Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
หน่วยที่ 1 แนวคิด หลักการ และแนวปฏิบัติในการวัดและประเมินผลการเรียนรู้ของ…
หน่วยที่ 1
แนวคิด หลักการ และแนวปฏิบัติในการวัดและประเมินผลการเรียนรู้ของผู้เรียน
ธรรมชาติของวัดผลการศึกษา
การวัดผลการศึกษาเป็นการวัดที่เป็นนามธรรม ผู้ที่ทำการวัดผลการศึกษาจึงควรศึกษาถึงธรรมชาติของการวัดผลการศึกษา ดังนี้
5.1 การวัดผลการศึกษาเป็นการวัดที่ไม่สมบูรณ์ (Incomplete)
การวัดผลการศึกษาไม่สามารถวัดได้ละเอียดครบถ้วนตามที่ต้องการ เพราะเป็นการวัดในสิ่งที่เป็นนามธรรม ไม่สามารถทราบปริมาณหรือขอบเขตที่แน่นอนได้
5.2 การวัดผลการศึกษาเป็นการวัดทางอ้อม (Indirect)
การวัดผลการศึกษาไม่สามารถวัดได้โดยตรงเนื่องจากข้อจำกัดในด้านของเครื่องมือที่ใช้ในการวัดและไม่มีเครื่องมือใดที่จะสามารถวัด พฤติกรรมที่ผู้เรียนแสดงออกไม่สามารถจับต้องได้อย่างเป็นรูปธรรม
เครื่องมือที่ใช้ในการวัด
ข้อสอบ
แบบสังเกตพฤติกรรม
5.3 การวัดผลการศึกษามีความคลาดเคลื่อน (Error)
การวัดผลมีโอกาสที่จะเกิดความคลาดเคลื่อนได้ เพราะพฤติกรรมของมนุษย์มีความซับซ้อน ไม่สามารถจับต้องได้
ความคลาดเคลื่อนนั้นอาจจะเกิดขึ้นได้จาก
ตัวผู้ถูกวัด
ไม่สบายในวันที่ได้รับการทดสอบหรือการวัด
ปัจจัยภายนอก
ข้อสอบไม่ดี
โจทย์ไม่ชัดเจน
กรรมการคุมสอบบกพร่องในหน้าที่
5.4 การวัดผลการศึกษาเป็นการวัดในเชิงสัมพันธ์ (Relation)
ต้องมีการนำเอาผลที่ได้จากการวัดผลการศึกษาไปเปรียบเทียบกับเกณฑ์จึงจะสามารถแปลความหมายได้
5.6 การวัดผลการศึกษาเป็นการวัดที่ไม่มีศูนย์แท้หรือศูนย์สมบูรณ์
คะแนน/ผลที่ได้จากการวัดเท่ากับ 0 ไม่ได้แปลว่าผู้เรียนไม่มีความรู้
ผู้เรียนอาจจะมีความรู้แต่ข้อสอบไม่ได้ถามสิ่งที่ผู้เรียนมีความรู้หรือข้อสอบอาจจะไม่ครอบคลุมเนื้อหาทั้งหมดที่ผู้เรียนควรทราบ
องค์ประกอบของการวัดและการประเมินผล
2.1 องค์ประกอบของการวัด
พิชิต ฤทธิ์จรูญ (2545: 5) กล่าวว่า องค์ประกอบของการวัดประกอบด้วย
เครื่องมือวัดหรือเทคนิคที่จะใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล(เครื่องมือที่ใช้วัด)
ข้อมูลที่ได้จากการวัด
ปัญหาหรือสิ่งที่จะวัด
2.2 องค์ประกอบของการประเมิน
พิชิต ฤทธิ์จรูญ (2545: 5) กล่าวว่า องค์ประกอบของการประเมิน ประกอบด้วย
ข้อมูล(ที่ได้จากการวัด)
เกณฑ์
การตัดสินคุณค่าหรือการตัดสินใจ
การประโยชน์ของการประเมินผลการศึกษา
เชาว์ อินใย (2555, 8-9) สรุปประโยชน์ของการประเมินผลการเรียนรู้ไว้ดังนี้
ประเมินประสิทธิภาพการสอนของครูผู้สอนเอง
ผู้เรียนทราบถึงระดับความสามารถของตนเอง มีแรงจูงใจในการเรียนมากขึ้น
ช่วยให้ครูกำหนดหรือปรับปรุงจุดมุ่งหมายของการสอนให้ชัดเจนยิ่งขึ้น
เป็นประโยชน์ต่อผู้บริหารสถานศึกษาในการบริหารจัดการโรงเรียน
ครูได้ข้อมูลพฤติกรรมของผู้เรียนเบื้องต้นก่อนจัดกิจกรรมการเรียนการสอน
ขอบข่ายในการวัดและประเมินผลการเรียนรู้ของผู้เรียน
การวัดและประเมินผลการศึกษาจะมีประโยชน์มาน้อยเพียงใดขึ้นอยู่กับการวางแนวปฏิบัติในการวัดและการกำหนดขอบข่ายในการประเมินผลการเรียนรู้ของผู้เรียน ซึ่งต้องพิจารณาหลายส่วนประกอบกัน ดังนี้
7.1 หลักการในการวัดผลการศึกษา
เลือกใช้วิธีการวัด/เครื่องมือที่หลากหลาย
ใช้ผลจากการวัดให้คุ้มค่า
“ค้นหาและพัฒนาผู้เรียน”
เลือกใช้วิธีการวัดให้เหมาะสม/เครื่องมือที่มีคุณภาพ
มีความยุติธรรม
เลือกตัวแทนของสิ่งที่จะวัดให้เหมาะสม
ดำเนินการสอบที่มีคุณภาพ
กำหนดจุดประสงค์ของการวัดและประเมินผลให้ชัดเจนว่าต้องการวัดอะไร
จะต้องกำหนดพฤติกรรมของผู้เรียนในด้าน
จิตพิสัย
ทักษะพิสัย
พุทธิพิสัย
7.2 กระบวนการวัดและประเมินผลทางการศึกษา
กำหนดวัตถุประสงค์
กำหนดวัตถุประสงค์เชิงพฤติกรรม
สร้างเครื่องมือวัดผลการเรียนรู้
ทดสอบและเก็บรวบรวมข้อมูล
จัดกระทำกับข้อมูล
ตัดสินผลการเรียน
การกำหนดวัตถุประสงค์ในการประเมินและสิ่งที่จะประเมิน
ในการวัดและประเมินผลการเรียนรู้ ครูผู้สอนและนักเรียนจำเป็นต้องกำหนดวัตถุประสงค์ในการเรียนรู้และกำหนดจุดประสงค์เชิงพฤติกรรมร่วมกัน จากนั้นจึงสร้างเครื่องมือวัดผลการเรียนรู้และดำเนินการวัดผลและจัดกระทำกับข้อมูลและตัดสินผลการเรียนตามขั้นตอนและกระบวนการวัดและประเมินผลการศึกษา
8.1 ประเภทของการประเมินผล
จำแนกตามวัตถุประสงค์ของการประเมิน
การประเมินผลก่อนเรียน (Pre-evaluation) เป็นการประเมินเพื่อตรวจสอบความรู้พื้นฐานและทักษะของผู้เรียนว่ามีความรู้เพียงพอที่จะเรียนต่อในรายวิชาใหม่หรือเนื้อหาใหม่ได้หรือไม่
การประเมินผลระหว่างเรียน หรือการประเมินความก้าวหน้า (Formative evaluation) เป็นการประเมินเพื่อตรวจสอบว่าผู้เรียนบรรลุตามวัตถุประสงค์ของการเรียนที่กำหนดไว้หรือไม่ เพียงใด
การประเมินสรุป (Summative evaluation) เป็นการประเมินเพื่อตัดสินผลการเรียนรูและเพื่อตรวจสอบว่าผู้เรียนมีความรู้ทั้งสิ้นเท่าไรควรตัดสินให้ผู้เรียนผ่านหรือตก หรือควรได้เกรดอะไร
จำแนกตามระบบการวัดผล
การประเมินแบบอิงกลุ่ม (norm-referenced evaluation) เป็นการตัดสินคุณลักษณะหรือพฤติกรรมโดยเปรียบเทียบกับผู้เรียนที่อยู่ในกลุ่มเดียวกันที่สอบในข้อสอบแบบเดียวกัน
การประเมินแบบอิงเกณฑ์ (criterion-referenced evaluation) เป็นการตัดสินคุณลักษณะหรือพฤติกรรมโดยเปรียบเทียบกับเกณฑ์ที่กำหนดไว้ โดยอาจเป็นเกณฑ์มาตรฐานหรือเป็นเกณฑ์ที่ผู้ประเมินกำหนดขึ้น
8.2 การกำหนดสิ่งที่จะประเมิน
เมื่อครูผู้สอนกำหนดวัตถุประสงค์ในการประเมินได้แล้ว ปัจจัยที่จะต้องพิจารณาต่อมาคือการกำหนดสิ่งที่จะต้องประเมินหรือพฤติกรรมที่ต้องการจะประเมิน ในการจัดการศึกษาเพื่อให้บรรลุความสำเร็จนั้นจำเป็นจะต้องมีการกำหนดเป้าหมายของการจัดการศึกษาที่ชัดเจน โดยเฉพาะอย่างยิ่งการจัดการเรียนการจะต้องกำหนดพฤติกรรมทางการศึกษาที่ต้องการให้เกิดขึ้นแก่ผู้เรียนอย่างชัดเจน และเมื่อจัดการศึกษาไปแล้วก็ตรวจสอบว่าผู้เรียนมีพฤติกรรมเป็นไปตามที่กำหนดหรือไม่ ซึ่งพฤติกรรมทางการศึกษาก็คือ “สิ่งที่จะประเมิน”
ความหมายของการวัดผล การทดสอบและการประเมินผล
การวัดผล หมายถึง กระบวนการกำหนดตัวเลขหรือสัญลักษณ์ให้กับสิ่งต่าง ๆ ที่ต้องการวัด โดยใช้เครื่องมืออย่างใดอย่างหนึ่งมาวัด
ตัวเลข
สัญลักษณ์
การวัดผลทางการศึกษา หมายถึง กระบวนการในการหาปริมาณความสามารถเกี่ยวกับพฤติกรรมที่เกิดจากการจัดการเรียนการสอนของครูผู้สอนโดยใช้เครื่องมือที่เหมาะสมในการวัดพฤติกรรมทางการศึกษาที่สนใจ
สัญลักษณ์
ข้อมูลต่าง ๆ
ตัวเลข
การทดสอบ (Test) หมายถึง เป็นเทคนิคที่ใช้การวัดผลทางการศึกษาประเภทหนึ่ง โดยเครื่องมือที่ใช้ ในการวัดผลคือ “แบบทดสอบ”
การประเมินผล หมายถึง การตัดสินคุณค่าของสิ่งที่ได้ทำการวัดอย่างมีเหตุผล โดยเทียบกับเกณฑ์หรือมาตรฐานที่กำหนดเอาไว้
เมื่อเราจะใช้ข้อมูลเพื่อตัดสินใจใด ๆ เราย่อมต้องวัดผลก่อนแล้วกระบวนการ
ประเมินจะเกิดขึ้นต่อเนื่องจากการวัดในแง่ของการตัดสินคุณค่าของสิ่งเหล่านั้น
ความสัมพันธ์ระหว่างการวัดและประเมินผลกับกระบวนการเรียนการสอน
ในการจัดการศึกษาเป้าหมายสูงสุดคือ ให้ผู้เรียนบรรลุตามจุดประสงค์การเรียนรู้ที่กำหนดเอาไว้ ครูมีหน้าที่ในการให้ความรู้แก่ผู้เรียน จัดกิจกรรมการเรียนการสอนเพื่อให้บรรลุตามเป้าหมายที่วางเอาไว้
องค์ประกอบสำคัญในการจัดการกิจกรรมการเรียนการสอน
จุดประสงค์การเรียนรู้ (LearningObjectives)
กิจกรรมการเรียนการสอน (Learning Experience)
การวัดและประเมินผล (Evaluation)
การประเมิน
การประเมินแบบ Assessment หมายถึง กระบวนการในการรวบรวมข้อมูลสารสนเทศที่เกี่ยวข้องกับผู้เรียนอย่างเป็นระบบ เพื่อสะท้อนให้เห็นความสามารถที่แท้จริงของผู้เรียนทั้งจุดเด่นที่ควรส่งเสริม และจุดด้อยที่ต้องปรับปรุงแก้ไข
การประเมินจะพิจารณาจาก
เน้นการเรียนรู้ตามสภาพจริง
ไม่มุ่งเปรียบเทียบกับพัฒนาการของนักเรียนคนอื่น ๆ
พัฒนาการของผู้เรียน
การตัดสินได้-ตก
การประเมินแบบ Evaluation หมายถึง การตัดสินผู้เรียนจากพฤติกรรมทางการศึกษาได้วัดได้โดยเทียบการประเมินแบบ Evaluation หมายถึง การตัดสินผู้เรียนจากพฤติกรรมทาง
การศึกษาได้วัดได้โดยเทียบในระดับใด
จุดมุ่งหมายของการวัดผลการศึกษา
จุดมุ่งหมายของการวัดและประเมินผลทางการศึกษาไม่ได้มีเพื่อการตัดสินผู้เรียนว่าสอบได้หรือสอบตก หรือใครอ่อนหรือเก่งกว่าใคร แต่ผลที่ได้จากการวัดและประเมินผลการศึกษาควรจะนำไปใช้ให้เกิดประโยชน์ในการจัดการเรียนการสอน ดังนี้
4.1 ค้นหาและพัฒนาสมรรถภาพของผู้เรียน
เป็นการวัดและประเมินผลการศึกษาเพื่อพิจารณาว่านักเรียนไม่เข้าใจเรื่องใด นักเรียนมีความรู้มากน้อยแค่ไหน แล้วพยายามอบรมสั่งสอนนักเรียนให้เกิดการเรียนรู้และมีความเจริญงอกงามตามศักยภาพของนักเรียน
4.2 วินิจฉัย (Diagnosis)
เป็นการวัดและประเมินผลการศึกษาเพื่อค้นหาจุดบกพร่องของนักเรียนที่มีปัญหาว่า
ยังไม่เกิดการเรียนรู้ในจุดใด เพื่อหาทางช่วยเหลือนักเรียนและสอนซ่อมเสริมนักเรียนได้
4.3 จัดอันดับหรือตำแหน่ง (Placement)
การวัดและประเมินผลการศึกษาเพื่อจัดอันดับความสามารถ
ของผู้เรียนในกลุ่มเดียวกันว่าใครเก่งใครอ่อน ผ่าน-ไม่ผ่าน
4.4 เปรียบเทียบหรือทำให้ทราบพัฒนาการของผู้เรียน (Assessment)
เป็นการวัดและประเมินผลการศึกษาเพื่อการเปรียบเทียบเพื่อให้ทราบความสามารถของตัวนักเรียนเอง(ไม่เปรียบเทียบกับคนอื่น)
การทดสอบก่อนเรียน
การทดสอบหลังเรียน
4.5 พยากรณ์ (Prediction)
เป็นการวัดและประเมินผลการศึกษาเพื่อนำผลไปคาดคะเนหรือทำนายอนาคตของผู้เรียน
แบบทดสอบความถนัด
แบบทดสอบวัดเชาว์ปัญญา
4.6 ประเมิน (Evaluation)
เป็นการวัดและประเมินผลการศึกษาเพื่อตัดสินใจสรุปคุณภาพของการจัดการจัดการศึกษา ควรปรับปรุงหลักสูตรหรือไม่ ฯลฯ
มาตรการวัด
ข้อมูลที่ได้จากการวัดทางการศึกษาจำเป็นต้องมีการจัดกระทำและนำมาเปรียบเทียบกับเกณฑ์เพื่อประเมินหรือตัดสินคุณค่า ซึ่งมาตรการวัดแบ่งออกเป็น 4 ระดับ ดังนี้
6.2 มาตราเรียงอันดับ(Ordinal Scale)
เป็นระดับที่สูงกว่านามบัญญัติ เป็นการกำหนดตัวเลขเพื่อชี้ถึงลำดับตัวเลขในมาตราการวัดระดับนี้ เป็นตัวเลขที่บอกความหมายในลักษณะ
เก่ง - อ่อน กว่ากัน
สูง - ต่ำ กว่ากัน
มาก - น้อย กว่ากัน
6.3 มาตราอันตรภาค(Interval Scale)
มีคุณสมบัติเพิ่มขึ้นอีก 2 ประการคือ มีศูนย์สมมติ
(ศูนย์มีความหมายไม่แท้) และมีหน่วยของการวัดที่เท่ากัน สามารถบ่งบอกถึงปริมาณความแตกต่างได้
คะแนนสอบ
อุณหภูมิ 0 องศา กับ 10 องศา มีความหนาวแตกต่างกันอยู่ 10 ช่วงเท่า ๆ กัน
6.1 มาตรานามบัญญัติ(Nominal scale)
เป็นระดับการวัดที่ต่ำที่สุด เป็นระดับที่ใช้จำแนกความแตกต่างของสิ่งที่ต้องการวัดออกเป็นกลุ่ม ๆ
อายุ
สถานภาพ
เพศ
6.4 มาตราอัตราส่วน(Ratio Scale)
เป็นระดับที่สูงที่สุด มีความสมบูรณ์มากกว่าอัตราภาค เนื่องจาก
มีศูนย์แท้ การวัดในระดับนี้ส่วนใหญ่จะเป็นการวัดทางวิทยาศาสตร์
น้ำหนัก
ส่วนสูง
จำนวนแบคทีเรีย
จำนวนผู้ป่วย