Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
ภาวะ heart failure - Coggle Diagram
ภาวะ heart failure
พยาธิสภาพและอาการแสดง
ปัสสาวะน้อยลง บวม เลือดไปเลี้ยงไตได้น้อย เส้นเลือดตีบแคบ น้ำและเกลือคั่ง ทำให้น้ำหนักเพิ่มขึ้นหนังตาบวม หน้าบวม มือและเท้าบวม หรือบวมทั้งตัว
-
เหงื่อออก บ่งบอกว่ามีอัตราเพิ่มของการเผาผลาญ และเพิ่มการทำงานของระบบประสาทอัตโนมัติส่งผลให้หัวใจทำงานเพิ่มขึ้นและหัวใจวายได้
-
ระบบหายใจจะทำงานหนัก ปอดบวมน้ำ มีหายใจเร็วหรือขัด ฟังปอดได้ยินเสียง crepitation หอบ ไอเรื้อรัง ปอดบวมบ่อยๆ ถ้ามีอาการมากขึ้น จะเกิดหายใจขัด ปีกจมูกบานและเขียวได้ หัวใจเต้นแรง เหนื่อยง่าย เด็กเล็กจะหายใจแรง ขณะดูดนมและใช้เวลาดูดนมนานกว่าจะหมดขวด อาจสำลักหรืออาเจียนได้
-
หัวใจเต้นเร็ว เพื่อเพิ่มปริมาณเลือดที่สูบฉีดไปให้เพียงพอกับความต้องการของเนื้อเยื่อร่างกาย หัวใจสูบเลือดไปเลี้ยงร่างกายส่วนปลายไม่พอทำให้ชีพจรปลายมือปลายเท้าจะเบาลง แขนขาเย็นชื้น ผิวหนังเป็นสีเทาๆหรือซีด
-
หัวใจขยายโต มีพยาธิสภาพที่กล้ามเนื้อหัวใจ ปริมาณเลือดคั่ง และแรงดันเลือดสูงมากกว่าปกติจังหวะการเต้นของหัวใจผิดปกติ
อาการและอาการแสดง
เด็กทารก จะหายใจแรงและเร็วกว่าเด็กปกติอื่นๆ ดื่มนมได้น้อย เหนื่อยมากขึ้นเวลาดื่ม น้ำหนักขึ้น
น้อย เลี้ยงไม่ค่อยโต มีประวัติติดเชื้อทางเดินหายใจส่วนล่างบ่อยๆ
เด็กโต จะพบว่าเหนื่อยง่าย เหนื่อยเวลาเล่น เล่นไม่ได้เท่าเพื่อน functional class
เลวลง บวมบริเวณขา บางรายอาจมีท้องโต (จากภาวะ ascities) ต้องนอนหนุนหมอนสูง (Orthopnea) ลุกขึ้นมาหอบเหนื่อยตอนกลางคืน (Paroxysmal nocturnal dyspnea)
การรักษาและหลักการพยาบาล
การรักษา
ผู้ป่วยที่มีภาวะหัวใจล้มเหลว คือ การเพิ่มแรงบีบตัวของกล้ามเนื้อหัวใจ ลดการทำงานของหัวใจ และเพื่อลดการคั่งของเลือดในระบบหลอดเลือดดำ (venous congestion)
การพยาบาล
จำกัดน้ำดื่มและน้ำเข้าสู่ร่างกายทุกทางเพื่อลดเลือดที่จะไหลเวียนเข้าสู่หัวใจ และเป็นการลดความต้องการออกซิเจนของหัวใจ
check serum electrolyte เพราะยาขับปัสสาวะทำให้เกิดโปตัสเซียมและคลอไรด์ต่ำและบอกถึงภาวะ Digitalis intoxication
-
ให้ยา Digitalis เพื่อเป็นการเพิ่มแรงบีบของกล้ามเนื้อหัวใจ ทำให้ cardiac output เพิ่มขึ้น เลือดไป
สู่ไตเพิ่มขึ้น ทำให้ขับของเสียออกได้ง่าย ปริมาตรของเลือดลดลงได้
ให้ยาขับปัสสาวะ ลดปริมาณของเหลวในร่างกาย ป้องกันการเกิดปอดบวมน้ำและน้ำคั่งในร่างกายส่วนอื่นๆ ผลข้างเคียงของยาคือ Hypokalemia และ Metabolic acidosis
ให้ยาขยายหลอดเลือด ลดการบีบตัวของหลอดเลือดในอวัยวะต่างๆ เพื่อให้เลือดไปเลี้ยงอวัยวะต่างๆได้ดี และช่วยลดอาการบวม
เมื่อเกิด Cardiogenic shock ต้องให้ sympathominetic amines เช่น Isotroterenol, Norepinephrine และ Glugacon
-
ให้พักผ่อน โดยเฉพาะจัดให้นอน Fowler’s position โดยให้ศีรษะสูง 30 องศา หรือในเด็กเล็กให้นอนใน cardiac chair เพื่อลดการทำงานของหัวใจและเนื้อเยื่อต่างๆ ลดความต้องการออกซิเจน
ถ้ามีอาการของหัวใจวายควรให้นอนพักรักษาตัวใน ร.พ. และในรายที่มีการติดเชื้อทางเดินหายใจ ต้องรีบทำการสวนหัวใจ และส่งผ่าตัดแก้ไขความพิการนั้นๆ
ความหมาย
ภาวะที่หัวใจไม่สามารถบีบตัวให้เลือดไปเลี้ยงส่วนต่างๆของร่างกายได้อย่างเพียงพอต่อความต้องการในเด็กมักเกิดจากโรคหัวใจพิการแต่กำเนิดโดยเฉพาะในวัยทารกและเด็กเล็กอาจเกิดจากการที่กล้ามเนื้อหัวใจไม่แข็งแรงลิ้นหัวใจต่างๆไม่ปกติ หรือจังหวะการเต้นของหัวใจผิดปกติไป