Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
เครื่องมือ 7 ชิ้นการศึกษาชุมชน - Coggle Diagram
เครื่องมือ 7 ชิ้นการศึกษาชุมชน
แผนที่เดินดิน (Geo – Social mapping) :คือการเดินสำรวจชุมชน โดยมีการทำแผนที่ทางภูมิศาสตร์ และ
แผนที่ทางสังคมไปพร้อมกัน ซึ่งทำให้แก้ปัญหาที่พบบ่อยในการทำงานที่เกี่ยวกับพื้นที่ได้
ประโยชน์ของเครื่องมือแผนที่เดินดิน
ทำให้เห็นภาพรวมของชุมชนได้อย่างครบถ้วนที่สุด
ได้ข้อมูลเดี่ยวกับสภาพความเป็นอยู่จำนวนมากในระยะเวลาที่สั้นที่สุด
ข้อมูลมีความน่าเชื่อถือมากที่สุด เพราะได้มาจากการสังเกตด้วยตนเอง
ทำให้เห็นกลุ่มเป้าหมายที่จะทำงานต่อได้อย่างครอบ
คลุมทั่วถึง
ช่วยในการเริ่มต้นความสัมพันธ์และสร้างความคุ้นเคยกับ สมาชิกใน ชุมชนได้เป็นอย่างดี
หลักการสำคัญของแผนที่เดินดิน
พื้นที่ทางกายภาพกับพื้นที่ทางสังคม: ทำให้ได้เห็นและเข้าใจพื้นที่ทางสังคม (Social space) ที่ซ้อนทับอยู่กับพื้นที่ทางกายภาพ (Physical space)
ไม่ใช่แค่แผนที่ แต่เป็นระบบการจัดการข้อมูลพื้นที่:เป็นการนำเอาข้อมูลทางสังคมอื่นๆ มาเชื่อมโยงกับพื้นที่ทางกายภาพทeให้แผนที่เดินดินกลายเป็นเครื่องมือในการจัดการข้อมูลต่างๆ โดยการนำมาบันทึกซ้อนลงไปในแผนที่ทางกายภาพ
ขั้นตอนการทำแผนที่เดินดิน
ผังเครือญาติ (Genogram): เป็นเครื่องมือหนึ่งในการถอดความ สัมพันธ์ของระบบ เครือญาติในชุมชนที่เกิดขึ้นของคนในชุมชนทั้งโดยสายเลือดและจากการแต่งงาน เพื่อให้รู้จักเครือข่ายทางสังคม (Social Network)
ประโยชน์ของเครื่องมือผังเครือญาติ
ช่วยให้เข้าใจโครงสร้างความสัมพันธ์เชิงเครือญาติ
ทำให้ความรู้และข้อมูลเกี่ยวกับความสัมพันธ์เครือญาติ
ผังเครือญาติสามารถใช้เพื่อการวิเคราะห์ความสัมพันธ์ต่างๆ ทั้งเกี่ยวกับพฤติกรรมสุขภาพ และโรคทางพันธุกรรม รวมทั้งสามารถวิเคราะห์เกี่ยวกับเครือข่ายทางเศรษฐกิจ สังคมและการเมืองทั้งในระดับท้องถิ่นหรือระดับชาติ
ช่วยสร้างความสัมพันธ์อันดีและความสนิทสนมคุ้นเคยระหว่างเจ้าหน้าที่กับคนในชุมชนได้อย่างรวดเร็ว
หลักการสำคัญของผังเครือญาติ
การทำผังเครือญาติต้องครอบคลุมความสัมพันธ์ทั้งทางสาย
เลือดและทางสังคม
เครือญาติเกี่ยวพันอย่างใกล้ชิดกับการ นับญาติ
การนับญาติและแบบแผนการพำนักอาศัยในการแต่งงานนี้ มีส่วนสำคัญในการกำหนดอำนาจในครอบครัว
การทำผังเครือญาติอาจไล่ได้หลายชั่วรุ่น บางคนแนะนำให้ถอดผังเครือญาติเพียง 3 ชั่วรุ่น(Generation)
นอกจากการสัมภาษณ์หรือสอบถามเพื่อบันทึกข้อมูลเครือ
ญาติลงในผังเครือญาติแล้ว ยังต้องตามไปรู้จักตัวบุคคลด้วย ซึ่งเป็นประโยชน์อย่างยิ่งต่อการทำงาน
โครงสร้างองค์กรชุมชน (Community Organizations): เป็นเครื่องมือหนึ่งในการศึกษาความสัมพันธ์ทางสังคมของชาวบ้านในแง่มุมต่างๆทั้งโครงสร้าง ด้านเศรษฐกิจ การเมือง สังคม วัฒนธรรมของชุมชนด้วยการศึกษาสถาบัน องค์กรกลุ่มต่างๆ ทั้งที่เป็นทางการและไม่เป็นทางการเพื่อทราบถึงความสัมพันธ์เชิงสถานภาพบทบาท หน้าที่และอำนาจระหว่างองค์กรภายในชุมชน
ประโยชน์ของเครื่องมือโครงสร้างองค์กรชุมชน
การรู้จักและเข้าใจโครงสร้างองค์กรชุมชนที่เป็นทางการและ
ไม่เป็นทางการ ช่วยให้เห็นได้ชัดเจนถึงมิติความสัมพันธ์ในชุมชน
ศักยภาพของชุมชนอยู่ที่การรวมตัวเป็นกลุ่มหรือ เครือข่าย องค์กรชุมชนจึงเป็น “ทุนทางสังคม” ที่สำคัญทั้งในการแก้ปัญหาและการสร้างชุมชนที่เข้มแข็ง เช่น ผู้นำไม่เป็นทางการ องค์กรธรรมชาติ
วิธีการทำโครงสร้างองค์กรชุมชน
เริ่มจากผู้นำที่มีบทบาทสำคัญในชุมชน (ทางการ/ไม่เป็นทางการ ) เขียนเส้นแสดงความสัมพันธ์ระหว่างผู้นำกับบุคคลทีมีความสัมพันธ์/ บทบาทที่เกี่ยวข้องใกล้ชิด
เขียนเส้นแสดงความสัมพันธ์ของคนทุกคนที่อยู่ในแวดวงของผู้
นำในลักษณะเดียวกัน
ทำเช่นเดียวกับผู้นำหรือบุคคลอื่นๆ ที่มีความสำคัญในชุมชน เช่นผู้นำด้านศาสนา พิธีกรรมความเชื่อ
นำเครือข่ายของบุคคลต่างๆ มาโยงกัน เป็นผังโครงสร้างองค์กรชุมชน
ประวัติศาสตร์ชุมชน (Local History):เป็นเครื่องมือในการศึกษาเรื่องราวความเป็นมาประวัติ ศาสตร์ของชุมชนในมิติเศรษฐกิจสังคม
วัฒนธรรมการเมืองการปกครองตั้งแต่อดีตจนถึง ปัจจุบันตลอดจนการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นในช่วงต่างๆ ที่ส่งผลกระทบต่อวิถีชุมชนการใช้เครื่องมือประวัติ ศาสตร์ชุมชนจะ ช่วยให้ผู้ศึกษาเห็นภาพรวมและประวัติความเป็นมา ของชุมชน ชัดเจนขึ้น
ประโยชน์ของ
ประวัติศาสตร์ชุมชน
ทำให้ทราบถึงที่มาที่ไปของปรากฏการณ์ ปัญหาและผลกระทบต่างๆที่เกิดขึ้นในชุมชนแต่ละช่วงเวลา
ทำให้ทราบพัฒนาการร่วมกันของชุมชนที่มีส่วนในการกำหนด
ความรู้สึกนึกคิดของชาวบ้านได้
ทำให้เข้าใจความสัมพันธ์ของสิ่งต่างๆใน
ชุมชน
วิธีการทำประวัติศาสตร์ชุมชน
สืบค้นรวบรวบประวัติความเป็นมาของชุมชน ผู้ก่อตั้ง การขยายตัวของชุมชนแต่ละช่วงพิธีกรรมที่ความสำคัญๆ ในอดีตเป็นอย่างไร
สืบค้นรวบรวมข้อมูลเหตุการณ์ร่วมที่สำคัญๆ ในชุมชนที่ผ่านมา
ประวัติชีวิต (Life Story) :การสัมภาษณ์และถอดบทเรียนจากประวัติชีวิตของบุคคลที่มี ความสำคัญต่อการเปลี่ยนแปลงต่างๆ ในชุมชน จะทำให้ผู้ศึกษาเข้าใจสาเหตุและปัจจัยที่ส่งผลต่อสภาพการเปลี่ยน แปลงของชุมชนมากขึ้น โดยมักเขียนในลักษณะ Timeline อธิบายปัญญาปฏิบัติของคนสำคัญในชุมชน
ประโยชน์ของประวัติชีวิต
เห็นว่าค่านิยมและวัฒนธรรมท้องถิ่นซึ่งเป็นเรื่องนามธรรม นั้นมีรูปธรรมการแสดงออกเป็นอย่างไร
สะท้อนความเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจสังคมและวัฒนธรรม ของชุมชนได้เป็นอย่างดี
เห็นถึงศักยภาพและทุนมนุษย์ที่มีอยู่ในชุมชน
บอกแง่มุมต่างๆของชีวิตที่ถ่ายทอดผ่านเรื่องเล่าทำให้เราเข้าใจ
ตัวตน และชีวิตของคนนั้น ๆ
เรื่องราวของบุคคลที่ให้รายละเอียดเกี่ยวกับประสบการณ์ชีวิตที่ผ่านมา เป็นเรื่องราวที่มีมากกว่าข้อมูลหรือข้อเท็จจริง
ระบบสุขภาพชุมชน (Local Health Systems): การจัดทำแผนผังระบบสุขภาพชุมชนเป็นเครื่องมือ อีกชนิดที่ใช้ในการศึกษาชุมชนทำให้เห็นภาพรวมของ ระบบสุขภาพชุมชนอย่างเชื่อมโยงกับมิติของชุมชน รวมทั้งความหลาก หลายของวัฒนธรรมสุขภาพที่ดำเพื่อช่วยใน การวิเคราะห์ ปัญหา ศักยภาพ และทุนทางสังคมด้านสุขภาพของชุมชน
ประโยชน์ของเครื่องมือระบบสุขภาพชุมชน
ทำให้เห็น “โลกสุขภาพ” หรือเห็นภาพรวมของระบบสุขภาพชุมชนอย่างเชื่อมโยงกับมิติ ต่างๆ ของชุมชน
ทำให้เห็นความหลากหลายของวัฒนธรรมสุขภาพที่ดำรงอยู่ในชุมชน
ทำให้เข้าใจถึงวัฒนธรรมความเชื่อ วิธีปฏิบัติ และพฤติกรรมที่เกี่ยวข้องกับสุขภาพของท้องถิ่น
ทำให้เห็นปัญหา ศักยภาพ และทุนทางสังคมด้านสุขภาพของชุมชน
. เป็นเครื่องมือสำคัญในการทำให้ชุมชนเห็นคุณค่าของวัฒนธรรม
และภูมิปัญญาท้องถิ่นของตน
ปฏิทินชุมชน (Community Calendar):เป็นเครื่องมือหนึ่งในการเรียนรู้ วิถีชีวิตของชาว บ้านว่าในหนึ่งรอบปีกิจกรรมการผลิต วัฒนธรรมประเพณีในชุมชนมีอะไรบ้าง เกิดขึ้นอย่างไรเกี่ยวข้องกับวิถีชีวิตชาวบ้าน อย่างไร โดยมีเป้าหมายเพื่อช่วยสร้างความเข้าใจใน วิถีชีวิตชาวบ้านทั้งวงจร
หลักการสำคัญของปฏิทินชุมชน
จำแนกกิจกรรมชุมชนเพื่อทำเป็นปฏิทินด้านเศรษฐกิจ และด้านวัฒนธรรม
รวบรวมข้อมูลกิจกรรมเกี่ยวกับอาชีพ เพื่อทำปฏิทินเศรษฐกิจ
ประโยชน์ของปฏิทิน
เข้าใจแบบแผนกิจกรรมเหตุการณ์ของชุมชนที่เกิดขึ้นและสามารถเข้าไปมีส่วนร่วมอย่างเหมาะสม
เห็นถึงความสัมพันธ์ระหว่างกิจกรรมหรือเหตุการณ์ต่างๆที่เกิดขึ้นในชุมชน
สามารถวางแผนการทำงานกับชุมชนได้ดีขึ้นโดยเฉพาะเชิงรุก