Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
สิ่งที่ได้เรียนรู้ในสัปดาห์ที่10 - Coggle Diagram
สิ่งที่ได้เรียนรู้ในสัปดาห์ที่10
นายปัญญา นิรันดร์กุล
ประวัติ
ปัญญา กิตินิรันดร์กุล ก่อนจะตัดคำว่า กิติออก
ปัญญา นิรันดร์กุล
วันที่ 24 มีนาคม พ.ศ. 2497 ในครอบครัวชาวไทยเชื้อสายจีน
ปัญญา นิรันดร์กุล สมรสกับ วาสนา นิรันดร์กุล มีบุตร-ธิดา รวม 4 คน
การศึกษา
คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย (พ.ศ. 2520)
ปริญญาดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ สาขาวิทยุกระจายเสียงและวิทยุโทรทัศน์คณะนิเทศศาสตร์
มหาวิทยาลัยศรีปทุม (6 พฤศจิกายน พ.ศ. 2548)
ปริญญาดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ คณะนิเทศศาสตร์มหาวิทยาลัยมหาสารคาม (22 ธันวาคม พ.ศ. 2553)
การทำงาน
ในปีพ.ศ. 2532 ร่วมกับ ประภาส ชลศรานนท์นักคิด นักเขียนที่มีผลงานมากมายทางด้านเพลง หนังสือ และโทรทัศน์ ก่อตั้ง “บริษัท เวิร์คพอยท์ เอ็นเทอร์เทนเมนท์ จ ากัด” (อังกฤษ: Work Point Entertainment Co., Ltd.) เพื่อผลิตรายการโทรทัศน์และละครโทรทัศน์โดยรายการแรกของบริษัท คือ “เวทีทอง” และ ในปีต่อมา คือ “รายการชิงร้อย ชิงล้าน”
ขยายมาสู่ธุรกิจโทรทัศน์ดาวเทียม ในชื่อ “เวิร์คพอยท์ทีวี”
ช่อง “เวิร์คพอยท์” ออกอากาศอย่าง
เป็นทางการ ในวันที่ 25 เมษายน พ.ศ. 2557
ออกอากาศได้เพียง 6 เดือน เรตติ้งของช่องพุ่งขึ้นเป็นอันดับ 3
ของประเทศ นับรวมทั้งช่องดิจิตอลทีวี และช่องแอนะล็อก และเป็นอันดับ 1 ของทีวีดิจิตอล
ข้อคิดการทำงาน
ประธานบริษัทต้องรู้ทุกเรื่อง มีความรับผิดชอบ
ทำงานที่ชอบ จะทำให้มีความสุขกับการทำงาน
ว่ากล่าว ตักเตือนเมื่อทำงานผิดพลาด
เซอร์ อเล็กซ์เฟอร์กูสัน
ประวัติ
เกิดเมื่อวันที่ 31 ธันวาคม พ.ศ. 2484
เฟอร์กูสัน ปัจจุบัน อาศัยอยู่ที่ เชียสเชียร์ กับภรรยา แคธี เฟอร์กูสัน ซึ่งทั้งคู่แต่งงานกันเมื่อปี 1966
ลูกชายด้วยกัน 3 คน ได้แก่ มาร์ค (เกิดปี 1968) และลูกฝาแฝด ดาร์เรน ซึ่งตอนนี้ เป็นผู้จัดการทีม ปีเตอร์ โบโร่ ในศึกแชมเปียนชิพ และ เจสัน (เกิดเมื่อปี 1972)
การทำงาน
เคยเป็นผู้จัดการทีมสโมสรฟุตบอลแมนเชสเตอร์ยูไนเต็ด ซึ่งปฏิบัติหน้าที่มายาวนานที่สุด และนำทีมชนะเลิศรายการแข่งขันมากที่สุดในประวัติศาสตร์ยุคใหม่ของสโมสร
สมเด็จพระราชินีนาถเอลิซาเบธที่สอง แห่งสหราชอาณาจักร ก็ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งให้เขาเป็นอัศวินแห่งอังกฤษ นับเป็นชาวสกอตเพียงไม่กี่คนที่ได้รับเกียรติอย่างสูงเช่น
พาทีมชนะเลิศเอฟเอคัพ เมื่อปี พ.ศ. 2533 (ค.ศ. 1990) เป็นรายการแรก และหลังจากนั้นก็ชนะเลิศรายการนี้อีก 4 สมัย (รวมเป็น 5 สมัย) รวมทั้งการชนะเลิศเอฟเอพรีเมียร์ลีก 13 สมัย และชนะเลิศยูฟ่าแชมเปียนส์ลีก 2 สมัย
ข้อคิดการทำงาน
“อย่ากลัวการตัดสินใจ”
“สิ่งที่จะท าตลอดเวลา คือ การเตรียมความพร้อม”
พัฒนาคนรุ่นใหม่ เพื่อมาชดเชยคนรุ่นเก่า
สรุปกลุ่ม6 นวัตกรรมการบริหารมืออาชีพ
การบริหารเชิงกลยุทธ์
กระบวนการในการจัดทำกลยุทธ์ และการปฏิบัติตามกลยุทธ์ที่กำหนดอย่างเหมาะสม เพื่อให้บรรลุวัตถุประสงค์ขององค์การ
กระบวนการจัดการเชิงกลยุทธ์ 4 ขั้นตอน
กำหนดวิสัยทัศน์ ภารกิจ เป้าหมาย และค่านิยม
การกำหนดกลยุทธ์ขององค์การ (Formulate the organizational strategy)
การปฏิบัติตามกลยุทธ์ (Implement the strategy)
การรักษา การควบคุมกลยุทธ์ (Maintain strategic control)
ประโยชน์ของการจัดการเชิงกลยุทธ์
กำหนดทิศทางขององค์การ (Set Direction) ช่วยให้ผู้บริหารเกิดความเข้าใจต่อการเปลี่ยนแปลง
สร้างความสอดคล้องในการปฏิบัติ (Harmony) แนวคิดนี้ก่อให้เกิดวิสัยทัศน์และความเข้าใจร่วมกันในวัตถุประสงค์และแนวทางการดำเนินงาน
สร้างความพร้อมให้แก่องค์การ (Provide Readiness) ช่วยให้ผู้บริหารและสมาชิกขององค์การเกิดความเข้าใจในภาพรวมและศักยภาพของธุรกิจ ตลอดจนอิทธิพลของปัจจัยแวดล้อมที่มีต่อองค์การ
สร้างประสิทธิภาพในการแข่งขัน (Improve Competitive Efficiency) การจัดการเชิงกลยุทธ์ช่วยทำให้สามารถจัดลำดับความสำคัญในการดำเนินงานและเป้าหมายอย่างเหมาะสม
การวางแผนกลยุทธ์
การวางแผนกลยุทธ์ หมายถึง พฤติกรรมของบุคคลที่ต้องการปฏิบัติงานให้เป็นผลสำเร็จตามเป้าหมายของหน่วยงานและของตนเองในสภาพแวดล้อมที่ท้าทาย และความจำเป็นต้องปรับกลยุทธ์การดำเนินงานให้สอดคล้องกับผู้อื่น
จุดมุ่งหมายของการวางแผนกลยุทธ์
1.แผนกลยุทธ์จะเป็นสื่อแสดงให้เห็นภาพ ชนิด และประเภทขององค์การ จากวัตถุประสงค์และนโยบายที่กำหนดไว้
2.แผนกลยุทธ์จะเป็นสิ่งแสดงทิศทางร่วมกัน และเป็นแนวทางการใช้ทรัพยากรร่วมกันขององค์การ
3.แผนกลยุทธ์จะเป็นกรอบความคิดในการปฏิบัติงานขององค์การ เพื่อให้บรรลุวัตถุประสงค์ที่ได้กำหนดไว้
การจัดการความรู้
มีทั้งหมด 7 ขั้นตอน
การบ่งชี้ความรู้ (Knowledge Identification)
การสร้างและแสวงหาความรู้ (Knowledge Creation and Acquisition)
การจัดความรู้ให้เป็นระบบ (Knowledge Organization)
การประมวลและกลั่นกรองความรู้ (Knowledge Codification and Refinement)
การเข้าถึงความรู้ (Knowledge Access)
การแบ่งปันแลกเปลี่ยนความรู้ (Knowledge Sharing)
การเรียนรู้ (Learning)
ที่มาและความสำคัญของการจัดการความรู้ในองค์กรการจัดการความรู้ในองค์กร (Knowledge Management หรือ KM) เป็นกระบวนการรวบรวมองค์ความรู้ที่มีอยู่ในองค์กร ซึ่งกระจัดกระจายอยู่ในตัวบุคคลหรือเอกสาร มาพัฒนาให้เป็นระบบ เพื่อให้บุคลากรทุกคน สามารถเข้าถึงความรู้ พัฒนาตนเองให้เป็นผู้รู้ และนำความรู้ไปใช้ในการปฏิบัติงานและพัฒนางานได้อย่างมีประสิทธิภาพ
โมเดลจัดการความรู้
“โมเดลปลาทู”
ส่วน “หัวปลา” (Knowledge Vision- KV) หมายถึง ส่วนที่เป็นเป้าหมาย วิสัยทัศน์ หรือทิศทางของการจัดการความรู้
ส่วน “ตัวปลา” (Knowledge Sharing-KS) เป็นส่วนของการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ซึ่งถือว่าเป็นส่วนสำคัญ ซึ่ง “คุณอำนวย” จะมีบทบาทมากในการช่วยกระตุ้นให้ “คุณกิจ” มีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ความรู้
ส่วน “หางปลา” (Knowledge Assets-KA) เป็นส่วนของ “คลังความรู้” หรือ “ขุมความรู้” ที่ได้จากการเก็บสะสม “เกร็ดความรู้” ที่ได้จากกระบวนการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ “ตัวปลา”
โมเดลเซกิ
เริ่มจากการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ (Socialization)
การสกัดความรู้ออกจากตัวคน (Externalization)
การควบรวมความรู้ (Combination)
การผนึกฝังความรู้ (Internalization)