Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
การวิเคราะห์งานเพื่อความปลอดภัย, นายธนาวุฒิ วรสิงห์ รหัส 704, image, image…
การวิเคราะห์งานเพื่อความปลอดภัย
การทำ JSA ต้องคำนึงถึงเรื่องต่อไปนี้
ต้องทำงานเป็นทีม มีการประสานงานกับทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องโดยเฉพาะในระดับหัวหน้างาน คือต้องให้ทุก ฝ่ายรับรู้ หรือยอมรับ
ต้องกำหนดเป้าหมายในทางปฏิบัติข้อมูลที่ได้ต้องผลักดัน ให้นำไปใช้ในการอบรมพนักงาน ใหม่ หรือ พนักงาน ย้ายแผนก
ต้องมีการสรุปผลหลังจากการทำโครงการ โดยต้องระบุว่าทำอะไรที่ไหน อย่างไร ใครเป็นผู้รับผิดชอบ เพื่อให้เกิด ความสำเร็จ อย่างสมบูรณ์
ต้องมีการประเมินผล จาก JSA ในแต่ละครั้ง และต้องทบทวนโครงการเมื่อพบข้อผิดพลาด
การเริ่มต้นทำโครงการ JSA
มีการระบุงานที่จะทำการวิเคราะห์เป็นขั้นตอน step-by-step บนพื้นฐานที่ว่างานชิ้นหนึ่ง ประกอบด้วย งานย่อย หลาย อย่างรวมกัน มีลักษณะเป็นกระบวนการจากจุดเริ่มต้น ถึงจุด สิ้น สุดแบ่ง แยกเป็นขั้นตอน ที่ชัดเจน แน่นอน
เป็นการศึกษาอย่างใกล้ชิดจากจุดที่เป็นต้นเหตุของอันตราย นั่นคือสถานที่ทำงาน นั่นเอง
มีการระบุงานที่จะวิเคราะห์อย่างเป็นเอกเทศ โดยเฉพาะ โดยไม่ยุ่งเกี่ยวกับงานอื่น ทำให้มอง เห็นปัญหา อย่างชัดเจน ไม่สับสน
ดังนั้นการทำ JSA หลักคือ ให้วิเคราะห์เฉพาะงานใดงานหนึ่งเท่านั้น และต้องวิเคราะห์ อย่างครบ ถ้วน ของกระบวน ที่เกิดขึ้นในงานนั้น
ขั้นตอนพื้นฐานการทำ JSA
เลือกงานที่ต้องการวิเคราะห์
แยกแยะขั้นตอนทั้งหมดที่เกิดขึ้นในกระบวนการของงานนั้น
ระบุอันตรายที่มีหรือมีแนวโน้มที่จะเกิดขึ้นของแต่ละขั้นตอน ที่แยกออกมาดังกล่าว
หาวิธีการแก้ไขเพื่อลดอันตราย หรือลดแนวโน้มตามที่ระบุได้นั้น
การเลือกงานและการแยกแยะขั้นตอน
อัตราการบาดเจ็บหรือ เจ็บป่วยที่เกี่ยวเนื่องกับงานนั้น ทั้งที่เกิดจากตัวงานเองและผู้ปฏิบัติงาน งานที่มี อุบัติเหตุ ซึ่ง ควรทำการวิเคราะห์โดยเร็ว
ความถี่ของการเกิดอุบัติการณ์ ซึ่งแสดงให้เห็นว่ามีสิ่งผิดปกติเกิดขึ้นเรื่อย ๆ หากปล่อยไว้อาจกลาย เป็น อุบัติ เหตุ
แนวโน้มของการบาดเจ็บหรือความเจ็บป่วย ให้พิจารณางานที่บรรจุงานใหม่ จะเป็นงานง่าย หรือ มาก ขั้นตอน ก็ได้
งานที่ไม่เคยมีประวัติใด ๆมาก่อน หรืองานที่ไม่สามารถหาข้อมูลอ้างอิงได้ ควรสันนิษฐานไว้ก่อนถึง แนวโน้ม ของอันตรายอย่างน้อยความ ไม่คุ้นเคยกับงาน อาจก่อ ให้เกิด อุบัติเหตุได้
งานที่ต้องศึกษาด้านการยศาสตร์(Ergonomics) เพื่อปรับปรุงสภาพงาน
การสืบค้นอันตรายในแต่ละขั้นตอนการทำงาน ปัจจุบันนิยมทำกัน 3 ลักษณะ
การประชุมหรือหารือกับคนงาน (Discussion) เป็นวิธีที่ง่ายที่สุด เสียค่าใช้จ่ายน้อย ผู้ทำโครงงานจะจัด ประชุม คนงาน มีหัวหน้างาน นั่งอยู่ด้วย เพื่อให้เล่าถึงอันตรายหรือ แนวโน้ม ของอันตราย ที่เกิดขึ้นในแต่ละขั้นตอน อาจใช้แบบสอบถามเข้าร่วมด้วยก็ได้ ข้อมูล ที่ได้จะมีค่ามาก เพราะเป็นข้อมูลดิบ จากผู้ที่อยู่ในเหตุการณ์จริง สามารถ นำไปวิเคราะห์ได้อย่าง มี ประสิทธิภาพ อาจต้องเตรียมคำถาม ที่เข้าประเด็นจริง ๆ
การสังเกตโดยตรง (Direct Observation) ทำได้โดยตามคนงานเข้าไป สังเกตการทำงานในแต่ละ ขั้นตอน อาจจะมีการสัมภาษณ์คน งาน เพื่อให้ได้ข้อมูลที่เพียงพอและรัดกุม
การใช้กล้องวีดีโอ (Video Taping) บันทึกภาพขั้นตอนการทำงานอย่างละเอียดในแต่ล่ะขั้นตอน พร้อม สัมภาษณ์คนงาน ให้ระบุอันตรายที่เคยเกิดขึ้น ในจุดที่มีความเสี่ยงมาก อาจถ่ายละเอียดขึ้น เป็นพิเศษ พอเพียง ต่อ การ นำไปวิเคราะห์
การฝึกอบรมพนักงานเพื่อความปลอดภัย (SAFETY TRAINING)
การอบรมคนงานจัดเป็นหน้าที่สำคัญประการหนึ่งของหัวหน้าควบคุมงานมีความสำคัญเท่ากับการวาง ผัง โรงงาน เลยที่เดียว เพราะถ้าหากคนงาน ไม่มีความรู้ที่ถูกต้อง เกี่ยวกับ การป้องกันภัยส่วนบุคคลแล้วอาจได้รับ อันตราย จากการทำงานได้
มีสถิติเกี่ยวกับอุบัติเหตุที่เกิดขึ้นกับผู้ป่วย 100 คน เกิดจากสาเหตุดังนี้
จากความประมาทเลินเล่อ 37 คน
ขาดความชำนาญในการทำงาน 34 คน
จากความผิดปรกติของเครื่องจักรเอง 21 คน
จากร่างกายอ่อนเพลียมาก 3 คน
จากความเร่งรีบในการทำงาน 3 คน
จากแสงสว่างไม่เพียงพอ 1 คน
จากการแต่งกายไม่ถูกต้อง 1 คน
วิธีการป้องกันอุบัติเหตุ มีหลายวิธีดังนี้
โดยการออกกฎโรงงาน ( regulation ) ให้มาตรฐานการทำงาน แนวทางการปฏิบัติ การทดสอบ การ ดำเนิน การและ หน้าที่ปฏิบัติต่าง ๆ ที่ถูกต้องและปลอดภัยในโรงงาน
โดยการจัดทำมาตรฐาน ( standardization ) กำหนดมาตรฐานของโครงสร้าง เครื่องจักรกล และ ขั้นตอน การ ปฏิบัติงานต่าง ๆ ภายในโรงงานให้สอดคล้องกับคุณสมบัติต่าง ๆ ของวัสดุ
โดยการตรวจสอบ ( inspection ) เพื่อติดตามการปฏิบัติงานของคนงาน
โดยการทำวิจัยทางเทคนิค ( technical research ) เป็นการศึกษาวิจัยคุณสมบัติของวัสดุต่าง ๆ โครงสร้างการใช้ งานของเครื่องจักรต่าง ๆ
โดยการวิจัยทางการแพทย์( medical research ) เป็นการศึกษาวิจัยเกี่ยวกับร่างกาย คนงานและ ความสัมพันธ์ระหว่างสภาวะ ที่เหมาะสมกับสภาพความพร้อมของร่างกาย ในการทำงาน
โดยการวิจัยทางจิตวิทยา ( psychological research ) ศึกษาหาความสัมพันธ์ระหว่าง จิตใจคน งาน กับการ เกิดอุบัติเหตุในการทำงาน
โดยการวิจัยทางสถิติ( statistical research ) เป็นการศึกษาโดยรวบรวมข้อมูลและวิจัยหาแนวโน้ม ของการเกิด อุบัติเหตุและจุด ที่มี การเกิดอุบัติเหตุได้มากที่สุด
โดยการให้การศึกษา( education ) โดยการสอนวิชาวิศวกรรมความปลอดภัย ในหมาวิทยาลัย และ โรงงาน อุตสาหกรรม
โดยการฝึกอบรม ( training ) โดยการอบรมคนงานทุกคนที่เข้ารับหน้าที่เพื่อให้มีการทำงานที่ปลอดภัย ที่สุด
หลักการ 3E ในการป้องกันอุบัติเหตุ
ในการเสริมสร้างความปลอดภัยในโรงงานอุตสาหกรรมอย่างมีประสิทธิภาพนั้น ต้องยึดหลักการ 3E ได้แก่
Engineering (วิศวกรรมศาสตร์)
Education (การศึกษา)
Enforcement (การออกกฎบังคับ)
ผู้รับผิดชอบในการสอบสวนอุบัติเหตุ
ผู้ควบคุมงาน รับผิดชอบในการควบคุมดูแลการทำงานของคนงาน ให้ถูกวิธี มีความปลอดภัย เป็นไปตาม กฎข้อบัง คับ ของโรงงาน เหมาะสม ในการสืบสวนอุบัติเหตุอย่างมีประสิทธิภาพ
เจ้าหน้าที่ความปลอดภัย เกี่ยวข้องกับการป้องกันอุบัติเหตุ และเสริมสร้างความปลอดภัยในการทำงาน โดยตรง ต้อง มีความรู้และประสบการณ์ ในด้านนี้ จึงจะทำงาได้อย่างมีประสิทธิภาพ
10 เคล็ดลับ สร้างความปลอดภัยในที่ทำงาน
ดูแลรักษาให้พื้นที่ปฏิบัติงานมีความสะอาดอยู่เสมอ
ถ้าเป็นไปได้ ให้ใช้ระบบป้องกันและการควบคุมด้านวิศวกรรมแทนการอาศัยแต่เพียงอุปกรณ์ป้องกัน อันตรายส่วนบุคคล (PPE) เพียงอย่างเดียว
ให้สันนิษฐานไว้เสมอว่าพนักงานของคุณต้องการทำงานอย่างปลอดภัย และคุณก็จะต้องหยิบยื่น โอกาสดังกล่าวให้แก่พวกเขา
ระบุคำแนะนำในการปฏิบัติงานให้ชัดเจน
อย่าหมกมุ่นเพียงเฉพาะสถานการณ์สมมติที่เป็นสถานการณ์เลวร้ายที่มีมากมายหลากหลายกรณี
คุณจะต้องรักพนักงานของตัวเองให้มาก
ใช้เวลาศึกษารายละเอียดงานต่างๆ ที่พนักงานของคุณทำ
ดูแลรักษาเครื่องจักรต่างๆ ให้อยู่ในสภาพการทำงานที่ดีเสมอ
หลีกเลี่ยงอันตรายต่างๆ ที่ไม่จำเป็น
ดูแลรักษาพื้นที่ปฏิบัติงานให้สะอาด (ดูเคล็ดลับข้อ 1 ข้างต้น)
แนวทางสำหรับการส่งเสริมความปลอดภัยให้ประสบความสำเร็จ
การผสมผสานกิจกรรมการส่งเสริมทั่วไปเข้ากับองค์ประกอบของระบบการบริหารเพื่อควบคุมความ สูญเสีย การติดโปสเตอร์ การประกวด และโปรแกรมการส่งเสริมที่เกี่ยวข้องกัน คือหนึ่งในองค์ประกอบของระบบ บริหารความปลอดภัย กิจกรรมการนิเทศความปลอดภัย (Safety oriented
ให้ความสำคัญกับข่าวสารด้านสาเหตุของอุบัติเหตุเฉพาะ (Specific accident causes) และการป้องกัน (preventive actions) ข่าวสารทั่วๆ ไป เช่น ต้องปลอดภัย (be safety) ขับรถให้ปลอดภัย (drive safety) หรือ เพิ่มความระมัดระวัง อาจไม่ชัดเจน และมีประโยชน์ค่อนข้างน้อย แต่ข่าวสารเฉพาะ เช่น “ ยกย่อเข่าเพื่อป้องกันหลัง ของคุณ” จะมีประโยชน์มากกว่า
กำหนดเป้าหมายการส่งเสริมที่เฉพาะเจาะจง มีการออกแบบกิจกรรมการส่งเสริมทั่วไป เพื่อ
เพิ่มความเข้มข้นด้วยความหลายหลาย ใช้เครื่องมือในการส่งเสริมให้หลากหลาย การใช้บอร์ดข่าวสารคือ วิธีการที่มักจะใช้และมีประสิทธิภาพในการส่งเสริมความปลอดภัยทั่วไป สถานที่ที่เหมาะสมที่สุด
นายธนาวุฒิ วรสิงห์ รหัส 704