Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
โรคหัวใจพิการเเต่กำเนิด ชนิดไม่เขียว, image, 50_1683_48_PS, 50_1683_44a…
โรคหัวใจพิการเเต่กำเนิด
ชนิดไม่เขียว
Coarctation of Aorta (COA)
พยาธิสภาพ
Aorta ส่วนที่เป็น coarctation เเคบลง ทำให้หัวใจห้อง ventricle ซ้ายทำงานหนักมาก เเละ aortic blood flow ลดลง เลือดไปเลี้ยงกล้ามเนื้อหัวใจลดลง เเละทำให้การทำงานของ ventricle ซ้ายเสียไป เป็นผลให้ความดันเลือดใน atrium ซ้ายสูงขึ้น มี left to right shunt ทำให้เกิดอาการหัวใจวาย
สาเหตุ
เกิดจากการตีบเเคบหรืออุดตันของส่วนใดส่วนหนึ่งของหลอดเลือด aorta ซึ่งส่วนใหญ่มักจะพบที่ aortic arch
ความหมาย
การตีบเเคบหรืออุดตันของส่วนใดส่วนหนึ่งของหลอดเลือด aorta
อาการ
ทารกแรกเกิด
การตีบเเคบหรืออุดตันของส่วนใดส่วนหนึ่งของหลอดเลือด aorta
เด็กโต
มักไม่มีอาการผิดปกติ ถ้ามีอาการมักจะเป็นผลจากภาวะเเทรกซ้อน เช่น ภาวะหัวใจวาย เเละติดเชื้อที่เยื่อหุ้มหัวใจ ความดันโลหิตในส่วนของเเขนสูงกว่าที่ขา Pulse pressure กว้าง
การวินิจฉัย
คลื่นไฟฟ้าหัวใจ EKG
หัวใจห้องล่างซ้ายโตในเด็กโต ส่วนเด็กเล็กจะพบ ventricle ขวาโต
คลื่นเสียงสะท้อนหัวใจ echocardiogram
พบ Hyperplasia ของ aorta isthmus อาจมี post stenosis dilation
การตรวจร่างกาย
บางคนมีร่างกายส่วนใหญ่ (Hypertrophy)
เเต่ท่อนล่างเล็ก เรียกว่า Pop-eye appearance
การไหลเวียนสู่ส่วนล่างไม่ดีทำให้มีอาการปวดศีรษะ วิงเวียน เป็นลม
ความดันโลหิตมักจะสูง
Turner's syndrome คือ ตัวเตี้ย เต้านม 2ข้างห่างกัน
ถ้าเด็กออกกำลังกายอาจมีอาการปวดขาหรืออ่อนเเรง
เกิดตะคริว เนื่องจากเนื้อเยื่อขาดออกซิเจน
ภาพรังสีทรวงอก chest x-ray
หัวใจห้องล่างซ้ายโต aorta ส่วนหน้าของบริเวณตีบเเคบจะขยายใหญ่ขึ้น
การซักประวัติ
อาการเเละอาการเเสดง
การรักษา
รักษาทางยา digitalis ในรายที่มีภาวะหัวใจวาย
Transluminal angioplasty with Balloon dilation หลัง dilate อาจเกิด aneurysm
ผู้ป่วยที่ไม่มีอาการหรืออาการไม่รุนเเรงเเนะนำให้ทำผ่าตัดเมื่ออายุ 4-5 ปี
Pulmonary Stenosis (PS)
การรักษา
รายที่เป็น mild pulmonary stenosis ไม่ต้องผ่าตัด
ในรายที่มีอาการมาก ทำผ่าตัด pulmonary valcotomy และ balloon valvulopasty เพื่อขยายลิ้น pulmonary
ให้คำแนะนำในการป้องกันการติดเชื้อที่ลิ้นหัวใจเเละผนังหัวใจ
การวินิจฉัย
ภาพรังสีทรวงอก (Chest x-ray)
มีการโป่งพองของ pulmonary artery หัวใจห้องบนเเละล่างขวาโต
คลื่นเสียงสะท้อนหัวใจ (Echocardiogram)
พบ atrium ขวาโต ventricle ขวาหนาขึ้น ดูโป่งพอง
มีการตีบเเคบของหลอดเลือด pulmonary
การตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจ (EKG)
Ventricle ขวาโต atrium ขวาโต
การตรวจร่างกาย
ฟังได้ systolic murmur บริเวณด้านอกด้านซ้ายบน
คลำได้ ventricle ขวาโต
การซักประวัติ
ความหมาย
คือการตีบของลิ้น Pulmonary
สาเหตุ
เกิดจากการตีบเเคบหรือการอุดตันของลิ้น Pulmonary มีผลให้การไหลของเลือดจากหัวใจห้องล่างขวาไปยัง Pulmonary arteryได้ยากขึ้น
พยาธิสภาพ
เกิดการอุดกั้นของทางออกของ ventricle ขวา ทำให้ ventricle ขวาต้องบีบตัวเเรงขึ้น เพื่อให้มีปริมาณของเลือดไปปอดเพียงพอ กล้ามเนื้อของ ventricleขวาจึงหนาตัวขึ้น ส่งผลให้เลือดจาก atrium ขวาไหลลง ventricle ขวาได้ไม่สะดวก atrium ขวา จึงมีขนาดใหญ่เเละผนังหนาขึ้น เเละอาจทำให้ความดันใน atrium ขวาสูงกว่า atrium ซ้าย เกิดเลือดไหลลัดวงวจจาก atrium ขวาไปซ้าย (right to left shunt) ทำให้เกิดอาการเขียวได้
อาการ
อาการตีบแคบน้อย
ผู้ป่วยจะไม่มีอาการ อาจพบ systolic murmur
มีอาการตีบแคบปานกลาง
ผู้ป่วยอาจไม่มีอาการหรือมีอาการเหนื่อยง่ายเพียงเล็กน้อย เวลาออกเเรงพบ systolic murmur
มีอาการตีบแคบมาก
ผู้ป่วยจะมีอาการของภาวะหัวใจซีกขวาวาย เด็กโตมักมีอาการเหนื่อย อาจมีอาการเขียว พบ systolic murmur บางรายอาจมีการเป็นลมหมดสติ หรือถึงขั้นเสียชีวิตในขณะออกกำลังกายได้
Atrial Septal Defect (ASD)
ความหมาย
โรครูรั่วที่ผนังกั้นหัวใจห้องบน ซึ่งเกิดจากความผิดปกติในการสร้างผนังกั้น atrium ที่ไม่สมบูรณ์ทำให้เกิดรูรั่ว
พยาธิสภาพ
เลือดเเดงในหัวใจห้องบนซ้ายมีความดันสูงกว่าด้านขวา จะไหลผ่านตรงทางรูรั่วที่ผิดปกติ เข้าไปหัวใจห้องบนขวาลงสู่ห้องล่างขวา เป็นผลให้เกิด Left to right shunt ทำให้หัวใจห้องบนขวาเเละห้องล่างขวาโตเเละขยายตัวขึ้น เนื่องจากต้องทำหน้าที่เพิ่มเมื่อเลือดที่จำนวนมากกว่าปกติไหลทำให้หลอดเลือดในปอดชั้น Media หนาตัวขึ้นเป็นการเพิ่มเเรงต้านที่ปอดเพื่อให้เลือดไหลผ่านปอดน้อยลงเเต่ ในขณะเดียวกันหัวใจห้องล่างขวาต้องออกเเรงบีบตัวมากขึ้นเพื่อดันเลือดจำนวนมากออกไปให้หมด เกิดภาวะ tricuspid valve รั่วตามมา
สาเหตุ
เกิดจากความผิดปกติในการสร้างผนังกั้น atrium ที่ไม่สมบูรณ์
ทำให้เกิดรูรั่วเป็นทางติดต่อระหว่าง atriumซ้ายเเละขวา การเกิดรูรั่วอาจมีเพียงรูเดียวหรือหลายรูก็ได้ พบรูรั่วขนาดต่างกัน
อาการ
ในรายที่มีรูรั่วขนาดเล็ก เด็กจะไม่มีอาการปรากฎเเละจะเจริญเติบโตได้ปกติ แต่ถ้ารูรั่วมีขนาดใหญ่จะมีอาการอ่อนเพลียเวลาออกกำลังกาย เหนื่อยง่าย เหงื่อออกมาก เป็นหวัดหรือปอดบวมบ่อย ๆ มีน้ำหนักน้อยกว่าปกติ การเจริญเติบโตมักจะเป็นปกติ ทราบว่าเป็นโรคหัวใจจากการตรวจร่างกายทั่วไป ได้ยินเสียง systolic murmur
การวินิจฉัย
การตรวจร่างกาย: ตรวจพบ ventricle ขวาโต เสียงที่หนึ่ง(S1)ต่ำกว่าปกติที่บริเวณลิ้น tricuspid
คลื่นไฟฟ้าหัวใจ (EKG): อาจมีatrium ขวาโต พบว่ามี P wave สูงเเหลม
การซักประวัติ:หายใจเร็ว เหนื่อยง่าย อกบุ๋ม ไม่มีอาการเขียว ตัวเล็ก
คลื่นเสียงสะท้อนหัวใจ(Echocardiogram) : ขนาดของ atriumขวาเเละ ventricleขวา รวมทั้งหลอดเลือดเเดง pulmonary มีขนาดใหญ่ขึ้น เห็นรูรั่วบริเวณผนังกั้นหัวใจห้องบนชัดเจน
ภาพรังสีทรวงอก (Chest x-ray) พบหัวใจโตเล็กน้อย มี ventricle ขวาโตเเละอาจจะมีatrium ขวาโต มีหลอดเลือดที่ปอดเพิ่ม
การรักษา
ASD ปิดได้เองในช่วงอายุ 3ปี ถ้ารูรั่วมีขนาดเล็กกว่า5มม เเต่ถ้ารูรั่วมีขนาดใหญ่ โรคนี้อาจดำเนินต่อไป ส่วนใหญ่เด็กจะมีชีวิตอยู่ได้ใกล้เคียงกับคนปกติ โดยไม่มีอาการหรือมีอาการเล็กน้อย
รักษาทางยาเมื่อเกิดภาวะหัวใจวายหรือเยื่อหุ้มหัวใจอักเสบ ได้แก่ ยา digitalis ยาขับปัสสาวะ ยาปฏิชีวนะ
การผ่าตัด สามารถทำได้เมื่อวัยก่อนเข้าเรียนหรือทำก่อนถ้าเด็กมีอาการโดยการเย็บปิดผนังกั้นของ ASD หรือเย็บซ่อมลิ้นหัวใจ Mitral
Patent Ductus Ateriosus :PDA
ความหมาย
หลอดเลือดที่เชื่อมระหว่างส่วนต้นของ descending aorta
กับส่วนต้นของหลอดเลือดเเดง pulmonary ข้างซ้าย ไม่ปิดภายหลังทารกคลอด
สาเหตุ
เกิดจากการที่หลอดเลือด ductus arteriosusไม่ปิดภายหลังทารกคลอด ซึ่งปกติควรปิดภายใน1-4สัปดาห์ ในทารกที่ ductus arteriosus ไม่ปิด ทำให้หลอดเลือดแดงไหลจาก aorta เข้าสู่ pulmonary arteryได้ พบร้อยละ 5-10ของโรคหัวใจเเต่กำเนิดทั้งหมด
พยาธิสภาพ
ความดันของหลอดเลือด aorta สูงกว่าในหลอดเลือดเเดง pulmonary เป็นเหตุให้เลือดไหลจาก aorta กลับมายังที่หัวใจห้องบนซ้ายลงสู่ห้องล่างซ้ายออกทาง aorta ใหม่วนเวียนไปเรื่อย ๆ เลือดที่มีออกซิเจนไหลเวียนผ่านปอดใหม่ ทำให้หัวใจด้านซ้ายทำงานมากกว่าปกติเเละเกิดหัวใจโต เมื่อเลือดเเดงไหลเวียนไปสู่ปอดมากขึ้นจะทำให้ความดันในปอดสูง เกิด right to left shunt เลือดดำจะผสมกับเลือดเเดงไปเลี้ยงส่วนล่างของร่างกายทำให้เกิดอาการเขียวที่ขาเเละเท้า เเต่เเขนเเละใบหน้าไม่มีอาการเขียว เรียกภาวะนี้ว่า Differential cyanosis ซึ่งในระยะท้ายจะเกิดภาวะหัวใจวายได้
อาการ
PDA ขนาดปานกลาง : ผู้ป่วยอาจมีอาการเหนื่อยง่ายเล็กน้อย มีการติดเชื้อทางเดินหายใจบ่อย ๆ หัวใจซีกซ้ายโต พัฒนาการไม่สมวัย
PDA ขนาดใหญ่ : ผู้ป่วยจะมีอาการมากตั้งเเต่วัยทารก ในทารกคลอดก่อนกำหนดจะมีหัวใจวาย เหนื่อยหอบ น้ำหนักตัวไม่เพิ่ม ติดเชื้อทางเดินหายใจบ่อย ๆ มีอาการเขียวปลายนิ้วเท้า หัวใจโต
PDA ขนาดเล็ก : ผู้ป่วยมักไม่มีอาการ ตรวจร่างกายพบหัวใจไม่โตหรือโตเล็กน้อย ได้ยินเสียง murmur
การวินิจฉัย
การซักประวัติ
จากอาการตัวเล็ก น้ำหนักน้อย หายใจเร็ว
การตรวจร่างกาย
ได้ยิน murmur ที่ลิ้น pulmonic
ชีพจรเต้นเเรง (Bounding pulse)
Pulse pressure กว้างกว่า 1/2 ของความดัน systolic
ถ่ายภาพรังสีทรวงอก (Chest x-ray)
พบ ventricle ซ้ายโต หลอดเลือด Pulmonary arteryมีขนาดใหญ่ขึ้น หลอดเลือดที่ปอดเพิ่มขึ้น
คลื่นไฟฟ้าหัวใจ (EKG)
พบว่าหัวใจล่างซ้ายโต
คลื่นเสียงสะท้อนหัวใจ (Echocardiogram
หัวใจด้ายซ้ายโต วัดขนาดของ Ductus arteriosusได้
การรักษา
การรักษาทางยาในทารกเเรกคลอดหรือทารกที่คลอดก่อนกำหนดเเละมีอาการหัวใจวายให้ยา Indomethacin 0.2 mg/Kg. ทางปากหรือหลอดเลือดดำซ้ำ 3 ครั้ง ห่างกัน 8-12ชั่วโมงในการให้ยา Digitalis ถ้า HR น้อยกว่า 100ครั้ง/นาที ให้งดยามื้อนั้น ส่วนยาขยายหลอดเลือด ถ้าsystolic blood pressure น้อยกว่า 70mmHgให้งดยามื้อนั้น เเต่ถ้าการใช้ยา ไม่ได้ผลก็จำเป็นต้องผ่าตัดผูก
หลอดเลือด Duแtus arteriosus ด้วยไหมขนาดใหญ่
ในรายที่ไม่มีอาการ ควรทำการผ่าตัดโดยผูกหรือตัด Ductus arteriosus เมื่อผู้ป่วยอายุเกิน1ปีไปแล้ว เนื่องจากก่อนอายุ1ปี มีโอกาสที่ Ductus arteriosus อาจจะปิดได้เอง ใน ผู้ป่วย PDA ทุกรายควรได้รับการผ่าตัด เพื่อป้องกันภาวะเเทรกซ้อน
Ventricle Septal Defect : VSD
ความหมาย
เป็นความพิการของหัวใจที่มีทางเชื่อมติดต่อระหว่าง ventricle ซ้ายเเละขวา
สาเหตุ
เกิดจากมีรูรั่วผนังกั้นห้องหัวใจห้องล่าง ทำให้เลือดเเดงจากหัวใจห้องล่างซ้ายผ่านรูรั่วไปยังห้องล่างขวาเเละออกสู่หลอดเลือดเเดงของปอด ทำให้ปริมาณเลือดที่ไปปปอดมากขึ้น ปริมาณเลือดที่กลับเข้าสู่หัวใจห้องบนซ้าย(ภายหลังการฟอกแล้ว) เเละล่างซ้ายจะเพิ่มมากขึ้นด้วย ทำให้หัวใจห้องซ้ายรับภาระมากขึ้น (ปริมาณเลือดเพิ่ม)เกิดภาวะหัวใจวายได้
พยาธิสภาพ
เกิดจากขนาดของรูรั่วระหว่าง ventricle โดยที่เลือดจะไหลลัดจาก ventricle ซ้ายไปขวาไหล
ไปสู่ปอดเพื่อเเลกเปลี่ยนออกซิเจน เเล้วไหลสู่หัวใจห้องบนซ้ายลงสู่หัวใจห้องล่างซ้าย โดยที่เลือดอีกส่วนหนึ่งผ่านรูรั่วกลับเข้าสู่หัวใจห้องล่างขวาใหม่ กล้ามเนื้อหัวใจห้องล่างซ้ายจึงโตกว่าปกติเมื่อเลือดลัดวงจรจากซ้ายไปขวานาน ๆ เข้า ถ้าเเรงต้านของหลอดเลือด pulmonary สูงกว่าเเรงต้านของหลอดเลือดทั่วร่างกาย จะทำให้มีอาการไหลกลับของเลือด คือ เเทนที่เลือดจะไปสู่ปอดเลือดจะลัดวงจรไหลย้อนผ่านทางเปิดจากหัวใจห้องล่างขวาไปซ้าย (Right to left shunt) ทำให้เลือดดำไปเลี้ยงทั่วร่างกาย ผู้ป่วยจึงเกิดอากการเขียว เรียกว่า Eisenmenger's syndrome
อาการ
VSD ขนาดปานกลาง ผู้ป่วยอาจมีอาการเหนื่อยง่าย ตัวเล็ก เเละมีอาการติดเชื้อทางเดินหายใจบ่อย พัฒนาการทางร่างกายช้า ดูดนมลำบากต้องพักเหนื่อย ตรวจพบหัวใจโตเล็กน้อย
VSD ขนาดใหญ่ มักจะเริ่มมีอาการเหนื่อยง่ายเมื่อทารกอายุประมาณ 1-2 เดือน เลี้ยงไม่โต ติดเชื้อทางเดินหายใจบ่อย ตัวเล็ก หายใจเหนื่อยหอบ มักจะไม่มีอาการเหนื่อยหอบ มักจะไม่มีอาการเขียวขณะอยู่นิ่งเเต่อาจจะเขียวเล็กน้อยเวลาร้อง
VSD ขนาดเล็ก ผู้ป่วยมักไม่มีอาการ การเจริญเติบโตปกติ
การวินิจฉัย
การซักประวัติ
หายใจเร็วผิดปกติ เด็กตัวเล็ก เติบโตช้า
การตรวจร่างกาย
พบเสียง murmur
คลื่นไฟฟ้าหัวใจ (EKG)
พบ Left atrium และ ventricle ทั้งสองโต
คลื่นเสียงสะท้อนหัวใจ (Echocardiogram)
มองเห็นขนาดรูรั่วเเละห้องหัวใจที่โตขึ้น
ภาพรังสีทรวงอก (Chest x-ray)
VSD ขนาดเล็ก : ขนาดหัวใจมักปกติหรือโตเล็กน้อย
VSD ขนาดปานกลาง : มักมีหัวใจโต หลอดเลือดที่ปอดเพิ่มขึ้น
VSD ขนาดใหญ่ : มักจะเริ่มมีอาการเหนื่อยง่ายเมื่อทารกอายุประมาณ 1-2 เดือน เลี้ยงไม่โต ติดเชื้อทางเดินหายใจบ่อย ตัวเล็ก หายใจเหนื่อยหอบ
การรักษา
การดูแลสุขภาพทั่วไป
การผ่าตัด
กรณีมีภาวะหัวใจวาย ให้ยา digitalis ยาขับปัสสาวะ ยาขยายหลอดเลือด
การพยาบาลโรคหัวใจพิการชนิดไม่เขียว
เปิดโอกาสให้ครอบครัวได้ระบายความรู้สึก ซักถามปัญหาต่าง ๆ เกี่ยวกับการดูแลเด็กจากนั้นจึงให้คำแนะนำหรือให้ ข้อมูลต่าง ๆ อย่างเหมาะสมเเละสอดคล้งกับปัญหา
ดูแลให้ผู้ป่วยได้รับการดูแลสุขภาพช่องปากอย่างสม่ำเสมอ
ดูแลให้อาหารที่มีคุณค่าทางโภชนาการที่มีโปรตีนเเละเเคลอรี่เพียงพอสำหรับการเจริญเติบโต
ที่สำคัญ คือ อาหารที่ให้รับประทานต้องเป็นอาหารที่ลดเกลือหรือลดเค็ม
ดูแลเเละการกระตุ้นให้เด็กมีพัฒนาการเคลื่อนไหวที่เหมาะสมเเละหลีกเลี่ยงกิจกรรมที่ทำให้ออกเเรงมาก
เช่น การร้องไห้ การเบ่งถ่ายอุจจาระ
ประเมิน v/s ทุก 4 ชั่วโมงเเละสังเกตอาการที่ผิดปกติ เช่น หายใจเหนื่อยหอบมากขึ้น
มีอาการเขียวมากขึ้น
:star:
นางสาวชลดา ติงหวัง รหัส 621001022
:star: