Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
สรุปปฏิบัติจิตเวช 5 ฐาน - Coggle Diagram
สรุปปฏิบัติจิตเวช 5 ฐาน
1.สนทนาเพื่อการบำบัด
ผู้บำบัดใช้ตนเองเป็นเครื่องมือในการบำบัดผู้รับบริการ
ขั้นตอนสัมพันธภาพเพื่อการบำบัด แบ่งได้ 4 ระยะ
1.ขั้นเตรียมการสร้างปฏิสัมพันธ์ : ช่วงนศ.เตรียมตัวและวางแผน ศึกษาข้อมูลผู้รับบริการ
ขั้นการสร้างปฏิสัมพันธ์ : พบผู้รับบริการสร้างความไว้วางใจ (Establishing Trust) กำหนดข้อตกลงในการสร้างสัมพันธภาพเพื่อการบำบัด
ระยะแก้ไขปัญหา : มาพบอย่างสม่ำเสมอ ร่วมหาวิธีแก้ไขปัญหาหรือปรับปรุงพฤติกรรมให้เหมาะสม
ระยะยุติสัมพันธภาพ : ควรเปิดโอกาสให้ผู้รับบริการสรุปสิ่งที่เกิดขึ้นในกระบวนการสร้างสัมพันธภาพ เช่น ความรู้สึก สิ่งที่ได้รับจากการสนทนา พร้อมส่งเสริมความมั่นใจในความสามารถของผู้รับบริการ
เทคนิคการสนทนาเพื่อการบำบัด
Giving Recognition การให้ความสำคัญ เช่น เรียกชื่ออย่างถูกต้อง
Giving Information ให้ข้อมูลข้อเท็จจริง นศ.แนะนำตนเอง
Offering - Self การเสนอตนเองอยู่เป็นเพื่อน คอยรับฟัง
Using Broad Opening กล่าวกว้าง ๆ ให้ผู้รับบริการเลือกหัวข้อเอง
Using General Lead กระตุ้นผู้รับบริการพูดต่อไป
Reflecting การสะท้อนความรู้สึก
Restarting การทวนประโยค
Accepting การยอมรับ เช่น ผยักหน้า
Sharing Observation นศ.บอกสิ่งที่เห็นได้จากผู้รับบริการ
Acknowledge the Patient’s Feeling รับรู้ความรู้สึกของผู้บริการว่ามีความรู้สึกเช่นนี้ ไม่ผิดปกติ
Questioning การถาม
Actively Listening การฟังอย่างตั้งใจ
Using Silence การเงียบ
Clarifying การให้ความกระจ่าง
Validating คือ การตรวจสอบว่าความเข้าใจของนศ.ตรงกับผู้รับบริการ
Exploring การสอบถามให้ลึกและกว้างขึ้น
Focusing การมุ่งประเด็นไปที่เรื่องใดเรื่องหนึ่ง
Encouraging Evaluationการกระตุ้นให้ผู้รับบริการได้ประเมินตัวเอง
Giving Feedback การให้ข้อมูลย้อนกลับ
Voicing Doubt การตั้งข้อสงสัย
Giving Suggestion การให้คําแนะนํา
Presenting Reality การบอกสภาพความเป็นจริง
Summarizing การสรุปข้อความเมื่อผู้รับบริการพูดจบแล้ว
2.กลุ่มกิจกรรมบำบัด
กลุ่มบำบัดช่วยผู้ป่วยจิตเวชให้เกิดการเรียนรู้ในการแก้ปัญหาจากการแลกเปลี่ยนประสบการณ์กันในกลุ่ม
บทบาทของพยาบาล
ผู้นำกลุ่ม
วางแผนการจัดกลุ่ม
ติดต่อประสานงานกับทีมผู้บำบัด เกี่ยวกับวันเวลาและสถานที่
ร่วมคัดเลือกและประเมินผู้ป่วยก่อนเข้ากลุ่ม
ดำเนินกลุ่ม
ประเมินผลกลุ่มและเสนอแนะ
ผู้ช่วยผู้นำกลุ่ม
ช่วยเหลือผู้นำกลุ่ม
ผู้บันทึก
บันทึกการดำเนิน กลุ่มตั้งแต่ขั้นเตรียมการ ขั้นดำเนินกลุ่มและประเมินผล
ผู้สังเกตการณ์
สังเกตการณ์ดำเนินกลุ่ม
บันทึกการดำเนินกลุ่ม
ประเมินผลและเสนอแนะ
3.การรักษาด้วยยาทางจิตเวช
ยาคลายอารมณ์เศร้า (Antidepressant drugs)
ยาคลายกังวล (Antianxiety drugs หรือ Minor tranquilizers)
ยาคุมอารมณ์ (Mood Stabilizing drugs)
ยาลดอาการข้างเคียงของยารักษาโรคจิต (Anticholinergic drugs หรือ Antiparkinson)
ยาต้านอาการโรคจิต (Antipsychotic drugs หรือ Major Tranquiliers)
4.การรักษาด้วยไฟฟ้า ECT
Electroconvulsive therapy
ใช้กระแสไฟฟ้าที่มีความเข้มข้นต่ำผ่านสมองเป็นระยะเวลาสั้นๆ เพื่อให้ผู้ป่วยเกิดอาการชัก
ทั่วไประหว่าง 70-150 โวลท์ นาน
ประมาณ 2-8 วินาที ชักประมาณ 25-60 วินาที
การเตรียมตัวก่อนทำการรักษาล่วงหน้า 1 วัน
ทำความสะอาดร่างกาย สระผม ตัดเล็บให้สั้น ไม่ทาเล็บมือ-เล็บเท้า
งดน้ำ งดอาหารหลังเที่ยงคืนจนเสร็จสิ้นกระบวนการรักษา
นอนหลับให้เพียงพอ อย่างน้อย 6-8 ชั่วโมง
ในขณะเข้ารับการรักษาด้วยไฟฟ้า
ให้สวมเสื้อผ้าสะอาด ผมแห้ง ไม่ทาแป้งบริเวณใบหน้า ไม่สวมเครื่องประดับใดๆ
หากมีภาวะความดันโลหิตสูง จิตแพทย์จะพิจารณาให้ยาลดความดันในเวลา 06.00 น. และดื่มน้ำได้ไม่เกิน 30-60 ซีซี
ถอดฟันปลอม หากมีปัญหาฟันผุ ฟันโยกต้องแจ้งพยาบาลก่อนเสมอ
ปัสสาวะก่อนทำการรักษา
การปฏิบัติตัวหลังการรักษา หากมีอาการข้างเคียงเกิดขึ้น
ปวดศีรษะ ให้ประคบเย็นแล้วนอนพัก 30 นาที - 2ชั่วโมง หากอาการไม่ดีขึ้นสามารถทานยาบรรเทาปวดได้
หากปวดเมื่อยจากการเกร็งกล้ามเนื้อ ให้ประคบร้อนหรือประคบเย็น หรือนวดเบาๆ ผ่อนคลายกล้ามเนื้อ
หากมีภาวะหลงลืม ให้ญาติช่วยกระตุ้นความจำของผู้ป่วย ความทรงจำจะค่อยๆ ฟื้นตัวภายในระยะเวลา 2สัปดาห์ – 6 เดือน
5.การจำกัดพฤติกรรม
การผูกยึดผู้ป่วย (Restraint)
ข้อบ่งชี้ในการผูกยึดผู้ป่วย
1) ผู้ป่วยที่มีพฤติกรรมรุนแรง (Violence)
2) ผู้ป่วยที่วุ่นวายมาก (Agitated behavior) หรือสับสน
3) ผู้ป่วยที่ทำร้ายตนเอง (Suicide) หรือคนอื่น
ไม่ใช้การผูกยึดเพื่อเป็นการทำโทษผู้ป่วย
การใช้ห้องแยก (Room seclusion)
ข้อบ่งชี้ในการให้ผู้ป่วยอยู่ในห้องแยก
ผู้ป่วย hyperactive จนอาจเกิดอันตราย
ผู้ป่วยที่มีอาการกระวนกระวาย (Agitated) มากขึ้น
ผู้ป่วยที่มีพฤติกรรมก้าวร้าวอันตรายต่อตนเอง ผู้อื่น หรือสิ่งของ
ผู้ป่วยที่มักหลบหนีออกจากโรงพยาบาล
ไม่ใช้ห้องแยกในผู้ป่วยที่มีความคิดฆ่าตัวตาย