดแทรกทักษะเพื่อการด ารงชีวิตใน ศตวรรษที่ 21 ต่อไปนี้เข้าในทุกวิชาหลัก ประกอบด้วย
(1.4) ความรู้ด้านสุขภาพ (Health Literacy) (1.5) ความรู้ด้านสิ่งแวดล้อม (Environmental Literacy)
(1.1) ความรู้เกี่ยวกับโลก (Global Awareness)
(1.2) ความรู้เกี่ยวกับการเงิน เศรษฐศาสตร์ ธุรกิจ และการเป็นผู้ประกอบการ (Financial, Economics, Business and Entrepreneurial Literacy)
(1.3) ความรู้ด้านการเป็นพลเมืองที่ดี (Civic Literacy)
(2) ทักษะด้านการเรียนรู้และนวัตกรรม (Learning and Innovation Skills) จะเป็นตัวก าหนด ความพร้อมของนักเรียนเข้าสู่โลกการท างานที่มีความซับซ้อนมากขึ้นในปัจจุบัน ได้แก่
(2.1) ความริเริ่มสร้างสรรค์และนวัตกรรม
(2.2) การคิดอย่างมีวิจารณญาณและการแก้ปัญหา
(2.3) การสื่อสารและการร่วมมือ
(3) ทักษะด้านสารสนเทศ สื่อ และเทคโนโลยี (Information Media and Technology Skills) เนื่องด้วยในปัจจุบันมีการเผยแพร่ข้อมูลข่าวสารผ่านทางสื่อและเทคโนโลยีมากมาย ผู้เรียนจึงต้องมี ความสามารถ ในการแสดงทักษะการคิดอย่างมีวิจารณญาณและปฏิบัติงานได้หลากหลาย โดยอาศัยความรู้ใน หลายด้าน ดังนี้
(3.1) ความรู้ด้านสารสนเทศ
(3.2) ความรู้เกี่ยวกับสื่อ
(3.3) ความรู้ด้านเทคโนโลยี
(4) ทักษะด้านชีวิตและอาชีพ (Life and Career Skills) ในการด ารงชีวิตและท างานในยุคปัจจุบัน ให้ประสบความส าเร็จ นักเรียนจะต้องพัฒนาทักษะชีวิตที่ส าคัญดังต่อไปนี้
(4.1) ความยืดหยุ่นและการปรับตัว
(4.2) การริเริ่มสร้างสรรค์และเป็นตัวของตัวเอง
(4.3) ทักษะสังคมและสังคมข้ามวัฒนธรรม
(4.4) การเป็นผู้สร้างหรือผู้ผลิต (Productivity) และความรับผิดชอบเชื่อถือได้ (Accountability)
(4.5) ภาวะผู้น าและความรับผิดชอบ (Responsibility)
ทักษะเพื่อการดำรงชีวิตในศตวรรษที่ 21 ที่กล่าวมาข้างต้นนั้น ตามแนวคิดของการจัดการศึกษาใน ศตวรรษที่ 21 คนทุกคนต้องเรียนรู้ตั้งแต่ชั้นอนุบาลไปจนถึงมหาวิทยาลัยและตลอดชีวิต คือ 3R x 7C คือ (วิจารณ์ พานิช, 2555: 19)
3R ได้แก่ อ่านออก (Reading) เขียนได้(Riting) คิดเลขเป็น Rithmetics
7C ได้แก่
(1) ทักษะด้านการคิดอย่างมีวิจารณญาณและทักษะในการแก้ปัญหา ( Critical thinking & problem solving)
(2) ทักษะด้านการสร้างสรรค์และนวัตกรรม (Creativity & innovation)
(3) ทักษะด้านความเข้าใจต่างวัฒนธรรม ต่างกระบวนทัศน์(Cross-cultural understanding)
(4) ทักษะด้านความร่วมมือ การท างานเป็นทีม และภาวะผู้น า (Collaboration, teamwork & leadership)
(5) ทักษะด้านการสื่อสาร สารสนเทศ และรู้เท่าทันสื่อ (Communications, information & media literacy)
(6) ทักษะด้านคอมพิวเตอร์และเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร (Computing & ICT literacy)
(7) ทักษะอาชีพและทักษะการเรียนรู้(Career & learning skills)
ทักษะการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 จะมีหลากหลายทักษะ และเมื่อครูผู้สอนได้จัดการเรียนรู้ย่อม จะต้องพยายามวัดพฤติกรรมการเรียนรู้ให้ได้ตาม “ทักษะการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21” ประกอบด้วย
(1) การวัดด้านความรู้ความสามารถ (Cognitive Domain) ได้ระบุระดับขั้นพฤติกรรมที่จะวัดตั้งแต่ ความจ า ความเข้าใจ การประยุกต์น าไปใช้ การวิเคราะห์และการวิพากษ์ การสังเคราะห์และประเมินค่า
(2) การวัดตามประเภททักษะการปฏิบัติ (Psychomotor Domain) ได้ระบุระดับพฤติกรรมที่จะวัด ไว้ตั้งแต่การลอกท าตามแบบ การท าโดยไม่ต้อง ดูแบบ การท าให้เกิดผลตามเป้าหมายทุกครั้ง การท าให้เกิดผล อย่างมีคุณภาพทุกครั้ง และการน าไปประยุกต์ใช้ใน สถานการณ์อื่นได้เป็นอย่างดี
(3) การวัดตามประเภทเจตคติและบุคลิกภาพต่อการท างาน (Affective Domain) ได้ระบุระดับ พฤติกรรมที่จะวัดไว้ตั้งแต่การรับรู้การตอบสนอง การเกิดค่านิยม การน าความรู้และค่านิยมไป จัดระบบการ ท างาน และเกิดการแสดงออกเป็นวิถีการปฏิบัติ
-5- ตารางที่ 1 การเปรียบเทียบแนวปฏิบัติการวัดผลแบบเดิมและการวัดและประเมินผลในศตวรรษที่ 21 ที่ แนวปฏิบัติแบบเดิม การวัดและประเมินทักษะการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 1 วัดว่านักเรียนรู้อะไร วัดว่านักเรียนรู้และท าอะไรได้บ้าง 2 วัดผลเป็นกลุ่มใหญ่ เป็นการวัดผลที่มีหลายรูปแบบ วัดเป็นกลุ่มใหญ่ กลุ่ม ย่อย และ วัดผลรายบุคคล 3 วัดจากข้อสอบแบบเขียนตอบเพียง อย่าง เดียว การประเมินตามสภาพจริง ใช้เครื่องมือและวิธีการ ประเมินที่ หลากหลาย เช่น การสอบภาคปฏิบัติ การเขียนตอบ การสอบปากเปล่า การมอบหมายงานให้ปฏิบัติ การสังเกตพฤติกรรม เป็นต้น 4 วัดเฉพาะความรู้เรื่องสั้นๆ ไม่ต่อเนื่อง เป็นอิสระจากกัน - วัดความรู้ที่สัมพันธ์กับบริบทที่อยู่รอบ ๆ - วัดความรู้ที่เชื่อมโยงกับกระบวนการ - วัดความรู้ใหม่ที่เชื่อมโยงกับความรู้เดิม 5 วัดในสิ่งที่วัดง่าย วัดพฤติกรรมการ เ รี ย น รู้ ร ะ ดับ ต่ าง ๆ ( ส ร้ าง แ ล ะ ตรวจข้อสอบง่าย) - วัดผลความรู้ความเข้าใจในเนื้อหาวิชาเป็น หลัก - วัดในสิ่งที่มีคุณค่าตามเป้าหมายของการศึกษา - วัดความสามารถด้านกระบวนการ วิธีการคิด และการ แสดงออก(Performance) ร วมทั้ง วัดคุณลักษณะต่ าง ๆ ทางด้านเจตพิสัย และทักษะปฏิบัติการ 6 ทดสอบว่านักเรียนไม่รู้อะไร (ถามในสิ่งที่คิดว่าผู้เรียนจะตอบไม่ได้ การตรวจข้อสอบพยายามหาที่หัก คะแนน) ประเมินว่านักเรียนรู้อะไร และเข้าใจอย่างไร การตรวจค าตอบ ต้องพยายามพิจารณาว่านักเรียนเข้าใจอย่างไรจึง ตอบเช่นนั้น (ให้คะแนนที่นักเรียนแสดงว่าเข้าใจ เช่น มีความส าคัญอย่างไร) 7 วัดผลเพื่อตัดสินได้-ตก/ผ่าน-ไม่ผ่าน นอกจากตัดสินการสอบผ่าน-ไม่ผ่าน แล้วยังวัดผลเพื่อตรวจหา จุดอ่อน จุดแข็ง เพื่อการจัดกลุ่มเข้าชั้นเรียน เพื่อวินิจฉัยพื้นฐาน ของผู้เรียนก่อนวางแผนการสอน เพื่อ การแนะแนว และเพื่อการ ปรับปรุงการเรียนการสอน 8 วัดผลเมื่อสิ้นสุดการเรียน (กลางภาค – ปลายภาค) ครูใช้คะแนนตัดสินผล วัดผลเกิดขึ้นหลายครั้งและต่อเนื่อง นักเรียนได้รับข้อมูล เกี่ยวกับการเรียนรู้ของตนเอง เพื่อปรับปรุง การเรียนรู้อย่างต่อเนื่อง 9 วัดผลเฉพาะผลการเรียนรู้ของผู้เรียน เพียง อย่างเดียว วัดผลเรื่องอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องกับการเรียนการสอน เช่น การวัด บรรยากาศการเรียนการสอนในชั้นเรียน การวัดพฤติกรรมการ สอนของตัวครูเองการวัดและประเมิน หลักสูตร กิจกรรมเสริม หลักสูตรและสื่อการเรียนการสอน 10 วัดจากเครื่องมือหรือข้อสอบที่ผู้สอบเป็น ผู้สร้างขึ้นมาใช้เอง ใช้เครื่องมือวัดที่ผู้สอนสร้างและผู้อื่นสร้างขึ้น เช่น ข้อสอบมาตรฐาน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย และเครื่องมือที่หน่วยงานหรือโครงการต่าง ๆ เป็นผู้สร้างขึ้น -6- ที่ แนวปฏิบัติแบบเดิม การวัดและประเมินทักษะการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 11 ประเมินผลโดยพิจารณาจากคะแนนรวม ของข้อสอบทุกข้อทั้งฉบับ พิจารณาผลการสอบเป็นรายข้อ หรือรายกลุ่มของข้อสอบ ที่มีจุดมุ่งหมายการวัดอย่างเดียวกัน หรือวัดในพฤติกรรม เดียวกัน 12 วัดผลแบบอิงกลุ่ม เป็นการวัดผลแบบอิงเกณฑ์ การวัดผลแบบประเมิน ตนเอง และเพื่อนประเมินเพื่อน 13 ครูผู้สอนเป็นผู้ประเมินผล บุคคลหลายฝ่ายร่วมกัน นอกจากประเมินผลการเรียน ของนักเรียนแล้ว ยังมีการประเมินหลักสูตร ประเมินการ สอนของครู การจัดการของโรงเรียนในส่วนที่เกี่ยวข้องกับวิชา 14 รายงานผลเป็นระดับคะแนนเพียง ตัวเดียวในหนึ่งวิชา เป็นการขยายรายงานผลที่แยกรายงานเป็นหลาย ๆ ด้าน เช่น ด้านความรู้ความเข้าใจในเนื้อหาวิชา ด้าน กระบวนการ ด้านทักษะปฏิบัติการ ด้านทักษะในการ แก้ปัญหา ด้านการอภิปรายซักถามในชั้นเรียน เป็นต้น ที่มา: ศศิธร บัวทอง (2560: 1861-1862)
แนวทางการวัดและประเมินทักษะการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21
การวัดและประเมินผลการเรียนรู้ของผู้เรียนต้องอยู่บนจุดมุ่งหมายพื้นฐานสองประการ คือ
(ศศิธร บัวทอง, 2560: 1862-1863)
ประการแรก คือ การวัดและประเมินผลเพื่อพัฒนาผู้เรียน โดยเก็บรวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับผลการเรียน และการเรียนรู้ของผู้เรียน ในระหว่างการเรียนการสอนอย่างต่อเนื่อง บันทึก วิเคราะห์แปลความหมายข้อมูล แล้วน ามาใช้ในการส่งเสริม หรือปรับปรุงแก้ไขการเรียนรู้ของผู้เรียน และการสอนของค์ความรู้การวัดและ ประเมินผลกับการสอนจึงเป็นเรื่องที่สัมพันธ์กัน หากขาดสิ่งหนึ่งสิ่งใดการเรียนการสอนก็ขาดประสิทธิภาพ การประเมินระหว่างการเรียนการสอนเพื่อพัฒนาการเรียนรู้เช่นนี้เป็นการวัดและประเมินผลย่อย (Formative Assessment) ที่เกิดขึ้นในห้องเรียนทุกวัน เป็นการประเมินเพื่อให้รู้จุดเด่น จุดที่ต้องปรับปรุง จึงเป็นข้อมูลเพื่อ ใช้ในการพัฒนาเน้นเพื่อเป็นข้อมูลย้อนกลับ แก่ผู้เรียน ส าหรับการปรับปรุงพัฒนา ดูความก้าวหน้า ปัญหา อุปสรรคในการเรียน เน้นลักษณะการประเมินเพื่อการเรียนรู้ (Assessment for Learning) มากกว่าการ ประเมินเพื่อสรุปผลการเรียนรู้(Summative Assessment) มีผลการวิจัยระบุว่า การให้ข้อมูลย้อนกลับด้วย ค าพูดจะกระตุ้นให้เกิดการพัฒนาในการเก็บข้อมูล ผู้สอนต้องใช้วิธีการและเครื่องมือการประเมินที่หลากหลาย เช่น การสังเกต การซักถาม การระดมความคิดเห็น เพื่อ ให้ได้มติข้อสรุปของประเด็นที่ก าหนด การใช้แฟ้ม สะสมงาน การใช้ภาระงานที่เน้นการปฏิบัติการประเมิน ความรู้เดิม การให้ผู้เรียนประเมินตนเอง การให้เพื่อน ประเมินเพื่อนและการใช้เกณฑ์การให้คะแนน (Rubrics) สิ่งส าคัญที่สุดในการประเมินเพื่อพัฒนา คือ การให้ ข้อมูลย้อนกลับแก่ผู้เรียนในลักษณะค าแนะน าที่เชื่อมโยงความรู้เดิมกับความรู้ใหม่ท าให้การเรียนรู้พอกพูน แก้ไขความคิด ความเข้าใจเดิมที่ไม่ถูกต้อง ตลอดจนการให้ผู้เรียนสามารถตั้งเป้าหมายและพัฒนาตนได้ จุดมุ่งหมาย
ประการที่สอง คือ การวัดและประเมินผลเพื่อตัดสินผลการเรียน เป็นการประเมินสรุปผลการเรียนรู้ (Summative Assessment) ซึ่งมีหลายระดับ ได้แก่ เมื่อเรียนจบหน่วยการเรียน จบรายวิชาเพื่อตัดสินให้ คะแนน หรือให้ระดับผลการเรียน ให้การรับองค์ความรู้ความสามารถของผู้เรียนว่าผ่านรายวิชาหรือไม่ ควรได้รับการเลื่อนชั้นหรือไม่ หรือสามารถจบหลักสูตรหรือไม่ ในการประเมินเพื่อตัดสินผลการเรียนที่ดีต้องให้ โอกาสผู้เรียนแสดงความรู้ความสามารถด้วยวิธีการที่หลากหลายและพิจารณาตัดสินบนพื้นฐานของเกณฑ์ผล การปฏิบัติมากกว่าใช้เปรียบเทียบระหว่างผู้เรียน การวัดและประเมินทักษะการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 นั้น ไม่ได้ใช้เพื่อการชี้ได้-ตก แต่ควรใช้เพื่อการประเมินความก้าวหน้าของพัฒนาการด้านการเรียนรู้ของ นักเรียนให้เกิดสมดุลเชิงคุณภาพที่สอดคล้องพัฒนาดีขึ้น ไปทิศทางเดียวกันทั้งด้านความรู้ความสามารถ ด้านทักษะการท างาน และด้านเจตคติและบุคลิกภาพต่อการท างาน ดังนั้นจึงควรน าผลการวัดมาประเมินความ สอดคล้องกันทั้ง 3 ด้าน จะมีความขัดแย้งด้านใดด้านหนึ่งไม่ได้ถือเป็นความผิดปกติที่ครูจ าเป็นต้องประชุมหา วิธีการแก้ไขเร่งส่งเสริมด้านที่ไม่พัฒนาให้มีพัฒนาการดีขึ้น (Professional Learning Community: PLC) การวัดและประเมินทักษะการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 จึงจะเป็นการประเมินแบบสมดุลเชิงคุณภาพ
จุดเน้นของการวัดและประเมินทักษะการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21
การประเมินทักษะในศตวรรษที่ 21 (Assessment of 21st Century Skills) จึงมีจุดเน้น ดังนี้
(1) สร้างความสมดุลในการประเมินผลเชิงคุณภาพ
(2) เน้นการน าประโยชน์ของผลสะท้อนจากการปฏิบัติของผู้เรียนมาปรับปรุงแก้ไขงาน
(3) ใช้เทคโนโลยีเพื่อยกระดับการทดสอบวัดและประเมินผลให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุด
(4) สร้างและพัฒนาระบบแฟ้มสะสมงาน (Portfolios) ของผู้เรียนให้เป็นมาตรฐานและมีคุณภาพ
จากแนวทางการประเมินทักษะการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 จะเห็นได้ว่าการประเมินทักษะการเรียนรู้ ในศตวรรษที่ 21 จะต้องเป็นการประเมินผลเชิงคุณภาพ สร้างและพัฒนาระบบแฟ้มสะสมงาน (Portfolios) ของผู้เรียนให้เป็นมาตรฐานและมีคุณภาพ ดังนั้นการประเมินผลแนวใหม่จะต้องเน้นการปฏิบัติจริง เป็นการประเมินการกระท า การแสดงออกในหลาย ๆ ด้านของผู้เรียนตามสภาพความเป็นจริง ทั้งในห้องเรียน และนอกห้องเรียน หรือสถานที่อื่น ๆ นอกโรงเรียนโดยครูไม่ได้จัดสถานการณ์เป็นการประเมินแบบไม่เป็น ทางการซึ่งสภาการวิจัยแห่งชาติ (National Research Council) ประเทศสหรัฐอเมริกา เน้นว่า การประเมิน ทักษะแห่งศตวรรษที่ 21 ต้องบูรณาการอยู่ในกระบวนการเรียนการสอนในชั้นเรียนอย่างแนบเนียนและ เหมาะสม ดังนั้นการวัดและประเมินผลการเรียนรู้ในชั้นเรียน ( Classroom Assessment) หมายถึง กระบวนการเก็บ รวบรวม วิเคราะห์ตีความ บันทึกข้อมูลที่ได้จากการวัดและประเมินทั้งที่เป็นทางการและไม่ เป็นทางการ โดยการด าเนินการดังกล่าวเกิดขึ้น ตลอดระยะเวลาของการจัดการเรียนการสอน นับตั้งแต่ก่อน การเรียนการสอน ระหว่างการเรียนการสอน และหลังการเรียนการสอน โดยใช้เครื่องมือที่หลากหลาย เหมาะสมกับวัยของผู้เรียน มีความสอดคล้องและเหมาะสมกับพฤติกรรมที่ต้องการวัด ข้อมูลที่ได้นี้น าไปใช้ใน การให้ข้อมูลย้อนกลับเกี่ยวกับความก้าวหน้า จุดเด่น จุดที่ต้องปรับปรุงให้แก่ผู้เรียน การตัดสินผลการเรียนรู้ รวบยอดในเรื่อง หรือหน่วยการ เรียนรู้หรือในรายวิชาและการวางแผน ออกแบบการจัดการเรียนการสอนของ ครูผู้สอนต้องด าเนินการเป็นปกติและสม่ าเสมอในการจัดการเรียนการสอน ใช้เทคนิคการประเมินผลอย่าง -8- หลากหลาย เช่น การซักถาม การสังเกต การตรวจการบ้าน การประเมินโครงงาน การประเมินชิ้นงาน/ภาระ งาน แฟ้มสะสมงาน การใช้แบบทดสอบ เป็นต้น โดยผู้สอนเป็นผู้ประเมินเองหรือเปิดโอกาสให้ผู้เรียนประเมิน ตนเอง เพื่อนประเมินเพื่อน ผู้ปกครองร่วมประเมิน (ศศิธร บัวทอง, 2560: 1863-1864)
วิธีการวัดและประเมินทักษะทักษะในศตวรรษที่ 21
วิธีการวัดและประเมินทักษะในศตวรรษที่ 21ที่เหมาะสมอย่างยิ่งคือการประเมินผลจากสิ่งที่ผู้เรียนได้ แสดงให้เห็นถึงว่ามีความรู้ ทักษะและความสามารถ ตลอดจนมีคุณลักษณะที่พึงประสงค์อันเป็นผลจากการ เรียนรู้ตามที่ผู้สอนได้จัดกระบวนการเรียนรู้ให้ วิธีการประเมินผลที่ผู้สอนสามารถเลือกใช้ในการประเมินผล ระหว่าง เรียน มีดังนี้
(1) การประเมินด้วยการสื่อสารส่วนบุคคล ได้แก่
(1.1) การถามตอบระหว่างท ากิจกรรมการเรียน
(1.2) การพบปะสนทนาพูดคุยกับผู้เรียน
(1.3) การพบปะสนทนาพูดคุยกับผู้เกี่ยวข้องกับผู้เรียน
(1.4) การสอบปากเปล่าเพื่อประเมินความรู้ ความเข้าใจ และเจตคติ
(1.5) การอ่านบันทึกเหตุการณ์ต่าง ๆ ของผู้เรียน
(1.6) การตรวจแบบฝึกหัดและการบ้านพร้อมให้ข้อมูลป้อนกลับ
(2) การประเมินจากการปฏิบัติ (Performance assessment) เป็นวิธีการประเมินงานหรือ กิจกรรมที่ผู้สอนมอบหมายให้ผู้เรียนปฏิบัติเพื่อให้ได้ข้อมูลสารสนเทศว่าผู้เรียนเกิดการเรียนรู้มากน้อยเพียงใด การประเมินการปฏิบัติผู้สอนต้องเตรียมการในสิ่งส าคัญ 2 ประการ คือ
(2.1) ภาระงานหรือกิจกรรมที่จะให้ผู้เรียน ปฏิบัติ (Tasks)
(2.2) เกณฑ์การให้คะแนน (Rubrics)
ซึ่งลักษณะการประเมินโดยเน้นการปฏิบัติจริง (ก) ประเมินจากสภาพจริงและท าได้ตลอดเวลากับทุกสถานการณ์ทั้งในและนอกโรงเรียน โดยการ สังเกตพฤติกรรมต่าง ๆ (ข) ก าหนดปัญหาหรืองานแบบปลายเปิด เพื่อให้นักเรียนสร้างค าตอบเองด้วยการแสดง สร้างสรรค์ ผลิตหรือท างาน (ค) ไม่เน้นการประเมินผลเฉพาะทักษะพื้นฐานแต่ให้นักเรียนผลิต สร้างหรือท างานบางอย่างเน้น ทักษะการคิดที่ซับซ้อน พิจารณาไตร่ตรองการท างาน และแก้ปัญหา เป็นการเรียนรู้เพื่อแก้ปัญหา (ง) ใช้ข้อมูลหลายอย่างในการประเมิน ต้องพยายามรู้จักนักเรียนทุกแง่ทุกมุม ข้อมูลจึงต้องได้มาก จากหลายๆ ทาง และเครื่องมือที่ใช้เก็บรวบรวมข้อมูลต้องมีหลายประเภทด้วยกัน (จ) เน้นการมีส่วนร่วมระหว่างนักเรียน ครูและผู้ปกครอง นักเรียนมีส่วนร่วมในการตัดสินใจว่าจะ ประเมินตนเองตรงไหน เรื่องอะไร การให้นักเรียนมีส่วนร่วมในการประเมินผลท าให้นักเรียนรู้จักวางแผนการ เรียนรู้ตามความต้องการของตน ก าหนดจุดประสงค์การเรียนรู้ วิธีการเรียนและเกณฑ์การประเมินผลการ เรียน ซึ่งเน้นการประเมินผลที่ใช้นักเรียนเป็นศูนย์กลางอย่างแท้จริง -9- (ฉ) ข้อมูลที่ประเมินได้จะต้องสะท้อนให้เห็นถึงกระบวนการเรียนการสอนและการวางแผนการ สอนของผู้สอนว่าสามารถตอบสนองค์วามสามารถ ความสนใจ และความต้องการของผู้เรียนแต่ละบุคคลได้ หรือไม่ (ช) ประเมินด้านต่าง ๆ ด้วยวิธีที่หลากหลายในสถานการณ์ต่าง ๆ อย่างต่อเนื่อง
(3) การประเมินตามสภาพจริง (Authentic assessment)
เป็นการประเมินผลจากการปฏิบัติงาน หรือกิจกรรมอย่างใดอย่างหนึ่ง โดยงานหรือกิจกรรมที่มอบหมายให้ผู้เรียนปฏิบัติจะเป็นงานหรือสถานการณ์ที่ เป็นจริง (Real life) หรือใกล้เคียงกับชีวิตจริง จึงเป็นงานที่มีสถานการณ์ซับซ้อน (Complexity) และเป็นองค์รวม (Holistic) มากกว่างานปฏิบัติในกิจกรรมการเรียนทั่วไป วิธีการประเมินตามสภาพจริงไม่มี ความแตกต่าง จากการประเมินจากการปฏิบัติเพียงแต่อาจมีความยุ่งยากในการประเมินผลมากกว่าเนื่องจาก เป็นสถานการณ์จริง หรือต้องจัดสถานการณ์ให้ใกล้จริงแต่จะเกิดประโยชน์กับผู้เรียนมากเพราะจะท าให้ทราบ ความสามารถที่ แท้จริงของผู้เรียนว่ามีจุดเด่นและข้อบกพร่องในเรื่องใด อันจะน าไปสู่การแก้ไขที่ตรงประเด็น ที่สุด จุดมุ่งหมายของการจัดการศึกษาจะมุ่งพัฒนาให้ผู้เรียนเกิดพฤติกรรมทางการเรียนรู้หรือเปลี่ยนแปลง พฤติกรรมทางการเรียนรู้ทั้ง 3 ด้าน ในรายวิชาที่มุ่งเน้นให้ผู้เรียนเกิดทักษะในการปฏิบัติ เช่น รายวิชาดนตรี รายวิชาทางภาษา รายวิชากีฬา ฯลฯ รายวิชาเหล่านี้เน้นให้ผู้เรียนเกิดทักษะในสิ่งที่ครู้ได้สอนไป เครื่องมือที่ ใช้ในการวัดรายวิชาเหล่านี้จึงควรมีความเหมาะสมที่จะใช้วัดพฤติกรรมทางทักษะพิสัย เช่น แบบวัดทักษะการ ปฏิบัติและการวัดผลจากสภาพจริง (Authentic Assessment) ขั้นตอนในการด าเนินการวัดตามสภาพจริง
(3.1) ก าหนดจุดประสงค์การเรียนรู้โดยพิจารณามาตรฐานการเรียนรู้และตัวชี้วัดจากหลักสูตร แกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน น ามาเขียนจุดประสงค์การเรียนรู้ทั้ง 3 ด้าน ได้แก่ ด้านความรู้ ด้านทักษะ กระบวนการและด้านคุณลักษณะที่พึงประสงค์
(3.2) ก าหนดกิจกรรมการเรียนการสอนและออกแบบ/สร้างเครื่องมือวัดและประเมินผลการศึกษา ครู้ผู้สอนจะต้องออกแบบกิจกรรมการเรียนการสอน/การวัดและประเมินผลการศึกษาให้เป็นงานตามสภาพจริง ดังนี้
(3.2.1) ออกแบบงานให้ผู้เรียนปฏิบัติจะมี 3 ลักษณะ ระดับการรับรู้ ใช้แบบทดสอบในการวัด ระดับการปฏิบัติจากสถานการณ์จ าลอง ใช้แบบสังเกต/เกณฑ์การให้คะแนนแบบ Rubrics ระดับการปฏิบัติจริง ใช้แบบสังเกต/เกณฑ์การให้คะแนนแบบ Rubrics (3.2.2) การออกแบบการวัดและประเมินผลทางการศึกษา ครู้ผู้สอนจะต้องออกแบบการวัด และประเมินผลทางการศึกษาให้สอดคล้องกับจุดประสงค์การเรียนรู้ในจุดประสงค์โดยครู้ผู้สอนจะต้องอาศัย ความรู้ความเข้าใจในเรื่องของการวัดและประเมินผลมาใช้ การวัดตามสภาพจริงสามารถท าได้ในระหว่างการ จัดการเรียนรู้ ครู้ต้องวางแผนเลือกประเด็นที่มีคุณค่าส าคัญของงาน/กิจกรรมที่ต้องการให้เด็กท า เช่น ครู้จะ สอนเรื่องการเขียนวิเคราะห์ ประเด็นที่มีคุณค่า-ความส าคัญ คือ การล าดับความคิด การยกเหตุผลประกอบ ความลึกซึ้งในการวิเคราะห์ มากกว่าความสะอาดของลายมือ ความสวยงามของลายมือ -10- (3.2.3) สร้างเครื่องมือวัดในการวัดการศึกษาตามที่ได้ออกแบบไว้ในขั้นตอนที่ (3.2.2) เช่น ครูจัดกิจกรรมการเรียนการสอนให้ผู้เรียนปฏิบัติงานในสถานการณ์สร้างแบบสังเกตพฤติกรรมของผู้เรียน ในระหว่างการปฏิบัติ สอบถามแนวคิดในการปฏิบัติงาน และประเมินการมีส่วนร่วมในการวิจารณ์การท างาน ของเพื่อนในการปฏิบัติงาน จะเห็นว่าการวัดตามสภาพจริงจะใช้เครื่องมือที่หลากหลาย
(3.3) เก็บรวบรวมข้อมูลและใช้ผลการวัดและประเมินเพื่อใช้ในการพัฒนาการเรียนของผู้เรียน เช่น น าผลการวัดตามสภาพจริงมาพิจารณาจุดอ่อนของผู้เรียนเป็นรายบุคคล
(4) การประเมินด้วยแฟ้มสะสมงาน (Portfolio assessment)
เป็นวิธีการประเมินที่ช่วยส่งเสริม ให้การประเมินตามสภาพจริงมีความสมบูรณ์ สะท้อนศักยภาพที่แท้จริงของผู้เรียนมากขึ้น โดยการให้ผู้เรียน ได้เก็บ รวบรวมผลงานจากการปฏิบัติจริง ทั้งในชั้นเรียนหรือในชีวิตจริงที่เกี่ยวข้องกับการเรียนรู้ตามสาระการ เรียนรต่าง ๆ มาจัดแสดงอย่างเป็นระบบ โดยมีจุดประสงค์เพื่อสะท้อนให้เห็นถึงความพยายาม เจตคติ แรงจูงใจ พัฒนาการ และความสัมฤทธิ์ผลของการเรียนรู้ของผู้เรียน การวางแผนด าเนินงาน การประเมินด้วย แฟ้มสะสม งานที่สมบูรณ์จะช่วยผู้สอนให้สามารถประเมินจากแฟ้มสะสมงานแทนการประเมินจากการปฏิบัติ จริงได้จากที่กล่าวมาข้างต้น การวัดและประเมินทักษะการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 ต้องเป็นการวัดและ ประเมินผลสภาพที่แท้จริงของนักเรียนเป็นพื้นฐานของเหตุการณ์ในชีวิตจริง ยึดการปฏิบัติเป็นส าคัญและ สัมพันธ์กับการเรียนการสอน เน้นพัฒนาการที่ปรากฏให้เห็นผู้เกี่ยวข้องในการประเมินมีหลายฝ่ายและเกิดขึ้น ในทุก บริบท จึงเป็นการผสมผสานองค์ความรู้ทักษะเฉพาะด้าน ความช านาญการและความรู้เทาทันด้านตางๆ เขาด้วย กัน เพื่อให้ประสบความส าเร็จทั้งในด้านการท างานและการด าเนินชีวิต ดังนั้นการวัดและประเมิน ทักษะการ เรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 จะต้องเป็นการประเมินผลเชิงคุณภาพ เน้นการปฏิบัติจริง บูรณาการวิธีการ ประเมิน และใช้เครื่องมือวัดที่หลากหลาย สร้างและพัฒนาระบบแฟ้มสะสมงาน (Portfolios) ของผู้เรียน น าเทคโนโลยีมาใช้ในการวัดและประเมินผล และน าประโยชน์ของผลสะท้อนจากการปฏิบัติของผู้เรียนมา ปรับปรุงแก้ไขงาน แฟ้มสะสมงาน หมายถึง กระบวนการสะสมงานอย่างมีจุดมุ่งหมายเพื่อแสดงถึงผลงาน ความก้าวหน้าและสัมฤทธิ์ผลของนักเรียนในส่วนหนึ่ง หรือหลายส่วนของการเรียนรู้ในรายวิชาใด ๆ การ รวบรวมงานจะต้องครอบคลุมถึงการที่นักเรียนมีส่วนร่วมในการเลือกเนื้อหา เกณฑ์การคัดเลือกและเกณฑ์การ ตัดสินให้ระดับคะแนนรวมทั้งเป็นหลักฐานที่สะท้อนการประเมินตนเองของนักเรียนด้วย ด้วยเหตุนี้ท าให้แฟ้ม สะสมงานเป็นเครื่องมือที่สามารถบอกความสามารถที่แท้จริงของผู้เรียนและกระตุ้นให้ผู้เรียนประเมินผลงาน ของตนเองและความก้าวหน้าของตนเอง
(4.1) ลักษณะของแฟ้มสะสมงาน
(4.1.1) เป็นการสะสมงานที่ส าคัญของนักเรียนแต่ละคน โดยครู้และนักเรียนร่วมกันก าหนด
เป้าหมายของแฟ้มสะสมงานว่าจะบรรจุสิ่งใดบ้างในแฟ้มสะสมงานของนักเรียน
(4.1.2) เน้นผลงานเป็นส าคัญ
(4.1.3) บ่งชี้จุดแข็งของนักเรียนมากกว่าจุดบกพร่อง
(4.1.4) เอื้อต่อการสื่อสารผลสัมฤทธิ์ของนักเรียนต่อบุคคลอื่น
(4.1.5) เน้นนักเรียนเป็นศูนย์กลาง
(4.2) ประเภทของแฟ้มสะสมงาน
แฟ้มสะสมงานแบ่งออกเป็น 3 ประเภท คือ
(4.2.1) แฟ้มสะสมงานระหว่างด าเนินการ (Working portfolios)
(4.2.2) แฟ้มสะสมงานที่สมบูรณ์ (Final portfolios)
(4.2.3) แฟ้มสะสมงานแบบอิเล็กทรอนิกส์ (Electronic portfolios)
(4.3) ส่วนประกอบของแฟ้มสะสมงาน
(4.3.1) ส่วนนำประกอบด้วย ปก ประวัติผู้ท า รายการจุดประสงค์การเรียนรู้ แผนการศึกษา ส่วนบุคคล สารบัญชิ้นงาน รายการทั้งหมดและรายการที่ได้รับคัดเลือก
(4.3.2) ส่วนบรรจุหลักฐานชิ้นงาน เป็นส่วนที่เก็บผลงานของนักเรียนที่เกิดจากการจัดการ เรียนการสอน การสะท้อนความคิดเห็น แสดงประวัติของงาน จ านวนหนังสือที่อ่าน เวลาที่ใช้ในการท างาน คะแนนจากการทดสอบ แบบส ารวจรายการของความรู้บันทึกความคิดเห็นเกี่ยวกับวิชาของนักเรียน
(4.3.3) ส่วนบรรจุเกณฑ์การตัดสินใจแฟ้มสะสมงาน
(4.4) สิ่งที่เก็บในแฟ้มสะสมงาน
(4.4.1) ผลงานต่าง ๆ
(4.4.2) ผลการทดสอบ
(4.4.3) การเรียนบันทกรายวัน
(4.4.4) การประเมินตนเอง
(4.4.5) การประเมินโดยเพื่อนร่วมชั้น
(4.4.6) การสังเกต
(4.4.7) การประชุมร่วมกัน
จากที่กล่าวมาข้างต้น การวัดและประเมินทักษะการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 ต้องเป็นการวัดและ ประเมินผลสภาพที่แท้จริงของนักเรียนเป็นพื้นฐานของเหตุการณ์ในชีวิตจริง ยึดการปฏิบัติเป็นส าคัญและ สัมพันธ์กับการเรียนการสอน เน้นพัฒนาการที่ปรากฏให้เห็นผู้เกี่ยวข้องในการประเมินมีหลายฝ่ายและเกิดขึ้น ในทุกบริบทจึงเป็นการผสมผสานองคความรู้ทักษะเฉพาะดาน ความช านาญการและความรู้เท่าทันด้านต่าง ๆ เขาด้วยกัน เพื่อให้ประสบความส าเร็จทั้งในด้านการท างานและการด าเนินชีวิต ดังนั้นการวัดและประเมิน ทักษะการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 จะต้องเป็นการประเมินผลเชิงคุณภาพ เน้นการปฏิบัติจริง บูรณาการวิธีการ ประเมิน และใช้เครื่องมือวัดที่หลากหลาย สร้างและพัฒนาระบบแฟ้มสะสมงาน (Portfolios) ของผู้เรียนน า เทคโนโลยีมาใช้ในการวัดและประเมินผล และน าประโยชน์ของผลสะท้อนจากการปฏิบัติของผู้เรียนมา
ปรับปรุงแก้ไขงาน
อ้างอิง วิจารณ์ พานิช. (2555). วิถีสร้างการเรียนรู้เพื่อศิษย์ในศตวรรษที่ 21. กรุงเทพฯ : มูลนิธิสดศรี- สฤษดิ์วงศ์. ศศิธร บัวทอง. (2560). “การวัดและประเมินทักษะการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21” Veridian E-Journal, Silpakorn University. 10(2). เดือนพฤษภาคม – สิงหาคม 2560. สมนึก ภัททิยธนี. (2549). การวัดผลการศึกษา. กาฬสินธุ์: ประสานการพิมพ์.