Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
7.1 การประเมินสภาพผู้ป่วยที่มีปัญหา ระบบประสาทและไขสันหลังระยะวิกฤต -…
7.1 การประเมินสภาพผู้ป่วยที่มีปัญหา
ระบบประสาทและไขสันหลังระยะวิกฤต
การประเมินอาการทางระบบประสาท
การซักประวัติ ประวัติที่เกี่ยวข้องกับการเปลี่ยนแปลงของกระบวนการคิดรู้และการรู้สติ
ประวัติเกี่ยวกับอาการผิดปกติที่พบบ่อย
อาการปวดศีรษะ ตามัว อาเจียน
อาการของการอ่อนแรงของกล้ามเนื้อ
อาการชัก อาการซึมลง
ความผิดปกติในการพูด เช่น พูดลำบาก พูดตะกุกตะกัก พูดไม่ชัด
ประวัติเกี่ยวกับพฤติกรรม และบุคลิกภาพที่เปลี่ยนแปลงไป
ประวัติเกี่ยวกับการเจ็บป่วยอื่นๆที่เกี่ยวข้องกับระบบประสาท
ซึ่งมีผลต่อกระบวนการคิด และระดับความรู้สึก ทั้งทางตรง
และทางอ้อม
ประวัติเกี่ยวกับแบบแผนการดำเนินชีวิต พฤติกรรมบางอย่าง
ส่งผลต่อภาวะความเจ็บป่วยได้
การประเมินจากการตรวจร่างกายทางระบบประสาท
ระดับการรู้สึกตัว ประสาทสมอง การเคลื่อนไหว การรับความรู้สึก
ระดับความรู้สึกตัว (Level of Consiousness)
Full or Alert เป็นภาวะที่มีระดับการรู้สติเป็นปกติ
Confusion เป็นภาวะที่สูญเสียความสามารถในการคิด มีความสับสน
Stupor เป็นระยะที่ซึมมาก หลับมากกว่าตื่น ต้องกระตุ้นด้วยความเจ็บจึงจะลืมตา หรือปัดป้อง
Semicomaเป็นอาการกึ่งหมดสติ หลับตลอดเวลา ตอบสนองต่อความเจ็บแรง ๆ อาจมีการขยับแขน ขาหนี อย่างไร้ทิศทาง และมีรูม่านตายังมีปฏิกริยาต่อแสงอยู่
Coma เป็นภาวะที่หมดสติ ไม่ตอบสนองต่อสิ่งกระตุ้นอื่น ๆ นอกจากความเจ็บปวดอย่างรุนแรง ในลักษณะเกร็ง reflexต่าง ๆ อาจมีอยู่หรือหายไปก็ได้
การประเมินประสาทสมอง (Cranial nerve function) 12คู่
การประเมินการเคลื่อนไหวและกำลังของแขนขา
ประเมินความแข็งแรงของกล้ามเนื้อ (Motor power)
เกรด/ระดับ 0 = กล้ามเนื้อเป็นอัมพาต/แขนหรือขาไม่มีการเคลื่อนไหวเลย
เกรด/ระดับ 1 = กล้ามเนื้อไม่มีแรงหดตัวแต่ใยกล้ามเนื้อหดตัวได้/มีการเคลื่อนไหวปลายนิ้วมือ-เท้าได้เล็กน้อย
เกรด/ระดับ 2 = กล้ามเนื้อมีแรงที่จะเคลื่อนไหวข้อตามแรงโน้มถ่วงได้
เกรด/ระดับ 3 = แขนหรือขาสามารถยกได้ แต่ต้านแรงที่กดไว้ไม่ได้
เกรด/ระดับ 4 = แขนหรือขาสามารถยกได้ แต่ต้านแรงที่กดได้น้อยกว่าปกติ
เกรด/ระดับ 5 = แขนหรือขามีกำลังปกติ
การตรวจการทำงานของการรับความรู้สึก ( Sensory Function)
4+ มีปฏิกิริยาอย่างมาก (Hyperactive)
3+ มีปฏิกิริยามากกว่าปกติ
2+ ปกติ
1+ มีปฏิกิริยาน้อยกว่าปกติ
0 ไม่มีปฏิกิริยา
การตรวจอาการของการระคายเยื่อหุ้มสมอง (Signs of meningeal irritation)
คอแข็ง (Stiff neck )
Brudzinki’s sign จะให้ผลบวกเมื่องอศีรษะและคอให้คางชิดอกแล้วมีการตอบสนองโดยการงอต้นขาและขาทั้งสองข้าง
Kernig sign ให้ผู้ป่วยนอนหงายราบหนุนหมอน ใช้มือข้าง
หนึ่งประคองจับข้อเท้าอีกข้างวางบริเวณข้อเข่าผู้ป่วย จากนั้นงอ
ข้อสะโพกและเข่าเป็นมุมฉาก แล้วค่อยๆเหยียดเข่าออก
การประเมินสภาพผู้ป่วยทางระบบประสาท
การวัดระดับความรู้สึกตัวของผู้ป่วย (coma scale)
การวัดสัญญาณชีพ (vital signs)
การวัดส่วนที่มีพยาธิสภาพของสมอง (focal neurological signs)
การตรวจพิเศษทางห้องปฏิบัติการเพื่อการวินิจฉัย (Neurodiagnostic Studies)
การวัดระดับความรู้สึกตัว (coma scale) (Glasgow Coma Scale)
การลืมตา (eye opening) : E
ก. ลืมตาได้เอง (Spontaneous opening) ในรายที่ผู้ป่วยลืมตาได้เองให้ 4 คะแนน
ข. ลืมตาเมื่อเรียก (To speech) ให้ 3 คะแนน
ค. ลืมตาเมื่อเจ็บ (To pain) ให้ 2 คะแนน
ง. ไม่ลืมตาเลย (None) ให้ 1 คะแนน
แต่หากผู้ป่วยไม่ลืมตาเนื่องจากตาบวมปิด ไม่ต้องพยายามเปิด
ตรวจ ให้เขียนC (Close)ลงในช่อง 1 คะแนน
การสื่อภาษาที่ดีที่สุด (best verbal response) : V
ก. พูดคุยได้ไม่สับสน(Oriented)ให้5คะแนน
ข. พูดคุยได้แต่สับสน(Confused) ให้ 4 คะแนน
ค. พูดเป็นคำๆ (Inappropriate words) ให้3คะแนน
ง. ส่งเสียงไม่เป็นคำพูด (Incomprehensible sounds)ให้ 2 คะแนน
จ. ไม่ออกเสียงเลย(None)ให้ 1 คะแนน
ในผู้ป่วยที่ใส่ท่อหลอดลมหากไม่สามารถแสดงให้เห็นว่าสื่อสารได้ให้
บันทึก T ในช่อง 1 คะแนน
การเคลื่อนไหวที่ดีที่สุด (best motor response) : M
ก.ทำตามคำสั่ง(Obeys commands)ผู้ป่วยสามารถทำตามคำสั่งได้ให้ 6 คะแนน
ข. ทราบตำแหน่งที่เจ็บ(Purposeful movement or localizes pain) ให้ 5 คะแนน ถ้าผู้ป่วยเป็นอัมพาตครึ่งซีกควรกระตุ้นซีกที่เป็นอัมพาตเพื่อจะได้สังเกตดูการเคลื่อนไหวของแขนขาข้างที่ดีได้ชัดเจน
ค. ชักแขน ขาหนี เมื่อเจ็บ(Withdraws to pain / non-purposeful)ให้4 คะแนน
ง. แขนงอเข้าหาตัวเมื่อเจ็บ (Flexion to pain / decorticateresponse) ให้ 3 คะแนน แสดงว่ารอยโรคอยู่สูงกว่าใน brainstem เหนือ midbrain
จ. แขนเหยียดเกร็งเมื่อเจ็บ (Extension to pain /decerebrate response) ให้ 2 คะแนน แสดงว่ารอยโรคอยู่ในระดับ brain stem ใต้ midbran
ฉ. ไม่มีการเคลื่อนไหว (No response) ผู้ป่วยจะไม่สนองตอบต่อความเจ็บปวดเลย อาจมีหรือไม่มีการกระตุกของนิ้วมือนิ้วเท้า ซึ่งเป็นการตอบสนองโดย reflex เท่านั้น ให้ 1 คะแนน
การบาดเจ็บที่ศีรษะระดับเล็กน้อย (Mild or minor head injury)มีค่าคะแนนตั้งแต่ 13-15 คะแนน
การบาดเจ็บที่ศีรษะระดับปานกลาง (Moderate head injury)มีค่าคะแนนอยู่ระหว่าง 9-12 คะแนน
การบาดเจ็บที่ศีรษะระดับรุนแรง (Severe head injury)มีค่าคะแนนต่ำกว่าหรือเท่ากับ 8 คะแนน
การวัดสัญญาณชีพ (Vital signs) เพราะสมอง
บางส่วนเป็นศูนย์กลางในการควบคุมการหายใจการไหลเวียนและความดันโลหิต รวมทั้งอุณหภูมิของร่างกาย
การประเมินการหายใจ
การหายใจแบบ Cheyne-Stoke respiration
การหายใจแบบ Central neurogenic hyperventilation
Apneutic Breathing
Biot’s or Artaxic Breathing
Cluster Breathing
การวัดส่วนที่มีพยาธิสภาพของสมอง (focal neurological signs)
ตรวจลักษณะของรูม่านตา(pupils)
หากรูม่านตา ไม่มีปฏิกิริยาต่อแสงคือมีขนาดเท่าเดิมไม่หดเล็ก(non-react to light ) ให้บันทึก N หรือใส่เครื่องหมาย
หากเปลี่ยนขนาดช้ากว่าปกติให้ บันทึกว่า “ S ”(sluggish) or + - (Slightly reaction to light )
หากสามารถประเมินว่ามีการเปลี่ยนแปลงขนาดได้ง่ายอย่างรวดเร็ว บันทึกว่า R (reacting to light) หรือ +
การเคลื่อนไหวและกำลังของแขนขา (movement of
the limbs and motor power)
กำลังปกติ : แขนหรือขามีกำลังปกติ
อ่อนแรงเล็กน้อย : มีแรงเคลื่อนไหวข้อ ต้านแรงถ่วงได้ แต่ต้านแรงกดได้น้อยกว่าปกติ
อ่อนแรงมาก : มีแรงเคลื่อนไหวข้อ ต้านแรงถ่วงได้ ยกขึ้นได้ แต่ต้านแรงกดไม่ได้
การตรวจพิเศษทางห้องปฏิบัติการเพื่อการวินิจฉัย
การถ่ายภาพรังสีกะโหลกศีรษะและกระดูกสันหลัง
(Skull and spine radiographic)
การถ่ายภาพสมองด้วยคอมพิวเตอร์
(Computed Tomography : CT)
การถ่ายภาพโดยใช้คลื่นเสี่ยง (Magnetic Resonance
Imaging: MRI)
การเจาะหลัง (Lumbar puncture)
การตรวจคลื่นสมอง (Electroencephalogram : EEG)
การฉีดสารทึบแสงเข้าเส้นเลือดสมอง (Cerebral angiography)
การวัดความดันในกะโหลกศีรษะอย่างต่อเนื่อง (Continuous
Intracranial Pressure Monitoring)