Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
ภาวะหัวใจล้มเหลว (Heart failure) - Coggle Diagram
ภาวะหัวใจล้มเหลว
(Heart failure)
ความหมาย
ภาวะที่หัวใจไม่สามารถบีบตัวให้เลือดไปเลี้ยงส่วนต่างๆ ของร่างกายได้อย่างเพียงพอต่อความต้องการ ในเด็กมักเกิดจากโรคหัวใจพิการแต่กำเนิดโดยเฉพาะในวัยทารกและเด็กเล็ก อาจเกิดจากการที่กล้ามเนื้อหัวใจไม่แข็งแรง ลิ้นหัวใจต่างๆ ไม่ปกติ หรือจังหวะการเต้นของหัวใจผิดปกติไป
พยาธิสภาพ
ความผิดปกติที่เป็นสาเหตุของ ภาวะหัวใจล้มเหลว จะส่งผลให้ความดันโลหิตในห้องหัวใจและหลอดเลือดสูงขึ้น (elevated filling pressure) การไหลเวียนโลหิตโดยรวมไม่เพียงพอต่อการทำงานของอวัยวะ (decreased cardiac output) ทำให้ระบบต่างๆ ได้รับเลือดไม่เพียงพอต่อการใช้งาน (inadequate organ perfusion) การทำงานของระบบประสาทอัตโนมัติ ระบบฮอร์โมน และ cytokine จะถูกกระตุ้น ซึ่งเป็นพยาธิสรีรวิทยาหลักที่เกิดขึ้นในภาวะหัวใจล้มเหลว มีผลต่อเนื่องให้เกิดการปรับเปลี่ยนโครงสร้างของหัวใจห้องล่างซ้าย (left ventricle) ซึ่งส่งผลเสียในระยะยาว (maladaptiveremodeling) ความผิดปกติที่เกิดขึ้นต่อหัวใจห้องล่างซ้ายนั้นมักถูกจำแนกออกเป็นความผิดปกติของระยะบีบตัว (systolic dysfunction) และ ความผิดปกติของระยะคลายตัว (diastolic dysfunction)
สาเหตุ
Volume overload
เกิดจากสาเหตุใดๆ ที่ทำให้ห้องหัวใจต้องรับภาระจากการมีปริมาตรเลือดที่สูงขึ้นในหัวใจห้องล่างตลอดเวลา
ภาวะดังกล่าวจะทำให้เซลล์กล้ามเนื้อหัวใจเกิดการเปลี่ยนแปลงทางโครงสร้าง และเกิดภาวะหัวใจล้มเหลวตามมาได้เช่นกัน สาเหตุส่วนใหญ่ ได้แก่ ภาวะที่มี preload เพิ่มขึ้น เช่น ลิ้นหัวใจรั่ว
(valvular regurgitation) ทำให้มีเลือดไหลย้อนกลับเข้าสู่หัวใจห้องล่างในระยะที่หัวใจห้องล่างคลายตัว หัวใจต้องทำงานหนักขึ้นเพื่อสูบฉีดปริมาตรเลือดที่เพิ่มขึ้นในแต่ละครั้ง ทำให้หัวใจมี volume load เพิ่มขึ้น
อื่นๆ
mechanical heart failure
primary myocardial failure (cardiomyopathy)
Pressure overload
เกิดจากสาเหตุใดๆ ที่ทำให้หัวใจต้องสร้างความดันในห้องหัวใจเพิ่มขึ้น หัวใจอยู่ในสภาวะที่ความดันในหัวใจห้องล่างสูงตลอดเวลา ภาวะดังกล่าวจะทำให้เซลล์กล้ามเนื้อหัวใจเกิดการเปลี่ยนแปลงทางโครงสร้าง และเกิดภาวะหัวใจล้มเหลวตามมา
อาการและอาการแสดง
เหงื่อออก
บ่งบอกว่ามีอัตราการเผาผลาญเพิ่มขึ้นและเพิ่มการทำงานของระบบประสาทอัตโนมัติส่งผลให้หัวใจทำงานเพิ่มขึ้นและหัวใจวายได้
ปัสสาวะน้อยลง
บวม เลือดไปเลี้ยงไตได้น้อย เส้นเลือดตีบแคบ น้ำและเกลือคั่ง ทำให้น้ำหนักเพิ่มขึ้น หนังตาบวม หน้าบวม มือและเท้าบวม หรือบวมทั้งตัว
ระบบหายใจจะทำงานหนัก
ปอดบวมน้ำ มีหายใจเร็วหรือขัด ฟังปอดได้ยินเสียง crepitation หอบ ไอเรื้อรัง ปอดบวมบ่อยๆ ถ้ามีอาการมากขึ้น จะเกิดการหายใจขัด ปีกจมูกบานและเขียวได้ หัวใจเต้นแรง เหนื่อยง่าย เด็กเล็กจะหายใจแรง ขณะดูดนม และใช้เวลาดูดนมนานกว่าจะหมดขวด อาจทำให้เกิดการสำลักหรืออาเจียนได้
ตับโต
เลือดคั่งในตับ หัวใจซีกขวามีแรงดันเลือดสูง จะเห็นเส้นเลือดดำที่คอโป่งตึง
หัวใจเต้นเร็ว
เป็นกลไกการชดเชยเพื่อเพิ่มปริมาณเลือดที่สูบฉีดไปให้เพียงพอกับความต้องการของเนื้อเยื่อร่างกาย ผลจากหัวใจสูบเลือดไปเลี้ยงร่างกายส่วนปลายไม่พอ
ทำให้ชีพจรปลายมือ ปลายเท้า จะเบาลง แขนขาเย็น ชื้น ผิวหนังเป็นสีเทาๆ หรือซีด
การเจริญเติบโตชะลอลง หรือล้มเหลว
เลี้ยงไม่โต เนื่องจากมีปัญหาในการดูดนม เด็กมีการเผาผลาญเพิ่มขึ้น
หัวใจขยายโต
มีพยาธิสภาพที่กล้ามเนื้อหัวใจ ปริมาณเลือดคั่ง และแรงดันเลือดสูงมากกว่าปกติ จังหวะการเต้นของหัวใจผิดปกติ chest x –ray จะพบหัวใจขยายโตชัดเจน
ความทนทานในการทำกิจกรรมลดลง เด็กจะหลับเป็นส่วนใหญ่
การวินิจฉัย
สามารถวินิจฉัยได้จากการซักประวัติและตรวจร่างกายจากแพทย์ ร่วมกับตรวจการทำงานของหัวใจด้วยคลื่นเสียงสะท้อน (Echocardiography) การตรวจเลือดเพื่อหาสารเคมีบางอย่างในร่างกาย (NT-ProBNP) ที่สำคัญ คือ การตรวจหาโรคที่เป็นสาเหตุของภาวะนี้ เช่น การฉีดสีสวนหัวใจเพื่อหาโรคหลอดเลือดหัวใจตีบ เพื่อจะได้ทำการแก้ไขโรคต้นเหตุได้อย่างทันท่วงที
การรักษา
มุ่งเน้นในการแก้ไขโรคที่เป็นสาเหตุของภาวะนี้ เช่น ถ้าเกิดจากโรคหลอดเลือดหัวใจตีบ ผู้ป่วยก็ควรได้รับการฉีดสีสวนหัวใจเพื่อพิจารณาแก้ไขหลอดเลือดโดยเร็วที่สุดเพื่อหยุดยั้งการดำเนินโรค
การรักษาโดยการใช้ยาเพื่อชะลอการดำเนินโรคและฟื้นฟูการทำงานของหัวใจ
ปรับควบคุมปริมาณน้ำในร่างกายโดยการคุมอาหาร ปริมาณน้ำที่ดื่มในแต่ละวัน และการปรับยาขับปัสสาวะอย่างเหมาะสม
การใส่เครื่องกระตุ้นหัวใจเพื่อช่วยในการบีบตัว (Cardiac resynchronize therapy หรือ CRT) ตลอดจนใส่เครื่องกระตุกหัวใจหัวใจ (Implantable cardioverter defibrillator หรือ ICD) ในผู้ป่วยที่มีข้อบ่งชี้
การพยาบาล
ให้พักผ่อนโดยเฉพาะจัดให้นอน Fowler’s position โดยให้ศีรษะสูง 30 องศา หรือในเด็กเล็กให้นอนใน cardiac chair เพื่อลดการทำงาน
ของหัวใจและเนื้อเยื่อต่างๆ ลดความต้องการออกซิเจน
ให้ยาขับปัสสาวะลดปริมาณของเหลวในร่างกาย ป้องกันการเกิดปอดบวมน้ำและน้ำคั่งในร่างกายส่วนอื่นๆ ผลข้างเคียงของยา คือ Hypokalemia และ Metabolic acidosis
จำกัดเกลือในอาหาร โดยเฉพาะในรายที่มีอาการบวมร่วมด้วยควรให้เกลือน้อยกว่า 1 กรัม ต่อ วัน
จำกัดน้ำดื่มและน้ำเข้าสู่ร่างกายทุกทาง เพื่อลดเลือดที่จะไหลเวียนเข้าสู่หัวใจและเป็นการลดความต้องการออกซิเจนของหัวใจ
check serum electrolyte เพราะยาขับปัสสาวะทำให้เกิดโปตัสเซียมและคลอไรด์ต่ำและบอกถึงภาวะ Digitalis intoxication
ให้ยา Digitalis เพื่อเป็นการเพิ่มแรงบีบของกล้ามเนื้อหัวใจทำให้ cardiac output เพิ่มขึ้น เลือดไปสู่ไตเพิ่มขึ้นทำให้ขับของเสียออกได้ง่าย ปริมาตรของเลือดลดลงได้
ให้ยาขยายหลอดเลือด ลดการบีบตัวของหลอดเลือดในอวยัวะต่างๆ เพื่อให้เลือดไปเลี้ยงอวยัวะต่างๆ ได้ดีและช่วยลดอาการบวม
ดูแลตามอาการ เช่น ให้ออกซิเจนและยาปฏิชีวนะ
ถ้ามีอาการของหัวใจวายควรให้นอนพักรักษาตัวในโรงพยาบาลและในรายที่มีการติดเชื้อทางเดินหายใจต้องรีบทำการสวนหัวใจและส่งผ่าตัดแก้ไขความพิการนั้นๆ