Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
การจัดองค์กร, นายธีรศักดิ์ ปรีดา หรัส 6441400706 - Coggle Diagram
การจัดองค์กร
ความหมายของการจัดองค์การ
ทฤษฎี POCCC และหน้าที่ทางด้านการจัดการ (Management Function)
P – Planning : การวางแผน
O – Organizing : การจัดองค์กร
C – Commanding : การบังคับบัญชาสั่งการ
C – Coordination : การประสานงาน
C – Controlling : การควบคุม
ทฤษฎีการบริหารจัดการ POCCC และหลักการจัดการองค์กรสู่ความสำเร็จตามแนวคิดของ Henri Fayol
กระบวนการจัดองค์การ (Process of Organizing)
ประกอบด้วย กระบวนการ 3 ขั้น (ศิริพร พงศ์ศรีโรจน์, 2543) ดังนี้
พิจารณาแยกประเภทงาน จัดกลุ่มงาน และออกแบบงานสำหรับผู้ทำงานแต่ละคน (Identification of Work & Grouping Work) ก่อนอื่นผู้บริหารจะต้องพิจารณาตรวจสอบแยกประเภทดูว่า กิจการของตนนั้นมีงาน อะไรบ้างที่จะต้องจัดทำเพื่อให้กิจการได้รับผลสำเร็จตามวัตถุประสงค์ ขั้นต่อมาก็คือ การจัดกลุ่มงานหรือจำแนก ประเภทงานออกเป็นประเภท โดยมีหลักที่ว่างานที่เหมือนกันควรจะรวมอยู่ด้วยกัน เพื่อให้เป็นไปตามหลักการของ การแบ่งงานกันทำ โดยการจัดจำแนกงานตามหน้าที่แต่ละชนิดออกเป็นกลุ่มๆ ตามความถนัด และตามความสามารถ ของผู้ที่จะปฏิบัติ
ทำคำบรรยายลักษณะงาน (Job Description & Delegation of Authority & Responsibility) ระบุ ขอบเขตของงานและมอบหมายงาน พร้อมทั้งกำหนดความรับผิดชอบ และให้อำนาจหน้าที่ ซึ่งมีรายละเอียด ดังนี้
2.1 ระบุให้เห็นถึงขอบเขตของงานที่แบ่งให้สำหรับแต่ละคนตามที่ได้ plan ไว้ในขั้นแรก เพื่อให้ทราบว่า งาน แต่ละชิ้นที่ได้แบ่งออกแบบไว้นั้นจะเกี่ยวข้องกับเรื่องอะไร ชนิดไหน มีขอบเขตและปริมาณมากน้อยแค่ไหน โดยการ ระบุชื่อเป็นตำแหน่งพร้อมกับให้รายละเอียดเกี่ยวกับงานชิ้นนั้นเอาไว้
2.2 ขั้นต่อมา ผู้บริหารก็จะดำเนินการพิจารณามอบหมาย (Delegation) ให้ แก่ผู้ทำงานในระดับรองลงไป (สำหรับงานที่มอบหมายได้)
2.3 การมอบหมายงานประกอบด้วยการกำหนดความรับผิดชอบ (Responsibility) ที่ชัดแจ้งเกี่ยวกับงานที่ มอบหมายให้ทำ พร้อมกันนั้นก็มอบหมายอำนาจหน้าที่ (Authority) ให้ เพื่อใช้สำหรับการทำงานตามความ รับผิดชอบ (Responsibility) ที่ได้รับมอบหมายให้เสร็จสิ้นไปได้
จัดวางความสัมพันธ์ (Establishment of Relationship) การจัดวางความสัมพันธ์จะทำให้ทราบว่า ใคร ต้องรายงานต่อใคร เพื่อให้งานส่วนต่าง ๆ ดำเนินไปโดยปราศจากข้อขัดแย้ง มีการทำงานร่วมกันอย่างเป็นระเบียบ เพื่อให้ทุกฝ่ายร่วมมือกันทำงานมุ่งไปสู่จุดหมายอันเดียวกัน
ทฤษฎีองค์การ
ทฤษฎีองค์การอาจแบ่งได้เป็น 3 ทฤษฎีด้วยกันคือ
ทฤษฎีดั้งเดิม (Classical organization theory)
ทฤษฎีสมัยใหม่ (Neo-Classical organization theory)
ทฤษฎีสมัยปัจจุบัน (Modern organization theory)
หลักในการบริหารจัดการ (Principles of Management) ตามแนวคิดของ อองริ ฟาโยล (Henri Fayol)
หลักการจัดการทั้ง 14 ประการนั้นมีรายละเอียดดังนี้
การให้ผลประโยชน์ตลอดจนค่าตอบแทน (Remuneration)
สมดุลของการรวมและกระจายอำนาจ (The Degree of Centralization)
ผลประโยชน์ส่วนบุคคลเป็นรองกว่าประโยชน์ส่วนรวม (Subordination of Individual Interest)
สายการบังคับบัญชา (Scalar chain)
เอกภาพของทิศทางการดำเนินงาน (Unity of Direction)
ความเป็นระเบียบเรียบร้อยและความพร้อมในการทำงาน (Order)
เอกภาพแห่งการบังคับบัญชา (Unity of Command)
ความเสมอภาค (equity)
ระเบียบวินัย (Discipline)
เสถียรภาพในการทำงาน (Stability of Tenure of Personnel)
อำนาจหน้าที่และความรับผิดชอบ (Authority & Responsibility)
เสรีภาพในการนำเสนอสิ่งใหม่ (Initiative)
การแบ่งหน้าที่และการทำงาน (Division of Work)
ความเข้าใจและการไว้วางใจซึ่งกันและกัน (Esprit de Corps)
ประโยชน์ของการมอบหมายงาน จะก่อให้เกิดประโยชน์ 3 ประการใหญ่ๆ ดังนี้
ช่วยลดภาระของผู้บริหารระดับสูง
ช่วยในการพัฒนาผู้อยู่ใต้บังคับบัญชา
เป็นการสร้างขวัญที่ดีให้แก่ผู้ปฏิบัติงาน
แผนภูมิเสริม (Supplementary Chart)
แผนภูมิเสริมนี้ แบ่งออกเป็น ได้หลายลักษณะ หรือหลายแบบ เช่น
แผนภูมิแสดงทางเดินของสายงาน (Work Flow Chart) หมายถึงแผนภูมิที่แสดงสายการปฏิบัติทางเดิน ของงาน
แผนภูมิการจัดรูปแบบสถานที่ (The Layout Chart) เป็นแผนภูมิที่แสดงการจัดสถานที่ทำงาน ซึ่ง หมายถึงการจัดสถานที่ตำแหน่งของงาน การจัดห้องที่ทำงาน เพื่อให้การปฏิบัติงานเป็นไปโดยสะดวก และเรียบร้อย รวดเร็ว
แผนภูมิชื่อบุคคล (Roster Chart) เป็นแผนภูมิที่แสดงชื่อบุคคลที่ดำรงตำแหน่งทั้งนี้เพื่อประโยชน์ในการ ติดต่อประสานงานและให้บริการ
ขั้นตอนและข้อเสนอแนะนำในการเขียนแผนภูมิ
รวบรวมหน้าที่ต่าง ๆ ตามที่กำหนดไว้ในการแบ่งงาน
จัดประเภทของงาน งานที่คล้ายกันให้อยู่แผนกและฝ่ายเดียวกัน
เขียนชื่อเรื่องของแผนภูมิ อันประกอบด้วย
กำหนดตำแหน่งงานโดยคำนึงถึงอำนาจหน้าที่และความรับผิดชอบ และความสำคัญของาน
กำหนดชนิดของแผนภูมิ
นายธีรศักดิ์ ปรีดา หรัส 6441400706