Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
พยาธิสรีรภาพของระบบการหายใจ และความผิดปกติของการหายใจ, 1, 2, 4, 5, 9, 12,…
พยาธิสรีรภาพของระบบการหายใจ
และความผิดปกติของการหายใจ
การแลกเปลี่ยนก๊าซ (Gas exchange)
กระบวนการหายใจแบ่งได้ 4 ระดับ ดังนี้
การแลกเปลี่ยนก๊าซระดับปอด (Pulmonary gas exchange)
เป็นการแลกเปลี่ยนก๊าซระหว่างอากาศภายนอกและเลือดเพื่อรักษาระดับแรงดันย่อยของออกซิเจนและคาร์บอนไดออกไซด์ที่ละลายอยู่ในเลือดแดงให้เป็นปกติ
การแลกเปลี่ยนก๊าซระดับปอดจะเกิดขึ้นได้ปกติ มีองค์ประกอบดังนี้
Ventilation “V” (การระบายอากาศ)
การที่อากาศผ่านเข้าและออกโดยการ
หายใจเอาอากาศเข้าไปแลกเปลี่ยนก๊าซที่ถุงลม
Diffusion (การซึมผ่านของก๊าซ)
การที่ก๊าซออกซิเจนและคาร์บอนไดออกไซด์
ในถุงลมที่ปอดกับในเลือดซึมผ่าน
Perfusion “Q” (การไหลเวียนของเลือด)
การไหลเวียนของเลือดด าผ่านถุงลม
และรับก๊าซจากปอดไปยัง pulmonary vein สู่หัวใจด้านซ้าย
การแลกเปลี่ยนก๊าซระดับหลอดเลือดฝอย (Capillary gas exchange)
เป็นการแลกเปลี่ยนก๊าซระหว่างเลือดและเซลล์เนื้อเยื่อ โดยมีองค์ประกอบสำคัญคือ กลไกการขนส่งก๊าซในเลือดและการมีเลือดไปเลี้ยงเนื้อเยื่อต่างๆอย่างเพียงพอ
กลไกการขนส่งก๊าซในเลือด ขึ้นอยู่กับ
ปริมาณของเม็ดเลือดแดง หรือฮีโมโกลบินเนื่องจาก
ออกซิเจนจะจับกับฮีโมโกลบินเรียกว่า ออกซีฮีโมโกลบินและขนส่งออกซิเจนไปให้เซลล์ต่างๆ
หากมีภาวะซีด (anemia) จะทำให้เกิดภาวะพร่องออกซิเจนได้
การแลกเปลี่ยนก๊าซระดับเซลล์ (Cellular gas exchange)
เป็นการแลกเปลี่ยนก๊าซผ่านเข้าและออกจาก cell membrane
การแลกเปลี่ยนก๊าซระดับเซลล์ขนาดเล็ก (Subcellular gas exchange)
เป็นการแลกเปลี่ยนก๊าซเข้าและออกจากไมโตคอนเดรียรวมถึงการเมตาโบลิซึม ที่ใช้ออกซิเจนในเผาผลาญสารอาหารให้เป็นพลังงานและผลิตก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ออกมา
กายวิภาคระบบทางเดินหายใจ
โครงสร้างของระบบทางเดินหายใจแบ่งออกเป็น 2 ส่วน
ทางเดินหายใจส่วนบน (upper airway)
โพรงจมูก คอหอย
(phalynx) กล่องเสียง(larynx)
ทำหน้าที่
เป็นทางผ่านของอากาศสู่ทางเดินหายใจส่วนล่าง
ป้องกันสิ่งแปลกปลอมเข้าสู่ทางเดินหายใจส่วนล่าง
ปรับอุณหภูมิและกรองความชื้น
ทางเดินหายใจส่วนล่าง
(Lower airway)
หลอดลม(trachea) หลอดลมเล็ก(bronchi) หลอดลมฝอย (bronchiole)และถุงลม (alveoli)
ทำหน้าที่
เป็นทางผ่านอากาศเข้าสู่ถุงลม
สร้างน้ำเมือกดักจับสิ่งแปลกปลอม
สร้างสารเคลือบผิว(surfactant) ซึ่งบุอยู่บริเวณalveolar cells ของปอดเพื่อไม่ให้ถุงลมแฟบขณะหายใจออก
กลศาสตร์การหายใจ (Mechanic of respiration)
กลไกลการหายใจเข้า
กะบังลมจะเลื่อนต่ำลงกระดูกซี่โครงจะเลื่อนสูงขึ้น
ทำให้ปริมาตรช่องอกเพิ่มมากขึ้น
ความดันอากาศภายในบริเวณรอบๆปอดลดต่ำลงกว่าอากาศภายนอก
อากาศภายนอกจึงเคลื่อนที่เข้าสู่จมูก หลอดลม ไปยังถุงลมปอด
กลไกลการหายใจออก
กะบังลมจะเลื่อนสูงขึ้น
กระดูกซี่โครงจะเลื่อนต่ำลง
ทำให้ปริมาตรของช่องอกลดน้อยลง
ความดันอากาศในบริเวณรอบๆปอดสูงกว่าอากาศภายนอก
อากาศในถุงลมปอดจึงเคลื่อนที่จากถุงลมปอดสู่หลอดลม ออกทางจมูก
การหายใจ
คือ กระบวนการแลกเปลี่ยนก๊าซออกซิเจนและคาร์บอนไดออกไซด์ ระหว่างสิ่งแวดล้อมกับสิ่งมีชีวิตเพื่อใช้ในกระบวนการเมตาบอลิซึมของเซลล์เนื้อเยื่อ
การหายใจภายนอก (External respiration)
เป็นการทำงานของปอดโดยมีการแลกเปลี่ยนก๊าซออกซิเจนและคาร์บอนไดออกไซด์ระหว่างเลือดที่ไหลเวียนในปอดกับอากาศที่หายใจเข้าไป
การขนส่งก๊าซ (Transport mechanism)
เป็นการขนส่งก๊าซออกซิเจนจากปอดไปยังเซลล์เนื้อเยื่อและขนส่งก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์จากเซลล์เนื้อเยื่อไปขับถ่ายออกทางปอด
การหายใจภายใน (Internal respiration)
เป็นการแลกเปลี่ยนก๊าซที่
เกิดขึ้นที่เซลล์และเนื้อเยื่อ
ความจุของปอด
แบ่งเป็น 4 ส่วนคือ
Inspiratory capacity (IC)
คือความจุของปอดที่คิดเป็นปริมาตรของอากาศที่หายใจเข้าไปได้เต็มที่
Functional residual capacity (FRC)
คือความจุปอดที่คิดเป็นปริมาตรของอากาศ
คงเหลืออยู่ในปอดหลังจากหายใจออกตามปกต
Vital capacity (VC)
คือความจุของปอดที่คิดเป็นปริมาตรของอากาศหายใจออกเต็มที่หลังจากการหายใจเข้าเต็มที่
Total lung capacity (TLC)
คือความจุของปอดที่คิดเป็นปริมาตรของอากาศทั้งหมดเมื่อหายใจเข้าเต็มที่
การประเมินสมรรถภาพของระบบหายใจ
(Pulmonary function test)
การตรวจสมรรถภาพปอด
เป็นการตรวจที่สำคัญสำหรับการวินิจฉัย, ประเมินและติดตามผลการรักษาโรคระบบการหายใจ
เช่น โรคหืด, โรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง, โรคปอดจากการทำงาน
บอกถึงการเสื่อมของการทำงานของปอดก่อนที่อาการแสดงทางคลินิกจะเริ่มปรากฏ เนื่องจากปอดเป็นอวัยวะที่มีความสามารถสำรองสูง
การตรวจสไปโรเมตรีย์(Spirometry) เป็นการตรวจที่บ่งชี้ภาวะหลอดลมอุดกั้น เพื่อประเมินว่ามีภาวะโรคทางเดินหายใจ เช่น ถุงลมโป่งพองหรือโรคหืด
การประเมินสมรรถภาพการทำงานของปอด
(Pulmonary function test)
การประเมินสมรรถภาพของระบบการหายใจ
โดยใช้มาตรวัดปริมาตรอากาศหายใจเข้าและออก ที่ใช้บ่อย คือ
Functional residual volume
Tidal volume (TV)
Force expiratory volume (FEV)
FVC (Forced Vital Capacity)
คือปริมาตรของอากาศที่เป่าออกอย่างเร็ว แรงจนหมด หลังจากหายใจเข้าอย่างเต็มที่
คือปริมาตรของอากาศที่หายใจออกเต็มที่หลังจาก
หายใจเข้าเต็มที่ ในเวลา 1 วินาทีค่าประมาณ 4,000 cc
คือปริมาตรอากาศที่หายใจเข้าหรือออกแต่ละครั้ง มีค่าประมาณ 500 cc
คือปริมาตรของอากาศที่เหลืออยู่ในปอดหลังจาก
หายใจออก มีค่าปกติประมาณ 2,000-2500 cc
การประเมินก๊าซในหลอดเลือดแดง (Arterial blood gas)
คือ การวิเคราะห์เลือดและวัดแรงดันส่วนของก๊าซในเลือดแดงจะเป็นตัวบ่งชี้ว่าถุงลมปอดสามารถระบายอากาศและแลกเปลี่ยนกับเลือดได้พอเหมาะหรือไม่ ในภาวะร่างกายปกติ
การตรวจ Arterial blood gas ในผู้ป่วย
ผู้ป่วยหนักและรุนแรง ใน ICU
ผู้ป่วยในภาวะฉุกเฉิน
ผู้ป่วยที่ได้รับการรักษาด้วยออกซิเจน
ผู้ป่วยในระหว่างการดมยา
ผู้ป่วยภาวะหายใจล้มเหลว
ผู้ป่วยที่มีภาวะเสียสมดุลกรด ด่าง
Arterial blood gas
PaO2 (Oxygenation ค่า 80 - 100 มิลลิเมตรปรอท)
บอกปริมาณออกซิเจนในเม็ดเลือดแดง
< 80 mild hypoxemia
< 60 moderate hypoxemia
< 40 sever hypoxemia
SaO2 ( ค่า 98 – 100 %)
บอกออกซิเจนและความเข้มข้นของออกซิเจนในเม็ดเลือดแดง
PH ความเป็นกรด-ด่างในเลือด (7.35-7.45)
น้อยกว่า 7.35 คือ acidosis
มากกว่า 7.45 คือ alkalosis
PaCO2 บอกหน้าที่การทำงานของปอด = 35-45
น้อยกว่า 35 คือ Respiratory alkalosis : ภาวะด่างเกิดจากการหายใจ
มากกว่า 45 คือ Respiratory acidosis : ภาวะกรดเกิดจากการหายใจ
HCO3 ( Metabolic function = 22-26)
น้อยกว่า 22 คือ : Metabolic acidosis ภาวะกรดเกิด Metabolism
มากกว่า 26 คือ Metabolic alkalosis: ภาวะด่างเกิด Metabolism
Base excess ( BE ± 2.5) ยืนยันความเป็นกรด-ด่าง
BE มีค่า - คือภาวะกรด
BE มีค่า + คือภาวะด่าง
ขั้นตอนการวิเคราะห์ค่า Arterial Blood Gas
ขั้นที่ 1 ดูค่า pH (บอกค่า acid-base status)
ขั้นที่ 2 ดูค่า PaCO2 (บอกความผิดปกติของ Respiratory system)
ขั้นที่ 3 ดูค่า HCO3- (บอกความผิดปกติของ Metabolism system)
ขั้นที่ 4 พิจารณาการชดเชย
ขั้นที่ 5 ประเมินภาวะพร่องออกซิเจน ให้ดูจากค่า PaO2
ความผิดปกติของการหายใจ
ภาวะที่การขยายตัวของปอดถูกจำกัด (Restrictive pulmonary function)
สาเหตุ
มีการเปลี่ยนแปลงของเนื้อปอด (parenchymal)
โรคของเยื่อหุ้มปอด
มีปัญหาของ Chest Wall
ความผิดปกติของปอด เนื่องจากการขยายตัว (Expansion) ของปอดถูกจำกัด ทำให้ TLC และ VC ลดลง มีผลให้หายใจเข้าลำบาก แต่แรงต้านการไหลของอากาศปกติ
ภาวะที่การขยายตัวของปอดถูกจำกัด ที่พบบ่อย
Atelectasis
การขยายตัวของปอดไม่สมบูรณ์ หรือภาวะปอดแฟบไม่มีอากาศใน Alveoli
เป็นภาวะที่ปอดขยายตัวไม่เต็มที่ เกิดจากการถูกจำกัดการเคลื่อนไหว หายใจตื้น มีสิ่งอุดตันในหลอดลมเล็กๆ ถุงลมในปอดตีบ มีแรงดันจากช่องเยื่อหุ้มปอด
ไม่สามารถไอขับเสมหะออกได้อย่างมีประสิทธิภาพ และการระบายอากาศไม่เพียงพอ
ต่อมาเลือดที่ไหลผ่านปอดไม่สามารถแลกเปลี่ยนออกซิเจนกับปอดได้ ระดับออกซิเจนในเลือดแดงจึงลดลง ทำให้เกิดภาวะขาดออกซิเจน และอาจหมดสติได้
ลักษณะอาการ
หายใจลำบาก
หอบเหนื่อยง่ายขณะทำกิจกรรมต่างๆ
มีลักษณะตัวเขียวเนื่องจากร่างกายได้รับออกซิเจนไม่เพียงพอ
การขยายตัวของทรวงอกน้อยลง
การตรวจปอดโดยการเคาะได้เสียงทึบ
Pulmonary fibrosis
พังผืดที่ปอดไม่ทราบสาเหตุ (Idiopathic pulmonary fibrosis: IPF)
Pulmonary edema น้ำท่วมปอด
มีการสะสมของของเหลวในเนื้อเยื่อปอด คือ interstitial และ alveoli
พยาธิวิทยาของ Pneumonia แบ่งเป็น 2 ระยะ
ระยะแรก Interstitial edema
มีการสะสมของของเหลว ในperibronchial และ perivascular space
ระยะที่สอง Alveolar Edema
เมื่อ Interstitial hydrostatic pressure สูงมากๆ ของเหลวจะเข้าไปใน alveolar
Pneumothorax
ภาวะที่มีลมเข้าไปใน pleural space ซึ่งมีผลให้ปอดแฟบ
Pleural effusion or Hydrothorax
ภาวะที่มีการสะสมของเหลวในเยื่อหุ้มปอด ถ้าของเหลวนั้นเป็นหนองเรียกว่า empyema แต่ถ้าเป็นเลือดเรียกว่า hemothorax
Abscess formation and Cavitation
Abscess คือภาวะที่ปอดมีการอักเสบเป็นหนองและมีการทำลายเนื้อเยื่อปอด
Cavitation คือกระบวนการทำลายเนื้อเยื่อปอดบริเวณที่มีการอักเสบกลายเป็นโพรง
Pleurisy (Pleuritis)
ภาวะที่มีการอักเสบของเยื่อหุ้มปอด
หลักการพยาบาล
แก้ไขตามสาเหตุของภาวะนั้นๆ
การแก้ไขภาวะของ Hypoxemia
ดูแลทางเดินหายใจให้โล่ง
ให้คำแนะนำในการปฏิบัติเพื่อลดปัจจัยเสี่ยงต่างๆ
การขับเสมหะในทางเดินหายใจ
การหายใจอย่างถูกวิธีและการไออย่างมีประสิทธิภาพ
การดูดเสมหะโดยใช้ลูกยางแดง
การดูดเสมหะด้วยสายดูดเสมห
Nasopharyngeal and Oropharyngeal Suctioning
Endotracheal and tracheostomy Suctioning
ภาวะที่มีการอุดกั้นของทางเดินหายใจ (Obstructive pulmonary function)
เป็นการทำหน้าที่ของปอดผิดปกติเนื่องจากมีการอุดกั้นของทางเดินหายใจ
มีผลให้แรงต้านทานการไหลของอากาศหายใจสูงขึ้น มีการอุดกั้นของหลอดลม ทำให้การหายใจออกลำบาก
ตรวจพบค่า FEV1 / FVC ต่ำกว่า 70 % โดยค่า FVC จะปกติ
เช่น ในผู้ที่เป็นโรคหืด โรคถุงลมโป่งพองจากการสูบบุหรี่ โรคหลอดลมอักเสบเรื้อรัง
แบ่งเป็น 3 กลุ่ม จำแนกตามการอุดกั้น ได้แก่
กลุ่มที่รูท่อทางเดินหายใจอุดตัน
ภายในของรูท่อทางเดินหายใจอุดตันเนื่องจากการมีสิ่งแปลกปลอม เสมหะจำนวนมาก หรือการสำลักน้ำหรือสารบางอย่างเข้าไปในรูท่อทางเดินหายใจ
ท าให้ตีบหรือแคบ ซึ่งจะมีผลต่อการไหลของอากาศหายใจ
สาเหตุ
ติดเชื้อแบคทีเรีย ไวรัส และอื่นๆ
การระคายเคืองจากสารพิษ
การสำลักสิ่งแปลกปลอมเข้าไปในหลอดลม
การได้รับบาดเจ็บต่อท่อทางเดินหายใจ
การสูบบุหรี่
เนื้องอก
ต่อมน้ำเหลืองโตเบียดท่าทางเดินหายใจ
ลัษณะทางคลินิก
ไข้สูง หนาวสั่น
ไอมีเสมหะเหนียวข้น
Hyperinflation
หายใจลำบากมีเสียง wheeze
Breath sound เบา
กลุ่มที่ผนังท่อทางเดินหายใจบวมหรือหดตัว
ทำให้เกิดภาวะอุดกั้นของทาง
เดินหายใจได้ ซึ่งอาจเป็นอย่างเฉียบพลัน หรือเรื้อรัง
เช่น Asthma และ Chronic bronchitis
โรคหลอดลมโป่งพอง Bronchiectasis
เป็นภาวะที่หลอดลมเสียหายอย่างถาวรส่งผลให้มีเชื้อแบคทีเรียและสารคัดหลั่งสะสมภายในปอด
ทำให้ผู้ป่วยเสี่ยงติดเชื้อและเกิดการอุดตัน
ของทางเดินหายใจ
โรคนี้ไม่มีวิธีรักษาให้หายขาด ทำได้เพียง
ควบคุมอาการไม่ให้กำเริบ
กลุ่มที่มีแรงดันบริเวณรอบๆ นอกท่อทางเดินหายใจ
แรงดันที่เพิ่มขึ้นจากบริเวณรอบๆ นอกท่อทางเดินหายใจ
เป็นสาเหตุทำให้เกิดการอุดกั้นทางเดินหายใจ เนื่องจากมีการสูญเสียแรงตึงตัวของผนังถุงลม(alveolar)
พบได้ในโรคถุงลมโป่งพอง (emphysema) หรือโรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง (COPD)
คือ มีลมหรืออากาศอยู่ในส่วนของ terminal bronchiole
และมีการทำลายผนังของถุงลมจึงทำให้มีลักษณะโป่งออกของถุง
หลักการพยาบาล
รักษาทางเดินหายใจให้โฉล่ง
แก้ไขภาวะ Hypoxemia
แนะนำภาวะโภชนาการ
แนะนำการปฏิบัติตนให้หลีกเลี่ยงสาเหตุนำต่างๆ
ภาวะการหายใจล้มเหลว (Respiratory failure)
การที่ระบบหายใจไม่สามารถทำหน้าที่ระบายอากาศ และแลกเปลี่ยนก็าซได้เพียงพอกับความต้องการของร่างกาย
มีระดับ O2 ในเลือดแดง (Pa O2) ต่ำกว่าปกติ < 50-60 mmHg
มีระดับ CO2 ในเลือดแดง (Pa CO2) สูงกว่าปกติ >50 mmHg
ร่างกายมีความเป็นกรดมากขึ้น< 7.25
แบ่งเป็น 2 ประเภท
Acute respiratory failure การหายใจล้มเหลวอย่างเฉียบพลัน
ภาวะที่มีการพร่องของ O2 ในเลือดแดง (hypoxemia) Pa O2 ต่ำกว่า50 mmHg
CO2 คั่ง (hypercapnia) Pa CO2 สูงกว่า 50 mmHg เกิดขึ้นอย่างรวดเร็ว
Chronic respiratory failure การหายใจล้มเหลวอย่างเรื้อรัง
ภาวะที่มีการพร่องของ O2 ในเลือดแดง และ CO2 สูงขึ้นอย่างค่อยเป็นค่อยไป
ร่างกายสามารถปรับตัวชดเชยโดยการสร้างเม็ดเลือดแดงเพิ่มขึ้นและไตชดเชยภาวะเป็นกรด ด่างของร่างกายโดยการเก็บ HCO3- ไว้เพิ่มขึ้น
สาเหตุเกิดจาก
ความผิดปกติที่ปอด
Obstructive pulmonary function
Restrictive pulmonary function
ความผิดปกติของหลอดเลือดที่ไปเลี้ยงปอด
ความผิดปกติที่ช่องทรวงอกและเยื่อหุ้มปอด
chest injury, การได้รับ
การผ่าตัดช่องทรวงอก
ความผิดปกติที่ระบบประสาทส่วนกลาง
ศูนย์ควบคุมการหายใจถูกกด,
สมองได้รับบาดเจ็บ, สมองขาดเลือดไปเลี้ยง, ความดันในสมองสูง
ความผิดปกติของระบบประสาทและกล้ามเนื้อ
บาดทะยัก, โปลิโอ, การบาดเจ็บของไขสันหลัง
ความผิดปกติของระบบหัวใจและหลอดเลือด
shock, left sideheart failure
อาการและอาการแสดง
Respiratory system
หายใจเร็ว หายใจลำบาก
Cardiovascular System
ชีพจรเต้นเร็ว ความดันโลหิตสูง อาจมีหัวเต้นผิดปกต
Central nervous system
ระดับความรู้สึกเปลี่ยนไป สับสน ไม่มีสมาธิ เอะอะ กระสับกระส่าย
Hematologic effect
เม็ดเลือดแดงเพิ่มขึ้น (polycythemia) เพื่อเพิ่มออกซิเจนในเลือด
Acid-base balanc
เมื่อภาวะ Hypoxemia รุนแรง เลือดจะเป็นกรดมากขึ้น
กระตุ้นการหายใจเร็วขึ้น เป็นภาวะ Compensate เพื่อลดความเป็นกรด
การวินิจฉัย
Arterial Blood Gas
Chest X-ray (CXR)
หลักการรักษาพยาบาล
ดูแลทางเดินหายใจให้โล่ง
การให้ออกซิเจนแก้ไขภาวะ Hypoxemia
รักษาสาเหตุที่ทำให้เกิดภาวะหายใจล้มเหลว
พยาธิสรีรวิทยา
แบ่งออกเป็น 4 ประเภท คือ
การระบายอากาศน้อยกว่าปกติ
คือ ความผิดปกติของการแลกเปลี่ยนก๊าซ ไม่สามารถเอาอากาศเข้าไปในถุงลมส่วนที่มีการแลกเปลี่ยนก๊าซได้เพียงพอ
การระบายอากาศกับการไหลเวียนของเลือดไม่สมดุลกัน (V/Q) Mismatch
คือความไม่สมดุลกันของสัดส่วนการกระจายของอากาศในถุงลม (VA) กับเลือดที่ผ่านถุงลม (Q)
การลัด (right to left shunt)
เป็นกลไกการแลกเปลี่ยนก๊าซผิดปกติ
การสูญเสียการซึมซ่านของก๊าซ (diffusion impairment)
พบได้ในกรณี เนื้อปอดลดลงหรือหลอดเลือดฝอยถูกทำลาย