Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
พยาธิสรีรภาพระบบทางเดินหายใจ - Coggle Diagram
พยาธิสรีรภาพระบบทางเดินหายใจ
กลไกลการหายใจ
ขณะหายใจเข้า
-กะบังลมจะเลื่อนต่ำลงกระดูกซี่โครงจะ
เลื่อนสูงขึ้น
-ทำให้ปริมาตรช่องอกเพิ่มมากขึ้น
-ความดันอากาศภายในบริเวณรอบๆ
ปอดลดต่ำลงกว่าอากาศภายนอก
-อากาศภายนอกจึงเคลื่อนที่เข้าสู่
จมูก หลอดลม ไปยังถุงลมปอด
ขณะหายใจออก
-กะบังลมจะเลื่อนสูงขึ้น
-กระดูกซี่โครงจะเลื่อนต่ำลง
-ปริมาตรของช่องอกลดน้อยลง
-ความดันอากาศในบริเวณรอบๆ
ปอดสูงกว่าอากาศภายนอก
-อากาศในถุงลมปอดจึงเคลื่อนที่จาก
ถุงลมปอดสู่หลอดลม ออกทางจมูก
ความต้านทานการหายใจ (Resistance of breathing)
ได้แก่
1.Elastic resistance ของปอดและทรวงอก
2.Airway resistance เกิดจากการเสียดสีของโมเลกุลในอากาศด้วยกันเองกับทางเดินหายใจ
3.Tissue resistance เกิดจากการเสียดสีของเนื้อเยื่อที่เคลื่อนไหวระหว่างการหายใจ
การหายใจ
การหายใจภายนอก (External respiration) เป็นการทำงานของปอดโดยมีการแลกเปลี่ยนก๊าซออกซิเจนและคาร์บอนไดออกไซด์ระหว่างเลือดที่ไหลเวียนในปอด
กับอากาศที่หายใจเข้าไป
การขนส่งก๊าซ (Transport mechanism)เป็นการขนส่งก๊าซออกซิเจนจากปอดไปยังเซลล์เนื้อเยื่อและขนส่งก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์จากเซลล์เนื้อเยื่อไปขับถ่ายออกทางปอด
การหายใจภายใน (Internal respiration) เป็นการแลกเปลี่ยนก๊าซทีเกิดขึ้นที่เซลล์และเนื้อเยื่อ
ปริมาตรของปอดแบ่งเป็น 4 ส่วนคือ
Tidal volume (TV)คือปริมาตรของอากาศในการหายใจเข้าหรือหายใจออกในครั้งหนึ่งๆ ในผู้ใหญ่จะมีค่าปกติประมาณ 500 ml
Inspiratory reserve volume (IRV) คือปริมาตรของอากาศที่สามารถหายใจเข้าเพิ่มได้อีกจนเต็มที่ต่อจากการหายใจ เข้าตามปกติ มีค่าประมาณ 3,300 ml
Expiratory reserve volume (ERV) คือ ปริมาตรของอากาศที่สามารถหายใจออกได้อีกจนเต็มที่ต่อจากการหายใจออกตามปกติ มีค่าประมาณ 1,000 ml
Residual volume (RV)คือปริมาตรของอากาศที่ยังคงเหลือค้างอยู่ในปอด หลังจากการหายใจออกอย่างเต็มที่ มีค่าประมาณ 1,200 ml
การแลกเปลี่ยนก๊าซ (Gas exchange)
การแลกเปลี่ยนก๊าซระดับปอด (Pulmonary gas exchange)
Ventilation “V” (การระบายอากาศ):การที่อากาศผ่านเข้าและออกโดยการหายใจเอาอากาศเข้าไปแลกเปลี่ยนก๊าซที่ถุงลม(alveolar ventilation)
Diffusion (การซึมผ่านของก๊าซ):การที่ก๊าซออกซิเจนและคาร์บอนไดออกไซด์ในถุงลมที่ปอดกับในเลือดซึมผ่าน (diffusion through alveolar capillary membrane)
Perfusion “Q”(การไหลเวียนของเลือด): การไหลเวียนของเลือดดำผ่านถุงลมและรับก๊าซจากปอดไปยัง pulmonary vein สู่หัวใจด้านซ้าย
การแลกเปลี่ยนก๊าซระดับหลอดเลือดฝอย (Capillary gas exchange)
กลไกการขนส่งก๊าซในเลือด
-ปริมาณของเม็ดเลือดแดง หรือฮีโมโกลบิน (hemoglobin; Hb) เนื่องจากออกซิเจนจะจับกับ
ฮีโมโกลบินเรียกว่า ออกซีฮีโมโกลบิน (oxyhemoglobin) และขนส่งออกซิเจนไปให้เซลล์ต่างๆ
-หากมีภาวะซีด (anemia) จะท าให้เกิดภาวะพร่องออกซิเจนได้
การแลกเปลี่ยนก๊าซระดับเซลล์ (Cellular gas exchange)
เป็นการแลกเปลี่ยนก๊าซผ่านเข้าและออกจาก cell membrane
การแลกเปลี่ยนก๊าซระดับเซลล์ขนาดเล็ก (Subcellular gas exchange)
เป็นการแลกเปลี่ยนก๊าซเข้าและออกจากไมโตคอนเดรีย
(mitochondria) รวมถึงการเมตาโบลิซึม(metabolism) ที่ใช้ออกซิเจนในเผาผลาญสารอาหารให้เป็นพลังงานและผลิตก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ออกมา
การประเมินสมรรถภาพการทำงานของปอด
(Pulmonary function test)
การประเมินสมรรถภาพของระบบการหายใจ (Pulmonary function test) โดยใช้มาตรวัดปริมาตรอากาศหายใจเข้าและออก
Functional residual volume คือปริมาตรของอากาศที่เหลืออยู่ในปอดหลังจากหายใจออก
Tidal volume (TV) คือปริมาตรอากาศที่หายใจเข้าหรือออกแต่ละครั้ง มีค่าประมาณ 500 cc
Force expiratory volume (FEV) คือปริมาตรของอากาศที่หายใจออกเต็มที่หลังจากหายใจเข้าเต็มที่ ในเวลา
1 วินาที (FEV 1.0) มีค่าประมาณ 4,000 cc
FVC (Forced Vital Capacity) คือปริมาตรของอากาศที่เป่าออกอย่างเร็ว แรงจนหมด หลังจากหายใจเข้าอย่างเต็มที่
การประเมินก๊าซในหลอดเลือดแดง (Arterial blood gas)
การวิเคราะห์เลือดและวัดแรงดันส่วนของก๊าซ(Pressure:P)ก๊าซในเลือดแดงจะเป็นตัวบ่งชี้ว่าถุงลมปอดสามารถระบายอากาศและแลกเปลี่ยนกับเลือดได้พอเหมาะหรือไม่ ในภาวะร่างกายปกติ
Arterial blood gas
PaO2 (Oxygenation ค่า 80 - 100 มิลลิเมตรปรอท ) บอกปริมาณออกซิเจนในเม็ดเลือดแดง
SaO2 ( ค่า 98 – 100 %) : บอกออกซิเจนและความเข้มข้นของออกซิเจนในเม็ดเลือดแดง
PH ความเป็นกรด-ด่างในเลือด (7.35-7.45)
PaCO2 ( Ventilation function : บอกหน้าที่การทำงานของปอด = 35-45)
HCO3 ( Metabolic function = 22-26)
1 more item...
ความผิดปกติของการหายใจ
การเปลี่ยนแปลงของระบบหายใจ มีสาเหตุส่วนใหญ่จากการทำหน้าที่ของทางเดิน
หายใจและปอดผิดปกติ ลักษณะทางคลินิกที่พบบ่อย
Dyspnea,plural pain,Abnormal breathing patterns,Cough,Hemoptysis
Restrictive pulmonary function
ภาวะที่การขยายตัวของปอดถูกจำกัด
ความผิดปกติของปอด เนื่องจากการขยายตัว (Expansion) ของปอดถูก ากัด ทำให้TLC และ VC ลดลง มีผลให้หายใจเข้าลำบาก แต่แรงต้านการไหลของอากาศปกติ
ความจุของปอด
Inspiratory capacity (IC) คือความจุของปอดที่คิดเป็นปริมาตรของอากาศที่หายใจเข้าไปได้เต็มที่หลังจากหายใจออกตามปกติ หรือเป็นผลรวมของ TV + IRV ปกติมีค่าประมาณ 3,800 ml
Functional residual capacity (FRC) คือความจุปอดที่คิดเป็นปริมาตรของอากาศคงเหลืออยู่ในปอดหลังจากหายใจออกตามปกติ หรือเป็นผลรวมของ ERV + RV ปกติมีค่าประมาณ 2,200 ml
Vital capacity (VC) คือความจุของปอดที่คิดเป็นปริมาตรของอากาศหายใจออกเต็มที่หลังจากการหายใจเข้าเต็มที่ หรือเป็นผลรวมของ IRV + TV + ERV ปกติมีค่าประมาณ 4,800 ml
Total lung capacity (TLC) คือความจุของปอดที่คิดเป็นปริมาตรของอากาศทั้งหมดเมื่อหายใจเข้าเต็มที่ หรือเป็นผลรวมของ VC + RV ปกติมีค่าประมาณ 6,000 ml
การขับเสมหะในทางเดินหายใจ
การหายใจอย่างถูกวิธีและการไออย่างมี
ประสิทธิภาพ
การดูดเสมหะโดยใช้ลูกยางแดง
การดูดเสมหะด้วยสายดูดเสมหะ ได้แก่
1.Nasopharyngeal and Oropharyngeal Suctioning
2.Endotracheal and tracheostomy Suctioning
Obstructive pulmonary function
แบ่งเป็น 3 กลุ่ม จำแนกตามการอุดกั้น ได้แก่
กลุ่มที่รูท่อทางเดินหายใจอุดตัน
เมื่อมีการระคายเคืองหรือติดเชื้อทางเดินหายใจบ่อยๆท าให้ผนังหลอดลมอักเสบ บวม มีหนอง เสมหะมากขึ้นการทำหน้าที่ของ cilia ผิดปกติ ความสามารถในการขจัดสิ่งแปลกปลอมลดลง
2.กลุ่มผนังท่อทางเดินหายใจบวมหรือหดตัว
ผนังท่อทางเดินหายใจบวมหรือหดตัว ทำให้เกิดภาวะอุดกั้นของทางเดินหายใจได้ซึ่งอาจเป็นอย่างเฉียบพลัน หรือเรื้อรัง เช่น Asthma,Chronic bronchitis
3.กลุ่มที่มีแรงดันบริเวณรอบๆ นอกท่อทางเดินหายใจ
แรงดันที่เพิ่มขึ้นจากบริเวณรอบๆ นอกท่อทางเดินหายใจเป็นสาเหตุทำให้เกิดการอุดกั้นทางเดินหายใจ เนื่องจากมีการสูญเสียแรงตึงตัวของผนังถุงลม(alveolar) ซึ่งพบได้ในโรคถุงลมโป่งพอง (emphysema) หรือโรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง(Chronic Obstructive Pulmonary Disease or
COPD) คือมีลมหรืออากาศอยู่ในส่วนของ terminal bronchiole และมีการทำลายผนังของถุงลมจึงทำให้มีลักษณะโป่งออกของถุง
ภาวะการหายใจล้มเหลว (Respiratory failure)
การที่ระบบหายใจไม่สามารถท าหน้าที่ระบายอากาศ และแลกเปลี่ยนก็าซได้เพียงพอกับความต้องการของร่างกาย
จะมีระดับ O2 ในเลือดแดง (Pa O2) ต่ำกว่าปกติ < 50-60 mmHg และ/หรือ CO2 ในเลือดแดง (Pa CO2) สูงกว่าปกติ >50 mmHg และร่างกายมีความเป็นกรดมากขึ้น< 7.25
1.Acute respiratory failure การหายใจล้มเหลวอย่างเฉียบพลันภาวะที่มีการพร่องของ O2 ในเลือดแดง (hypoxemia) Pa O2 ต่ำกว่า 50 mmHg หรือ CO2 คั่ง (hypercapnia) Pa CO2 สูงกว่า 50 mmHg เกิดขึ้น
อย่างรวดเร็ว
Chronic respiratory failure การหายใจล้มเหลวอย่างเรื้อรังภาวะที่มีการพร่องของ O2 ในเลือดแดง และ CO2 สูงขึ้นอย่างค่อยเป็นค่อยไปร่างกายสามารถปรับตัวชดเชยโดยการสร้างเม็ดเลือดแดงเพิ่มขึ้น และตชดเชยภาวะเป็นกรด ด่างของร่างกายโดยการเก็บ HCO3- ไว้เพิ่มขึ้น