Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
กฏหมายครอบครัว และ กฏหมายทะเบียนราษฏร - Coggle Diagram
กฏหมายครอบครัว และ กฏหมายทะเบียนราษฏร
กฎหมายครอบครัว
การหมั้น
เงื่อนไขสำคัญ
1.การหมั้นจะทำได้ต่อเมื่อฝ่ายชายและฝ่ายหญิงมีอายุ 17 ปีบริบูรณ์ (มาตรา 1435) หากฝ่าฝืน การหมั้นนั้นตกเป็นโมฆะ
(มาตรา 1435 วรรค 2)
2.ถ้าฝ่ายชายและฝ่ายหญิง เป็นผู้บรรลุนิติภาวะ อายุครบ 20 ปีบริบูรณ์ สามารถทำการหมั้นได้ด้วยตนเอง ถ้าฝ่ายหนึ่งฝ่ายใดหรือทั้งสองฝ่าย ยังไม่บรรลุนิติภาวะ จะต้องได้รับคำยินยอมจากบิดาและมารดาหรือผู้ปกครองของทั้งสองฝ่ายด้วย
3.ไม่สามารถหมั้นกับคนวิกลจริต หรือคนที่ถูกศาลสั่งให้เป็นคนไร้ความสามารถได้
4..ไม่สามารถหมั้นกับบุคคลผู้เป็นบุพการีได้
5.ไม่สามารถหมั้นกับบุคคลที่มีคู่สมรสอยู่แล้ว
6.บุคคลที่เป็นพี่น้องร่วมบิดามารดาเดียวกัน หรือร่วมแต่มารดา หรือบิดาเพียงอย่างเดียว ไม่สามารถหมั้นกันได้
7.บุคคลที่จะให้ความยินยอมแก่ผู้เยาว์ในการทำการหมั้นได้แก่ บิดา และมารดา
การผิดสัญญาหมั้น
ถ้าฝ่ายชายหรือฝ่ายหญิงคู่หมั้น ไม่ยอมทำการสมรสกับคู่หมั้นของตนโดยไม่มีมูลเหตุอันจะอ้างกฎหมายได้
ถือว่าคู่หมั้นฝ่ายนั้นผิดสัญญาหมั้น
เป็นสัญญาอย่างหนึ่งที่ทั้ง 2 ฝ่าย ตกลงกันว่า ชายและหญิงคู่หมั้น จะทำการสมรสกันในอนาคต แต่ไม่สามารถเอาสัญญาหมั้นมาฟ้องร้องบังคับคดีให้อีกฝ่ายหนึ่งทำการสมรสได้
การสมรส
ความสัมพันธ์ระหว่างคู่สมรส
1.หากสามีข่มขืนกระทำชำเราภรรยา ภรรยาจะฟ้องคดีความผิดฐานข่มขืนไม่ได้
2.การที่ภรรยาปฏิเสธไม่ยอมให้สามีร่วมประเวณีด้วย อาจเป็นการกระทำอันเป็นปฏิปักษ์ต่อการเป็นสามีภรรยา เป็นเหตุให้สามีฟ้องหย่าได้ (มาตรา 1516 (6))
3.ถ้าฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งไม่ยอมอยู่กินด้วยกันฉันสามีภรรยา จงใจละทิ้งอีกฝ่ายหนึ่งไป เกิน 1 ปี เป็นเหตุหย่าได้ (มาตรา 1516 (4))
1.การสมรสจะทำได้ต่อเมื่อชายและหญิงมีอายุ 17 ปีบริบูรณ์(มาตรา 1448)
2.การสมรสจะต้องเป็นการกระทำโดยสมัครใจของทั้ง 2 ฝ่ายหากไม่สมัครใจในการสมรส การสมรสนั้นจะเป็นโมฆะ
3.การสมรสจะกระทำไม่ได้ ถ้าฝ่ายชายหรือฝ่ายหญิงเป็นบุคคลวิกลจริตหรือคนที่ถูกศาลสั่งให้เป็นคนไร้ความสามารถ(มาตรา 1449) หากฝ่าฝืนการสมรสนั้นตกเป็นโมฆะ (มาตรา 1495)
4.ชายและหญิงซึ่งเป็นญาติสืบสายโลหิตโดยตรง เป็นพี่น้องร่วมบิดามารดา หรือร่วมแต่บิดาหรือมารดา จะทำการสมรสกันไม่ได้ (มาตรา 1450) หากฝ่าฝืน การสมรสนั้นตกเป็นโมฆะ (มาตรา 1495)
5.ชายหรือหญิงจะทำการสมรสในขณะที่ตนมีคู่สมรสอยู่ไม่ได้(มาตรา 1452)หากฝ่าฝืนการสมรสนั้นตกเป็นโมฆะ(มาตรา 1495)
6.หญิงที่สามีเสียชีวิตจะทำการสมรสใหม่ได้ต่อเมื่อ สิ้นสุดการสมรสไปแล้วไม่น้อยกว่า 310 วัน(มาตรา 1453)
7.ผู้รับบุตรบุญธรรมและบุตรบุญธรรมจะสมรสกันไม่ได้ (มาตรา 1451)
8.การสมรสจะทำได้ต่อเมื่อ ชายหญิงยินยอมเป็นสามีภรรยากันและต้องแสดงการยินยอมนั้นให้เปิดเผยต่อหน้านายทะเบียน(มาตรา 1458)
9.ผู้เยาว์จะทำการสมรสได้ ต่อเมื่อได้รับความยินยอมจากบิดามารดาหรือผู้ปกครอง(มาตรา 1454)หากฝ่าฝืนการสมรสนั้นตกเป็นโมฆียะ (มาตรา 1509)
กฏหมายทะเบียนราษฏร
กฎหมายที่ว่าด้วยงานทะเบียนต่าง ๆ ที่เกี่ยวกับราษฎร อันได้แก่ การแจ้งเกิด การแจ้งตาย การแจ้งการย้ายที่อยู่ การทำบัตรประจำตัวประชาชน รวมถึงการสำรวจ ตรวจสอบหรือ ปรับปรุงการทะเบียนราษฎร และการจัดทำทะเบียนประวัติราษฎร
การแจ้งเกิด
แจ้งเกิด
คนเกิดในบ้าน ให้เจ้าบ้านหรือบิดามารดาแจ้งต่อนายทะเบียนผู้รับแจ้งแห่งท้องที่เกิดภายใน 15 วัน นับตั้งแต่วันเกิด
คนเกิดนอกบ้าน ให้บิดามารดาแจ้งต่อนายทะเบียนผู้รับแจ้งแห่งท้องที่ที่เกิดหรือท้องที่ที่พึงแจ้งได้ภายใน 15 วัน นับตั้งแต่วันเกิด ในกรณีไม่อาจแจ้งได้ตามกำหนด ให้แจ้งภายหลังได้ในไม่เกิน 30 วัน นับแต่วันเกิด กรณีคนที่เกิดที่โรงพยาบาลเจ้าหน้าที่อาจบริการแจ้งเกิดให้หรือบางแห่งมีสำนักงานทะเบียนอยู่ที่โรงพยาบาลเพื่อบริการรับแจ้งเกิด
สถานที่แจ้งเกิด ในเขตเทศบาลแจ้งที่สำนักงานทะเบียนท้องถิ่น ณ สำนักงานเทศบาล นอกเขตเทศบาลแจ้งที่สำนักงานทะเบียนตำบล หรือบ้านกำนัล หรือบ้านผู้ใหญ่บ้าน ในกรุงเทพมหานคร แจ้งที่สำนักงานทะเบียนท้องถิ่น ณ สำนักงานเขต
การไปแจ้งเกิดกรณีเกิดในบ้าน เจ้าบ้านหรือผู้ที่ได้รับมอบหมายที่บรรลุนิติภาวะไปแจ้งแทนได้และ ต้องนำสำเนาทะเบียนบ้านไปด้วย เมื่อนายทะเบียนรับแจ้งแล้วจะมอบสูติบัตรให้แก่ผู้แจ้งเป็นหลักฐาน
สูติบัตร เป็นเอกสารสำคัญทางราชการ แสดงการเกิดของบุคคล แสดงถึงชื่อตัว ชื่อสกุล สัญชาติ วัน เดือน ปี เกิด ซึ่งตัวชื่อสกุลบิดามารดา สัญชาติบิดามารดา เป็นหลักฐานแสดงเกือบทุกโอกาสเท่าที่มีชีวิตอยู่
การแจ้งตาย
สถานที่แจ้งตาย ในเขตเทศบาลแจ้งที่สำนักงานทะเบียนท้องถิ่นซึ่งตั้งอยู่ นอกเขตเทศบาลแจ้งที่สำนักทะเบียน
ตำบล ได้แก่ บ้านกำนันหรือบ้านผู้ใหญ่บ้าน ในกรุงเทพมหานครแจ้งที่สำนักงานทะเบียนท้องถิ่น ณ สำนักทะเบียนท้องถิ่น สำนักงานเขต
มรณบัตร เป็นเอกสารสำคัญของราชการ แสดงรายละเอียดการตายของบุคคล
การแจ้งตาย
คนตายในบ้าน เจ้าบ้านหรือผู้ที่ได้รับมอบหมายแจ้งต่อนายทะเบียนผู้รับแจ้งแห่งท้องที่ที่มีคนตายภายใน 24ชั่วโมง นับแต่เวลาตาย หรือไม่มีเจ้าบ้านให้ผู้พบศพเป็นผู้แจ้งภายใน 24 ชั่วโมง นับแต่เวลาตาย
คนตายนอกบ้าน ให้ผู้พบศพแจ้งต่อนายทะเบียนท้องที่ที่ตายหรือพบศพภายใน 24 ชั่วโมง นับแต่พบศพ หรือแจ้งต่อพนักงานปกครองหรือตำรวจก็ได้
การย้ายที่อยู่
การย้ายออก ในกรณีบุคคลย้ายออกจากบ้านใด ให้เจ้าบ้านหรือผู้แทนที่จะต้องแจ้งย้ายเข้าที่อยู่ต้องแจ้งต่อนายทะเบียนผู้มีหน้าที่รับแจ้ง ภายในเวลา 15 วันนับตั้งแต่วันย้ายออก ถ้าเจ้าบ้านไม่แจ้งในกำหนดเวลา มีความผิด ต้องระวางโทษปรับไม่เกิน 1,000 บาท
การย้ายเข้า ในกรณีที่บุคคลย้ายเข้าในบ้านใด ให้เจ้าบ้านหรือผู้แทนจะต้องย้ายเข้าที่อยู่ภายในเวลา 15 วันนับตั้งแต่วันย้ายเข้า ถ้าเจ้าบ้านไม่แจ้งภายในกำหนดเวลา มีความผิด ต้องระวางโทษปรับไม่เกิน 1,000 บาท การแจ้งย้ายเข้า เจ้าบ้านจะต้องนำหลักฐานการย้ายออกของผู้นั้นไปแสดงต่อนายทะเบียนผู้รับแจ้ง